heha
|
1. เขตพระราชฐานชั้นใน ที่ซึ่งไม่มีมนุษย์ผู้ชายอาศัยอยู่นััน ลูกท่านหลานเธอ เช่นเจ้าฟ้า และหรือพระองค์เจ้าชาย สามารถประทับได้ตลอดอายุขัยหรือไม่
2. มรว คึกฤทธิ์ เก็บรายละเอียดในวังได้ยังกับตาเห็น นั่นหมายความว่าท่านเคยเห็น หรือจดจำจากคำบอกกล่าวจากผู้อื่นอีกที หรือเล่าจริงบ้างสมมติบ้าง ก็มิอาจทราบได้ ใครพอทราบบ้างครับ
3. เจ้าจอมในเขตพระราชวัง แต่ละก๊ก หุงข้าวกินเอง หรือมีโรงครัวรวมครับ คงโกลาหลมิใช่เล่น หากต้องเลี้ยงคนเป็นร้อย
4. ชีวิตในกำแพงพระบรมมหาราชวังเมื่อสิ้นแผ่นดินรัชกาลที่ 5 อาจไม่มีสีสันต์เท่าเก่า เมื่อในหลวงรัชกาลใหม่ประทับที่วังอื่นบ้าง ที่หัวเมืองบ้าง อีกทั้งการที่พระองค์ทรงมีมเหสีน้อยองค์ ทำให้ชีวิตในวัง ซีดเซียวไปบ้างใช่ไหมครับ
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 10 ต.ค. 17, 21:29
|
|
ขอตอบสั้นๆ เพื่อท่านอื่นๆจะได้มาช่วยตอบด้วยค่ะ 1 เจ้านายฝ่ายชายชั้นพระราชโอรสในพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อพ้นจากโสกันต์(หมายถึงโกนจุก) ก็ถือว่าพ้นจากวัยเด็กแล้ว ก็ต้องเสด็จออกไปมีวังส่วนพระองค์ เจ้านายชั้นหลานเธอก็เช่นกันค่ะ 2 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์เกิดในพ.ศ. 2454 สิ้นรัชกาลที่ 5 ไปหนึ่งปีแล้ว ท่านไม่ทันเห็นเหตุการณ์ของแผ่นดินแรกในสี่แผ่นดินแน่นอน แม้แต่แผ่นดินที่สองตอนต้นๆ ท่านก็คงจะยังเล็กเกินกว่าจะจำอะไรได้ แต่ท่านถูกแวดล้อมด้วยชาววังที่เป็ญาติ หม่อมแม่ก็เป็นชาววัง ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายก็เจ้านายทั้งนั้น ท่านก็ย่อมจะได้รับคำบอกเล่าต่างๆพอจะบรรยายภาพชีวิตเหล่านั้นได้ 3 เจ้าจอมมีที่พักอาศัยเป็นสัดส่วน มีครัวของตัวเองค่ะ 4 ใช่ค่ะ
ดิฉันอยากขอให้คุณ V_Mee และท่านอื่นๆที่เคยสนทนากันเรื่องสี่แผ่นดิน เข้ามาช่วยตอบด้วยนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
heha
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 10 ต.ค. 17, 22:52
|
|
ขอบพระคุณครับ
5. ตอนที่แม่ของพลอยทูลลาเสด็จเพื่อไปเป็นอนุเจ้าคุณ เสด็จถามว่าแกจะไปเป็นน้อยเขาหรือ สมัยนั้นแฟชั่นเมียเล็กเมียน้อย ดูเป็นเรื่องธรรมดา การเป็นน้อยถือเป็นเรื่องต่ำเกียรติถึงขนาดที่เสด็จต้อง ตอกย้ำเชียวหรือ แล้วบ้านใหญ่ต้องเปิดไฟเขียวก่อน หรือว่าไม่สนหรอก เปิดไม่เปิด (เคยผ่านตาว่าเสด็จแม่ทรงขวางก๊กออ แสดงว่าน้อยๆ หลวงๆ เป็นปัญหาโลกแตกที่ยืนยง)
6. ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับสี่แผ่นดิน แต่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์บางกอก หลังงานพระเมรุมาศ เจ้าฟ้าศิริราชฯ ก็มีการรื้อไม้มาสร้าง รพ ศิริราช ฝั่งตรงข้ามพระบรม มหาราชวัง ฝั่งกรุงมีที่ดินเหลือเฟือ ทำไมไม่สร้างฝั่งกรุงซึ่งสะดวกในการเดินทางกว่า หรือว่าฝั่งศิริราชเป็นสุขศาลาหรือโรงหมออยู่ก่อนเปล่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
paganini
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 10 ต.ค. 17, 23:09
|
|
อันนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสี่แผ่นดินนะครับ ขออนุญาตคุณ heha นิดนึง แต่เกี่ยวกับพระบรมมหาราชวัง ผมแปลกใจตรงที่ว่า หมู่พระมหามณเฑียร คือพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ซึ่งควรจะเป็นหัวใจของพระบรมมหาราชวัง และเป็นสิ่งปลูกสร้างที่เก่าแก่ดั้งเดิมมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เป็นที่รู้จักหรือพูดถึงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งผมเอง(ขอสารภาพว่า)ก็พึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับพระมหามณเฑียรเมื่อไม่นานมานี้เอง เลยอยากถามเพิ่มเติมครับว่ากระทู้ในเรือนไทยนี้เคยเขียนถึงบ้างหรือเปล่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 11 ต.ค. 17, 07:31
|
|
1. เขตพระราชฐานชั้นใน ที่ซึ่งไม่มีมนุษย์ผู้ชายอาศัยอยู่นััน ลูกท่านหลานเธอ เช่นเจ้าฟ้า และหรือพระองค์เจ้าชาย สามารถประทับได้ตลอดอายุขัยหรือไม่
โดยพระราชประเพณีพระมเหสี เจ้าจอม และเจ้านายลูกเธอทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน รวมตลอดทั้งคุณพนักงานและคุณข้าหลวงทั้งหลายจะประทับและอยู่ในพระบรมมหาราชวังไปจนตลอดพระชนม์ชีพและตลอดอายุขัย แต่เจ้าลูกเธอฝ่ายหน้านั้นมีธรรมเนียมที่จะประทับร่วมกับพระชนนีไปจนโสกันต์หรือโกนจุกแล้ว ต้องย้ายออกไปประทับภายนอก ส่วนพระมเหสี เจ้าจอม คุณพนักงานทั้งหลายนั้นถือว่าเป็นคนหลวงเมื่อถวายตัวแล้วก็ต้องพำนักอยู่ในพระราชฐานชั้นในไปจนสิ้นอายุขัย หากมีกิจธุระไปนอกพระราชฐานก็จะต้องคุณเถ้าแก่หรือท้าวนางผู้ใหญ่ไปด้วยเพื่อเป็นพยานว่าไม่ไปกระทำการอันเป็นที่เสื่อมเสีย ทั้งจะต้องมีกรมวังไปคอยกำกับรักษาความปลอดภัย ส่วนคุณข้าหลวงนั้นเป็นคนของเจ้านายหรือเจ้าจอม ไม่ถือว่าเป็นคนหลวง สามารถกราบถวายทูลลาหรือลาออกไปใช้ชีวิตภายนอกพระราชฐานได้
ในตอนปลายรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างพระราชวังดุสิตขึ้นแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระมเหสี เจ้าจอม และเจ้านายลูกเธอย้ายออกไปประทับที่พระราชวังดุสิต รวมทั้งพระราชทานที่ดินตลอดแนวคลองสามเสนฝั่งใต้ให้เป็นวังที่ประทับของพระราชธิดา เมื่อเจ้านายลูกเธอทรงแยกออกไปประทับที่วังส่วนพระองค์แล้วบรรดาเจ้าจอมก็กราบถวายบังคมลาไปพำนักกับเจ้านายลูกเธอที่วังของแต่ละพระองค์
ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมเหสีและเจ้าจอมที่ประทับและพำนักอยู่ในพระราชฐานชั้นในและพระราชฐานชั้นในต่างก็กราบถวายบังคมลาออกไปประทับและพำนักอยู่กับครอบครัว มีบางพระองค์ที่ไม่ทรงมีพระญาติอยู่ภายนอก เช่น เจ้านายวังหน้าที่รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ย้ายมาประทับในพระบรมมหาราชวังบางพระองค์ที่ยังคงประทับอยู่ในพระราชฐานชั้นในต่อมาจนสิ้นพระชนม์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 11 ต.ค. 17, 07:41
|
|
4. ชีวิตในกำแพงพระบรมมหาราชวังเมื่อสิ้นแผ่นดินรัชกาลที่ 5 อาจไม่มีสีสันต์เท่าเก่า เมื่อในหลวงรัชกาลใหม่ประทับที่วังอื่นบ้าง ที่หัวเมืองบ้าง อีกทั้งการที่พระองค์ทรงมีมเหสีน้อยองค์ ทำให้ชีวิตในวัง ซีดเซียวไปบ้างใช่ไหมครับ
มีส่วนจริงครับ ในรัชกาลที่ ๖ ทรงมีคุฯเชื้อ พึ่งบุญ (ท้าวอินทสุริยา) พี่สาวเจ้าพระยารามราฆพ เป็นพนักงานพระภูษามาตั้งแต่ก่อนเสวยราชย์ เมื่อทรงหมั้นกับพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีตำแหน่งฝ่ายในเช่น นางสนองพระโอษฐ์ นางพระกำนัลเพื่อประดับพระเกียรติยศตามแบบราชสำนักยุโรป ต่อมาเมื่อทรงราชาภิเษกสมรสด้วยคุณประไพ สุจริตกุล (สมเด็จพระนางเจ้าอินทศักดิศจี พระวรราชชายา) แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ธิดาข้าราชการมาเป็นคุณพนักงานในพระองค์ ทำให้ราชสำนักฝ่ายในเริ่มคึกคักขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากในหลวงโปรดที่จะย้ายที่ประทับไปเรื่อยๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด พระราชินี (ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามเป็นพระวรราชชายา) และคุณพนักงานตลอดจนคุณข้าหลวงนั้นก็ต้องตามเสด็จไปด้วยทุกแห่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 11 ต.ค. 17, 09:33
|
|
5. ตอนที่แม่ของพลอยทูลลาเสด็จเพื่อไปเป็นอนุเจ้าคุณ เสด็จถามว่าแกจะไปเป็นน้อยเขาหรือ สมัยนั้นแฟชั่นเมียเล็กเมียน้อย ดูเป็นเรื่องธรรมดา การเป็นน้อยถือเป็นเรื่องต่ำเกียรติถึงขนาดที่เสด็จต้อง ตอกย้ำเชียวหรือ แล้วบ้านใหญ่ต้องเปิดไฟเขียวก่อน หรือว่าไม่สนหรอก เปิดไม่เปิด (เคยผ่านตาว่าเสด็จแม่ทรงขวางก๊กออ แสดงว่าน้อยๆ หลวงๆ เป็นปัญหาโลกแตกที่ยืนยง)
สังคมไทยสมัยนั้นอยู่ในระบบ polygamy หมายความว่าผู้ชายมีภรรยาหลายคนในช่วงเวลาเดียวกันได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดกฎหมายและไม่ผิดทางสังคม แต่ฐานะทางสังคมของภรรยาไม่เท่ากัน ภรรยาหลวงคือหญิงที่มีการแต่งงานกันเป็นที่รับรู้ (ทะเบียนสมรสยังไม่มีค่ะ) ส่วนภรรยาน้อยคือได้กันเอง ไม่มีพิธีรีตองออกหน้าอย่างภรรยาหลวง สำหรับหญิงชาวบ้านสามัญ หรือบ่าวในบ้าน การได้เป็นเมียน้อยของขุนนางหรือนายผู้ชาย คือการเลื่อนฐานะให้สบายขึ้น แต่สำหรับหญิงผู้ดีอย่างแม่ของพลอย การไปเป็นเมียน้อยถือว่าไม่สมฐานะ แม่ของพลอยเป็นชาววัง ถึงในเรื่องไม่บอกว่าเป็นลูกสาวใคร ก็มีคำบอกเล่ากว้างๆว่าบิดาเป็นหลานเจ้าจอมมารดาของเสด็จ แสดงว่าเป็นผู้ดี ลูกสาวควรจะได้เป็นภรรยาของขุนนาง ซึ่งหมายความว่าจะมีโอกาสได้เป็นคุณหญิงคุณนาย ถ้าเป็นเมียน้อยก็อดตำแหน่งนี้ เมียหลวงจะยอมรับเมียน้อยหรือไม่ ขึ้นอยู่แต่ละบ้าน บ้านเจ้าคุณพ่อของพลอย คุณหญิงของท่านซึ่งเป็นแม่ของคุณอุ่น ไม่ยอมรับแม่ของพลอยเข้ามาร่วมบ้าน ถึงกับเลิกกับเจ้าคุณ กลับไปอยู่บ้านเดิมที่อัมพวา ข้อนี้เป็นสาเหตุให้คุณอุ่นเกลียดแม่ของพลอยและเลยมาถึงพลอยด้วย ว่าทำให้พ่อแม่เธอต้องเลิกกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 11 ต.ค. 17, 09:42
|
|
6. ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับสี่แผ่นดิน แต่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์บางกอก หลังงานพระเมรุมาศ เจ้าฟ้าศิริราชฯ ก็มีการรื้อไม้มาสร้าง รพ ศิริราช ฝั่งตรงข้ามพระบรม มหาราชวัง ฝั่งกรุงมีที่ดินเหลือเฟือ ทำไมไม่สร้างฝั่งกรุงซึ่งสะดวกในการเดินทางกว่า หรือว่าฝั่งศิริราชเป็นสุขศาลาหรือโรงหมออยู่ก่อนเปล่าครับ
ในรัชกาลที่ 5 ที่ดินฝั่งกรุงเทพไม่ได้มีว่างเหลือเฟืออย่างที่คุณเข้าใจ ผู้คนอยู่กันหนาแน่นในเขตพระนคร ถ้าออกนอกกำแพงเมืองไปไกลกว่านั้นก็คือทุ่งนา ซึ่งไปสร้างโรงพยาบาลอยู่ ไม่สะดวกแก่การเดินทาง คนไข้จะตายเสียก่อนไปถึง ฝั่งธนบุรีเป็นเมืองหลวงเก่า ผู้คนอยู่กันแน่นหนามาตั้งแต่สมัยธนบุรี วังของเจ้านายหลายพระองค์ก็อยู่ทางฝั่งธน สมัยนั้นเดินทางกันด้วยเรือ การข้ามแม่น้ำไปเป็นของง่ายเหมือนขับรถข้ามสะพานสมัยนี้ มาถึงคำถามว่าทำไมสร้างตรงนั้น คำตอบคือตรงนั้นเป็นที่ว่างผืนใหญ่ เดิมเป็นที่ตั้งของวังหลังในรัชกาลที่ 1 ล่วงมาถึงรัชกาลที่ 5 เชื้อสายเจ้านายวังหลังเหลือน้อยมากแล้ว และเป็นเจ้านายสตรีเสียส่วนใหญ่ ที่ดินก็รกร้าง เป็นพื้นที่กว้างพอจะสร้างสิ่งปลูกสร้างใหญ่ๆและขยับขยายได้อีกในภายหลัง จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างรพ.ศิริราชขึ้นที่นั่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
heha
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 11 ต.ค. 17, 18:41
|
|
ขอบคุณครับ
7. จากสภาพสังคมที่ชายมีภรรยาได้หลายคน รักแรกของพลอยพังครืน เพราะพี่เนื่องพลาดพลั้งไป ถ้าพี่เนืองมาสู่ขอพลอยไปเป็นบ้านใหญ่ จะทำได้ไหมครับใน ความเป็นจริง ทีคุณเปรมมีเมียอยู่ก้นบ้าน ยังขอพลอย ไปเป็นบ้านใหญ่ได้
ผมเข้าใจว่าพี่เนื่องหักอกพลอย เพราะผู้แต่งทำทางให้คุณเปรม ก้าวเข้ามา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
heha
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 11 ต.ค. 17, 18:50
|
|
8. เคยปรากฏบ้างไหมครับว่าพระองค์เจ้าโอรสธิดา แผ่นดินที่ 5 ได้รับการถวายพระเพลิงตามวัด ไม่ใช่ใน พระเมรุมาศที่ทุ่งพระเมรุ
และเคยมีครั้งใดบ้างไหม ที่พระเมรุมาศครั้งเดียว ใช้มากกว่า 1 ครั้ง ติดๆ กัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 11 ต.ค. 17, 19:00
|
|
8. เคยปรากฏบ้างไหมครับว่าพระองค์เจ้าโอรสธิดา แผ่นดินที่ 5 ได้รับการถวายพระเพลิงตามวัด ไม่ใช่ใน พระเมรุมาศที่ทุ่งพระเมรุ
และเคยมีครั้งใดบ้างไหม ที่พระเมรุมาศครั้งเดียว ใช้มากกว่า 1 ครั้ง ติดๆ กัน
มีที่บางปะอิน, มีที่สวนมิกสักวัน, มีที่พื้นที่หน้าวัดพระแก้ววังหน้า, ที่หน้าสุสานหลวงวัดราชบพิธ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 11 ต.ค. 17, 19:15
|
|
8. เคยปรากฏบ้างไหมครับว่าพระองค์เจ้าโอรสธิดา แผ่นดินที่ 5 ได้รับการถวายพระเพลิงตามวัด ไม่ใช่ใน พระเมรุมาศที่ทุ่งพระเมรุ
ปกติพระองค์เจ้าจะพระราชทานเพลิงที่เมรุหลวงวัดเทพศิรินทราวาส มีบ้างที่ฌปรดเกล้าฯ ให้ปลูกเมรุผ้าขาวพระราชทานเพลิงที่วัดราชาธิวาส และวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ต่างจังหวัดก็มีที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ
และเคยมีครั้งใดบ้างไหม ที่พระเมรุมาศครั้งเดียวใช้มากกว่า 1 ครั้ง ติดๆ กัน เป็นเรื่องปกติครับ พระเมรุท้องสนามหลวงจะใช้ในการพระราชทานเพลิงพระศพพระรมวงศ์ชั้นเจ้าฟ้าขึ้นไป แต่บางคราวมีพระศพค้างหลายพระศพ ก็จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ที่มีพระอืสริยยศชั้นเจ้าฟ้าหรือสูงกว่าเป็นลำดับแรก แล้วจึงต่อด้วยพระศพพระองค์เจ้าทรงกรมเรียงตามพระอิสริยยศ เช่น การพระเมรุ พ.ศ. ๒๔๖๖ เริ่มจากพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์เป็นที่ ๑ ต่อด้วยพระศพสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัยเป็นที่ ๒ ที่ ๓ พระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสร็จงานพระศพชุดแรกแล้วโปรดเกล้าฯ ให้ถอดฉัตรยอดออกแล้วแปลงเป็นยอดพุ่มข้าวบิณฑ์ตามพระอิสริยศักดิ์ แล้วโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ แล้วปิดท้านด้วยศพ เจ้าพระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) เป็นศพสุดท้าย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
heha
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 11 ต.ค. 17, 23:47
|
|
ขอบพระคุณอาจารย์ และท่าน V_Mee ที่ช่วยแบ่งปันความรู้ครับ เดิมที ผมคิดว่าพระเมรุมาศใช้ครั้งเดียวแล้วรื้อ เช่น คราวสมเด็จย่า พระพี่นาง และเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
9.1 พระโกศแปดเหลี่ยมต้องเผาจริงหรือเปล่าครับ
9.2 ข้าราชการระดับสูง เช่น มรว หลาน กุญชร เหตุใดจึงได้รับ
เกียรติให้ใช้พระเมรุมาศ หรือสุดแต่พระประสงค์ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 12 ต.ค. 17, 06:53
|
|
พระโกศไม่มีการเผาจริงครับ สมัยก่อนเวลาเผาจริงถอดพระโกศหรือลองนอกออกเหลือแต่ลองในเป็นเงินหรือทองแดงปิดทองตามฐานานุศักดิ์ เวลาเผาจริงใช้สุมไฟจากด้านใต้ลองในครับ ปัจจุบันเวลาเผสที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาถรณ์วัดเทพศิรินทร์ บรรจุศพลงในโกศไม้จำลองแล้วยกเข้าเตาเผาครับ
กรณีเจ้าพระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์ที่เป็นหม่อมราชวงศ์แล้วได้รับพระราชทานเพลิงที่พระเมรุท้องสนามหลวงนั้น เป็นการพระราชทานเกียรติยศพิเศษแก่เชื้อพระวงศ์ที่ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ นอกจากรายเจ้าพระยาเทเวศวงศฺวิวัฒน์แล้ว ยังมีอีกท่านคือ จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (ม.ร.ว.อรุณ ฉัตรกุล) อดีตเสนาบดีกระทรวงกระลาโหม ก็ได้รับพระราชทานเพลิงศพที่พระเมรุท้องสนามหลวงต่อท้ายงานพระเมรุเจ้านายด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
heha
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 12 ต.ค. 17, 11:01
|
|
จาก คห 11 ....แต่บางคราวมีพระศพค้างหลายพระศพ
เจ้านายชั้นพระองค์เจ้า น่าจะเป็นโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์ เวลาสิ้นพระชนม์ ก็น่าจะเป็นธุระของสำนักพระราชวัง สมัยก่อนมีกฏระเบียบเหมือนสมัยนี้ไหมครับว่าเจ้านายระดับใด ขอพระราชทานเพลิงศพได้
ผมเคยไปเมืองพาราณสี 2 ครั้ง เห็นการเผาศพริมแม่น้ำคงคา แบบเอาฟืนเรียงล่างและกลบบน กระดูกส่วนสะโพกที่หนาๆ เผาไม่หมด ก็คีบทิ้งน้ำ การเอากระดูกทิ้งน้ำ คงพัฒนามาเป็นพิธีลอยอังคาร บ้านเรา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|