เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 57 58 [59] 60 61 ... 86
  พิมพ์  
อ่าน: 80911 คุยกันเรื่องของเสน่ห์ปลายจวัก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 870  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 18:53

น้ำบูดู น้ำปลา น้ำปลาร้า ล้วนได้มาจากการหมักสัตว์น้ำ  ในภาคเหนือมีน้ำผัก ได้มาจากการหมักผักกาดและน้ำหมักใบเมี่ยง  เราเอาน้ำหมักเหล่านี้ (ยกเว้นน้ำปลา) มาปรุงแต่งเป็นน้ำพริกกินกับผัก   น้ำปลาก็มีการเอามาทำเป็นน้ำพริกเหมือนกัน แต่จะเป็นแบบรสหวานนำ เช่น น้ำปลาหวานที่กินกับผลไม้เปรี้ยว และน้ำปลาหวานที่กินกับสะเดาลวก ผักชีสด และกุ้งเผาหรือปลาดุกย่าง (นึกถึงปลาดุกอุยย่างขึ้นมาในทันใดเลย)

ุนอกจากน้ำบูดูจะเอามาทำเป็นแบบตำเป็นน้ำพริกแล้ว ก็มีการเอามาทำเป็นแบบหลน และทำเป็นแบบที่เรียกว่าทรงเครื่องอีกด้วย ร่อยทั่งเพ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 871  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 18:57

น้ำปลาหวาน สะเดาลวก และปลาดุกย่าง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 872  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 19:32

น้ำบูดูมีความเด่นเป็นพิเศษอยู่เรื่องหนึ่ง คือ มันเข้ากันได้ดีกับบรรดาพืชผักในตระกูลถั่ว (Leguminosae หรือพวก legumes) และโดยเฉพาะพวกที่มีกลิ่นเข้มข้น ก็มีอาทิ สะตอ ลูกเนียง ลูกเหรียง กระถิน    พืชผักอื่นๆก็มีบรรดายอดไม้ใบอ่อนต่างๆเช่น ยอดมะม่วงหิมพานต์ ใบเหลียง (ใบเหมียง ?) ยอดมะกอก ใบชะมวง ยอดสะเดา   และพวกพืชมีเหง้าเช่น ดอกข่า ต้นข่าอ่อน ขมิ้นขาว

เท่าที่เคยทานมายังมีอีกเยอะเลยครับ นึกไม่ออก ลืมชื่อ และที่ไม่รู้จักอีกเยอะเลย   ก็ล้วนแต่เป็นสมุนไพรทั้งนั้น

สำหรับผู้ที่ไตไม่ค่อยดีคงจะต้องศึกษา ระวัง หรือละห่างบ้างก็ดีครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 873  เมื่อ 01 มิ.ย. 18, 18:38

ผมไม่มีความรู้มากพอที่จะกล่าวถึงอาหารของผู้คนในภาคใต้ในแง่มุมต่างๆได้มากนัก   ก็เพียงได้รู้ ได้เห็น และได้กินตามที่เขาว่าเป็นของอร่อย เป็นของดีของดัง เป็นของมีชื่อของถิ่นนั้นๆ

ของดังในยุคของการสื่อสาร 2G ที่ผมซึ่งเป็นคนนอกพื้นที่ได้ยินและรู้จัก  เท่าที่นึกออกก็มี สะตอของ อ.ลานสะกา จ.นครฯ ซึ่งไม่แยกออกเป็นสะตอดาน หรือ สะตอข้าว   มีน้ำบูดูสายบุรี ของ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี   มีข้าวเหนียวมูลหน้าต่างๆ ซึ่งห่อขายเป็นอาหารเช้า ของระนอง ตรัง และภูเก็ต    ขนมเค็กลำพูรา(ปัจจุบันสะกด ลำภูรา)ของบ้านลำพูรา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง    ข้าวมันไก่ของ อ.เบตง   ร้านอาหารทะเลอร่อยที่ยะลา  ผัดหมี่ฮกเกี้ยนของ จ.ภูเก็ต  ผลไม้ของ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ...

เมื่อเริ่มเข้ายุค 3G  ก็มีชื่ออื่นๆเข้าเบียนจนทำให้ชื่อของดังแต่เดิมซบเชาลงไป  ก็มีอาทิ ข้าวราดแกงนครศรีฯ   ผัดหมี่ปูภูเก็ต   หมูย่างเมืองตรัง   ขนมจีนกับผักเหนาะ   คั่วกลิ้ง แกงไตปลา  แกงเหลือง  ปลาทอดขมิ้น  มะม่วงเบา ..... 

ในปัจจุบันก็มีอาทิ ข้าวยำที่จัดอย่างสวยงาม   แกงและผัดที่ใส่ใบยี่หร่า  น้ำพริกมะขาม  ใบเหรียงผัดไข่  ขนมต่างๆ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 874  เมื่อ 01 มิ.ย. 18, 19:02

น้ำพริกแกงของอาหารใต้มีเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง คือ เผ็ดด้วยพริก ร้อนด้วยพริกไทย และใส่ขมื้น  ต่างกับของภาคอื่นที่จะเลือกใช้ชนิดของพริกเพื่อทำให้รสออกไปทางเผ็ดมากหรือร้อนมาก   ทางใต้ทำให้แกงออกรสเปรี้ยวด้วยส้มแขก และส้มควาย (และมะเฟือง)  ต่างกับของภาคอื่นๆที่ใช้มะขาม   ทางใต้นิยมใช้ยี่หร่า แต่ที่อื่นๆนิยมใช้กะเพรา

ข้อสังเกตดังกล่าวนี้ ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ครับ ? 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 875  เมื่อ 01 มิ.ย. 18, 20:31

น้ำบูดู และผักจิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 876  เมื่อ 01 มิ.ย. 18, 20:34

หมูย่างเมืองตรัง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 877  เมื่อ 01 มิ.ย. 18, 20:39

อาหารปักษ์ใต้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 878  เมื่อ 02 มิ.ย. 18, 11:56

ใบหลียงผัดไข่


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 879  เมื่อ 02 มิ.ย. 18, 17:53

สงสัยครับ ขอความรู้ด้วยครับ

ลูกเหลียงหรือลูกเหรียง ต้นเหลียงหรือต้นเหรียง ที่เป็นไม้กินลูก  และ  ใบเหลียงหรือใบเหรียง ผักเหลียงหรือผักเหรียง ที่เป็นไม้กินใบ   ชื่อของพืชทั้งสองชนิดนี้ ชนิดใดสะกดด้วยตัว ล และชนิดใดสะกดด้วย ร ครับ

ต้นที่กินใบนั้น มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ผักเหมียง  ก็ไม่ทราบว่า ที่เรียกกันว่าผักเหลียง(เหรียง?)หรือใบเหลียง(เหรียง?)นั้น ออกเสียงเพื้ยนไปหรือว่าคนต่างถิ่นออกเสียงผิดหรือเรียกชื่อผิด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 880  เมื่อ 02 มิ.ย. 18, 20:19

ผักเหลียง
ผักเหลียง (Baegu) จัดเป็นผักเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ นิยมใช้ใบอ่อนประกอบอาหาร อาทิ ผัดผัดเหลียง แกงเหลียง ผัดใส่ไข่ แกงจืด ห่อหมก ลวกจิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดคู่กับกับข้าว มีราคาขายอยู่ในช่วงกิโลกรัมละ 80-100 บาท

http://puechkaset.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87/

ส่วน เหรียง มีคำอธิบายดังนี้
เหรียง
ต้นเหรียงเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีลำต้นมีความสูงได้ถึง 50 เมตร ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกับสะตอ แต่จะแตกต่างกันตรงที่พุ่มใบของต้นเหรียงมักจะเป็นพุ่มกลม ไม่แผ่กว้างมากนัก เปลือกต้นเรียบ ที่กิ่งก้านมีขนปกคลุมขึ้นอยู่ประปราย และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงสว่างและพื้นที่ค่อนข้างชุ่มชื้น มักจะเริ่มผลัดใบในช่วงที่ออกช่อดอก และใบจะหลุดร่วงจนหมดต้นเมื่อผลเริ่มแก่พร้อมๆ ไปกับใบอ่อนที่จะเริ่มผลิออกมาใหม่

ผลเหรียง หรือ ฝักเหรียง กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 22-28 เซนติเมตร ตัวฝักตรง ฝักเมื่อแก่เต็มที่เปลือกจะแข็งและมีสีดำ ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดประมาณ 11 x 20 เซนติเมตร หนึ่งฝักมีเมล็ดประมาณ 20 เมล็ด โดยจะออกผลหรือฝักในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และฝักจะแก่ในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ลูกเหรียง หรือ หน่อเหรียง มีลักษณะคล้ายกับถั่วงอกหัวโตแต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าและมีสีเขียว มีรสมันและกลิ่นฉุนเล็กน้อย เกิดมาจากการนำเมล็ดเหรียงของฝักแก่ไปเพาะเพื่อให้เมล็ดงอกรากและมีใบเลี้ยงโผล่ขึ้นมาเหมือนกับถั่วงอก จึงจะสามารถนำมารับประทานได้

ประโยชน์ของเหรียง
1.ลูกเหรียง หรือหน่อเหรียง หรือเมล็ดเหรียง ใช้รับประทานสดแกล้มกับน้ำพริกหรือแกงใต้ หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น การทำแกง แกงหมูลูกเหรียง ผัด หรือจะนำไปทำเป็นผักดองก็ได้
2.เหรียงจัดเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง จึงมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงดินได้ดี ส่วนของใบเหรียงนั้นมีขนาดเล็กจึงเหมาะแก่การนำมาใช้ปลูกควบคู่ไปกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น การปลูกกาแฟ ก็จะช่วยทำให้ผลผลิตของกาแฟสูงขึ้นติดต่อกัน

http://www.sookjai.com/index.php?topic=187243.0

ภาพข้างล่าง ซ้าย ใบเหลียง  ขวา เมล็ดเหรียง
เป็นไม้คนละชนิดกันค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 881  เมื่อ 03 มิ.ย. 18, 17:36

ขอบพระคุณครับ  ได้รับความกระจ่างดี  สรุปได้ว่าชื่อของต้นที่เรากิบใบของมันนั้น สะกดด้วยตัว ล  ส่วนต้นที่เรากินเม็ดในฝักของมันนั้น สะกดด้วยตัว ร

ผมกินมันทั้งสองอย่างนี้ แล้วก็ชอบมากอีกด้วย ชอบมากพอที่หาเอาต้นเหลียงไปปลูก ตอนนี้เก็บยอดมันมากินได้แล้วครับ  ส่วนต้นเหรียงนั้นไม่ได้ปลูก แต่ไปปลูกต้นสะตอซึ่งยังไม่โตพอจะให้ผลครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 882  เมื่อ 03 มิ.ย. 18, 18:31

อีกหนึ่งลูกไม้ที่คนใต้เขากินกัน คือ ลูกเนียง  แต่ไม่ถูกโฉลกกับผมก็เลยกล่าวถึงได้เพียงแต่ชื่อเท่านั้นครับ   

แล้วก็มีฝักกระถินที่เก็บเอาฝักอ่อนมาจิ้มน้ำพริก สำหรับฝักที่เริ่มแก่ก็แกะเอาเม็ดในของมันเอาไปใส่ในข้าวยำ ส่วนยอดของมันเอาไปเป็นผักเหนาะขนมจีนหรือจิ้มน้ำพริก อีกทั้งกินเป็นผักแนม(หรือเครื่องเคียง)กับหอยนางรมสด (ซึ่งเข้ากันได้ดีอย่างเหลือเชื่อ)

อ้อ มีเม็ดขนุนอีกอย่างหนึ่งที่คนใต้เขาเอาไส่ในแกงเผ็ดต่างๆและแกงใตปลา  ส่วนขนุนอ่อนก็ใช้ใส่ในแกงกะทิเช่นแกงคั่ว     ซึ่งต่างไปจากภาคเหนือที่นิยมเอาขนุนอ่อนมาแกงกับกระดูกหมู หรือเอามาผัดกับเครื่องน้ำพริกทำเป็นยำขนุนกินกับแคบหมู    สำหรับในภาคอีสานนั้น ก็เอาขนุนอ่อนมาทำอาหารพวกแกงเช่นกัน ที่เรียกว่า ซุบบักมี่  เข้าใจว่าขนุนอ่อนก็มีการนำมาใช้ในการทำอาหารของภนในภาคกลางด้วย แต่นึกไม่ออกเลยว่าเคยกินหรือเคยเห็นที่ใหน ?

ขนุนอ่อนมีประโยชน์มากทั้งในทางโภชนาการและในทาง preventive healthcare นะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 883  เมื่อ 03 มิ.ย. 18, 18:58

เมนูขนุนอ่อนค่ะ

https://cookpad.com/th/search/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 884  เมื่อ 03 มิ.ย. 18, 21:45

ผมชอบทานใบเหลียงผัดไข่ เพื่อนอยู่ชุมพรบอกมีแถวบ้านเต็มไปหมด บอกให้ส่งกิ่งอ่อนมาให้ปลูกบ้างยังไม่ได้เสียที เห็นว่าปลูกแถวภาคกลางไม่ค่อยขึ้น ต้องเป็นภาคใต้สงสัยน้ำท่วมบ่อย 555
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 57 58 [59] 60 61 ... 86
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง