naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1260 เมื่อ 17 ต.ค. 18, 16:59
|
|
ครับ แซบและร้อน(ด้วยพริกไทย)เอาการเลยทีเดียว ยิ่งใส่ใบยี่หร่าลงไปด้วยก็จะยิ่งรู้สึกถึงความเข้มข้นของกลิ่นและรสที่จัดจ้าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1261 เมื่อ 17 ต.ค. 18, 18:04
|
|
ถึงสุราษฎร์ก็สามารถจะเลือกไปตามทางเลาะชายทะเลฝั่งอ่าวไทยผ่านนครศรีธรรมราชลงสู่สงขลา หรือจะใช้เส้นทางกลางด้ามขวานทองผ่านพัทลุงสู่หาดใหญ่ หรือจะแยกไปทางชายฝั่งทะเลฝั่งอันดามันสู่กระบี่เข้าภูเก็ต หรือลงใต้ต่อไปสู่ตรังและสตูล
แต่ละจังหวัดดังที่ได้กล่าวถึงชื่อเหล่านี้ล้วนมีของกินอร่อยๆจนเลื่องลือจนต้องมีชื่อของจังหวัดเหล่านี้ประทับตราต่อท้าย ลองไล่เรียงดูสักหน่อยก็จะมี อาทิ แกงฝีมือครัวนครศรีธรรมราช ปลาดุกร้าของพัทลุง หวากแถวสทิงพระ-ระโนด ยำมะม่วงเบาของสงขลา กาแฟเขาช่องของตรัง หมูย่างตรัง เค้กลำภูราของตรัง ซาละเปาทับหลีของระนอง กาแฟของสตูล ไก่ทอดหาดใหญ่ ไก่ทอดเทพา น้ำบูดูของสายบุรีของปัตตานี เงาะนาสารของสุราษฎร์ ลองกองตันหยงมัสของนราธิวาส ข้าวมันไก่เบตง ......นึกไม่ออกแล้วครับ ไม่นับรวมโรตี ข้าวหมกไก่(ที่มีความหอมและอร่อยต่างกันจากการใช้เครื่องเทศที่ต่างกัน)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1262 เมื่อ 17 ต.ค. 18, 18:14
|
|
ไก่ทอดหาดใหญ่ ขึ้นชื่อลือชามานานแล้ว น่ากินสุดๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1263 เมื่อ 17 ต.ค. 18, 18:16
|
|
ไก่ทอดเทพา ไร้หนัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1264 เมื่อ 17 ต.ค. 18, 18:49
|
|
ลองนึกภาพดูก็จะเห็นว่าของกินอร่อยๆในภาคใต้นั้น แต่ละจังหวัด แต่ละพื้นที่ ลงไปถึงในระดับอำเภอ หรือแม้กระทั่งในระดับหมู่บ้าน ล้วนมีของดีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน โด่งดังไปทั่วประเทศ กระทั่งในระดับโลกก็มี และมีมากกว่าในภาคอื่นๆของเรา ซึ่งถึงแม้ว่าจะพื้นที่จะมีปัญหาในเรื่องของความไม่สงบอยู่ก็ตาม แต่ชื่อเสียงของๆดีเหล่านั้นในเชิงของด้านคุณภาพก็ยังคงอยู่ แม้ในเชิงปริมาณจะลดลงหรือขาดหายไปก็ตาม ด้วยศักยภาพของภาคใต้ในทุกรูปแบบที่ถูกเบียดบังไว้เหล่านี้ เมื่อใดที่ได้กลับสู่สภาวะปกติสุข ก็คงจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองร่ำรวยกันไปเท่านั้นแล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1265 เมื่อ 17 ต.ค. 18, 19:08
|
|
นึกออกอีกสองสามอย่างครับ ข้าวดอกข่าของพังงา ข้าวสังข์หยดของพัทลุง หมี่กะทิของภูเก็ต ขนมลาของนครฯ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ของระนอง ไข่เค็มไชยา (โดยเฉพาะแบบดิบ เอามาทอดแบบไข่ดาว อร่อย...อืม์)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1266 เมื่อ 17 ต.ค. 18, 19:19
|
|
เค้กเมืองตรัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1267 เมื่อ 17 ต.ค. 18, 19:21
|
|
ขนมลาเมืองคอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1268 เมื่อ 18 ต.ค. 18, 18:12
|
|
สังเกตใหมครับว่า ของที่ว่าอร่อยเกือบทั้งหมดจะอยู่บนเส้นทางผ่าน และหลายอย่างก็จะต้องตั้งใจออกนอกเส้นทางหลักของการเดินทางเพื่อแวะเข้าไปเป็นการเฉพาะ แวะเข้าไปถึงที่แล้วก็ยังไม่รู้ว่าเจ้าใหนที่ทำอร่อย แล้วก็ไม่รู้ว่าที่ว่าทำแบบดั้งเดิมนั้นมันเป็นการทำแบบดั้งเดิมจริงๆหรือแปลงมาแล้ว กระทั่งที่บอกว่าเจ้าที่อร่อยนั้น รสชาติมันเป็นไปตามรสปากของคนภาคใด หรือผู้ใด หรือจากองค์ประกอบอื่นใด ?
ก็น่าคิดว่า ด้วยเหตุใดของเหล่านั้น จึงเด่นดังและมีชื่อเสียงกระจายเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศจนต้องมีชื่อสถานที่ห้อยพ่วงท้าย แถมหลายอย่างยังมีความเด่นดังจนเป็นที่รู้จักของนานาชาติ ซึ่งก็คงจะเป็นเพราะว่า มันเริ่มต้นจากของที่เป็นของดีจริงๆ หากไม่ดีจริงก็คงไม่จะไม่มีผู้คนในพื้นที่กล่าวถึง นำออกมาแนะนำ และอวดโอ้ของดีๆเหล่านั้น ซึ่งเมื่อเราขุดคุ้ยลงไปดูถึงพื้นฐานลึกๆก็พอจะเห็นว่ามันมีความต่างที่บ่งบอกไปในเชิงของภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดกันมาจนกลายเป็นของที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น อันเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งในระบบกฎหมายสากลที่ว่าด้วยเรื่องของ Intellectual Properties เราอาจจะขาดการศึกษาติดตามการและดำเนินการปกป้องดูแลโดยคนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ก็เลยมีทรัพย์สินทางปัญญาของเราถูกขโมยไปเป็นของคนอื่นหลายอย่างแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1269 เมื่อ 18 ต.ค. 18, 18:48
|
|
กรณีเช่น Thai curry นั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตนใหม ?
ในความเห็นเท่าที่ผมพอจะมีความรู้ ผมว่ามี ที่เรียกว่าแกงที่ใช้ Curry paste ของไทยเรานั้น มีองค์ประกอบที่ใช้พืชสมุนไพร (Herbs) เกือบทั้งหมด ก็มีน้ำพริกแกงบางอย่างที่ต้องใส่เครื่องเทศ เช่น แกงเขียวหวาน และแกงมัสมั่น ต่างกับแกงที่เรียกว่า Curry ในความหมายของฝรั่งและคนชาติอื่นๆ ที่หมายถึงเครื่องแกงที่ประกอบไปด้วยการใช้เครื่องเทศหลายชนิดที่เรียกกันว่า Masala
Thai curry dish ก็เลยมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ??
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1270 เมื่อ 18 ต.ค. 18, 19:14
|
|
จะถูกหรือผิดก็ไม่รู้นะครับ จากประสบการณ์ ผมเห็นว่า รากผักชี นั้นเป็นองค์ประกอบที่ทำให้อาหารไทยของภาคกลางทั้งด้านตะวันตกและตะวันออก (หรืออาหารที่ทำแบบไทย) มีความเด่นในเชิงที่เป็นเอกลักษณ์ สำหรับทางภาคใต้ก็คือ พริกไทย ในภาคเหนือก็คือ มะแขว่น ในภาคตะวันออกก็คือ เหง้าต้นเร่ว และในภาคอิสานก็คือ แจ่ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1271 เมื่อ 18 ต.ค. 18, 20:33
|
|
ภาคกลาง นอกจากรากผักชีแล้ว ก็ต้องมีกระเทียม พริกไทยและเกลือ ร่วมด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1272 เมื่อ 19 ต.ค. 18, 18:13
|
|
ครับ นึกถึงพวกที่มีชื่อลงท้ายด้วยกระเทียมพริกไทยขึ้นมาในทันที โดยเฉพาะกุ้งทอดกระเทียมพริกไทยที่ใช้เกลือทะเลเล็กน้อยในการแต่งรสให้กลมกล่อม
จะทำให้อร่อยหอมจริงๆก็ต้องมีการหมักไว้สักพักใหญ่ๆ เอาพริกไทยขาวใส่ครกแล้วขยี้ให้แหลก ตามด้วยเกลือเม็ดและกระเทียมไทยที่ปอกเอาเปลือกส่วนที่แข็งออกไป โขลกให้เข้ากันดี ปอกเปลือกกุ้ง ผ่าหลังดึงเอาเส้นดำๆ(vein)ออกไป..(เลี่ยงใช้คำที่อาจไม่สุภาพครับ) เอากุ้งคลุกก้บเครื่องที่ตำไว้ จะคลุกในครกก็ได้หรือจะทำในจานนอกครกก็ได้ ทิ้งไว้สักครึ่งชั่วโมง แล้วจึงเอาลงทอดในกะทะน้ำมันร้อน (ใช้น้ำมันในปริมาณคล้ายกับการทำอาหารจานผัด) สุกดีแล้วก็ตักใส่จานแบบกวาดน้ำมันให้หมดกะทะ ทานกับข้าวร้อนๆ และที่ขาดไม่ได้ก็คือน้ำปลาพริกขี้หนูใส่หอมซอยบีบมะนาว ทำให้อร่อยมากยิ่งขึ้นด้วยการตักน้ำมันในจานกุ้งมาคลุกข้าว เหยาะด้วยน้ำปลาแล้วกินกับกุ้งที่ทอดนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1273 เมื่อ 19 ต.ค. 18, 18:27
|
|
ขออภัยครับ ลืมใส่รากผักชีลงไปตำในครกด้วย เลยขาดกลิ่นหอมที่ยั่วยวนน้ำลายไปอย่างมากเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1274 เมื่อ 19 ต.ค. 18, 19:15
|
|
กุ้งทอดกระเทียมพริกไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|