เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 74 75 [76] 77 78 ... 86
  พิมพ์  
อ่าน: 80804 คุยกันเรื่องของเสน่ห์ปลายจวัก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1125  เมื่อ 29 ส.ค. 18, 19:39

แกงเผ็ดเนื้อ  ลดความเผ็ดด้วยน้ำปลา-พริกขึ้หนู-มะนาว-กับหอมซอย แต่กลับยิ่งไปช่วยทำให้มีรสเข้มข้น จี๊ดจ๊าด อร่อยเพิ่มมากขึ้น   อาหารจานอื่นที่คู่กันกับแกงนี้ ที่เหมาะสมกันก็ดูจะเป็นไข่เจียวแบบฟูๆ ปลาตะเพียนแดดเดียว หรือปลาสละเค็ม   สำหรับตัวผมเองนั้น ไข่เจียวจะต้องใส่หอมแดงซอยและน้ำกระเทียมดองนิดหน่อยจึงจะเด็ด

เมื่อเข้าไปในร้านอาหารที่มีแกงเผ็ดเนื้อ ผมจะถามในทันทีว่ามีขนมจีนหรือไม่ หากมีก็จะสั่งเป็นข้าวผสมกับขนมจีนแล้วราดด้วยแกงเนื้อ แถมด้วยไข่พะโล้หนึ่งใบกับหมูสามชั้นอีกชิ้นสองชิ้น   ก็ยังพอหากินได้อยู่ แต่จะเป็นร้านข้าวราดแกงริมถนนหลวงในต่างจังหวัด

สำหรับแกงเขียวหวานเนื้อนั้น หากรู้สึกอยากกินก็คงจะต้องใช้วิธีกินทำเอง ยังไงๆมันก็เป็นรายการพิเศษอยู่แล้ว ก็เลือกใช้เนื้อโคขุนเสียดีกว่า แทนที่จะใช้เนื้อที่ขายอยู่ตามเขียงขายเนื้อในตลาดสด  แล้วก็หั่นให้หนาพอดีๆ (มิใช่บางเฉียบเพราะว่าเนื้อมันมีราคาแพง)   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1126  เมื่อ 29 ส.ค. 18, 19:45

แกงเขียวหวานเนื้อ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1127  เมื่อ 30 ส.ค. 18, 18:27

ผมมีข้อสังเกตบางเรื่องเกี่ยวกับพวกแกงเข้ากะทิในพื้นที่ภาคกลางว่า   
   อาหารในพื้นที่กรุงเทพฯพวกเข้ากะทิที่ถูกจัดว่าเป็นแกงชั้นดี หรือมือถึง หรืออร่อยเหนือชั้น จัดเป็นพวกแกงที่น้ำแกงค่อนข้างจะมีความข้น  แกงเหล่านั้นดูจะมีการใช้กะทิสองขยักในการปรุง เป็นไปแบบดั้งเดิมที่ถ่ายทอดกันมา คือเอาหัวกะทิคั้นสด(คั้นจากมะพร้าวขูดสองสามครั้ง)ในปริมาณพอเหมาะลงกระทะเคี่ยวแล้วช้อนเอาหัวกะทิส่วนหนึ่ง ตักแยกออกมาพักไว้  จากนั้นเอาน้ำพริกแกงที่ทำใว้ใส่ลงไปผัดไปจนได้ที่ (คือมีความหอมและกะทิแตกมันพอดี) แล้วจึงเอาเนื้อสัตว์ลงไปผัดให้พอสุก จากนั้นก็เอาหางกะทิ(น้ำกะทิที่คั้นจากมะพร้าวขูดต่อมาหลังจากสองสามครั้งแรก)ใส่ลงไป เมื่อน้ำแกงถึงจุดเดือดก็ใส่พวกผักลงไป  หากเป็นแกงที่ต้องใส่พวกมะเขือเปราะและมะเขือพวง เมื่อใส่มะเขือเปราะลงไปแล้วก็รอให้น้ำแกงเดือดอีกครั้งแล้วจึงใส่มะเขือพวง แล้วจึงโรยหน้าด้วยผักแต่งกลิ่น โรยด้วยหัวกะทิเข้มข้นที่ตักพักใว้แต่แรก ปิดฝาให้ระอุก็เป็นอันใช้ได้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1128  เมื่อ 30 ส.ค. 18, 19:02

วิธีการทำดังกล่าวมานั้น ในปัจจุบันคงจะหากินในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลได้ยากมาก 

เรื่องแรกก็คือ กะทิที่ใช้กันก็คงจะเป็นแบบกระทิสำเร็จรูป ซึ่งหมายถึงเป็นกะทิที่มีความเข้มข้น(ไม่แยกเนื้อไม่แยกน้ำ)ทั้งกล่องตามที่ตลาดต้องการ ซึ่งก็คือเป็นน้ำกะทิที่ผ่านกระบวนการกระจายความมัน(หัวและหางกะทิ) เหมือนกับนมสดในปัจจุบัน

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เมื่อเราเริ่มต้นที่น้ำกะทิที่มีความเข้มข้นเท่ากัน มันก็เป็นการยากที่จะควบคุมมิให้อาหารจานนั้นๆมีความมันย่องไปด้วยน้ำมัน(มะพร้าว)เมื่อเราต้องเคี่ยวมัน

และอีกเรื่องหนึ่งก็คือ หากจะทำให้แกงกะทิมีน้ำแกงเข้มข้น มันก็ควรจะเป็นเรื่องของตัวน้ำกะทิข้นๆ มิใช่เป็นเรื่องของตัวเนื้อกะทิข้นๆที่เกิดจากการเคี่ยวแกงนานจนเกินไป (หรือจะใส่อะไรลงไปก็ไม่รู้)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1129  เมื่อ 30 ส.ค. 18, 19:38

เมื่อห่างออกไปจากกรุงเทพฯมากขึ้น ความเข้มข้นของกะทิในพวกอาหารเข้ากะทิก็ค่อยๆลดลงไป  ก็เป็นภาพเมื่อหลายๆปีก่อนโน้น..น..น...

ในปัจจุบันนี้แม้ว่าดูจะเหมือนๆกัน แต่ก็ยังพอจะเห็นมีความต่างกันอยู่บ้าง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1130  เมื่อ 30 ส.ค. 18, 19:42

ในปัจจุบันนี้ ร้านขายข้าวแกงที่ใช้ชื่อจังหวัดกำลังเป็นที่นิยมกัน เท่าที่นึกออกทันทีใน ตจว. ก็มี สุโขทัย ราชบุรี เพชรบุรี นครฯ (นครศรีธรรมราช) ซึ่งพบเห็นอยู่ในตัวจังหวัดต่างๆที่มีการท่องเที่ยว    สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลก็จะมี อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ชันาท    

ส่วนพวกที่เน้นอาหารเอกลักษณ์ ก็จะมี ตรัง (หมูย่าง) นครปฐม (หมูกรอบ หมูแดง เป็ดย่าง ข้าวต้มกุ๊ย)  บางเลน (ก๋วยเตี๋ยวเป็ด)  ชลบุรี (ข้าวต้มกุ๊ย)  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1131  เมื่อ 31 ส.ค. 18, 18:37

ท่านที่เติบโตในพื้นที่จังหวัดเหล่านี้น่าจะให้คำตอบได้ดีว่า ลักษณะเด่นของรสและการปรุงอาหารประเภทข้าวราดแกงที่ทำขายกันในพื้นที่นั้นมีอะไรบ้าง

สำหรับตัวผมเอง ที่พอจะเห็นความแตกต่างกันก็มี     ราชบุรี ดูจะเป็นอาหารที่ออกไปทางที่เรียกกันว่าต้ม... และพวกอาหารที่ไม่เข้ากะทิ    สุพรรณบุรี ดูจะเป็นอาหารที่ออกไปทางที่เรียกว่าแกง... และพวกอาหารที่เข้ากะทิที่เคี่ยวจนแตกมันเล็กน้อย รสชาติไม่เด่นไปทางใด(แต่รู้ว่ามีรสหวานอยู่ด้วย)    สุโขทัย ดูจะออกไปทางอาหารที่ใช้เครื่องปรุงที่หั่นตัดเป็นชิ้นเล็กและหลายอย่าง ออกไปทางอาหารที่ใช้กระทะปรุง รสชาติออกไปทางรสอ่อน ไม่ฉูดฉาด มีรสหวานแฝงอยู่   

สำหรับอ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ดูจะเน้นไปในเรื่องอาหารจากปลาโดยเฉพาะพวกปลากินเนื้อ (ปลาช่อน ปลากราย) ทำเป็นอาหารทั้งแบบหมก(ห่อหมก) และเผา(ย่าง)               
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1132  เมื่อ 31 ส.ค. 18, 18:49

ห่อหมกปลาช่อน


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1133  เมื่อ 31 ส.ค. 18, 20:58

ต้องขออภัยที่ผมกำลังจะก้าวล่วงเข้าไปในวิทยาการอีกสาขาหนึ่ง 

ในมุมมองหนึ่ง ห่อหมกน่าจะจัดเป็นหนึ่งในเมนูอาหารสุขภาพชั้นดีเยี่ยม  ลองพิจารณาดูก็จะเห็นว่า องค์ประกอบของเครื่องปรุงจะประกอบด้วยสมุนไพรที่มีสารที่ให้ฤทธิในทางอาหารเสริมและยา  ในน้ำพริกก็จะมี เกลือทะเล พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด กะปิ ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายอย่าง มีสารที่ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยในการย่อยอาหาร มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ    เนื้อปลาก็มีโอเมก้า3 ผักที่ใช้รองก้น(ใบยอ โหระพา ผักกาด กะหล่ำปลี ใบเหลียง..) ก็ล้วนมีแร่ธาตุและสารต่อต้านอนุมูลอิสระ   ในห่อหมกมีน้ำและน้ำมันตั้งแต่ก่อนที่จะทำให้สุกต่อเนื่องไปจนถึงเมื่อเป็นอาหารพร้อมกิน ซึ่งต่างก็ช่วยในการละลายวิตามินและแร่ธาตุ(ที่มีอยู่ในองค์ประกอบของเครื่องปรุงต่างๆ)ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้อย่างครบทุกหมู่         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1134  เมื่อ 01 ก.ย. 18, 18:30

อาหารแบบข้าวราดแกงของเพชรบุรี ดูจะมีลักษณะเด่นออกไปทางขลุกขลิกและมีรสนุ่มนวล  ซึ่งคงจะมาจากการใช้น้ำตาลตะโหนดช่วยในการปรับรส (บางพื้นที่ของสุโขทัยและพิษณุโลกก็เช่นเดียวกัน)   

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1135  เมื่อ 01 ก.ย. 18, 19:26

คนเดินทางส่วนมาก เมื่อผ่านเพชรบุรีก็มักจะนึกถึงขนมหวานต่างๆ ซึ่งมีความเด่นอยู่ที่การใช้น้ำตาลตะโหนด ทำให้ขนมหวานมีกลิ่นหอมและมีรสหวานแบบนุ่มนวล  

เรื่องน้ำตาลจากต้นตาลและจากมะพร้าวนี้ ก็คงพอจะรู้กันอยู่ว่าน้ำตาลจากต้นมะพร้าวนั้นหาได้ง่ายกว่าน้ำตาลจากต้นตาล  ต้นมะพร้าวนั้นปลุกได้ง่ายกว่าต้นตาลมาก ก็จึงเห็นมีแต่สวนมะพร้าว ไม่มีสวนตาล    

น้ำตาลมะพร้าวที่มีขายกันอยู่ในท้องตลาด ก็มีแบบที่เป็นลักษณะขนมครกสองฝาประกบกัน ที่พ่อบ้านแม่เรือนนิยมซื้อเก็บไว้ใช้ประจำครัว   แบบที่มีสภาพกึ่งเหลวสีเหลืองๆ ที่นิยมซื้อไปใช้ในการปรุงรสอาหารโดยทั่วไป    และแบบกึ่งเหลวที่ออกไปทางสีชมพู แบบนี้เขาว่าใช้ทำส้มตำอร่อย     น้ำตาลตะโหนดดูจะมีทำขายอยู่ในรูปแบบเดียว คือเป็นก้อนๆรูปทรงต่างๆ

แล้วเราก็น่าจะให้ความสนใจอยู่เรื่องหนึ่ง คือ น้ำตาลพวกนี้ไม่ควรจะมีความหวานแหลมดังเช่นน้ำตาลทรายขาว ด้วยว่าการที่ทำให้น้ำตาลพวกนี้มีความหวานที่เข้มข้นหรือทำให้มันจับตัวกันเป็นก้อนแข็งๆได้นั้น อาจจะมีการต้องมีการใส่อะไรบางอย่างเพิ่มลงไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1136  เมื่อ 01 ก.ย. 18, 19:29

น้ำตาลมะพร้าว


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1137  เมื่อ 02 ก.ย. 18, 18:34

ตลาดสดของเพชรบุรีก็มีเอกลักษณ์ของเขา โดยเฉพาะส่วนที่เป็นช่องยาวหลังตึกแถวฝั่งถนนเลียบแม่น้ำเพชร   ในความเห็นของผมนั้น เห็นว่าตลาดสดในเมืองเพชรฯนั้นมีของสดประเภทที่เหมาะแก่การจับจ่ายไปทำอาหารเองที่บ้าน คือเป็นพวกที่เอาไปจัดการเองได้ มีความสด เหมาะสมทั้งในด้านขนาด และในเชิงของความหลากหลาย  พืชผักก็มีครบ สด และหลากหลายชนิดมากพอที่จะใช้ปรุงอาหารแบบเก่าก่อน

ที่ผมชอบเป็นพิเศษก็คือ มีหมึกสายแห้งขาย รสอาจจะเค็มมากไปหน่อย ก็เพียงเอามาแช่น้ำสักพักใหญ่ๆแล้วก็เอาลงทอด หั่นเป็นชิ้นๆ  มันมีความเหนียว จึงเคี้ยวได้แบบหนึบๆมันๆ (chewy)  จะ(แอบ)หยับมากินเล่นก็ได้ จะกินเป็นของแนมก็ได้ หรือจะกินกับข้าวต้มพุ้ยก็ได้ (อันนี้ดูจะเปลืองข้าวต้มมากกว่าเปลืองกับ)     

ในตลาดก็มีแมงดาทะเลทั้งแบบสดและนึ่งแล้ว คนที่ชอบกินไข่แมงดาทะเลก็อาจจะนึกถึงเอามาแกงคั่วกับสับปะรด หรือเอามาจิ้มกับน้ำจิ้มรสแซบ หรือเอามายำกับมะม่วงสับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1138  เมื่อ 02 ก.ย. 18, 19:06

ตัวผมเองนึกฝันไปถึงการเอาไข่แมงดาที่จับกันเป็นก้อนๆนั้น ไปลวกในน้ำเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือน้ำอุ่นๆแล้วยีให้มันแยกออกมาเป็นเม็ดๆ  หั่นหรือสับหอมใหญ่เป็นชิ้นเล็กๆ เอาขนมปังแผ่นหั่นเป็น 4 ชิ้น ทอดในน้ำมันพอเกรียมสวย  เอาหอมที่เตรียมไว้วางรองพื้นชิ้นขนมปัง ตักไข่แมงดาลงไป แล้วบีบมะนาวใส่ลงไปเล็กน้อย  ก็คงจะอร่อยดี    เพียงแต่ว่าจะ แต่ก็ยังไม่เคยทำสักครั้ง

จะกินแมงดาทะเลก็จะต้องรู้เลือกและระวังนะครับ มันมีตัวที่ดูเหมือนกันที่เรียกว่า เห-รา หรือแมงดาถ้วย ซึ่งจะมีหางกลม เป็นพวกที่มีพิษ   กับแมงดาจานที่มีหางเหลี่ยม ซึ่งเป็นพวกที่กินได้   รู้มาเช่นนั้นแต่ไม่มีความรู้มากพอที่จะยืนยันได้ 100% ว่าเป็นเช่นดังที่ว่าหรือไม่ ผู้รู้บางคนก็บอกว่าจะมีพิษหรือไม่มีพิษนั้นมันขึ้นอยู่กับฤดูกาล
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1139  เมื่อ 02 ก.ย. 18, 19:33

อีกอย่างหนึ่งที่มีขายในตลาดสดเมืองเพชร ก็คือปลากระเบนตัวเล็ก  ผมไม่แน่ใจนักว่าเป็นชนิดเดียวกันกับที่ทางภาคใต้เรียกว่า จ้องม้อง หรือไม่  ผมรู้เล็กน้อยมากกับอาหารจากปลากระเบนตัวเล็กนี้ รู้ว่าเอามาทำอาหารพวกออกรสเผ็ดๆได้  แต่หากเอามาเผา(ย่าง) ก็จะได้กลิ่นหอมยั่วยวน เอามาจิ้มน้ำปลามะนาวหอมซอยหรือน้ำจิ้มทะเล ก็จะอร่อยกันไป

กระเบนเล็กนี้เกือบจะไม่เห็นมีขายในตลาดแม่กลอง  มีแต่เชิงกระเบนตัวใหญ่ที่ย่างสำเร็จรูปแล้ววางขายอยู่  ซึ่งนอกจากจะเอามาฉีกจิ้มน้ำปลากินแล้ว ก็เอามาทำเป็นผัดเผ็ดที่ใส่เครื่องปรุงแบบที่ใช้ในการผัดเนื้อสัตว์น้ำที่มีความคาว หรือเอามาทำแกงคั่วก็ได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 74 75 [76] 77 78 ... 86
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง