เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 70 71 [72] 73 74 ... 86
  พิมพ์  
อ่าน: 80351 คุยกันเรื่องของเสน่ห์ปลายจวัก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1065  เมื่อ 24 ก.ค. 18, 19:47

อาจารย์ส่งรูปมาแบบน่ากินมาให้ชวนน้ำลายไหล

รูปทางซ้ายมือใน ค.ห.ของอาจารย์ เขาใช้ใบ Thyme สดใส่มาด้วย  

การหมักเนื้อแกะตามปกติทั่วไปจะมีเครื่องปรุงพื้นฐานอยู่ไม่กี่อย่าง นอกจากเกลือและพริกไทยดำแล้ว ก็มักจะเลือกใช้ ใบ rosemary, ใบ thyme, ใบ sage, ใบสะระแหน่, กระเทียม, mustard, มะนาว, ไวน์ขาวหรือไวน์แดง   สำหรับการใช้ผงป่นลูกจันทน์นั้นไม่ค่อยจะมี

ในปัจจุบันนี้ เราสามารถปลูกต้น Rosemary ทั้งพันธุ์ใบเล็กและใบใหญ่ได้เองที่บ้าน อาจจะต้องดูแลเอาใจใส่มากหน่อย  ต้น Thyme ก็ปลูกเองได้ อันนี้ดูแลง่ายมาก ขอให้มีน้ำดีหน่อยภายใต้แดดรำไรก็ได้แล้ว   ใบ Sage ก็ปลุกได้ง่ายๆ ลงทุนซื้อใบสดที่มีขายในซุปเปอร์ฯ เอามาปักชำก็ขึ้นแล้ว    

ใบ rosemary ฝรั่งนิยมใช้กับพวกเนื้อสัตว์สี่เท้าที่ต้องย่างหรืออบ   ใบ thyme นิยมใช้กับพวกอาหารปลา  และ sage นิยมใช้กับพวกสัตว์ปีก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1066  เมื่อ 24 ก.ค. 18, 20:23

รูปข้างล่างนี้คือแกงน้ำข้นชื่อ Railway Mutton Curry   ดูไม่ออกว่าแกะหรือแพะค่ะ  เพราะเขาใช้คำว่า mutton ตลอด

เดาเอานะครับ ดูจากลักษณะของกระดูกแล้ว น่าจะเป็นแพะครับ   กระดูกแกะมักจะมีขนาดประมาณนิ้วนาง ส่วนกระดูกแพะจะมีขนาดประมาณนิ้วก้อย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1067  เมื่อ 24 ก.ค. 18, 20:58

เนื้อ mutton ที่เป็นแกะนั้น ก็มีการเอามาทำเป็นแกงแบบแขกเช่นกัน หากไม่เห็นกระดูกเลยก็เดาไม่ออกเลยว่าเป็นแพะหรือเป็นแกะ

ฝรั่งนิยมเอา mutton มาทำอาหารประเภททำให้สุกแบบช้าๆ เช่น stew และใส้ pie   แต่เคยมีประสบการณ์ในออสเตรเลียเมื่อครั้งได้มีโอกาสในช่วงเวลาหนึ่ง ได้สัมผัสกับชีวิตของคนทำงานในอุตสาหกรรมหนักหลายแห่ง   อาหารเช้าของเขาจะมี mutton steak ชิ้นบางๆ หนาประมาณ 1 ซม. ขนาดประมาณฝ่ามือ กับไข่ดาว 2 ฟอง แรกๆก็รู้สึกเหนียว หั่นยาก และมีกลิ่นขิ่วเข้มข้น พอหลายครั้งก็เคยชิน กลายเป็นอร่อยไป

แล้วก็เคยต้องทาน kidney pie ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งในเมืองชนบท  ของทำง่ายแต่ทานยากชะมัดเลย แค่เนื้อแกะและไตแกะสับรวมกันกับหอมใหญ่ ปรุงรสแล้วเอาไปทำเป็นใส้ของ pie แล้วใส่เตาอบให้สุก    ว้าว..ขิ่วขนาดทีเดียวเลยละครับ     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1068  เมื่อ 24 ก.ค. 18, 21:11

kidney pie น่าจะหากินง่ายในอังกฤษ แต่ในอเมริกายังไม่เคยสั่งมากินค่ะ   ไม่รู้ด้วยว่าจะหาได้ในร้านอาหารไหน
เปิดกูเกิ้ลพบคำว่า steak and kidney pie เยอะมาก   อย่างในรูปข้างล่างนี้   พอมีคำว่า steak  ก็สงสัยว่าน่าจะตำรับของอเมริกัน
ใช้เนื้อวัวกับไตเป็นไส้ของพาย    
พายชนิดนี้น่าจะกินเป็นของคาว แบบเดียวกับพายไก่ หรือพายเนื้อ    ไม่รู้รสชาติออกมาเป็นไง แต่พอรู้ว่าอาจได้ของแถมเป็นกลิ่นขิ่ว ก็ไม่อยากลองแล้วละค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1069  เมื่อ 25 ก.ค. 18, 18:39

อยากจะแนะนำ 3-4 เมนูอร่อยๆ แบบไม่ต้องกลัวขิ่ว อาจจะมีกลิ่นนิดๆหรือไม่มีเลย

จานแรกคือ Irish stew   ตั้งแต่ทานมาไม่ว่าจะเป็นร้านใด ไม่ว่าคนทำจะเป็นคนชาติเจ้าของเมนูหรือคนต่างชาติใดๆ จะในประเทศเจ้าของเมนูหรือไม่ก็ตาม ไม่เคยผิดหวังในความอร่อยเลย

จานที่สองคือ Rack of Lamb และ Lamb chop  จานนี้เป็นของมักของฝรั่ง มีราคาค่อนสูงกว่าอาหารทั่วไป แต่ความอร่อยนั้นไม่ค่อยจะแน่นอน ขึ้นอยู่กับสไตล์การทำและครื่องปรุง และทั้งฝีมือของพ่อครัว 

จานที่สามคือ ที่ทำด้วยวิธีการ poaching หรือตุ๋น(?) แบบฝรั่ง  จานนี้ไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นเลย ดูจะเป็นจานที่นิยมกันในหมู่ผู้สูงวัย และในถิ่นที่ผู้คนมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย (โดยเฉพาะในยุโรป)

จานที่สี่ เป็นแบบไทยแปลง  ก็เอาเนื้อแกะส่วนที่มีราคาย่อมเยาว์มาหั่นเป็นชิ้นๆขนาดประมาณนิ้วก้อย แล้วผัดแบบเมนูไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเครื่องก็มีเพียง หอมใหญ่ เม็ดมะม่วงฯ และพริกแห้งทอด ใช้เกลือช่วยในการปรุงรส ผัดในกระทะร้อน  แรกๆก็ดูจะไม่ค่อยจะกล้าตักกินกัน เดี๋ยวเดียวเองก็เกลี้ยงจานเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1070  เมื่อ 25 ก.ค. 18, 19:18

Irish lamb stew ค่ะ 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1071  เมื่อ 25 ก.ค. 18, 19:19

Rack of Lamb


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1072  เมื่อ 25 ก.ค. 18, 19:22

lamb chop


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1073  เมื่อ 25 ก.ค. 18, 19:24

สำหรับ mutton curry นั้น  สำหรับตัวผมเองจะแยกออกเป็นแกงแบบน้ำมาก และแกงแบบข้น  

หากเป็นแกงแบบน้ำมาก ผมชอบกินกับนาน(Naan)ที่ทำใหม่ๆ   ส่วนแกงแบบข้นแห้ง แบบนี้กินกับข้าวสวยจะอร่อยมาก  

แกงทั้งสองลักษณะนี้ จะกินกับโรตีแบบที่ทำขายกันในบ้านเราก็อร่อยได้ไม่น้อย   สำหรับตัวผมก็อาจจะเรื่องมากหน่อย คือจะหาเจ้าที่ทำโรตีได้แบบหนานุ่มและ flakey ซึ่งเกี่ยวกับการเลือกใช้แป้งแป้งหนัก-แป้งเบาที่เหมาะสม และการตีโรตี  ซึ่งก็มักจะเป็นเจ้าโรตีที่ใช้แป้งนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านทางใต้  แถวท่าน้ำวังหลังก็มีอยู่เจ้าหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1074  เมื่อ 25 ก.ค. 18, 19:27

poaching lamb


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1075  เมื่อ 25 ก.ค. 18, 19:29

naan  คือโรตี หรือคะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1076  เมื่อ 25 ก.ค. 18, 20:20

naan มีรูปทรงลักษณะค่อนข้างจะจำเพาะ คือเป็นทรงคล้ายภาพวาดหยดน้ำ ไม่ flakey  ทำให้สุกด้วยวิธีการอบในโอ่ง   

ส่วนโรตีนั้น ผมก็ยังมีความสับสนอยู่ จึงใช้คำว่าโรตีแบบที่ทำขายกันในบ้านเรา  เท่าที่พอจะรู้อยู่บ้างก็คือ โดยพื้นฐานแล้ว โรตีจะมีทรงเป็นแผ่นแบนกลม ทำให้สุกด้วยวิธีการวางอยู่เหนือแผ่นวัสดุที่ร้อน  ที่ทำให้สับสนก็คือ ดูจะมีทั้งทำให้สุกด้วยการใช้น้ำมัน(เนย ...)ทอด แบบไม่ใช้น้ำมัน มีทั้งแบบ flakey และไม่ แล้วก็ยังมีทั้งแบบกรอบแห้งกับแบบนุ่มที่เราคุ้นเคยกันในบ้านเรา   

โดยสรุปก็คือ มีหลากหลายชนิดมาก และก็ยังมีคำที่บ่งบอกชนิดทั้งแบบอยู่หน้าหรือตามหลังคำว่าโรตีอีกด้วย   ฝรั่งเลยนิยมใช้คำว่า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1077  เมื่อ 25 ก.ค. 18, 20:40

ต่อครับ

ฝรั่งเลยนิยมใช้คำว่า Indian bread   และก็มักจะคาดหมายว่าหากสั่งไปก็จะได้ naan มา   ในขณะที่หากเขาใช้คำว่า roti ก็ดูจะหมายถึงแผ่นแป้งสาลีที่สุก กรอบ แห้ง และมีรอยใหม้เป็นจุดๆหรือเป็นดวงๆ 

ผมเองก็ยังมีความสงสัยอยู่ว่า โรตีใส่นมข้นหวาน-โรยน้ำตาลแบบที่ขายในบ้านเรานี้ จะเป็นเรื่องของความนิยมเฉพาะถิ่นในบ้านเราหรือไม่ 

ในปัจจุบันนี้โรตีที่ขายกันในบ้านเรามีการพัฒนาไปมาก มีใส้หลากหลายชนิด เคยเจอที่แพร่ เขาว่ามีถึง 12 ชนิดเลยทีเดียว   จะกินกันยังไงๆก็ควรจะต้องนึกถึง trans fat กันไว้บ้างนะครับ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1078  เมื่อ 27 ก.ค. 18, 11:22

หน้าตาโรตีแขกและโรตีไทย คนละเรื่องกันเลย     เหมือนอาหารคนละชนิด
ของไทยเราสมบูรณ์กว่า แคลอรี่เยอะกว่า น่ากินกว่าค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1079  เมื่อ 01 ส.ค. 18, 19:30

หายไป ตจว. ครับ

ก็มีเรื่องน่าสนใจอยู่ว่า คนที่ทำโรตีขายเหล่านั้น ต่างก็เป็นผู้สืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมในเรื่องของอาหารการกินต่างๆกัน แต่เมื่อมาทำโรตีขายในไทย ต่างก็ทำโรตีออกมาในรูปแบบเดียวกัน คือ ต้องทอดด้วยน้ำมัน ซึ่งสมัยก่อนใช้น้ำมันถั่วหรือน้ำมันบัว แต่ในปัจจุบันใช้น้ำมันพืช  แล้วก็ตามด้วย Margarine เพื่อให้ได้กลิ่นหอมของเนย (?)    ทั้งนี้ หากบอกว่าจะซื้อโรตี ก็จะได้โรตีที่มีการราดด้วยนมข้นหวาน โรยด้วยน้ำตาลทรายขาว แล้วม้วนกระดาษเป็นแท่งกลม เป็นมาตรฐานโดยทั่วไป   เว้นแต่จะสั่งเป็นอื่นใด เช่น เอาโรตีเปล่าๆ ใส่นมแต่ไม่ใส่น้ำตาล ใส่ไข่ด้วย เอาโรตีกล้วยหอม .....อะไรๆในทำนองนี้  แล้วก็ดูจะพบเห็นได้ในเมืองไทยเท่านั้น

ผมก็เลยเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า ฤๅจะเป็นอีกหนึ่ง street foods ในไทยที่เป็นอาหารนานาชาติแต่เต็มไปด้วยความเป็นไทย (Thainess  ยิงฟันยิ้ม)   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 70 71 [72] 73 74 ... 86
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 19 คำสั่ง