naitang
|
ผมติดตามฟัง Neujahrskonzert (New Year Concert) ของออสเตรียที่แสดงในวันขึ้นปีใหม่มาหลายปี เป็นการบรรเลงโดยวง Vienna Philharmonic Orchestra ซึ่งในแต่ละปีก็จะมี Conductor มีสัญชาติต่างกันมาควบคุมวง บางคนก็มาคุมวงเพียงครั้งเดียว บางคนก็มาซ้ำกันหลายครั้ง
ไม่ใช่หัวสูงหรอกครับ แต่ฟังแล้วผ่อนคลายสบายอารมณ์ โดยเฉพาะในคืนวันปีใหม่
มีเพลงหลายเพลงที่ต้องบรรเลงกันเป็นประจำทุกๆปี มีหลายเพลงที่เราเคยได้ยินจนคุ้นหูจากสื่อต่างๆ และก็มีเพลงที่เราคุ้นหูในพิธีสวนสนามของเหล่าทหารของประเทศต่างๆ ซี่งเพลงเหล่านี้เรามักจะสามารถฮัมทำนองตามไปได้เกือบทั้งเพลง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 13 ก.ย. 17, 20:47
|
|
ฟังไปฟังมาต่อเนื่องกันสองสามปี ก็ได้เริ่มเห็นความแตกต่างของเพลงในแง่มุมต่างๆที่ควบคุมวงโดย Conductor ที่ต่างกัน ทั้งในเชิงของจังหวะความเร็ว/ความช้าของเพลง ความดัง/ความเบาของแต่ละท่วงทำนอง ความดัง/ความค่อยของแต่ละชุดเครื่องดนตรีในแต่ละช่วงตลอดเพลง ฯลฯ และก็ได้เห็นอาการและอริยาบทต่างๆของ Conductor
พอจะรู้ถึงความต่างของเพลงเดียวกันที่บรรเลงในแต่ละปีจากการคุมวงของแต่ละ Conductor มีที่เรารู้สึกว่าโสตของเราพอใจกับเพลงใดจากผู้ใดที่มาคุมวง
จนกระทั่งมาถึงการบรรเลงในวันปีใหม่ของปีนี้ (2560) เมื่อได้ฟังแล้วก็พอจะสัมผัสได้ว่าท่วงทีทำนองเสียงเพลงของบางเพลงนั้นฟังต่างออกไป
อ้อ เป็น Conductor วัยอายุยังไม่ถึง 40 ปีเลย แถมยัง conduct แบบไม่ต้องมีโน๊ตดนตรีวางอยู่ตรงหน้าอีกด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 13 ก.ย. 17, 21:15
|
|
ก็เลยท่องเน็ตตามดูประวัติและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเขา ซึ่งน่าทึ่งมาก
คำพูดประโยคหนึ่งจากคลิปหนึ่ง เขาได้บอกกับกลุ่มนักดนตรีที่มีความอาวุโสมากกว่าเขา ซึ่งหลายคนเป็นครูและเป็น conductor ของวงท้องถิ่นต่างๆ
เขาได้บอกกล่าวในความหมายว่า นักดนตรีทุกคนในวง Orchestra ระดับที่เขากำลังทำงานอยู่ด้วยในขณะนี้นั้น ล้วนแต่เป็นเป็นผู้เชี่ยวชาญการเล่นเครื่องดนตรี สามารถอ่านโน๊ตดนตรีออกอย่างไม่ผิดเพี้ยน และทุกคนเล่นได้ไม่ผิดแม้แต่ตัวโน๊ตเดียว เขาซึ่งมาทำหน้า Conductor นี้คงจะไม่ต้องเข้าไยุ่งเกี่ยวในเรื่องของการเล่นผิดเล่นถูกไปจากโน๊ตดนตรี เขาเข้ามาในเรื่องของ content ที่จะเกิดขึ้นมาจากการรวมตัวกันของเครื่องดนตรี ของการประสานเสียง เพื่อให้แสดงออกถึงอารมณ์ของเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นตามที่ผู้แต่งเพลงเขาได้ถ่ายทอดออกมาลงบนตัวโน๊ตในโน๊ตดนตรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 13 ก.ย. 17, 21:25
|
|
ครับ..
ทำให้นึกถึงเรื่องของวลีว่า เสน่ห์ปลายจวัก
อาหารเมนูเดียวกัน ทุกครัวใช้เครื่องปรุงหลักครบเหมือนกัน แต่ทำใมจึงมีความอร่อยหรือไม่อร่อยแตกต่างกัน
ก็เลยจะลองพยายามส่องมองเข้าไปในมุมของ content บ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 14 ก.ย. 17, 16:28
|
|
ยังเดาไม่ออกว่ากระทู้นี้จะไปทางดนตรีหรืออาหารการกินนะคะ คุณตั้ง ติดตามอยู่ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ninpaat
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 14 ก.ย. 17, 18:29
|
|
มารอ .........
เผื่อท่านอาจารย์จะบอกวิธีทอด ไข่เจียว ให้อร่อย โดยไม่ต้องใช้น้ำมันเยอะๆ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 14 ก.ย. 17, 19:27
|
|
พูดแหย่กันเล่นๆผมก็จะกล่าวว่า ปล่อยให้งง
แท้จริงแล้วกำลังพยายามสื่อสารเพื่อหาคำบรรยายว่า สรรพคุณของอาหารเมนูจานหนึ่งใดที่ทำโดยพ่อครัว/แม่ครัวต่างกันที่เราได้ทานแล้วมีความรู้สึกพอใจมากจนต้องออกปากว่าอร่อยมาก ลำขนาด แซบอีหลีหลาย รอยจังวู้ นั้น มันมีอะไรซ่อนอยู่ในกระบวนการทำ/การปรุง ทั้งที่เครื่องปรุงหลักก็ไม่ต่างกัน แต่ทำไมเราจึงมีความพอใจกับอาหารจานนั้นอย่างเด่นชัดออกมา
แน่นอนครับว่าสัมผัสและความพอใจของแต่ละคนที่ทานอาหารเมนูนั้นๆย่อมไม่เหมือนกัน แต่หากมันเกิดมีความเห็นร่วมกันว่าสุดยอดของเมนูนั้นๆต้องที่ใหน/ใครทำ อืม์? แล้วอะไรคือสิ่งที่สร้างให้เกิดความพอใจนั้นๆร่วมกัน สัมผัส? รูป? รส? กลิ่น? เสียง(??)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 14 ก.ย. 17, 19:57
|
|
จริงค่ะ ความอร่อยอาศัยพื้นฐานความเคยชินด้วย ดิฉันเป็นคนไม่กินอาหารเผ็ด เพราะฉะนั้นแกงหรือยำอะไรที่กินแล้วซู้ดซ้าดกันว่าอร่อย จะไม่รู้สึกตามเขาเลยค่ะ เผลอกินเมื่อไหร่จะต้องกินน้ำตามจนพุงกาง ไม่ทันได้รู้รสชาติที่พวกชอบกินเผ็ดเขาชอบกันว่าอร่อยนักหนา อาหารต่างชาติก็เหมือนกัน เขาว่าของเขาอร่อย เรากินเข้าไปกลับเลี่ยนจนพะอืดพะอมกว่าจะกินให้หมดจานตามมารยาท
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 14 ก.ย. 17, 20:03
|
|
ต้มยำมันก็มี ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดเป็นหลัก ก็ไม่ต่างไปจากเครื่องดนตรีในวง orchestra ทั้งหลายที่ต้องมีไวโอลิน แชลโล เบส กลอง เครื่องเป่า เช่น ทรัมเป็ด ทรอมโบน ...
ต้มยำของหลายคนก็ใส่ใบผักชีฝรั่ง ใส่น้ำพริกเผา ใส่เห็ด ทำให้ได้ความต่างออกไป วงดนตรี orchestra ที่บรรเลงเพลงเดียวกันก็เช่นกัน บางวงก็มีปี่ Bassoon มี Harp มี piccolo... บางวงก็ไม่มี ความลุ่มลึกในสัมผัสก็ย่อมต่างกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 14 ก.ย. 17, 20:32
|
|
ผมเห็นด้วยกับอาจารย์เทาชมพูว่าความอร่อยอาศัยพื้นฐานของความเคยชินด้วย
นี่แหละสำคัญ เราทุกคนจะมีความรู้สึกว่าอาหารที่บ้านอร่อยถูกปากเสมอ แล้วต่างก็ชมว่าแม่ทำกับข้าวเก่งและอร่อยมาก
ผมเห็นว่า ความคุ้นเคยกับอาหารทำเองของบ้านตนเองนั้นแหละที่เราเอาไปวิจารณ์อาหารเมนูเดียวกันที่ทำโดยผู้อื่นที่มิใช่แม่ของเรา แล้วก็เราเองนั่นแหละที่เอาความคุ้นเคยที่จำได้จากบ้านของเราไปขยายต่อในครอบครัวใหม่ของเรา ไปผสมผสานกับแบบที่คู่ของเราคุ้นเคยมาจากการทำในแบบครอบครัวของเขา ก็จึงย่อมได้อาหารเมนูเดียวกันในอีกสัมผัสหนึ่ง แต่ยังไงก็ตาม มันก็ย่อมต้องมีฝีมือจากครอบครัวหนึ่งหรือหลายครอบครัวที่หลายๆคนต่างก็พึงพอใจและต่างยอมรับกันว่าอร่อย
นี่แหละครับที่เป็นเรื่องหนึ่งที่อยากให้ได้มีการนำมาคุยกัน ผมเห็นว่ามันเป็นเสน่ห์ปลายจวักที่ถ่ายทอดต่อกันมาภายในแต่ละครอบครัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 14 ก.ย. 17, 20:54
|
|
คุณ ninpaat เริ่มด้วยเรื่องไข่เจียว
ไข่เจียว สามารถทอดออกมาได้ทั้งแบบกระด้างหน่อยแต่ฟูกรอบ แบบฟูแต่ออกไปทางนิ่ม แบบนิ่มแบน แบบอมน้ำมัน และแบบไข่เจียวกวน แล้วก็มีทั้งแบบมีแต่เนื้อไข่ล้วนๆ มีแบบมีเนื้อสัตว์ผสม มีแบบมีผักผสม มีแบบมีการปรุงรสในเนื้อไข่เจียว มีแบบทรงเครื่อง
อร่อยทุกแบบทั้งนั้น แต่จะต้องเลือกแบบที่เหมาะกับชุดอาหารของสำรับนั้นๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 14 ก.ย. 17, 21:15
|
|
โดยพื้นฐานที่เราได้ยินกันมาเกี่ยวกับการเจียวไข่ ก็น่าจะเป็นว่า ต้องทอดไข่เจียวในกระทะที่ร้อนและมีน้ำมันร้อนจัด เพื่อไข่เจียวจะได้ไม่อมน้ำมัน นั่นหมายความว่ากระทะที่ใช้เจียวไข่จะต้องเป็นกระทะก้นลึก (wok) และจะต้องเป็นกระทะโลหะที่ไม่เคลือบสารกันติดก้นกระทะ(เพราะไม่ทนต่อความร้อนสูง)
ชีวิตในกรุงในชีวิตสมัยปัจจุบัน หากจะเจียวไข่กินเองตามแบบวิธีที่ได้รับการถ่ายทอดต่อๆกันมา เราก็คงจะทำได้ยากขึ้นเพราะระบบเตาของเราในปัจจุบันจะถูกออกแบบให้ใช้กระทะก้นแบน แต่ก็ยังดีที่ยังพอมีกระทะก้นลึกแบบที่ก้นลึกไม่มากซึ่งพอที่จะใช้กับเตาสมัยใหม่ได้ แต่หากใช้เตาแบบใช้ไฟฟ้า อืม์ ก็พอได้นะ เพราะยังมีกระทะก้นแบบสำหรับใช้กับการปรุงอาหารด้วยความร้อนสูง ที่ทำด้วยเหล็กและที่ทำด้วยโลหะหล่อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ninpaat
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 17 ก.ย. 17, 07:50
|
|
ขอบพระคุณท่านอาจารบ์ครับ
ที่ทำให้ผมทราบว่า การทอดไข่ที่ดีก็คือ หาวิธีที่ทำให้ไข่สุกโดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้อมน้ำมัน นั่นเอง
ส่วนเรื่องรสชาติ ก็คงแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ซึ่งของผมเองมักจะเหยาะน้ำมันหอยผสมลงไปตอนตีไข่ให้เป็นฟอง ก่อนนำไปทอดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 17 ก.ย. 17, 08:50
|
|
นึกถึงเพลงนี้ อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดคงเกิดผล อาจจะชักเชิดชูฟูสกนธ์ ถึงคนจนพงศ์ไพร่คงได้ดี พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 17 ก.ย. 17, 15:23
|
|
ภาพของไข่เจียวที่ดูน่ากินในสายและความรู้สึกของเราโดยทั่วๆไปก็น่าจะเป็น ไข่เจียวที่เห็นเป็นเนื้อเดียวกันวางแผ่มาเต็มจาน หนานุ่ม มีผิวหน้าที่ค่อนข้างเป็นเนื้อเดียวกัน ดูแห้งและเรียบเนียน ไม่แตกกะรุ่งกะริ่ง มีสีผิวเข้มกว่าเนื้อใน ให้ความรู้สึกว่ามีความกรอบบางอยู่ที่ผิวหน้าแต่มีเนื้อในนุ่มคล้ายฟองน้ำ มีไอร้อนและมีกลิ่นหอมโชย
จะทอดใข่เจียวให้ได้ดังภาพนี้ ก็คงจะมิใช่การใช้ไข่ใบเดียวแน่ๆ แล้วก็คงมิใช่จะมีแต่เพียงไข่กับซอสปรุงรส(น้ำปลา ซีอิ๊ว ...) เท่านั้น ยังมีอีกว่าจะใช้ไข่ไก่หรือไข่เป็ด จะใช้น้ำมันอะไรทอด แถมอีกด้วยว่าจะใส่อะไรลงไปในเนื้อไข่เจียวจานนั้นๆด้วยใหม
เอาเข้าจริงๆ เมนูที่เรียกว่าไข่เจียวที่จะรู้สึกว่ามีความอร่อยเด่นออกมาหรือไม่นั้น ก็ดูจะขึ้นอยู่กับว่าจะทำออกมาเพื่อทานในลักษณะใดเสียมากกว่า ในลักษณะของอาหาร 1 จานในสำรับนั้นๆ ? ในลักษณะของจานของแนมกับอาหารรสเผ็ดร้อนในสำรับนั้นๆ ? ในลักษณะของอาหารสั่งด่วนเป็นจานเสริมเมื่ออาหารจานอื่นในสำรับไม่พอเพียง ? ในลักษณะของอาหารจานเดียว ? และมื้ออาหาร ?
เสน่ห์ปลายจวักในเรื่องของไข่เจียวนี้ จะไปว่ากันที่เรื่องของรสชาติ เรื่องขององค์ประกอบเครื่องปรุง เรื่องของรูปลักษณ์ ความแปลกใหม่ หรือ ... ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|