ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
วิเสทนิยม
>
ต้มมะฟาด - จากโปรตุเกสสู่สยาม
หน้า: [
1
]
พิมพ์
อ่าน: 3666
ต้มมะฟาด - จากโปรตุเกสสู่สยาม
han_bing
นิลพัท
ตอบ: 1622
เมื่อ 21 ส.ค. 17, 12:39
ต้มมะฝาด - จากโปรตุเกสสู่สยาม
วันหนึ่งในร้านอาหารบ้านสกุลทอง ในชุมชนฝรั่งกุฎีจีน เพื่อนข้าพเจ้าก้มหน้าก้มตารับประทานแกงแบบจริงจังจนข้าพเจ้าตกใจ พี่ท่านเล่นยกจานขึ้นมาตักน้ำแกงซดจนหมดถ้วย ตกใจอยู่นิดเหมือนกันว่าอร่อยอะไรขนาดนั้น
แต่มันก็อร่อยจริงๆ
อาหารที่ว่าคือต้มมะฝาด ซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่นของชุมชนกุฎีจีน ถือได้ว่าเป็นอาหารพื้นบ้านของกรุงเทพมหานครเลยทีเดียว ต้มมะฝาดคล้ายต้มจับฉ่ายของคนจีน โดยมีลูกผักชี ยี่หร่า ใบกระวาน กานพลู รากผักชี กระเทียม และขมิ้นตำจนละเอียด หั่นกะหล่ำปลี ผักคะน้า หัวไชเท้า ต้นหอม ผักชี เรียงลงในหม้อ จากนั้นใส่หมู เป็ด ไก่สดลงไปบนผัก หรือจะใส่เนื้อวัวด้วยก็ควรต้มให้นิ่มก่อน วางสลับกันเป็นชั้นอย่างนี้ไปเรื่อยพร้อมกับโรยเครื่องปรุงที่ตำไว้แล้วลงบนผักและเนื้อ ใส่น้ำแกงพอสมควร แล้วปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปีบ และน้ำส้มสายชู ต้มเคี่ยวจนผักเปื่อยเนื้อนุ่มก็รับประทานได้น้ำแกงสีเหลืองสวยจากขมิ้นคล้ายกับแกงเหลืองของภาคใต้
้
ต้มมะฟาดจากบ้านสกุลทอง
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
ตอบ: 1622
ความคิดเห็นที่ 1
เมื่อ 21 ส.ค. 17, 12:41
อาหารชนิดนี้ดูผ่านๆอาจจะรู้สึกว่าเป็นอาหารจีน แต่เอาจริงๆแล้วสืบสายมาจากอาหารฝรั่งโปรตุเกส ซึ่งเป็นบรรพชนของคนในชุมชนนี้ เรียกว่า Cozido à portuguesa (Portuguese stew) เป็นสตูว์ขึ้นชื่อของโปรตุเกส ประกอบด้วยเนื้อหมูสารพัดส่วน และไส้กรอกโปรตุเกส คล้ายๆไส้กรอกซาลามีที่กินบนหน้าพิทซ่า พร้อมผักนานา ชนิด วิธีทำก็ไม่ยาก คือเอาทุกอย่างมาวางเรียงในหม้อ แล้วค่อยๆต้ม อาหารชนิดนี้ถือเป็นอาหารประจำชาติของโปรตุเกสเลยทีเดียว เวลารับประทานก็ตักของสารพันมีขึ้นมาจากแกง แล้วรับประทานกับข้าว คล้ายๆกินข้าวมันไก่นะแหละ แต่ของเยอะกว่า
สตูว์แบบโปรตุเกส
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
ตอบ: 1622
ความคิดเห็นที่ 2
เมื่อ 21 ส.ค. 17, 12:41
อาหารชนิดนี้ข้ามโลกไปยังดินแดนอาณานิคมโปรตุเกสทั่วโลก อาทิ มาเก๊า โดยที่นั้นจะเรียกว่า Tacho แปลว่า winter stew เพราะชาวมาเก๊านิยมทำช่วงหน้าหนาว รับประทานกับครอบครัว
สูตรก็จะเรียกได้ว่าเหมือนกับของต้นตำหรับทีเดียว ใส่ส่วนต่างๆของหมูอาทิ ขาหมู คากิ และเนื้อหมูลงไป นอกจากนี้ยังใส่ไก่ลงไปด้วย ความแตกต่างกับต้นตำหรับอยู่ที่มีส่วนผสมจีนๆเข้าไปด้วย นั้นคือ มีหนังหมูทอด แฮมจีน หมูเค็มจีนและกุนเชียงใส่ลงไปแทนไส้กรอกรมควันของโปรตุเกส นอกจากนี้ยังมีการนำเนื้อสัตว์ไปรวนก่อนให้หอมก่อนนำมาต้ม
พอมาถึงไทยคนไทยคงคุ้นเคยกับรสจัดจ้านของแกงส้ม จึงมีการใส่พริกแกงแบบไทยๆลงไป และปรุงรสให้จัดจ้าน แต่ในความเป็นพื้นถิ่นสยามนี้ก็ยังมีกลิ่นไอของกองเรือเครื่องเทศโปรตุเกส นั้นคือ มีการใส่ลูกผักชี ยี่หร่า ใบกระวาน และกานพลูลงไป
เครื่องเทศเหล่านี้เป็นสิ่งที่อาหารโปรตุเกสในเอเชียใส่ลงไปมากเป็นพิเศษ ที่จัดจ้านที่สุดเห็นจะเป็นแถวเมืองกัวในอินเดีย นอกจากนี้ยังมีการใส่น้ำส้มสายชูลงไป ซึ่งน้ำส้มสายชูนี้เป็นหนึ่งในเครื่องปรุงที่ชาวโปรตุเกสนิยมใช้ ยิ่งตอนเดินทางไกลยิ่งชอบเพราะเป็นตัวช่วยถนอมอาหาร
และคงถูกปากชาวไทยด้วย
อาหารคิดไปก็คือตัวอย่างการเดินทางทางวัฒนธรรมที่ไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนไปเรื่อยๆตามกาละและเทศะ
เมืองไทยของเราเกิดขึ้นก็เพราะความใจกว้างและเปิดรับทางวัฒนธรรมที่มาจากหลากหลายที่
ถ้าเราปิดกั้นไป ชาติเราคงค่อยๆเสื่อมและล่มไปอย่างน่าเสียดาย
กระทั่งอาหารเก๋ๆอร่อยๆก็คงไม่มีให้กิน
สตูว์แบบมาเก๊า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
ตอบ: 12547
ความคิดเห็นที่ 3
เมื่อ 21 ส.ค. 17, 14:12
ต้มมะฝาด ร้านบ้านสกุลทอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อ 22 ส.ค. 17, 20:50
มะฝาด มาจากภาษาอะไรคะ ทำไมถึงเรียกอย่างนี้
ดูมันไม่มีเค้าภาษาโปรตุเกสเลย
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
ตอบ: 219
ความคิดเห็นที่ 5
เมื่อ 28 ส.ค. 17, 07:56
เห็นภาพผมก็นึกว่าจับฉ่าย หิวเลย
คาดว่าชื่อน่าจะมาจาก...นายมะหะหมัดรับประทานครั้งแรกก็ฟาดเรียบวุธ คนไทยเลยตั้งชื่อตามว่า บัง-มะ-ฟาด-เรียบ ----> บัง-มะ-ฟาด -----> มะ-ฟาด ----> มะ-ฝาด อะไรแบบนี้มั้ยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.031 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...