เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 11890 ปริศนารักนางพญา:ควีนวิคตอเรียกับจอห์น บราวน์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 07 ส.ค. 17, 09:20

   มีนักเรียน 2 คนแล้ว  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

   ชีวิตสมรสแสนสุขของควีนวิคตอเรียมาถึงจุดสิ้นสุดกระทันหันในปี 1861 เมื่อพระองค์และพระสวามีมีพระชนม์ 42 พรรษา   เจ้าชายอัลเบิร์ตประชวรด้วยพระโรคไข้ไทฟอยด์    ตอนแรกก็เหมือนท้องเสียธรรมดา  แต่อาการก็หนักลง เพราะแพทย์หลวงรักษาไม่ถูกอาการ   พระราชินีเองก็ทรงเชื่อหมอหลวงว่าพระอาการไม่หนักหนาอะไร   จนกระทั่งเจ้าชายมีพระอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว แล้วสิ้นพระชนม์ไปอย่างปุบปับ
   อาการของพระราชินีนาถคือ ทรง"ช็อค" ไปกับการสูญเสียครั้งใหญ่หลวง    ทรงทำพระทัยไม่ได้อยู่ยาวนานหลายปี    ความโทมนัสเห็นได้จากลายพระหัตถ์ที่มีไปถึงเจ้าฟ้าหญิงวิคตอเรียพระราชธิดาองค์ใหญ่ที่เสกสมรสไปกับเจ้าฟ้าชายรัสเซีย

   " แม่ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไร  ไม่รู้จะช่วยตัวเองให้รอดจากทุกข์แสนสาหัสอย่างนี้ได้ด้วยวิธีไหน   ในเมื่อตลอดชีวิต แม่พึ่งพิงเสด็จพ่อของลูกมาตลอด ในทุกเรื่อง ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่ท่าน  ตั้งแต่เลือกจะถ่ายรูปแบบไหนอย่างไร  จะสวมเสื้อชุดไหนหรือหมวกใบไหน  ล้วนแล้วแต่เสด็จพ่อเห็นชอบทั้งสิ้น"


บันทึกการเข้า
giggsmay
ชมพูพาน
***
ตอบ: 135


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 ส.ค. 17, 10:23

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม มาเจ้าค่ะ ท่านครู
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 ส.ค. 17, 12:29

มาสาย แต่เข้าเรียนเป็นประจำสม่ำเสมอนะคะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 ส.ค. 17, 18:51

     หลังจากสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอัลเบิร์ต     พระราชินีวิคตอเรียทรงอยู่ในอาการเศร้าโศกอย่างหนัก   อย่างแรกคือทรงชุดดำอย่างแม่ม่าย และไว้ทุกข์อยู่อย่างนี้ไปจนตลอดพระชนม์ชีพ    อย่างที่สอง ทรงมีพระบัญชาให้มหาดเล็กของเจ้าชายปฏิบัติหน้าที่เหมือนเจ้าชายยังมีพระชนม์อยู่  คือตอนเช้า ให้เชิญน้ำสรงเข้ามาในห้องบรรทมของเจ้าชาย พร้อมกับฉลองพระองค์   ตอนค่ำก็กลับเข้ามาเพื่อเอาฉลองพระองค์ไปเก็บแล้วนำฉลองพระองค์ชุดนอนมาผลัดเปลี่ยนวางไว้แทน    ทำอย่างนี้เป็นประจำทุกวัน 
     จากนั้น  พระราชินีทรงขังพระองค์เงียบเชียบอยู่ในพระราชวัง  ไม่เสด็จออกให้ประชาชนได้เห็นอีกนานนับปี   บางครั้งก็ทรงแปรพระราชฐานไปอยู่ที่พระตำหนักออสบอร์น บนเกาะไวต์  ซึ่งเจ้าชายอัลเบิร์ตเป็นผู้ออกแบบตกแต่งเอง    แต่ไม่ปรากฎพระองค์ต่อสาธารณชน   แม้แต่เสด็จไปเปิดรัฐสภา ก็ใช้เวลาถึง 5 ปีหลังจากนั้น
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 ส.ค. 17, 09:26

ดูจากความคิดที่ 11 เป็นภาพถ่ายหมู่จริงๆหรือเอามาแปะรวมกันครับ แต่ละคนในภาพมองกันไปคนละทางเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 ส.ค. 17, 20:30

ตัดแปะรวมกันค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 ส.ค. 17, 14:10

    ความอาลัยรักและว้าเหว่เดียวดายของควีนวิคตอเรียที่มากมายเหลือพรรณนาได้  ดำเนินมาอีกหลายปี จนประชาชนเริ่มรวมตัวกันประท้วงที่ทรงเก็บองค์เองไม่ออกสู่สาธารณะ     ควีนจึงเริ่มปรากฏองค์อีกครั้งหนึ่ง   ทำหน้าที่ต่อประเทศชาติอย่างดีที่สุดเท่าที่แม่ม่ายวัยไม่ถึง 50 จะทำได้
    ในช่วงเวลานี้เอง  ที่ชายผู้หนึ่งเริ่มมีบทบาทในราชสำนัก โดยไม่มีใครคาดฝันมาก่อน

    เขาผู้นั้นชื่อจอห์น บราวน์ อายุอ่อนกว่าควีน 7 ปี  เป็นชายชาวสก๊อตผู้ถือกำเนิดอย่างชาวบ้านธรรมดา    ตัวเขาและพี่ๆน้องๆอีกหลายคนสมัครเข้ามาเป็นคนรับใช้ในพระราชวังบัลมอรัลในสก๊อตแลนด์ซึ่งเป็นสมบัติของควีนและเจ้าชายอัลเบิร์ต       ด้วยการทำหน้าที่อย่างดีไม่มีที่ติ  บราวน์กลายเป็นมหาดเล็กคนโปรดของเจ้าชาย   
    เมื่อเจ้าชายสิ้นพระชนม์  และควีนเก็บพระองค์อยู่ที่พระตำหนักออสบอร์นบนเกาะไวต์หลายต่อหลายปี   ก็มีการโอนมหาดเล็กจากพระราชวังบัลมอรัลในรับใช้ต่อที่พระตำหนักออสบอร์นด้วย   บราวน์จึงได้มาเป็นมหาดเล็กส่วนพระองค์ของควีน  มีหน้าที่จูงม้า นำทางพระองค์เมื่อเสด็จออกทรงม้า    ตลอดจนดูแลระแวดระวังภยันตรายต่างๆ   เขาก็ทำหน้าที่ได้อย่างดีเช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติต่อเจ้าชาย
    มีเรื่องเล่าว่า การที่บราวน์ได้มาเป็นมหาดเล็กที่ควีนโปรดจะใช้สอยและไว้วางพระทัยเป็นพิเศษ     เป็นเพราะเขาสามารถเป็น "ร่างทรง" ประกอบพิธีให้ทรงติดต่อกับวิญญาณของเจ้าชายได้      แต่เรื่องนี้ก็เล่ากันแบบ 'ฟังเขามาเล่าต่อ' อีกที  ไม่ขยายรายละเอียดกันมากกว่านี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 ส.ค. 17, 14:11

จอห์น บราวน์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 ส.ค. 17, 18:56

   ในเมื่อควีนโปรดปรานใช้สอยมหาดเล็กนายนี้   เขาก็ชักนำให้ทรงคลายจากอาการระทมทุกข์ กลับคืนมาสู่ชีวิตปกติอีกครั้ง เช่นไปขี่ม้า วาดรูปงามๆในชนบท   เสด็จออกสู่สาธารณะตามเดิม  ทำให้บรรดาข้าราชบริพารที่เฝ้าดูพระอาการของควีนด้วยความวิตกกังวลมาแต่แรกเริ่มเบาใจ  และพอใจที่บราวน์ทำหน้าที่ได้อย่างขยันขันแข็ง  รับผิดชอบงานดีมาก  ไม่เบื่อหน่าย ไม่อู้งาน  ไม่ทำตัวให้กรมวังตำหนิติเตียนได้   นอกจากนี้เขายังเคยช่วยชีวิตพระราชินีเอาไว้ด้วยการเสี่ยงตายโดดเข้าจับคนร้ายที่ใช้ปืนยิงหมายปลิดพระชนม์ชีพ เมื่อเสด็จออกสาธารณะ
   แต่ความพอใจของราชสำนักดำเนินไปได้ไม่นาน  ก็เปลี่ยนเป็นความอึดอัดขัดข้องในอีกรูปแบบ    เมื่อตระหนักว่าพระราชินีวิคตอเรียโปรดปรานมหาดเล็กคนนี้มากเกินไปเสียแล้ว   เช่นไม่ว่าอะไรก็ทรงแล้วแต่บราวน์     นายบราวน์สามารถบงการได้ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยเช่นให้ทรงผ้าห่มหนาๆเสด็จออกไปยามอากาศหนาวชื้น เพราะเกรงจะเป็นหวัด   ไปจนเรื่องใหญ่เช่นไม่ว่าใครจะขอเข้าเฝ้าพระองค์ท่าน ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี  ปรินซ์ออฟเวลส์พระราชโอรสผู้เป็นรัชทายาท  ไปจนกรมวังชั้นผู้ใหญ่ ต้องผ่านด่านคือนายบราวน์เสียก่อน    ถ้านายคนนี้ไม่ให้เข้าเฝ้าก็อด
     วิธีตอบของนายบราวน์ก็ห้วนๆ ทื่อๆ  ไม่ประนีประนอม  คือบอกตรงๆว่า
   "พระราชืนียังไม่โปรดให้เข้าเฝ้า"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 ส.ค. 17, 19:13

    ในเมื่อจอห์น บราวน์ ชักจะหย่ายเกินตัวขึ้นมาทุกทีจนจะคับพระราชวังอยู่รอมร่อ  ศัตรูเขาก็เพิ่มจำนวนขึ้นมาก   คนสำคัญที่สุดคือปรินซ์ออฟเวลส์พระราชโอรสองค์ใหญ่     ผู้ซึ่งต่อมาทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7
    ปรินซ์ออฟเวลส์พระองค์นี้ เป็นพระราชโอรสที่ไม่เป็นที่ถูกพระทัยสมเด็จแม่เอาเลย เมื่อเทียบกับเจ้าพี่เจ้าน้ององค์อื่นๆ  ทั้งเจ้าชายก็เป็นที่รักของประชาชน    เหตุผลคือทรงมีคุณสมบัติเกือบทุกอย่างตรงกันข้ามกับเจ้าชายอัลเบิร์ตพระบิดา      เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงเป็นผู้ชายที่ประพฤติองค์ดีงาม เคร่งครัดอยู่ในความถูกต้อง  ไม่โปรดงานเลี้ยงรื่นเริง ไม่ดื่ม ไม่แม้แต่จะสูบบุหรี่  ไม่เจ้าชู้   ซื่อสัตย์แต่กับพระราชินีองค์เดียวทั้งๆแวดล้อมด้วยนางกำนัลงามๆนับไม่ถ้วน     ชอบทำแต่งานให้ประเทศชาติ    ส่วนพระโอรสนั้นตรงกันข้าม  ทรงชอบเฮฮาปาร์ตี้  ชอบความบันเทิงเริงรมย์ในทุกประเภทโดยเฉพาะหญิงงาม  พระชายาคือเจ้าหญิงอเลกซานดราต้องหวานอมขมกลืนมาตลอด   พระราชินีทรงฟังข่าวที่มากระทบหูทีไรก็กริ้วไปทีละหลายๆวัน
     ดังนั้นเมื่อเจ้าชายเสด็จมาเฝ้าตามหน้าที่  จึงอดไม่ได้ที่จะเกิดมีกัณฑ์เทศน์จากฝ่ายแม่ และคำแก้ตัวบ้างเถียงบ้างจากทางฝ่ายลูก   จบลงแบบเหนื่อยจนราข้อกันไป   ทำให้ควีนทรงมีพระอารมณ์เสียตกค้างไปอีกหลายๆวัน
    จอห์น บราวน์รู้ดีว่าปรินซ์ออฟเวลส์มาเข้าเฝ้าทีไร ก็เหมือนหอบพายุติดตัวมาด้วย     แม้เสด็จกลับไปแล้วก็ยังทิ้งพายุเอาไว้กับพระมารดา ซึ่งไม่ดีต่อพระสุขภาพของพระองค์ท่าน    เขาจึงแสดงความเป็นปรปักษ์ด้วยอย่างเปิดเผย    แกล้งไม่ให้เข้าเฝ้าบ้าง ให้รออยู่นานๆเป็นชั่วโมงบ้าง  พูดกระทบกระแทกให้เข้าหูบ้าง     ปรินซ์ออฟเวลส์ก็เลยชิงชังมหาดเล็กคนนี้ชนิดเข้าไส้
บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 ส.ค. 17, 13:08

มาเรียนแล้วค่ะ แหะๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 19 ส.ค. 17, 10:23

     บราวน์เป็นคนโผงผางตึงตัง  ตรงไปตรงมา ไม่เกรงกลัวใคร    ความประพฤติก็ "บ้านๆ" ติดตัวมาแต่กำเนิด แล้วไม่พยายามจะขัดเกลาให้ดูเป็นผู้ลากมากดีสมกับทำงานในวัง    ดื่มเหล้าเป็นประจำ  พูดจาก็ออกสำเนียงแปร่งอย่างชาวสก๊อต    จึงเป็นที่รังเกียจในหมู่ผู้ดีชาวราชสำนักว่า "ไอ้เจ้านี่เป็นไพร่"
     ในด้านดีเขาก็มีคุณสมบัติที่ดีหลายอย่าง คือเป็นคนทำงานหนัก ขยัน รับผิดชอบงานเต็มที่ กล้าหาญไม่กลัวตาย  และที่สำคัญคือซื่อสัตย์    บราวน์ไม่เคยฉวยโอกาสเอาตำแหน่งมหาดเล็กคนโปรดไปฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือวิ่งเต้นเส้นสายให้ใคร      เขาอยู่อย่างมหาดเล็กผู้น้อยมาอย่างไรก็อยู่อย่างนั้น      คนอื่นๆในราชสำนักเกลียดเขา เขาก็รู้   เขาก็ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม   คนเดียวเท่านั้นที่เขาถวายความจงรักภักดีให้เต็มเปี่ยมคือสมเด็จพระราชินีนาถ  จะทรงใช้เขาบุกน้ำลุยไฟทำอะไร บราวน์ไม่เคยย่อท้อ   เขาเคยแม้แต่เสี่ยงชีวิตจับคนร้ายที่หมายปลงพระชนม์พระราชินี
     ควีนวิคตอเรียทรงประจักษ์ข้อนี้ดี    ทรงถือว่า ความจริงใจของบราวน์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด   เป็นมิตรภาพเที่ยงแท้ที่ไม่ทรงได้รับจากผู้อื่นที่แวดล้อมพระองค์อยู่      จึงไม่ทรงถือสาที่เขามีมารยาทห่ามๆ ตึงตังเป็นนักเลงลูกทุ่ง    แม้แต่บราวน์ชวนให้ทรงดื่มเหล้าเพื่อบันเทิงเฮฮาในวันคริสต์มาสบ้าง    เรียกพระองค์ว่า " woman" บ้าง  ก็ไม่ทรงว่ากล่าวอะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 19 ส.ค. 17, 10:30

     คำว่า woman ที่ผู้ชายเรียกผู้หญิงนี้ มันมีความหมายเกินกว่าจะแปลตรงๆว่า "ผู้หญิง" หรือ "แม่หญิง"   บริบททางสังคมคือผู้ชายเขาไม่เรียกผู้หญิงคนไหนกันง่ายๆว่า woman   ถ้าไม่ใช่คนใกล้ตัวเขา      ต่อให้เป็นเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนเรียนหนังสือชั้นเดียวกัน เขาก็ไม่เรียก    ที่เห็นบ่อยที่สุดคือสามีเรียกภรรยา  แต่ก็ไม่ใช่ว่าเรียกในโอกาสทั่วไป   อย่างคำว่า Dear หรือ Darling หรือ Honey     แต่มักจะเรียกในกรณีที่เกิดความรำคาญ  หรือเอ็นดูปนรำคาญ 
    ถ้าจะแปลเป็นไทยให้ใกล้เคียงที่สุดก็คือ  แปลว่า แม่เจ้าประคุณ  หรือแม่คุณแม่ทูนหัว
    ในเมื่อจอห์น บราวน์หลุดปากเรียกสมเด็จพระราชินีนาถ ผู้ซึ่งไม่ใช่พระราชินีธรรมดาๆ  แต่เป็นจักรพรรดินีผู้มีอำนาจสูงสุดในโลกยุคนั้น ว่า "แม่เจ้าประคุณ" หรือ "แม่คุณแม่ทูนหัว"  ข้าราชสำนักผู้ได้ยิน ก็ตาเหลือกเป็นธรรมดา
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 19 ส.ค. 17, 16:47


เข้าเรียนสาย  ขออภัยค่ะ

(ลืม password  น่ะค่ะ  เลยหายไปนาน  ชะล่าใจนึกว่ายังเยาว์วัย)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 30 ส.ค. 17, 10:47

   การที่บราวน์กลายมาเป็นคนโปรดของควีนวิคตอเรีย เป็นเรื่องทิ่มแทงสายตาชาวราชสำนักไม่น้อย      ยิ่งสมัยนั้นเป็นสมัยที่เข้มงวดต่อการวางตัวของกุลสตรี   เสียงซุบซิบนินทาก็ยิ่งแพร่หลาย     ถึงกับบราวน์ได้รับสมญาในเชิงกระแทกแดกดัน ว่าเป็น "ม้าพระที่นั่ง" ของควีน    ส่วนบรรดาพระธิดาก็เรียกมหาดเล็กผู้นี้ลับหลังเป็นเรื่องโจ๊กว่า "ชู้รักของเสด็จแม่"   
    ความไม่ชอบหน้าบราวน์ในหมู่เจ้าชายเจ้าหญิงมีหลักฐานเห็นได้ชัดเจนหลายครั้ง    ครั้งหนึ่งดยุคแห่งเอดินเบอระ พระโอรสองค์รองของควีนถึงกับบอกใครต่อใครว่า ทรงถูกเนรเทศจากพระราชวังบัคกิ้งแฮม ไม่ให้มาเข้าเฝ้าเสด็จแม่ก็เพราะทรงปฏิเสธที่จะสัมผัสมือกับชายรับใช้ผู้นี้
    มีข่าวอีกว่า บราวน์ถูกจัดให้นอนในห้องติดต่อกับห้องพระบรรทมของควีนวิคตอเรีย     ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้องตามประเพณีและไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง     ส่วนจะจริงหรือไม่จริงในเรื่องนี้ ไม่เคยมีการยืนยันเป็นทางการ

    หลักฐานที่บรรดาขาเม้าท์ชาววังทั้งหลายหาเจอ นอกเหนือจาก "เขาเล่ากันว่า..." มีอยู่เรื่องหนึ่ง  ที่ทำให้พวกนี้ตีปีกกันใหญ่ว่านี่ไง  หลักฐานจะจะเห็นกะตา    นั่นคือบันทึกของแพทย์หลวงประจำพระองค์ของควีน ชื่อเซอร์เจมส์ รี้ด  ซึ่งทำหน้าที่นี้มากว่า 20 ปี จนถึงวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ
    ขอออกนอกเรื่องนิดหน่อยว่า ฝรั่งยุคก่อนเขามีนิสัยชอบจดบันทึก   ไม่ใช่จดเฉพาะเรื่องสำคัญๆ แต่เรื่องรายวันประเภทตื่นกี่โมงนอนกี่โมง เขาก็จดกันเอาไว้    บันทึกพวกนี้บางทีก็สูญหายไปพร้อมกับมรณกรรมของเจ้าของ  แต่มีอยู่มากที่ลูกหลานเก็บไว้ เหลือรอดมาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็มี
     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง