เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 6091 รบกวนหน่อยครับภาษาจีน "คำนี้" อ่านออกเสียงว่าอย่างไรครับ
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 22 ก.ค. 17, 15:21

คุณเพ็ญชมพูครับแล้วอีกองค์หล่ะครับที่ตัวอักษรดูยาวกว่า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 22 ก.ค. 17, 15:45

จากบนลงล่าง และ จากขวาไปซ้าย

大明國                        ไต้เม่งก๊ก   รัชสมัยไต้เหม็ง

奉佛信官陳_哺_ _發心   ฮองฮุกซินกั้วตั้งซอปูตวงจกฮกซิม   คนแซ่ตั้ง (มีแซ่เอี้ยและแซ่อื่นอีก) มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

印施佛_ _保吉祥如急者  อิงซีฮุกเซียขี่ปอกิกเซียงอยู่อี๋เจีย     จึงร่วมใจกันสร้างพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ขึ้นไว้


บันทึกการเข้า
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 22 ก.ค. 17, 16:04

ขอบพระคุณครับความหมายคล้ายๆกัน ขอบพระคุณคุณเพ็ญชมพูครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 ก.ค. 17, 18:36

คำแปลนี้ไม่ใช่คำแปลของจารึกแต่ละชิ้นครับ เข้าใจว่ามีพระพิมพ์จำนวนมาก จึงแปลคร่าวๆ แบบรวมๆ

大明國
奉佛信官陳(1)哺(2)祝發心
印施佛像祈保吉祥如意者

ตัวอักษร (1) ผมดูไม่ออกว่าเป็นตัวอักษรใด ส่วน (2) ข้างซ้ายมือดูไม่ออกว่าเป็นตัวอะไร แต่โดยบริบทแล้วน่าจะเป็น 端 ถึงแม้ว่าจะดูไม่เหมือนก็ตาม
สำหรับคำแปล
สามตัวอักษรข้างบน 大明國 - ไม่มีปัญหา คือราชวงศ์หมิง

แถวขวามือ
奉佛信官 - คำนี้น่าสงสัย โดยรวมแล้วผมคิดว่าน่าจะแปลว่าอุบาสก พอลอง googling ดูก็เรื่องน่าสนใจ เพราะพบข้อความ 大明国奉佛信官郑和 เต็มไปหมด 郑和 คือ เจิ้งเหอ ที่คนไทยรู้จักกันดีในนามซำปอกง
陳(1)哺 - เป็นชื่อบุคคล ซึ่งคนนี้แซ่ตั้ง ชื่อถือตามคำอ่านที่ยกมาเป็นแต้จิ๋วว่า ตั้งซอปู คำแปลที่บอกว่ามีแซ่อื่นๆอีกนั้นหมายถึงในจารึกอื่น(ในกรุเดียวกันนี้) ไม่ใช่อยู่ในจารึกนี้
端祝發心 - ควรแปลว่า มุ่งบรรลุนิพพาน

แถวซ้ายมือ
印施佛像 - ควรแปลว่าพระพิมพ์ หรือพระที่สร้าง
祈保 - ขอพร
吉祥 - มีโชค
如意 - สมปรารถนา

รวมแปลว่า
ในราชวงศ์หมิง
อุบาสกตั้งซอปูมุ่งบรรลุนิพพาน
ขอพระพิมพ์ดลบันดาลให้มีโชคและสมปรารถนา
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 ก.ค. 17, 21:00

奉佛信官 - คำนี้น่าสงสัย โดยรวมแล้วผมคิดว่าน่าจะแปลว่าอุบาสก พอลอง googling ดูก็เรื่องน่าสนใจ เพราะพบข้อความ 大明国奉佛信官郑和 เต็มไปหมด 郑和 คือ เจิ้งเหอ ที่คนไทยรู้จักกันดีในนามซำปอกง

อยากทราบความเห็นของคุณ 武則天  คิดว่า "奉佛信官" นั้น หมายถึงอะไร
บันทึกการเข้า
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 ก.ค. 17, 21:18

คุณ CrazyHOrse ครับกำลังหมายถึงข้อความในรูปภาพไหนครับที่สลักบนองค์พระที่ผมถ่าย หรือ ในรูปที่พื้นหลังเป็นสีขาวครับ เจิ้งเหอหรือซำปอกงนั้นมีประวัติว่าเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาเราจริงครับเคยอ่านบันทึกคร่าวๆ ถ้าเป็นจริงดังนั้นนี่อาจจะเป็นข้อมูลใหม่ว่ากรุวัดราชบูรณะที่พบแผ่นจารึกทองคำว่าสร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราสที่ 3 หรือ เจ้าสามพระยานั้นแม่ทัพเจิ้งเหอหรือซำปอกงอาจมีส่วนร่วมในการสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นด้วยครับ
บันทึกการเข้า
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 ก.ค. 17, 21:23

อ่อเปิดเทียบดูแล้วคุณ CrazyHOrse กำลังหมายถึงจารึกที่อยู่บนพื้นสีขาว ผมว่าพระพิมพ์นี้น่าค้นหานะครับรบกวนทุกๆท่านช่วยให้ความรู้ด้วยผมดูแค่พระส่วนจารึกนั้นต้องพึ่งพวกท่านแล้วครับ โดยส่วนตัวดูจากศิลปะของการสร้างพระพิมพ์นี้ก็เป็นฝีมือช่างจีนชัดเจนครับ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 23 ก.ค. 17, 01:53

คุณ CrazyHOrse กล่าวว่าเมื่อค้นกูเกิล  มักพบ 奉佛信官 คู่กันกับเจิ้งเหอ 郑和
เจิ้งเหอ อาจไม่เกี่ยวข้องอันใดกับ กรุวัดราชบูรณะ ก็ได้นะครับ

奉佛信官 เป็นแค่คำสุภาพ ใช้เรียกนำหน้าชื่อคน เช่น สาธุชนตั้งซอปู / สาธุชนเจิ้งเหอ / สาธุชนสิงห์สำอาง  ประมาณนี้มังครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 23 ก.ค. 17, 07:26

เอกสารที่กล่าวถึง 鄭和 (จีนกลาง-เจิ้งเหอ แต้จิ๋ว-แต้ฮั้ว) สองแถวแรกทางขวามือใช้คำคล้าย ๆ กับที่พบหลังพระพิมพ์กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

大明國奉
佛信官鄭和法名福吉祥發心


ภาพจาก http://www.sohu.com/a/141477897_170665


บันทึกการเข้า
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 23 ก.ค. 17, 20:36

ยิ่งคุยยิ่งลึกลับ น่าค้นหาแต่เกินความสามารถของผมไปแล้วจริงๆครับรบกวนทุกท่านที่มีความรู้ค่อยๆต่อจิ๊กซอคงได้เห็นภาพกว้างขึ้นแน่ๆครับ ขอบคุณทุกท่านอย่างสูงครับสำหรับการแบ่งบัน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 ก.ค. 17, 12:21

ยังไม่มีอะไรลึกลับหรือเกี่ยวข้องกับเจิ้งเหอโดยตรงหรอกครับ แต่ 奉佛信官 เข้าใจว่าสมัยนี้ไม่ใช้กันครับ ยุคสมัยนั้นเป็นราชวงศ์หมิงระยะเวลาใกล้เคียงกัน คำศัพท์ที่ใช้คล้ายก็ไม่แปลกครับ

ป้ายที่คุณเพ็ญชมพูยกมาล่าสุดระบุรัชกาลจักรพรรดิ์ซวนเต๋อ (宣德) มีพระสูตรอีกสำเนาหนึ่งเก่ากว่านั้น ระบุรัชกาลจักรพรรดิ์หย่งเล่อ (永樂)
http://www.sohu.com/a/136822638_250290?_f=v2-index-feeds


บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 24 ก.ค. 17, 12:30

ข้อความช่วงต้นคล้ายกัน

大明國"太監"鄭和法名福吉祥發心

ต่างกันอยู่แค่คำเดียวคือ 奉佛信官 กับ 太監

พระสูตรยุคหย่งเล่อระบุเจิ้งเหอเป็น 太監 คือขันที ในขณะที่ยุคซวนเต๋อเป็น 奉佛信官 (อุบาสก)

法名 แปลว่า ฉายา (ชื่อเนื่องในพระพุทธศาสนา)
ชื่อ 福吉祥 ฝูจี๋เสียง

發心 ที่ผมได้แปลไว้ว่านิพพาน ผมไปค้นเพิ่มเติมพบว่าความหมายต่างไปเล็กน้อย เป็นความเชื่อเนื่องในพุทธศาสนานิกายมหายาน แปลว่าโพธิจิต คือจิตแห่งพระโพธิสัตว์ มุ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่มุ่งนิพพานครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 24 ก.ค. 17, 15:59

發心 ที่ผมได้แปลไว้ว่านิพพาน ผมไปค้นเพิ่มเติมพบว่าความหมายต่างไปเล็กน้อย เป็นความเชื่อเนื่องในพุทธศาสนานิกายมหายาน แปลว่าโพธิจิต คือจิตแห่งพระโพธิสัตว์ มุ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่มุ่งนิพพานครับ

ความปรารถนาของฝ่ายหินยานคือ มุ่งความหลุดพ้นเฉพาะตน (นิพพาน)
ส่วนฝ่ายมหายานจะมุ่ง แดนสุขาวดี (ไปอยู่กับพระอมิตาภะ)

ตอนที่คุณ CrazyHOrse แปล 端祝發心 = มุ่งบรรลุนิพพาน 
ผมก็ตงิดใจอยู่  เพราะอุบาสกจีนผู้นี้น่าจะมุ่งแดนสุขาวดี  มากกว่าจะมุ่งนิพพาน
แต่ก็เป็นไปได้เช่นกัน  หากเขาจะมุ่งนิพพาน  ถ้าหากเป็นคนจีนที่เกิดในอยุธยา และได้รับนับถือตามแบบหินยาน

คุณ CrazyHOrse มีความรอบคอบครับ  ยังอุตส่าห์ตามมาแก้ไข
บันทึกการเข้า
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 24 ก.ค. 17, 17:02

ที่น่าสนใจก็คือกรุวัดราชบูรณะหรือกรุพระคลังมหาสมบัติมีทองคำและพระพิมพ์มากมายหลายแสนรายการ ถึงแม้ว่าจะสร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราสที่ 2 แต่ก็เห็นได้ชัดว่ามีประชาชนทั่วไปได้ร่วมในกุศลครั้งนั้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น อย่างน้อยก็มีคนเชื้อสายจีนแซ่ตั้ง แซ่เอี้ยและอื่นๆร่วมกันสร้าง ดังปรากฏเป็นหลักฐานที่สลักจารึกไว้ในพระพิมพ์นี้ อยากย้อนกลับไปอยู่ในเหตุการณ์จังเลยครับคงจะยิ่งใหญ่ไม่น้อย ภูมิใจที่ชาติเรามีอารยธรรมแม้ไม่นานเป็นพันปีแต่ก็หลายร้อยปีทีเดียว ภูมิปัญญาในการรังสรรค์สิ่งต่างๆช่างน่าทึ่ง

ยกตัวอย่างเช่นพระพิม์ที่มีจารึอักษรนี้เดิมทีจะมี 2 องค์ประกบติดกันสันนิฐานว่าเพื่อรักษาจารึกของอีกองค์ไว้ไม่ให้ลบเลือนตามกาลเวลาทำให้เมื่อผ่านมาเกือบ 600 ปีแล้วก็ตามเราก็ยังเห็นจารึกนี้ได้อย่างชัดเจนเพราะถูกรักษาไว้ด้วยพระอีกองค์ที่ประกบคิดกัน และชาดที่ลงไว้ในเนื้อพระที่ผ่านการสลักแกะลงไปในเนื้อพระ แต่อย่างไรก็ดีพบว่าบางส่วนก็เขียนด้วยน้ำหมึกสีดำ แต่ด้วยกรรมวิธีรักษาสภาพของคนโบราณประกอบกับสภาพของกรุวัดราชบูรณะนั้นไม่ได้จมน้ำจึงทำให้วัตถุต่างๆที่อยู่ภายในมีสภาพสมบูรณ์เสียดายก็ตรงที่ก่อนทางการจะมาขุดก็ถูกพวกโจรขนเอาออกไปเสียมากแล้วเท่านั้น
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 26 ก.ค. 17, 14:29

ในฐานข้อมูลจารึกของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ยังมีจารึกจีนในกรุพระปราค์วัดราชบูรณะกรุเดียวกันนี้อีกแผ่นหนึ่ง
http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=1952


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง