เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 6090 รบกวนหน่อยครับภาษาจีน "คำนี้" อ่านออกเสียงว่าอย่างไรครับ
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


 เมื่อ 19 ก.ค. 17, 23:40

เป็นจารึกโบราณที่พบในจ.อยุธยาครับ อยากทราบคำนี้อ่านออกเสียงว่าอย่างไรครับผม ขอบคุณทุกท่านครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 ก.ค. 17, 10:28

รอคุณม้า และคุณ Wu  ค่ะ
บันทึกการเข้า
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 ก.ค. 17, 14:00

ตัวอักษรดังกล่าว อ่านว่า "หยาง" ครับ Yang +  เสียงวรรณยุกต์พินอินเสียงที่สอง, เป็นอักษรจีน แบบตัวเต็มครับครับ

杨 = ตัวอักษรจีน แบบย่อ  Simplified Chinese Character,简体字

楊 = ตัวอักษรจีน แบบตัวเต็ม Traditional Chinese Character,繁体字


บันทึกการเข้า
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 ก.ค. 17, 17:19

ขอบพระคุณครับอย่างสูง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 ก.ค. 17, 21:30

สำเนียงแต้จิ๋วว่า เอี้ย

ตัวละครในมังกรหยก 楊過 คนไทยรู้จักในสำเนียงแต้จิ๋วว่า เอี้ยก้วย  จีนกลางว่า หยางกั้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 ก.ค. 17, 22:43

หยาง ในที่นี้ ความหมายเดียวกับ หยาง ในหยินกับหยาง หรือเปล่าคะ
สงสัยว่าจารึกโบราณของไทยทำไมมีภาษาจีนด้วย
บันทึกการเข้า
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 ก.ค. 17, 23:10

ขอตอบคุณเทาชมพูนะครับ จารึกที่เห็นอยู่นี้ถูกสลักจารึกไว้ด้านหลังของ "พระเครื่อง" พิมพ์หนึ่งที่พบในกรุวัดราชบูรณะ จ.อยุธยา จึงเป็นหลักฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยใด และมีชาวจีนร่วมสร้างด้วยอย่างแน่นอนจากหลักฐานพระเครื่องพิมพ์นี้และรูปสลักสีที่อยู่ในกรุก็เป็นฝีมือช่างชาวจีนชัดเจนในหลายส่วนครับ เป็นเหตุผลว่าเหตุใดจึงมีจารึกจีนในโบราณวัตถุที่พบในประเทศไทย ไทยจีนใช่อื่นไกลเราติดต่อกันมานานนมครับ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ก.ค. 17, 00:42

หยาง ในที่นี้ ความหมายเดียวกับ หยาง ในหยินกับหยาง หรือเปล่าคะ
สงสัยว่าจารึกโบราณของไทยทำไมมีภาษาจีนด้วย

หยิน-หยาง  ตัวหยางเขียนอย่างนี้ครับ 阳
ส่วนจารึกของคุณสิงห์สำอาง ตัวหยางเขียนอย่างนี้ 楊  แปลได้ 2 อย่าง
1. ต้นหยาง  ภาษาอังกฤษว่า poplar
2. นามสกุล(แซ่)ของคนจีน  นายหรือนางคนนี้ แซ่หยาง ครับ  ส่วนชื่อขาดไป (ถ่ายไม่ติด)
จารึกของคุณสิงห์สำอาง (ที่จริงเรียกว่า "การลงชื่อ" ก็พอ) ผมทายว่าเป็นการทำบุญสร้างพระพุทธรูป  แล้วเจ้าตัวก็สลักชื่อไว้ด้านหลัง  เหมือนค่านิยมในสมัยปัจจุบันนี้
บันทึกการเข้า
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ก.ค. 17, 00:45

ขออนุญาตนำภาพพิมพ์ดังกล่าวมาลงไว้ศึกษาร่วมกันครับ

เครดิตภาพจากhttp://www.pinprapa.com ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ


บันทึกการเข้า
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ก.ค. 17, 00:49

กรมศิลปากรแปลเอาไว้ว่า คำอ่านออกเสียง (ออกเสียงเป็นสำเนียงแต้จิ๋ว) และคำแปลอักษรจีน
ไต้เม่งก๊ก ซีฮุ้กเซีย ขี่ปอกิกเซียง อยู่อี๋เจีย ฮองฮุกซินกั้ว ตั้งซอปูตวงจก ฮกซิม
ในรัชสมัยไต้เหม็งคนแซ่ตั้ง (มีแซ่เอี้ยและแซ่อื่นอีก) มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงร่วมใจกันสร้างพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ขึ้นไว้
กำหนดอายุจากข้อความที่ปรากฏในจารึกที่กล่าวถึงเหตุการณ์ใน "รัชสมัยไต้เหม็ง" ซึ่งก็คือ ราชวงศ์เหม็ง ของประเทศจีน (พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๒๑๘๗) ดังนั้นจารึกจึงน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒

ขอขอบคุณ ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ก.ค. 17, 21:38

ขอร่วมแปลด้วยอีกสำนวนหนึ่ง

จากบนลงล่าง และ จากขวาไปซ้าย (สำเนียงแต้จิ๋ว)

大明国      ไต้เม่งก๊ก       รัชสมัยไต้เหม็ง
奉佛信官   ฮองฮุกซินกั้ว   มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา
楊真茅施   เอี้ยจิงเหมาซี   เอี้ยจิงเหมา สร้าง

บันทึกการเข้า
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ก.ค. 17, 22:50

คุณเพ็ญชมพูครับ รบกวนช่วยแปลองค์นี้ให้หน่อยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 22 ก.ค. 17, 06:42

อักษรจีนหลังพระ ๒ องค์นี้เหมือนกัน ดังนั้นจึงแปลเช่นเดียวกัน  ยิงฟันยิ้ม

จากบนลงล่าง และ จากขวาไปซ้าย (สำเนียงแต้จิ๋ว)

大明国      ไต้เม่งก๊ก       รัชสมัยไต้เหม็ง
奉佛信官   ฮองฮุกซินกั้ว   มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา
楊真茅施   เอี้ยจิงเหมาซี   เอี้ยจิงเหมา สร้าง


บันทึกการเข้า
สิงห์สำอาง
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 22 ก.ค. 17, 10:40

จริงด้วยครับผมลืมสังเกตุ ในกรุวัดราชบูรณะยังมีพระอีกพิมพ์นึงที่ด้านหลังสลักอักษรจีนเอาไว้ แต่พิมพ์นี้ข้อความดูยาวกว่ารบกวนคุณเพ็ญชมพูช่วยแปลอีกสักองค์จะได้ไหมครับ ขอบพระคุณครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 22 ก.ค. 17, 15:17

คุณสิงห์ได้ลงคำแปลของกรมศิลปากรไว้แล้ว

กรมศิลปากรแปลเอาไว้ว่า คำอ่านออกเสียง (ออกเสียงเป็นสำเนียงแต้จิ๋ว) และคำแปลอักษรจีน
ไต้เม่งก๊ก ซีฮุ้กเซีย ขี่ปอกิกเซียง อยู่อี๋เจีย ฮองฮุกซินกั้ว ตั้งซอปูตวงจก ฮกซิม
ในรัชสมัยไต้เหม็งคนแซ่ตั้ง (มีแซ่เอี้ยและแซ่อื่นอีก) มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงร่วมใจกันสร้างพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ขึ้นไว้
กำหนดอายุจากข้อความที่ปรากฏในจารึกที่กล่าวถึงเหตุการณ์ใน "รัชสมัยไต้เหม็ง" ซึ่งก็คือ ราชวงศ์เหม็ง ของประเทศจีน (พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๒๑๘๗) ดังนั้นจารึกจึงน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒

ขอขอบคุณ ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

จัดข้อความให้อ่านได้ง่ายดังนี้

จากบนลงล่าง และ จากขวาไปซ้าย

大明國                        ไต้เม่งก๊ก   รัชสมัยไต้เหม็ง

奉佛信官陳_哺_ _發心   ฮองฮุกซินกั้วตั้งซอปูตวงจกฮกซิม   คนแซ่ตั้ง (มีแซ่เอี้ยและแซ่อื่นอีก) มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

印施佛_ _保吉祥如急者  อิงซีฮุกเซียขี่ปอกิกเซียงอยู่อี๋เจีย     จึงร่วมใจกันสร้างพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ขึ้นไว้

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง