เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 8138 เจ้าพระยาธรรมาธิกรณฯ ในอดีต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 26 ก.ค. 17, 12:52

พักเที่ยง  เลี้ยงขนมจีนน้ำพริกชาววัง ให้เข้ากับบรรยากาศค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 30 ก.ค. 17, 13:17

    ในรัชกาลที่ 2 มีเจ้าพระยาธรรมาฯ 2 ท่าน คือเจ้าพระยาธรรมาฯ(สด) ที่ต่อเนื่องมาจากรัชกาลที่ 1    และอีกท่านเข้าใจว่ามารับตำแหน่งแทนเมื่อท่านแรกถึงแก่อนิจกรรมแล้ว คือเจ้าพระยาธรรมาธิบดี(เทศ)
      ก่อนขึ้นถึงตำแหน่งเสนาบดีวัง ท่านเคยเป็นพระยาเพ็ชร์บุรีมาก่อน      ทางสายเลือดท่านเป็นหลานชายสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 ท่านผู้นี้จึงอยู่ในราชินิกุล ณ บางช้าง   
     ท่านอยู่ในตำแหน่งนี้จนสิ้นรัชกาล


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 31 ก.ค. 17, 11:02

ห่างหายไปซะนาน แวะมาทานขนมจีนครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 03 ส.ค. 17, 13:12

มาถึงรัชกาลที่ 4    เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี  ในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5  เป็นพี่น้องสกุลเดียวกัน คือ "สนธิรัตน์" 
สกุลนี้สืบมาจากเจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน)   ซึ่งเป็นข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่ 1 ต่อมาได้เป็นที่สมุหนายก อยู่มาจนถึงปลายแผ่นดินรัชกาลที่ 1   
เจ้าพระยารัตนาพิพิธมีบัตรชายหญิงหลายคน   มี 2 คนได้เป็นเจ้าพระยาธรรมาฯ ทั้งคู่ คือ เจ้าพระยาธรรมาฯ(เสือ) ในรัชกาลที่ 4  และเจ้าพระยาธรรมาฯ(ลมั่ง)ในรัชกาลที่ 5

เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดีอีกท่านหนึ่งในปลายรัชกาลที่ 4  ก่อนจะถึงเจ้าพระยาธรรมาฯ(ลมั่ง สนธิรัตน์) คือเจ้าพระยาธรรมาฯ(บุญศรี)เดิมเคยเป็น พระยาพิพัฒโกษา ปลัดทูลฉลองกรมท่า (กระทรวงต่างประเทศในปัจจุบัน) เป็นข้าหลวงเดิมที่โปรดปรานในรัชกาลที่ 3 
ท่านผู้นี้เป็นเชื้อสายเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา   ว่ากันว่าสืบเชื้อสายจากพราหมณ์เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย เข้ารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา
เจ้าพระยาธรรมาธิรณาธิบดี (บุญศรี)  ต่อมาเมื่อชราได้รับพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯเปลี่ยนราชทินนามเป็น “เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี”  ถึงแก่อสัญกรรม เมื่ออายุ ๘๖ ปี ท่านผู้นี้เป็นต้นสกุล ‘บุรณศิริ’

ถ้าใครผ่านไปทางถนนอัษฎางค์หลังกระทรวงกลาโหม  คงเห็นวัดบุรณศิริ  ตามประวัติบอกว่า กรมหมื่นเสนีเทพ (พระองค์เจ้าอสุนี) พระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เป็นผู้สร้างวัดขึ้นแต่ยังค้างอยู่ จนกระทั่เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี ) ดำเนินการสร้างต่อจนเสร็จ ในสมัยรัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดศิริอำมาตยาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น วัดบุรณศิริมาตยาราม
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 04 ส.ค. 17, 10:34

 ในรัชกาลที่ 5  พระยามหาอำมาตย์(ลมั่ง สนธิรัตน์)  น้องชายเจ้าพระยาธรรมาฯ(เสือ สนธิรัตน์) ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาธรรมาธิกรณบดี 
  จากนั้นก็ถึงเจ้าพระยาธรรมาธิกรณบดีคนสุดท้ายในรัชกาลที่ 6   หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล
  ม.ร.ว. ปุ้ม เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์(พระนามเดิม หม่อมเจ้าขจร มาลากุล พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)  กับหม่อมทับ มาลากุล ณ อยุธยา
  ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล เริ่มรับราชการในกรมทหารรักษาวัง เป็นจมื่นจงภักดีองค์ขวา  ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเรื่อยๆจนได้เป็นมหาเสวกเอก  พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6  ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ศรีรัตนมณเฑียรบาล บรมราโชประการกิจจาภิรมย์ สรรโพดมราชธุรานุประดิษฐ ธรรมสุจริตวิบุลย์ มาลากุลวิวัฒน์ บำรุงรัตนราชประเพณี นิตยภักดีนฤปนารถ อันเตบุริกามาตย์มหานายก อรรคเสวกนนทิพาหมุรธาธร กิตติขจรเสนาบดี ศรีรัตนไตรยสรณธาดา อุดมอาชวาธยาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ

 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 04 ส.ค. 17, 10:39

      ในรัชกาลที่ 7 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475  กระทรวงวังก็มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบการบริหารงานหลายอย่างด้วยกัน   เช่นเปลี่ยนชื่อ "กระทรวงวัง" เป็น "ศาลาว่าการพระราชวัง" แต่พอปีต่อมา พ.ศ. 2476 ก็กลับมามีฐานะเป็นกระทรวงขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พุทธศักราช 2476 และมี "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง" เป็นเจ้ากระทรวง แทนตำแหน่งเสนาบดี
     เป็นอันสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาบดี แต่เพียงนี้
บันทึกการเข้า
luckluck
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 02:25

รบกวนตรวจสอบชื่อบรรดาศักดิ์อีกครั้งนึงครับ
เพราะจาก หนังสือประวัติสำนักพระราชวัง พิมพ์ครั้งที่ ๓ สำนักพระราชวัง กรกฎาคม ๒๕๔๓ ตามนี้ครับ
ยุคกรุงรัตนโกสินทร์
   ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ๒๔๓๕ “เสนาบดีจตุสดมภ์กรมวัง
มีพระนามและนามดังนี้

รัชกาลที่ ๑ - เจ้าพระยาธรรมาธิกร (บุญรอด ต้นสกุลบุณยรัตนพันธ์)
              - เจ้าพระยาธรรมาธิกร (ทองดี)
              - เจ้าพระยาธรรมาธิกร (สด)
รัชกาลที่๒ - เจ้าพระยาธรรมาธิกร (เทศ)
รัชกาลที่๓ - เจ้าพระยาธรรมาธิกร (สมบุญ)
รัชกาลที่ ๔ - เจ้าพระยาธรรมาธิกร (เสือ สนธิรัตน)
              - เจ้าพระยาธรรมาธิกร (บุญศรี ต้นสกุล บุรณศิริ)
รัชกาลที่ ๕
(ก่อน พ.ศ. ๒๔๓๕) - เจ้าพระยาธรรมาธิกร (มั่ง สนธิรัตน)
 (หลัง พ.ศ. ๒๔๓๕) - กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม
                       - กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช (รักษาการ
                         ชั่วคราวระหว่างกรมหมื่นประจักษ์-
                         ศิลปาคมเสด็จหัวเมือง)

ภายหลังปฏิรูปการปกครองเป็นกระทรวงวัง “เสนาบดีกระทรวงวัง
มีพระนาม และนามดังนี้

                 - กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (จึงถือ
                  ว่าทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงวังพระ-
                  องค์แรก หลังปฏิรูปการปกครองใน
                  รัชกาลที่ ๕)
 (๘ ตุลาคม ๒๔๓๕ - ๒๖ สิงหาคม ๒๔๓๙)
         - พระองค์เจ้าไชยยันตมงคล (แทนกรมหมื่นประ-
        จักษ์ศิลปาคม ระหว่างเสด็จราชการหัวเมือง
        ชั่วคราว)
 (๑ กันยายน ๒๔๓๙ - ๑๘ กันยายน ๒๔๔๑)
         - กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (แทนกรมหมื่น
        ประจักษ์ศิลปาคม ชั่วคราว)
 (๑๙ กันยายน ๒๔๔๑ - ๙ มิถุนายน ๒๔๔๘)
         - กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา
(๑๐ มิถุนายน ๒๔๔๘ - กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒)
         - สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
(รักษาราชการร่วมกัน ตั้งแต่กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ - ๒๔
 พฤษภาคม ๒๔๕๓)
         - กรมขุนสมมตอมรพันธ์ และพระยาอนุรักษ์ราช-
         มณเฑียร (ม.ล. ปุ้ม มาลากุล)

รัชกาลที่ ๕ ต่อ ๖
(๒๕ พฤษภาคม ๒๔๕๓ - ๑๔ เมษายน ๒๔๕๖)
      - กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์


 รัชกาลที่ ๖ ต่อ ๗
(๑๕ เมษายน ๒๔๕๖ - ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๖๙)
         - เจ้าพระยาธรรมาธิกรณธิบดี (ม.ล.ปุ้ม มาลากุล)
 (๒๔ กรกฎาคม ๒๔๖๙ - ๑๔ มีนาคม ๒๔๖๙ )*
         - สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ (ทรง
         กำกับราชการชั่วคราว โดยมีพระยา วรพงศ์-
         พิพัฒน์ เป็นผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดี)


รัชกาลที่ ๗
(๑๕ มีนาคม ๒๔๖๙ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๗๕)
         - เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (เป็นเจ้าพระยาคน
         เดียวที่เป็นเสนบดีกระทรวงวัง โดยไม่ได้
        พระราชทานราชทินนามว่าเจ้าพระยาธรรมาตาม
        โบราณประเพณี)

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตย
 ตอนยังเป็นกระทรวง “ผู้สำเร็จราชการพระราชวัง” และ
“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง” มีนามดังนี้
(๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ - ๓๑ มีนาคม ๒๔๗๗)
          - เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์

ตอนเป็นสำนักพระราชวัง “เลขาธิการพระราชวัง” มีนามดังนี้
(๑ เมษายน ๒๔๗๘** - ๓๑ มกราคม ๒๔๙๐)
           - พระยาชาติเดชอุดม (ม.ร.ว โป๊ะ มาลากุล)
 (๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๐ - ๖ สิงหาคม ๒๕๐๙)
           - พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)
 (๗ สิงหาคม ๒๕๐๙ - ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๑)
           - ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
(๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ - ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๐)
           - นายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์
(๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๐ - ปัจจุบัน)
           - นายแก้วขวัญ วัชโรทัย


________________________________

*,** แต่เดิมไทยเรานับการขึ้นศักราชใหม่ในเดือนเมษายน และได้มาเปลี่ยนมาเป็นเดือนมกราคม ตามสากลในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔
เอกสารอ้างอิง
      ๑. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
      ๒. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
      ๓. สารานุกรมไทย
      ๔. ราชกิจจานุเบกษา
      ๕. พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน
      ๖. พระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง
      ๗. ประกาศตั้งย้ายเปลี่ยนเสนาบดี ผู้รั้ง ผู้แทน และ
          รองเสนาบดี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕–๒๔๖๙
      ๘. ตั้งเจ้าพระยากรุงรัตนโกสินทร์
      ๙. ทำเนียบกระทรวง
      ๑๐. ทำเนียบกรมมหาดเล็กหลวง
      ๑๑. เอกสารสำนักพระราชวังบางเรื่อง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 09:17

ใครมีข้อมูลช่วยตรวจสอบด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง