เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 18 ก.ค. 17, 17:10
|
|
ในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 ท่านบุญรอดดวงชะตาพุ่งสูง ได้รับตำแหน่งใหญ่เป็นเสนาบดีกรมวัง บรรดาศักดิ์คือเจ้าพระยาธรรมาธิกรณบดี คนที่จำประวัติศาสตร์ช่วงตั้งกรุงรัตนโกสินทร์คงนึกออกว่า ศึกใหญ่สุดในแผ่นดินนี้คือศึก 9 ทัพของพระเจ้าปดุง ซึ่งได้ทำศึกชนะเมืองใกล้เคียงต่างๆ จำนวนมาก จึงคิดตีอาณาจักรรัตนโกสินทร์เพื่อให้มีเกียรติยศดังพระเจ้าแผ่นดินของพม่าในอดีต พระองค์จึงจัดกองทัพใหญ่เป็น 9 ด้วยกัน รวมพล 144,000 คน แยกย้ายกันมาหลายสาย ยกเข้ามาตีกรุงรัตนโกสินทร์ในปีมะเส็ง พ.ศ.2328 ในช่วงนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯเพิ่งจะทรงขึ้นครองราชย์ได่เพียง 3 ปี ไทยมีกำลังพลน้อยกว่าพม่ามาก เรียกได้ว่าครึ่งต่อครึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯและกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ทรงดำเนินการศึกแบบใหม่ ไม่ตั้งรับอยู่ในเมืองหลวงอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่จัดทัพออกไปรับพม่าตั้งแต่ยังไม่ทันเข้ามาถึงเมืองหลวง โดยแยกย้ายกันไปเป็นทัพเล็กทัพน้อยหลายสายเช่นกัน การศึกแบบหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้ไทยมาก คือทำการรบแบบกองโจร ใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะทัพคนจำนวนมากได้
ทีนี้จะย้อนมาถึงบทบาทเจ้าพระยาธรรมาธิกรณฯ (บุญรอด) บ้าง อย่างที่เคยเล่าหลายครั้งแล้วว่า ขุนนางไทยสมัยนั้นไม่ได้แบ่งหน้าที่การงานกันเด็ดขาดเหมือนสมัยนี้ ในยามสงบ ใครมีหน้าที่การงานรับผิดชอบด้านไหนก็ทำกันไป แต่ในยามศึก ทุกคนมีสิทธิ์ถูกทำหน้าที่ทหารออกไปรบทั้งนั้น ไม่มียกเว้น แม้แต่มหาดเล็กอย่างนายนรินทร์ธิเบศร์ก็ยังต้องตามเสด็จเจ้านายไปในทัพ เสนาบดีกรมวังก็เช่นกัน ท่านก็ต้องคุมทัพออกไปรบเช่นเดียวกับขุนนางผู้ใหญ่อื่นๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 18 ก.ค. 17, 17:19
|
|
ทัพพม่าที่เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ (บุญรอด) ต้องเจอ คือกองทัพที่สองของพระเจ้าปดุง มีแม่ทัพพม่าชื่อจำยากว่า " อนอกแฝกคิดวุ่น" เป็นแม่ทัพ ยกทัพมาจากเมืองทวาย มีพระยาทวายเป็นกองทัพหน้ายกพล 3,000 คน นำหน้ามาก่อน ส่วนอนอกแฝกคิดวุ่น เป็นกองทัพหลวงถือพล 4,000 คน และจิกสิบโบ่ เป็นกองทัพหลังถือพล 3,000 คน รวมทั้งสิ้นเป็นทัพใหญ่เบ้อเริ่ม จำนวนไพร่พลถึง 10,000 คน เดินทางเข้ามาทางด่านบ้องตี้ เข้ามาตีหัวเมืองไทยฝ่ายตะวันตก ตั้งแต่เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เพื่อจะลงไปบรรจบกับกองทัพที่ 1 ของพม่าที่เมืองชุมพร ส่วนทางเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ (บุญรอด) กับพระยายมราช(อิน หรือ ทองอิน) คุมพลจำนวนครึ่งเดียวของพม่า คือ 5,000 คน ไปตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรี คอยต่อสู้กองทัพพม่าที่จะยกขึ้นมาจากทางใต้หรือจากเมืองทวาย ผ่านเข้ามาทางด่านบ้องตี้ โดยมีหน้าที่หลักคือรักษาเส้นทางลำเลียงของกองทัพที่ 2 ของไทย ซึ่งมี กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นจอมพลแม่ทัพถือพล 30,000 คนไปตั้งรับอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี คอยต่อสู้กับกองทัพหลักของพระเจ้าปดุงที่จะยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
ทางฝ่ายพม่าที่อนอกแฝกคิดวุ่นเดินทัพเข้ามา เจอเส้นทางลำบาก ก็เลยเดินทางช้าอืดอาดกว่าจะมาถึงราชบุรี แต่ก็เดินทางฝ่าฟันความทุรกันดารมาจนตั้งค่ายรายล้อมนอกเมืองราชบุรีได้สำเร็จ คือพระยาทวาย กองทัพหน้าตั้งค่ายที่ทุ่งทางด้านตะวันตกของเมืองราชบุรี (แถวหนองบัวนอกเทือกเขางู ) อนอกแฝกคิดวุ่น แม่ทัพหลวงตั้งอยู่ที่ท้องชาตรี (คือบึงใหญ่ แถว อ.จอมบึง น่าจะเป็น"บึงจอมบึง") จิกสิบโบ่ กองทัพหลัง ตั้งอยู่ที่ด่านเจ้าขว้าว ริมแม่น้ำภาชี (ด้านเหนือ ต.ป่าหวาย อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 18 ก.ค. 17, 17:27
|
|
ทางฝ่ายแม่ทัพไทยคือเจ้าพระยาธรรมาฯ บุญรอด และพระยายมราชที่(อิน)ไปรักษาการอยู่ที่ราชบุรี จะด้วยอะไรก็ไม่ทราบ อาจจะเห็นว่านั่งรอนอนรอเท่าไหร่ๆ พม่าก็ไม่โผล่มาสักที ก็เลยประมาท คิดว่าคงยังมาไม่ถึง ก็ไม่จัดกองลาดตระเวนออกไปสืบข่าวข้าศึก จนข้าศึกมาเหยียบจมูกตั้งทัพอยู่ชานเมืองราชบุรีถึง 3 ค่ายก็ยังไม่รู้ เคราะห์ดีมาก ที่พม่ายังไม่ทันยกเข้าตีราชบุรี ไม่งั้นทัพไทยคงไม่รอด โชคเข้าข้างไทยที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทชัยชนะต่อทัพพม่าที่ลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี เมื่อเสร็จงานทางนี้เรียบร้อยแล้ว จึงมีรับสั่งให้พระยากลาโหมราชเสนา และพระยาจ่าแสนยากร คุมกองทัพเดินทางลงมาทางบก ก็เลยจ๊ะเอ๋เข้ากับกองทัพพม่าที่ตั้งค่ายอยู่ที่เขางู นอกเมืองราชบุรี โดยทางทัพไทยราชบุรียังไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร ทัพไทยจากกาญจนบุรี ยกกองทัพเข้าตีค่ายพม่า รบพุ่งตะลุมบอนกัน ไทยเป็นฝ่ายชนะ กองทัพพม่าต้านทานกำลังไม่ไหว แตกพ่าย ทั้งกองทัพหน้าและกองทัพหลวง ฝ่ายทัพไทยของพระยากลาโหมและพระยาจ่าแสนยากรจับเชลยพม่าและเครื่องศาสตราวุธ ช้าง ม้า พาหนะได้เป็นจำนวนมาก ส่วนทัพพม่าที่เหลือหนีกลับประเทศพม่ากลับออกไปทางเมืองทวาย หลังจากนั้นกองทัพของพระยากลาโหมราชเสนา และพระยาจ่าแสนยากร ก็เดินทางต่อไปช่วยทางเมืองชุมพรต่อไป
เราก็คงจะเดาออกว่า ความซวยตกอยู่ที่ใคร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 19 ก.ค. 17, 10:35
|
|
หลังจากนั้น กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จยกกองทัพหลวงมาถึงเมืองราชบุรี เมื่อทรงทราบเรื่องทั้งหมด ก็โปรดให้ไต่สวนความผิดของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์(บุญรอด) และพระยายมราช (อิน) ในข้อหาประมาทเลินเล่อ ทำให้พม่าเข้ามาตั้งทัพเหยียบจมูกได้ถึงชานเมืองราชบุรี มิได้ระวังระไวการสงคราม ผลการไต่สวน จึงมีพระราชบัณฑูรลงพระราชอาญาแม่ทัพทั้งสอง จำขังไว้ที่ค่ายทหารเมืองราชบุรี เท่านั้นยังไม่พอ โทษทั้งสองคนถือเป็นโทษอุกฉกรรจ์ ถ้าหากว่าเป็นขุนนางยศรองๆลงมาคงโดนพระราชอาญาขั้นประหารไปแล้ว ไม่เสียเวลายืดเยื้อ แต่นี่เป็นขุนนางผู้ใหญ่ระดับเสนาบดีทั้งคู่ จึงทรงมีหนังสือกราบบังคมทูล ขอพระราชทานประหารชีวิตส่งเข้าไปยังกรุงรัตนโกสินทร์
ทางด้านพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเห็นว่าแม่ทัพทั้งสองเคยมีความดีความชอบมาก่อน ข้อนี้ก็พอเข้าใจได้ เพราะการที่จะขึ้นมาเป็นขุนนางใหญ่ขนาดนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ก็ต้องมีฝีมือไม่เบา และมีคอนเนคชั่นกว้างขวางอยู่มาก ก็ยังไม่อยากด่วนประหารชีวิตไปเสีย ให้เสียขวัญบรรดาแม่ทัพนายกอง แต่ก็มิได้ทรงละเลยต่อความผิด จึงทรงมีพระราชสาสน์ตอบกลับไปว่า ขอชีวิตไว้ แต่โปรดให้ลงพระราชอาญาทำโทษตามกฏพระอัยการศึกตามแต่เห็นควร กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จึงลงพระราชอาญาให้โกนศีรษะแม่ทัพทั้งสอง เป็นสามแฉก แล้วแห่ประจานรอบค่าย ถอดเสียซึ่งฐานันดรศักดิ์ จากเจ้าพระยาลงมาเป็นนายธรรมดา เท่ากับว่าจากพลเอกกินเงินเดือนอัตราจอมพลลงมาเป็นทหารเกณฑ์ ส่วนนายทัพนายกองที่รักษาเมืองราชบุรีที่เหลือให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนโบย เรียกว่าหลังลายเป็นริ้วปลาแห้งกันไปทั้งสิ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 19 ก.ค. 17, 11:03
|
|
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ยังคงทรงพระเมตตาต่ออดีตเจ้าพระยาธรรมาธิกรณฯ อยู่มาก เมื่อถูกถอดถูกปลด กลับมาอยู่บ้านเฉยๆแล้ว อีกไม่นานก็โปรดเกล้าฯให้กลับเข้ารับราชการ แต่ไม่ใช่ในตำแหน่งสูงส่งอย่างเดิม หากแต่ไปช่วยราชการในวัง พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระเพทราชา อดีตเจ้าพระยาธรรมาฯ ท่านก็รับราชการอยู่ในกรมวังมาจนสื้นแผ่นดิน ถึงแม้ประมุขของสกุลพลาดพลั้งในการศึก ถูกลงพระราชอาญา ตระกูลของเจ้าพระยาธรรมาฯ ก็ไม่ได้พลอยเคราะห์ร้ายไปด้วย ลูกๆของท่านยังคงรับราชการมาเป็นปกติตลอดรัชกาลที่ 1 และต่อมาจนรัชกาลที่ 2 หนึ่งในนั้นคือเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) ขุนนางสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ในรัชกาลที่ 1 ท่านน้อยได้เป็นพระยาอนุชิตราชา จางวางพระตำรวจ ถึงรัชกาลที่ 2 ได้เป็นเจ้าพระยมราช จตุสดมภ์กรมเวียง หรือเสนาบดีกรมเมือง โปรดฯให้เป็นแม่ทัพยกไปทำศึกที่เขมร ได้ชัยชนะกลับมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาอภัยภูธร อัครเสนาบดีที่สมุหนายก ส่วนตัวเจ้าพระยาธรรมาฯ เองก็พ้นเคราะห์ในรัชกาลที่ 2 ได้กลับเป็นเจ้าพระยาอีกครั้ง มีบรรดาศักดิ์ว่า "เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช"
จนถึงรัชกาลที่ 6 เมื่อมีพระราชบัญญัติให้คนไทยมีนามสกุล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชทานนามสกุลแก่ลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ว่า "บุณยรัตพันธุ์" คือทรง 'บวช' คำว่า "บุญรอด" ให้เป็นศัพท์บาลี จาก บุญรอด เป็น บุณยรัต ส่วนพันธุ์ ก็คือ เชื้อสาย ค่ะ วัดของสกุลบุณยรัตพันธุ์ คือวัดเครือวัลย์วรวิหาร ที่ฝั่งธน สร้างโดยเจ้าจอมเครือวัลย์ บุตรีเจ้าพระยาอภัยภูธร พวกลูกหลานสกุลนี้ซึ่งมีจำนวนนับร้อยในปัจจุบัน ยังคงไปทำบุญประจำปีกันที่วัดนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 19 ก.ค. 17, 13:14
|
|
จบเจ้าพระยาธรรมาฯ ท่านที่หนึ่งค่ะ ตอนนี้พักเที่ยง เชิญคุยได้ตามอัธยาศัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 19 ก.ค. 17, 15:51
|
|
บุณยรัตพันธุ์ ที่สายการ์ตูนแบบผมต้องรู้จักก็คือ คุณนิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์ หรือที่รู้จักกันในนาม น้าต๋อย เซนเบ้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 19 ก.ค. 17, 18:46
|
|
ส่วนพระยายมราช(อิน หรือทองอิน) ที่ถูกรางวัลที่ 1 พร้อมกับเจ้าพระยาธรรมาฯ มีประวัติบอกกล่าวไว้เพียงสั้นๆว่า ในสมัยธนบุรี ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอินทราบดีสีหราชรองเมือง เป็นผู้รู้ขนบธรรมเนียมในกรมนครบาลมาก คุณหลวงอินทราฯ น่าจะเป็นนักรบฝีมือดี ได้ติดตามเจ้าพระยาจักรีไปในการศึกสงครามหลายครั้ง จนในรัชกาลที่ 1 ได้เป็นถึงพระยายมราช แต่ยังไม่ทันจะได้เป็นเจ้าพระยา ก็มาเกิดเรื่องที่ราชบุรีเสียก่อน จนถูกถอดพร้อมกัน แต่ชะตาพระยายมราชไม่ร้ายแรงเท่าไหร่ ต่อมาก็โปรดเกล้าฯ ให้ได้รับคืนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาตามเดิม แต่มีราชทินนามว่า พระยามหาธิราช ช่วยราชการในกรมนครบาลต่อไป
ไม่ทราบว่าท่านเป็นต้นสกุลใด ยังหาไม่เจอค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Jalito
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 19 ก.ค. 17, 22:24
|
|
ยังติดฝนอยู่บนเรือน ชาวเรือนรุ่นอา(วุโส)น่าจะยังไม่ลืมดาวเสียงสตรีท่านหนึ่งแม้จะดับแสงไปหลายปีแล้ว คุณพิทยา บุณยรัตพันธุ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 20 ก.ค. 17, 10:27
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 20 ก.ค. 17, 12:22
|
|
หมายเหตุ บรรดาศักดิ์เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ในหนังสือบางเล่มเรียกว่า ธรรมาธิบดี ค่ะ
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี หรือเจ้าพระยาธรรมาธิบดี ท่านที่สอง มีนามเดิมว่า ทองดี ตามประวัติเล่าว่าเป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หมายถึงว่าเคยรับใช้มาก่อน ตั้งแต่ยังทรงเป็นขุนนางในสมัยกรุงธนบุรี ชั้นเดิมท่านทองดีมีบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นศรีสรรักษ์ แล้วเลื่อนขึ้นเป็นพระยาพิพัฒโกษา เมื่อมาถึงรัชกาลที่ 1 หลังท่านบุญรอดได้ประสบชะตากรรมพ้นตำแหน่งเสนาบดีไปแล้ว ท่านทองดีก็ได้รับประราชทานโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นเจ้าพระยาธรรมาธิบดี เสนาบดีจตุสดมภ์กรมวังแทน ตระกูลของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ทองดี) เป็นตระกูลขุนนางใหญ่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา กล่าวกันว่าท่านเป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยราชา ที่เรียกกันว่า เจ้าคุณประตูจีน ครั้งกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาอภัยราชาตามความในราชพงศาวดาร เดิมเป็นเจ้าพระยาสุภาวดี บ้านอยู่ประตูจีน แล้วได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาอภัยราชา ตำแหน่งสมุหพระกลาโหม ในตอนปลายแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ในรัชกาลที่ 6 ผู้สืบสกุลของเจ้าพระยาธรรมาฯ (ทองดี) ได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานนามสกุลว่า "ธรรมสโรช" สกุลที่เกี่ยวเนื่องกับ ธรรมสโรช เพราะมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน คือ สโรบล รัตนทัศนีย์ และ อินทรวิมล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 26 ก.ค. 17, 11:30
|
|
เจ้าพระยาธรรมาฯ (ทองดี) ถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ 1 ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้ต่อมา เป็นขุนนางจากวังหน้า ชื่อเดิมว่า "สด" เจ้าพระยาธรรมาฯ สด เป็นข้าหลวงเดิมในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทมาก่อน เมื่ออุปราชาภิเษก ท่านผู้นี้ได้ดำรงตำแหน่งพระยามณเฑียรบาล ซึ่งก็คือเสนาบดีกรมวังของวังหน้า เทียบเท่าเจ้าพระยาธรรมาธิกรณฯของวังหลวงนั่นเอง เมื่อสิ้นวังหน้า ตามธรรมเนียม ขุนนางวังหน้าก็ย้ายมารับราชการวังหลวง เมื่อท่านเสนาบดีกรมวังของวังหลวงถึงแก่อนิจกรรมในปลายรัชกาลที่ 1 ก็คงจะไม่มีใครรู้ระเบียบแบบแผนของกรมวังได้ดีเท่าพระยามณเฑียรบาลเสนาบดีวังหน้า พระยามณเฑียรบาล(สด)จึงได้กินตำแหน่งนี้แทน ท่านผู้นี้มีประวัติบอกเพียงสั้นๆว่ามาจากตระกูลพราหมณ์รามราช ของเพชรบุรี ถ้าใครสนใจประวัติสุนทรภู่คงจำได้ว่า อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว เคยค้นพบต้นฉบับที่ขาดหายไปในนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ ที่ระบุว่าท่านมีเชื้อสายพราหมณ์รามราช เมืองเพชรบุรี ส่วนพราหมณ์รามราช คือพราหมณ์ประเภทไหนมีความเป็นมาอย่างไร ก็สันนิษฐานกันไปหลายทาง พอจะบอกได้อย่างกำปั้นทุบดินว่า น่าจะเป็นพราหมณ์เดินทางมาจากทางอินเดียได้ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในสถานที่ที่ตรงกับวัดเพชรพลี หรือวัดพริบพรีในจังหวัดราชบุรี เพราะยังมีเสาชิงช้าสร้างไว้ให้เห็นจนถึงปัจจุบัน เจ้าพระยาธรรมาฯ(สด) รับราชการมาจนถึงรัชกาลที่ 2 ก็ถึงแก่อนิจกรรม ไม่ทราบประวัติลูกหลานหรือนามสกุลของท่านค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CVT
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 26 ก.ค. 17, 11:54
|
|
ยังอยู่ในห้องเรียนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|