เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 8137 เจ้าพระยาธรรมาธิกรณฯ ในอดีต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 13 ก.ค. 17, 13:11

กระทู้นี้จะเป็นการรวบรวมว่า เสนาบดีกระทรวงวังในอดีต ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ มีใครบ้างค่ะ

ในยุคที่ไทยยังแบ่งระบบราชการเป็น 4  กรม เรียกว่า จตุสดมภ์  หรือ เวียง วัง คลัง นา    แต่ละกรมมีเสนาบดีผู้บังคับบัญชาสูงสุดระดับเจ้าพระยา    คือ เจ้าพระยายมราช ปกครอง เวียง หรือมหาดไทย   วัง  เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี   คลัง มี เจ้าพระยาพระคลัง หรือโกษาธิบดี    และนา มี เจ้าพระยาพลเทพ เป็นเสนาบดี
ระบบจตุสดมภ์มาสิ้นสุดในสมัยรัชกาลที่ 5 ค่ะ

หยุดแค่นี้ รอนักเรียนขานชื่อตามเคย  เรียกเรตติ้งค่ะ
บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ก.ค. 17, 15:21

ยกมือ มาครับ
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ก.ค. 17, 16:27

"นินพัด มาครับ"

เป็นเสียงขานรับจากโต๊ะริมหน้าต่าง
แถวสองจากหน้าชั้น เช่นเคย
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 ก.ค. 17, 16:58

มาหลบอยู่หลังห้องครับ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 ก.ค. 17, 10:41

แอบเล่นมือถืออยู่หลังห้องตรงข้างๆ ที่เก็บถังผงกับไม้กวาดครับ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 14 ก.ค. 17, 12:42


   มานานแล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 14 ก.ค. 17, 13:50

    มา 5  คน เปิดชั้นเรียนได้แล้ว
 
    ในวิกิ เทียบตำแหน่งเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เสนาบดีกรมวัง ว่าเทียบเท่าตำแหน่งเลขาธิการสำนักพระราชวัง   แต่ในความเป็นจริง เมื่อย้อนหลังไปก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมัยเรายังอยู่ในระบอบราชาธิปไตย   ขอบเขตรับผิดชอบของกรมวังกว้างขวางกว่าสำนักพระราชวังมาก
     กรมวัง มีหน้าที่บังคับกิจการในพระราชวัง ดูแลพระราชฐาน ควบคุมการรับจ่ายในวัง รับผิดชอบงานพระราชพิธี บังคับบัญชาคนในวังยกเว้นคนของกรมมหาดเล็ก  นอกจากนี้ยังรับผิดชอบในเรื่องการยุติธรรม เพราะคติที่ถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้นของความยุติธรรมในสังคม กรมวังมีหน้าที่ดูแลศาลหลวง และการแต่งตั้งยกกระบัตรไปทำหน้าที่ดูและความยุติธรรมหรือเป็นหัวหน้าศาลในหัวเมือง
    กรมวังยังมีกรมย่อยอยู่ในสังกัด คือ
    1.กรมตำรวจวังซ้าย ขวา
    2.กรมพระราชยาน
    3.กรมพิมานอากาศ (เครื่องสูง)
    4.กรมช่างทอง ช่างเงิน
    5.กรมพระสุคนธ์
    6.กรมพระแสงใน
    7.คลังข้าวสาร
    8.กรมศุภรัตน์

    เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมวังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรมธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิบดีศรีวิริยพงษวงษภักดีบดินทรเดโชชัยมไหสุริยาธิบดีศรีรันมณเทียรบาล เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 ก.ค. 17, 13:54

  ถ้ามีใครยกมือถามว่ากรมย่อยทั้ง 8 กรมทำหน้าที่อะไรบ้าง   ขอตอบว่ารู้เฉพาะบางกรม    บางกรมก็ต้องอาศัย verb to เดา  จึงเปิดโอกาสให้ครูอื่นๆเช่นครูเพ็ญชมพูมาตอบดีกว่าค่ะ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 ก.ค. 17, 17:52

อาจจะเข้าชั้นเรียนสายไปบ้าง แต่ไม่เคยขาดเรียนนะคะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Praweenj
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 ก.ค. 17, 02:18

มาเข้าเรียนด้วยคนครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 ก.ค. 17, 05:53

พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง ๑๒๙๘

พระราชบัญญัติ

ศุภมัศดุ ๑๒๙๘ สุนักขสังวัจฉระ กาลปักษยทัศมีดฤษถีอาทิตยวาร พระบาทสมเดจพระบรมไตรโลกนายกดิลก ผู้เปนเจ้าเกล้าภูวมณฑล สกลอาณาจักร อัคบุริโสดมบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว สถิตย ณ พระธินั่งเบญจะรัตนมหาปราสาทโดยบุรพาพิมุข จึ่งเจ้าพญาธรรมาธิบดีศรีรัตนมลเทียรกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระอนุชาธิราช พระราชกุมาร พระราชบุตร พระราชนัดดา ท้าวนางพระสนม แลจะไว้ศักดิ์ดั่งฤๅ จึ่งพระบาทพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการดำรัสตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า

(๑๑. กรมวัง)

         ออกพญาธารมาธิบดีศรีวิริยพงษวงษภักดีบดินทรเดโชไชยมะไหยสุริยาธิบดีศรีรัตนมลเทียรบาล
อัคะมหาเสนาธิบดีอภัยพิรีบรากรมภาหุ                               นา ๑๐๐๐๐
หลวงบำเรอภักดิ                                                        นา ๑๐๐๐
หลวงรักษมณเฑียร                                                      นา ๑๐๐๐
จะหมื่นจงรักษาองค พระตำรวจวังซ้าย                                นา ๘๐๐
จะหมื่นจงภักดีองค  พระตำรวจวังขวา                                 นา ๘๐๐
นายประภาษมณเฑียร } ปลัดวัง                                       นาคล ๖๐๐
นายเสถียรรักษา
ประแดงก้อนทองขวา }                                                 นา ๔๐๐
ประแดงเกยดาบซ้าย
นายจันมณเฑียร      } ๑๒ คน                                        นาคล ๔๐๐
นายศรีเถียรภักดี
นายยี่สาร
นายจำเรียรภักดี
นายพิบูรรบริบาล
นายพิมารบริรัก
นายรัศบรรยง
นายจำนงภักดี
นายชำนิบริบาล
นายชำนาญมณเฑียร
นายสวัสดิภักดี
นายสวรรภักดี
ขุนยศเสสะวะราช สมุบาญชีย                                             นา ๖๐๐
ขุนศรีราชบุตร  ศาลมรฎก ๑   ขุนอินอาชญา วัง ๑      } ๔ คน      นาคล ๘๐๐
ขุนพรหมสุภา  นครบาลวัง ๑   ขุนเทพสุภา   แพ่งวัง ๑
ขุนอักษร เสมียรตรา                                                        นา ๖๐๐
         หลวงรัตนากร เจ้ากรมชาวที่พระบรรทม                         นา ๑๐๐๐
ชาวที่พระบันทม  ขุนอนุรักราชา ๑ ขุนศรีราชอาศ ๑ ปลัดกรม ๒ คน  นาคล ๖๐๐
                  หมื่นในกรมชาวที่                                         นาคล ๔๐๐
                   กำนันที่พระบันทม                                        นาคล ๒๐๐
        หลวงพิพิทมณเฑียร เจ้ากรมเฝ้าพระที่นั่ง                          นา ๔๐๐
ขุนพิมารมลเฑียร ปลัดกรม                                                 นา ๓๐๐
หมื่นในกรม                                                                  นา ๒๐๐

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 ก.ค. 17, 06:02

           ออกพระราชฤทธานนพะหลภักดีศรีรัตนมณเฑียรบาล วังนอก    นา ๓๐๐๐
         ออกพระนนทเสนเสนาบดีศรีรัตนะมณเฑียรบาล วังนอก          นา ๓๐๐๐
ขุนทิพไพชณ     ๑  } ปลัดวังนอก                                          นาคล ๖๐๐
ขุนสกลมณเฑียร ๑
หมื่นสกลพิมาน   ๑
หมื่นภักดิบรรยง  ๑
หมื่นจำนงรักษา  ๑
ขุนจันพิมาร ชาวท่อ ๑  }                                                    นา ๖๐๐
             ชาวอ่าง ๑
ขุนกำแพงบุรี } การขาดกวาดหนามในพระราชวัง                        นา ๖๐๐
ขุนศรีวังราช
หมื่นทิวาวิต                                                                   นา ๔๐๐
พันทิวา        }                                                              นาคล ๒๐๐
พันทำมะรักษา
         ขุนราชพิมาร เจ้ากรมพระอุภิรมราทยาน                          นา ๑๐๐๐
พันเงิน   } คุมเครื่องแต่งเครื่อง                                            นา ๓๐๐
พันทอง
ขุนศรีสยุมอพร ชาวน้ำสรง                                                  นา ๖๐๐
หมื่นสุคนธ พะนักงานพระสุคนธ                                            นา ๔๐๐
หมื่นเทพสี  } ชาวเสื่อ                                                       นา ๔๐๐
หมื่นจักภักดี
หมื่นจิตรพัท  } ชาวม่าน                                                    นา ๔๐๐
หมื่นราชมงคล
หมื่นราชพิจิตร ชาวเบาะ   }                                                นาคล ๔๐๐
หมื่นยศไสยาศน์ ชาวพรม
       หลวงมหามณเฑียร เจ้ากรมแสงสรรพยุทพลับพลาไชย             นา ๑๐๐๐
ขุนวิเศศ ปลัดกรม                                                            นา ๘๐๐
หมื่นราชประสาท  } ชาวพระพลับพลาไชย                                นาคล ๔๐๐
หมื่นราชประการ
หมื่นพิมานมงคล
หมื่นนนทคฤ
ขุนแสงสาระภาท  } ชาวพระแสงสรรพยุท ๖ คน                          นาคล ๕๐๐
ขุนแสงเบญจาวุธ
ขุนแสงสาภะยุท
ขุนแสงศรีอาวุธ
ขุนยุทยาตรา
ขุนคชนาถภักดี
หมื่นขันไชศรี   }                                                             นาคล ๔๐๐
หมื่นสิทธิรัก
หมื่นทาธรยุท
ขุนพัทธาพอน   } ชาวไหม                                                 นาคล ๕๐๐
ขุนสุนธรโกไสย
ขุนพง  } ข้าพระเทพบิดอร                                                  นาคล ๖๐๐
ขุนบาล
ขุนทินบรรณาการ } สวดคำหลวง                                          นาคล ๖๐๐
ขุนทานธารกำนัล

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 ก.ค. 17, 06:04

       ขุนอินอัคเนศวร เจ้ากรมฉางเข้าบาตร                                 นา ๑๖๐๐
ขุนเทพจุลา ปลัดกรม                                                         นา ๖๐๐
หมื่นโภชน์สมบัติ พนักงานจ่ายเข้า                                          นา ๔๐๐
        พันพิทักทิวา   } ราชมัน                                             นา ๒๐๐
        พันรักษาราตรี
ตำรวจวังใช้  ซ้าย ๖  } ๑๒ คน                                             นาคล ๑๐๐
              ขวา ๖
ตำรวจเวนบาญชีย ซ้าย ๔ } ๘ คน                                          นาคล ๑๐๐
                   ขวา ๔
        พระราชนุชิด เจ้ากรมสวนหลวง ขึ้นกรมวัง                          นา ๖๐๐
หมื่ยทิพผล      }                                                             นาคล ๒๐๐
หมื่นทิพอุทยาน
       พระธรรมเสนา เจ้ากรมข้าพระ                                         นา ๓๐๐๐
ขุนทิพมลเทียร  } ปลัด ขวา                                                  นาคล ๖๐๐
ขุนเทพมลเทียร         ซ้าย
นายหัวสิบ ข้าพระ                                                             นา ๕๐

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 ก.ค. 17, 16:56

ตำรวจในสมัยพระบรมไตรโลกนาถขึ้นอยู่กับ ๔ หน่วยงานคือ

๑. กรมตำรวจมหาดไทย ขึ้นกับเจ้าพญาจักรี สมุหนายก
๒. กรมกองตระเวน ขึ้นกับพญายมราช กรมพระนครบาล
๓. กรมพระตำรวจใน ขึ้นกับออกพญาธารมาธิบดี กรมวัง
๔. กรมพระตำรวจกลาโหม ขึ้นกับเจ้าพญามหาเสนาบดี สมุหกลาโหม

ภาพจาก http://www.edupol.org/eduOrganize/announceDoc/2016/01/01/04.pptx


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 ก.ค. 17, 17:49

     แบบแผนการตั้งขุนนางในสมัยรัตนโกสินทร์ ดำเนินรอยตามกรุงศรีอยุธยาตอนปลายทุกอย่าง     ขุนนางที่รอดชีวิตมาจากกรุงแตกเมื่อพ.ศ. 2310  ส่วนใหญ่ก็มารับราชการต่อในสมัยธนบุรี และต่อเนื่องมาถึงรัตนโกสินทร์
     หนึ่งในจำนวนนี้ เป็นขุนนางสังกัดกรมวังสมัยพระเจ้าเอกทัศ  ชื่อตัวว่าบุญรอด   รับราชการเป็นพระยาธรรมาธิบดี  เสนาบดีกรมวัง    ท่านผู้นี้เป็นบุตรของพระยามณเฑียรบาล (บุญศรี)  ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพราหมณ์พฤฒิบาศ  คำนี้หมายถึงพราหมณ์จากอินเดีย  มีหน้าที่ทำพิธีเกี่ยวกับช้าง  
     ต้นสกุลชื่อพราหมณ์รามินทร์  เป็นบุตรคนรองของพราหมณ์ศิริวัฒนะ  ผู้รับราชการได้เป็นพระมหาราชครู มีบรรดาศักดิ์ว่าพระราชปุโรหิตาจารย์สุภาวดีศรีบรมหงษ์วงศ์บริโสดมพราหมณ์ทิชาจารย์ พระมหาราชครู ท่านผู้นี้ได้มีลูกหลานให้กำเนิดสกุลสำคัญ ๆ สืบต่อมาจนถึงรัตนโกสินทร์นี้หลายสกุลด้วยกัน
    พระยาธรรมาฯ (บุญรอด) ว่ากันว่ามีบ้านอยู่ใกล้กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นเจ้าพระยาจักรี  ต่างคุ้นเคยกันดี     ลูกหลานก็เลยพลอยรู้จักคุ้นเคยกัน     เจ้าพระยาจักรีมีลูกชายคนโต ชื่อ "ฉิม" ส่วนพระยาธรรมาฯ ก็มีลูกสาวสวย ชื่อ "สี" (หรือศรี) ได้เป็นนางละครรุ่นเล็กในวังหลวงสมัยธนบุรี มีสมญาว่า "สีสีดา"
    เมื่อเป็นหนุ่ม คุณ "ฉิม" ก็หลงรักคุณสี (หรือคุณศรี)  เจ้าพระยาจักรีจึงได้สู่ขอจนหมั้นหมายกันไว้ ก็พอดีสิ้นแผ่นดินธนบุรี   ยังไม่ได้ทำการวิวาห์กัน
    เมื่อถึงแผ่นดินรัตนโกสินทร์    " คุณฉิม" ผู้นี้ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรสุนทร  ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   ส่วนคุณสีได้เป็นพระสนมเอก  มีพระราชธิดาสองพระองค์ คือ
     1  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรจั่น (ประสูติ: พ.ศ. 2328 — สิ้นพระชนม์: รัชกาลที่ 1)
     2   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุปผา (ประสูติ: พ.ศ. 2334 — สิ้นพระชนม์: พ.ศ. 2367) บ้างเรียก พระองค์เจ้าบุพภาวดี  หรือออกพระนามว่า เจ้าครอกบุปผา
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง