เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 80249 สัตว์ประหลาด ๕
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 09 ก.ย. 20, 18:31

กิ้งกือมังกรสีชมพู เคยมาเยือนหรือยังคะ

มาครั้งแรกเมื่อ ๑๐ ปีมาแล้ว  ยิงฟันยิ้ม

ปรกติ "กิ้งกือ" สีจะไม่ค่อยดึงดูดผู้คนสักเท่าไร แต่ธรรมชาติก็สร้างกิ้งกือสีแปลกมาให้เราชม อย่างเจ้าตัวสีชมพูนี้

สัตว์น้อยสีชมพูอีกตัวหนึ่งที่เพิ่งขึ้นพบปี ๒๕๕๐ นี้เอง มีในประเทศไทยแห่งเดียวเท่านั้น ที่สำคัญค้นพบโดยทีมงานสีชมพูด้วย (ทีมวิจัยในโครงการกิ้งกือ-ไส้เดือนหน่วยปฏิบัติการซิสเทมาติกส์ของสัตว์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

เจ้าสัตว์น้อยสีชมพูตัวนี้คือ “กิ้งกือมังกรสีชมพู” (Shocking Pink Dragon Millipede - Desmoxytes purpurosea)




สีที่คู่กันน่าจะเป็นสีฟ้า เจ้าตัวนี้พบได้ในอีกซีกโลกหนึ่งที่ เม็กซิโก มีชื่อว่า Blue Cloud Forest Millipede - Pararhachistes potosinus แม้จะสีสันสวยงามแต่อย่าไปจับต้องมันเชียวเพราะมีพิษร้ายแรงเคลือบอยู่



สีงามอร่ามหรูชมพูฟ้า  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 13 ก.ย. 20, 17:55

เม็กซิโกพบ “หลุมดักช้างแมมมอธ” ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์

พบโครงกระดูกส่วนหัวของแมมมอธในหลุมดักที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่เมืองตุลตีเปกของเม็กซิโก

สถาบันมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์แห่งชาติเม็กซิโก (INAH) เผยว่าได้ค้นพบ "หลุมดักช้างแมมมอธ" ที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สร้างขึ้น เพื่อล่าช้างดึกดำบรรพ์ชนิดนี้มาเป็นอาหารและทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ

หลุมที่ขุดเป็นกับดักในการไล่ล่าช้างแมมมอธดังกล่าว อยู่ที่เมืองตุลตีเปก (Tultepec) ทางตอนเหนือของกรุงเม็กซิโกซิตี มีอายุเก่าแก่ราว 15,000 ปี โดยในหลุมที่พบ 2 แห่ง มีชิ้นส่วนกระดูกหลงเหลืออยู่ 824 ชิ้น ซึ่งคาดว่าเป็นของช้างแมมมอธจำนวน 14 ตัวด้วยกัน

ทีมนักโบราณคดีของเม็กซิโกคาดว่า มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ใช้คบไฟ ท่อนไม้ และอาวุธทำให้ช้างแมมมอธหวาดกลัว ก่อนจะไล่ต้อนมันให้วิ่งเตลิดจนตกลงไปในหลุมที่ขุดดักไว้ ซึ่งมีความลึกราว 1.7 เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างเกือบ 25 เมตร กะโหลกศีรษะของช้างแมมมอธตัวหนึ่งที่พบในหลุม ยังมีร่องรอยบาดแผลถูกแทงด้วยหอกที่หน้าผากอีกด้วย

นายลูอิส คอร์โดวา บาร์ราดาส หัวหน้าทีมขุดค้นของเม็กซิโกบอกว่า ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลก ที่นักโบราณคดีพบหลักฐานการวางแผนล่าแมมมอธโดยใช้กับดักที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ

"ก่อนหน้านี้เราแทบจะไม่พบหลักฐานที่ชี้ชัดได้ว่า มนุษย์จงใจล่าและโจมตีทำร้ายแมมมอธโดยตรง นักโบราณคดีส่วนใหญ่เชื่อกันว่า นายพรานยุคก่อนประวัติศาสตร์ทำได้เพียงไล่ให้ช้างตกใจ จนมันวิ่งเตลิดตกหน้าผาบาดเจ็บ หรือลงไปติดหล่มโคลนในบึงสักแห่ง แล้วรอให้มันตายไปเอง"

"หลักฐานที่เราพบชี้ว่า ยุคที่มีการขุดหลุมดักแมมมอธนั้น ในบริเวณเดียวกันน่าจะมีโขลงช้างชนิดนี้อยู่อย่างน้อย 6 โขลงด้วยกัน และหากเราขุดค้นต่อไปก็น่าจะได้พบหลุมดักจากฝีมือมนุษย์เพิ่มอีก" นายบาร์ราดาสกล่าว

สาเหตุที่มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในครั้งนี้ เนื่องจากเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมามีผู้รายงานถึงร่องรอยของซากช้างแมมมอธ ระหว่างที่มีการเตรียมหน้าดินเพื่อทำสถานที่ทิ้งขยะ

ผลการตรวจสอบชิ้นส่วนกระดูกแมมมอธเบื้องต้นพบว่า กระดูกสะบักข้างซ้ายหายไปจากซากช้างแมมมอธทุกตัวที่พบในหลุมดักแห่งนี้ แต่นักโบราณคดียังไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดกันแน่

นอกจากซากช้างแมมมอธ ยังมีการค้นพบกระดูกกรามและกระดูกสันหลังของอูฐ รวมทั้งฟันบางส่วนของม้า ซึ่งปัจจุบันสัตว์ทั้งสองชนิดได้สูญพันธุ์ไปจากทวีปอเมริกาแล้ว
https://www.bbc.com/thai/international-50357095


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 13 ก.ย. 20, 19:56

เชื่อหรือไม่ เมืองไทยก็มีแมมมอธ  ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 14 ก.ย. 20, 15:07

ไม่รู้ปลาอะไร ไปเจอใน FB
มีคำบรรยายว่า
This is the most dangerous species on Earth. They eat just about anything and ruthlessly destroy their environment. When they finish their destruction, they move to other areas and begin to consume again, without any limit.
The other is just a fish with big teeth.


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 14 ก.ย. 20, 18:16

(1) This is the most dangerous species on Earth. They eat just about anything and ruthlessly destroy their environment. When they finish their destruction, they move to other areas and begin to consume again, without any limit.

(2) The other is just a fish with big teeth.


ข้อ (๑) หมายถึงสปีชีส์ซึ่งทำลายล้างทุกสิ่ง คือ "มนุษย์" นั่นแล

ข้อ (๒) คือ ปลาเสือโกไลแอธ (Goliath tigerfish - Hydrocynus goliath) นักล่าฟันแหลมคมแห่งทวีปแอฟริกา

https://www.catdumb.com/hydrocynus-goliath-313/



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 16 ก.ย. 20, 15:23

หนอนหัวขวาน หรือหนอนหัวค้อน เคยมารึยังคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 16 ก.ย. 20, 18:55

หัวขวานหรือหัวค้อน
ชื่อของหนอนพวกเดียวกัน
ตัวน้อยหลากสีสัน
หลากสายพันธุ์หลากลวดลาย


hammerhead worm or broadhead planarian (Bipalium sp.)



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 21 ก.ย. 20, 11:53

ภาพถ่ายจากโดรนแสดงให้เห็นคลื่นมวลเป็ดจากฟาร์มในจังหวัดนครปฐมนับ ๑๐,๐๐๐ ตัว พากันมุ่งหน้าเป็นทิวแถว ไปยังนาข้าวหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วเพื่อกำจัดศัตรูพืช เช่น หอยทาก ที่ซุกซ่อนอยู่ในนาข้าวนั้น โดยไม่ต้องมีคนนำทาง ซึ่งเรียกกันว่า “เป็ดไล่ทุ่ง”

ภูมิปัญญาการเลี้ยงเป็ดแบบไทย ๆ เป็นภาพแปลกตาสำหรับคนไม่คุ้นเคย  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 07 ต.ค. 20, 19:16

ฝูงปลากระเบนจมูกวัว (Cownose ray) ฝูงใหญ่พากันว่ายผ่านหาดบอนได ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เมื่อพฤษภาคม ปีที่แล้ว เป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 08 ต.ค. 20, 10:26

เรื่องเล่าเช้านี้



ตัวกัดลิ้น (tongue biter) หรือ แมงกินลิ้น (tongue-eating louse) Cymothoa exigua ซึ่งเป็น isopod ชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับพวกกุ้ง กั้ง ปู มันจะเกาะที่ลิ้นปลาทะเล ดูดเลือดจนลิ้นฝ่อ มันก็ทำหน้าที่เป็นลิ้นปลาต่อไป  ในปลาทูก็พบได้บ่อย ๆ  หากทำให้สุกก็รับประทานได้ รสชาติน่าจะใกล้เคียงกับกุ้งเนื่องจากมันเป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกัน ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 09 ต.ค. 20, 09:34

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 09 ต.ค. 20, 09:35

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 09 ต.ค. 20, 09:38

จนท.กรมอุทยานฯ ชี้แจงปม "ลิงยักษ์" เขาหน่อ หลังได้เข้าตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นลิงแสมขนาดใหญ่ และที่เห็นตัวใหญ่เพราะมุมกล้อง ยืนยันไม่ส่ง จนท.ขึ้นไป แต่จะใช้กล้องถ่ายภาพลิงแล้วนำมาเทียบขนาด

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 29 ก.ย.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จังหวัดนครสวรรค์ นางสาววีรยา โอชะกุล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 12 (นครสวรรค์) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เขาหน่อ ตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับการพบเจอลิงยักษ์ โดยยืนยันจะไม่ส่งเจ้าหน้าที่ฯ และห้ามประชาชนขึ้นเขาหน่อไปในจุดที่มีการพบเจอลิงยักษ์ เพื่อพิสูจน์ลิงยักษ์ทุกกรณี เนื่องจากเป็นการบุกรุก-รบกวนถิ่นที่อยู่อาศัย และอาจทำให้ลิงตกใจกลัวและย้ายถิ่นฐาน

https://www.thairath.co.th/news/local/central/1940296
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 09 ต.ค. 20, 10:20

เรื่องลิงเห็นมีบางท่านบอกน่าจะเป็นลิงอ้วน ลิงที่แก่แล้ว เลยดูตัวใหญ่และไม่ค่อยออกมาให้เห็นกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 26 ต.ค. 20, 09:33

รู้จักกับลีสโทรซอรัส (Lystrosaurus) – ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานเลี้ยงลูกด้วยนม มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ช่วงกลางยุคเพอร์เมียนไปจนถึงต้นยุคไทรแอสซิก (ราว 300-200 ล้านปีก่อน) วิวัฒนาการมาเมื่อประมาณ 270 ล้านปีก่อน อาศัยอยู่มากในทวีปแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) มีความยาวประมาณ 1 เมตร ขนาดตัวพอ ๆ กับหมูในปัจจุบัน ขาหน้ามีกรงเล็บยาวและขาที่แข็งแรงใช้สำหรับขุดโพรงใต้ดิน

https://www.flagfrog.com/lystrosaurus-hibernate-survive/


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.237 วินาที กับ 20 คำสั่ง