เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 80284 สัตว์ประหลาด ๕
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 19 ก.ย. 19, 12:33

หน้าแตก !


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 19 ก.ย. 19, 15:18

เพิ่งเห็นรูปสัตว์ประหลาดแบบว่าน่ารัก ที่กำลังระบาดในเน็ท

         ลูกม้า"ลายจุด" ที่ Kenya

         สรุปจากจุดสีขาวของลูกม้า, ยืนยันได้ว่า ม้า"ลาย" คือ 'ลายขาว' บนพื้นดำ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 19 ก.ย. 19, 15:38

เพิ่งเคยเห็นว่ามีม้าลายชนิดจุดขาวด้วย
ลายบนหนังเก๋มากค่ะ  น่าจะเอาไปออกแบบแฟชั่น

ถามนายสัตวแพทย์
เป็นการผ่าเหล่า หรือเป็นชนิดของม้าลาย คะ?


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 19 ก.ย. 19, 16:11

กลายเป็นม้าจุด ไม่ใช่ม้าลายไปเสียแล้วครับ (อิอิ)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 19 ก.ย. 19, 17:07

เป็นการผ่าเหล่า (mutation) ที่เรียกว่า pseudo-melanism คือมีเม็ดสีดำ (melanin) เพิ่มขึ้น ทำให้ลายดำขยายใหญ่ จนเหลือเห็นเป็นจุดสีขาวอย่างเจ้า Tira  ลูกม้าลายจุดแห่งเขตอนุรักษ์แห่งชาติมาไซมารา เคนยา

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 19 ก.ย. 19, 18:00

อาจเห็นอีกลักษณะหนึ่งคือเป็นผืนดำบนลำตัว เหมือนลูกม้าลายดำแห่งบอตสวานา (Botswana) ตัวนี้

ภาพจาก https://africageographic.com/blog/black-baby-zebra/


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 19 ก.ย. 19, 21:43

ผมอ่านเจอมาว่าน้องอายุไม่ยืนคือไม่เกินครึ่งปีน่ะครับ เพราะมียีนส์ด้อยจึงไม่แข็งแรงหรือเพราะสาเหตุอื่นไม่แน่ใจเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 20 ก.ย. 19, 11:35

น้องม้าลายดำคงไม่อายุสั้นเพราะยีนด้อยที่ทำให้ผิวดำอย่างที่คุณซูเปอร์บอยว่า แต่อาจเกิดจากการที่น้องตัวดำดูเด่นสังเกตง่าย ทำให้สัตว์ผู้ล่ารวมถึงพรานมนุษย์สามารถคร่าชีวิตได้ง่าย

ม้าลายดำ (pseudo-melanistic zebra) ณ วนอุทยานแห่งชาติอีโตชา นามิเบีย (Namibia's Etosha National Park)

https://www.express.co.uk/news/nature/740748/rare-zebra-lost-stripes-all-black-Namibia-Etosha-National-Park


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 01 ต.ค. 19, 11:22

เมื่อประมาณ ๑๔๐ ปีก่อน มีม้าลายชนิดหนึ่งมีลวดลายที่ประหลาดต่างจากม้าลายที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน เพราะมีลายเฉพาะบริเวณส่วนหัวไล่ลงมาถึงต้นคอเท่านั้น จากนั้นจะจางลงจนเกือบขาวที่บริเวณขา และขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมแดง

ม้าลายชนิดนี้เรียกว่า แควกกา (Quagga, Equus quagga quagga) เป็นชนิดย่อยของม้าลายธรรมดา (Equus quagga) ควากกาตัวสุดท้ายในป่า ถูกยิงตายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ ส่วนควากกาตัวสุดท้ายของโลก ตายที่สวนสัตว์Artis Magistra อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๑๒สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖

บน : ภาพวาดม้าลายแควกกาตัวผู้ที่โรงเลี้ยงสัตว์ของพระเจ้าหยุยส์ที่ ๑๔ พระราชวังแวร์ซาย โดย Nicolas Maréchal พ.ศ. ๒๓๓๖

ล่าง : ภาพถ่ายม้าลายแควกกาตัวเมียที่สวนสัตว์ลอนดอน พ.ศ. ๒๔๑๓



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 01 ต.ค. 19, 11:25

หลังสูญพันธุ์ไปนับร้อยปี ในที่สุดม้าลายแควกกาก็กลับมามีชีวิตโลดแล่นบนแผ่นดินแอฟริกาอีกครั้ง ด้วยฝีมือมนุษย์

ภาพม้าลายที่เห็นนั้นไม่ใช่ภาพลวงตาหรือภาพตัดต่อ แต่เป็นผลผลิตจากความพยายามของอดีตศาสตราจารย์ Eric Harley จากมหาวิทยาลัย University of Cape Town ที่ใช้ช่วงเวลาที่เหลือในชีวิตร่วมกับเพื่อนนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ในการค้นหา DNA ของควากกา ที่หลบซ่อนอยู่ในม้าลายธรรมดา (Plains zebra) เพื่อสร้างม้าที่มีลายสีครีมคาราเมลและมีลายเพียงครึ่งตัวขึ้นมาอีกครั้ง

หลังจากใช้เวลาหลายปีเพื่อค้นหาลักษณะพิเศษที่อาจเป็นร่องรอย DNA ที่แฝงอยู่ในม้าลายธรรมดา และเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงของม้าลายที่คัดเลือกมาแล้วถึง ๕ รุ่น ในที่สุดเขาก็ได้ม้าลายที่มีความใกล้เคียงกับควากกาที่สูญพันธุ์ไปแล้วมากที่สุดเท่าที่เคยมีการทดลองมา

แม้จะมีลักษณะภายนอกที่เหมือนม้าลายควากกามากแค่ไหน แต่ Eric Harley ก็เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตที่เขาสร้างขึ้นมานี้ยังห่างไกลจากสายพันธุ์ที่สาบสูญไปแล้วมาก และพฤติกรรมส่วนใหญ่ของม้าเหล่านี้ยังใกล้เคียงกับม้าลายธรรมดาซะมากกว่า เขาจึงเรียกมันว่า Rau quaggas เพื่อน้อมรับในความแตกต่างที่ฝืนลิขิตธรรมชาตินี้ และเพื่อเป็นเกียรติแก่ Reinhold Rau หนึ่งในผู้ก่อตั้ง โครงการคืนชีพม้าลายควากกา ที่ไม่มีโอกาสได้เห็นความสำเร็จของโครงการนี้ด้วยตัวเอง

https://www.spokedark.tv/posts/return-of-quagga/



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 01 ต.ค. 19, 13:07

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 01 ต.ค. 19, 13:09

ด้วยวิธีนี้ จะสามารถสร้างสัตว์ขึ้นมาใหม่ให้ใกล้เคียงกับสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วชนิดอื่นๆได้หรือไม่  โดยอาศัย DNA จากญาติในตระกูลมัน
เช่นเนื้อสมัน น่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 01 ต.ค. 19, 19:47

มีญาติของสมัน (Rucervus schomburgki) อยู่ชนิดหนึ่งเป็นกวางพื้นเมืองของอินเดีย คือกวางบึงหรือกวางบาราซิงห์ (Rucervus duvaucelii)

กวางทั้ง ๒ ชนิดมีลักษณะลำตัวและเขาคล้ายกันมาก (โดยเฉพาะตัวเมียซึ่งไม่มีเขา แยกกันไม่ออกทีเดียว) จนนักสัตวศาสตร์บางท่าน เช่น ดอกเตอร์ เอ.อี. เบรม (Dr. A.E. Brehm) ชาวเยอรมัน เชื่อว่าสมันเป็นชนิดย่อยของกวางบึง ควรได้ชื่อว่า  Rucervus duvauceli siamensis หรือหากจะให้เกียรติแก่เซอร์โชมบวร์ก ก็ควรเรียกว่า Rucervus duvauceli shomburgki (http://www.khaoyainationalpark.com/681)

หากใช้กวางบึงเป็นตัวยืน และใช้วิธีทำนองเดียวกับนำม้าลายควากกาคืนชีพ เราก็อาจจะเห็นสมันคืนชีพได้บ้างกระมัง ?

ภาพซ้าย : อนุสาวรีย์สมันที่เขาดินวนา
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3296.840

ภาพขวา : กวางบึง/กวางบาราซิงห์/Barasingha
http://www.indianaturewatch.net/displayimage.php?id=225439


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 01 ต.ค. 19, 20:04

ไขข้อข้องใจได้ดีมาก ขอบคุณค่ะ
ถ้าญาติของไดโนเสาร์ยังมีอยู่ในสัตว์ปัจจุบัน   เราก็มีสิทธิ์เห็นจูราสสิคปาร์คของจริงน่ะซีคะ

เชิญมาดูสัตว์ประหลาดกันอีกชุดพลางๆก่อนนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 13 พ.ย. 19, 13:23

คุณชูพงค์ ตรีวัฒน์สุวรรณส่งคำถามมาหลังไมค์ถามเกี่ยวกับเรื่อง "น้ำตาจระเข้"

เรียนท่านอาจารย์เพ็ญชมพูที่เคารพยิ่งครับ

ผมส่งข้อความถึงอาจารย์ ก็เพราะตนเองได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงของมูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอดไทยครับ มีผู้เข้าประกวดท่านหนึ่งเลือกเพลง “น้ำตาจระเข้” มาร้อง ผมก็เพิ่งเคยได้ยินนี่แหละครับ พอฟังเนื้อสองวรรคท่อนแรกเท่านั้น นิ่งอึ้งไปเลย

“จระเข้มันหลั่งน้ำตาเวลากินเหยื่อ
เป็นธรรมชาติเหลือเชื่อ ร้องไห้ไปแล้วกินเหยื่อไป”

ผมเหมือนถูกทุบหัวอย่างแรง เพราะตั้งแต่เกิดมาก็เพิ่งเคยได้ยินพฤติกรรมแบบนี้ของเจ้าลูกหลานชาละวัน ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์เป็นความรู้ประดับตัวครับ ว่า จระเข้มันน้ำตาไหลเวลากินเหยื่อจริงๆหรือ? อาจารย์โปรดสละเวลาอวยวิทยาทานให้ผมด้วยเถิดครับ

ขอแสดงความนับถือ
ชูพงค์ ตรีวัฒน์สุวรรณ

ขออนุญาตตอบในกระทู้ "สัตว์ประหลาด" เพราะว่าเรื่องนี้ก็ดูจะประหลาดในสายตาของคนทั่วไปเหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม

มีคำอธิบายว่าขณะที่จระเข้กินเหยื่อจะทำเสียงขู่ ทำให้มีอากาศผ่านเข้าไปในโพรงอากาศ (sinus)ในกะโหลก ส่งผลให้น้ำตาตาไหล ไม่เกี่ยวความรู้สึกเสียใจแต่ประการใด

https://www.sciencedaily.com/releases/2007/10/071003151131.htm
https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-red-light-district/201511/do-crocodiles-really-cry


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 20 คำสั่ง