เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 80269 สัตว์ประหลาด ๕
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 20 ก.ค. 17, 09:51

หมึกกระดอง มีทั้งไข่พวง และ ไข่เม็ดเดี่ยว



เอาเป็นว่าเจ้าของไข่ปริศนาไม่ใช่หมึกกระดอง (cuttlefish)  ของคุณธสาครแน่นอน ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 20 ก.ค. 17, 10:05

เหมือนเคยดูในครอบครัวข่าวเด็ก
มันคือหอยสังข์บราซิล ครับ  ยิงฟันยิ้ม
ตัวเล็กๆข้างในนั่นแหละ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 ก.ค. 17, 10:39

คุณยูนิคอร์นตอบถูกเป็นครั้งที่ ๒

ฟังน้องชิโกะเล่าเกี่ยวกับไข่ประหลาดพวกนี้




ไข่นับพันนับหมื่นใบบนชายหาดของอาร์เจนตินานี้ ล้วนเป็นผลผลิตของหอยฝาเดียว (gastropod) ชื่อ Adelomelon brasiliana หรือ หอยสังข์บราซิล  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 ก.ค. 17, 07:39

หน้าตาเจ้าของไข่
ดูดูไปธรรมดา
ลูกหลานที่ออกมา
ประหลาดหนาน่าสนใจ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 24 ก.ค. 17, 19:50

พาเพื่อนใหม่มาสมทบในกระทู้นี้ค่ะ

สุดฮือฮา!! พบสายพันธุ์ใหม่ “ปลายักษ์แสงอาทิตย์” ในรอบ 130 ปี เกยตื้นขึ้นฝั่งหาดนิวซีแลนด์

อเจนซีส์ - เป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ของการค้นพบในรอบ 130 ปีเกิดขึ้น เมื่อล่าสุด นักวิจัยทีมการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเมอร์ด็อก (Murdoch University) ออสเตรเลีย ค้นพบสายพันธุ์ใหม่ตระกูลปลาแสงอาทิตย์ (Ocean sunfish) ที่รู้จักในชื่อปลาโมลา เทรคตา(Mola trecta ) หรือปลาแสงอาทิตย์ ฮูดวิงเกอร์ ( hood winker sunfish)ที่ตามปกติมีน้ำหนักสูงสุดถึง 2 ตัน บนชายหาดแห่งหนึ่งของนิวซีแลนด์
       
       RT สื่อรัสเซียรายงานวันนี้ผ24 ก.ค)ว่า ทีมวิจัยนานาชาติได้ศึกษาภูมิภาคอินโดแปซิฟิกเป็นเวลานานถึง 4 ปีก่อนที่พวกเขาจะค้นพบสิ่งที่น่าทึ่งในรอบ 130 ปี
       
       หัวหน้าทีมนักวิจัยนานาชาติจากมหาวิทยาลัยเมอร์ด็อก (Murdoch University) ออสเตรเลีย มาริแอน ไนการ์ด( Marianne Nyegaard )นักศึกษาระดับปริญญาเอกเป็นผู้ทำการค้นพบได้กล่าวว่า “สายพันธุ์ใหม่ของปลาแสงอาทิตย์สามารถหลบการถูกค้นพบได้เกือบ 3 ศตวรรษด้วยการซ่อนอยู่ในประวัติศาสตร์ของอนุกรมวิธานของปลาแสงอาทิตย์ที่ซับซ้อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นการยากที่จะรักษาและทำการศึกษา แม้กระทั่งในระดับพิพิธภัณฑ์การศึกษาประวัติศาสตร์ธรรมชาติ”
       
       ทั้งนี้การศึกษาครั้งนี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารทางการศึกษาสัตว์วิทยาของลินเนียน โซไซตี( the Zoological Journal of the Linnean Society ) ซึ่งพบว่า ไนการ์ดต้องเดินทางร่วมหลายพันไมล์ตามชายฝั่งของนิวซีแลนด์เพื่อเก็บตัวอย่าง 27 ชิ้นของสายพันธุ์ใหม่ต่างๆบนชายหาดที่ห่างไกลของนิวซีแลนด์
       
       สื่อรัสเซียรายงานว่า ปลาแสงอาทิตย์จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสายพันธุ์วงศปลากระดูกแข็ง(osteichthyes)ทั้งหลาย ซึ่งมีขนาดความยาวสุดถึง 3 ม. และมีน้ำหนักถึง 2 ตัน
       
       กลุ่มนักวิจัยจากเท ปาปา(Te Papa) มหาวิทยาลัยโอตาโก(University of Otago) มหาวิทยาลัยฮิโรชิมา(Hiroshima University)และมหาวิทยาลัยโตเกียว(Hiroshima University) ได้กล่าวถึงการค้นพบที่น่าตื่นเต้นนี้ว่า การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่า สามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่ในที่ซึ่งเป็นที่หาง่ายมากที่สุด
       
       “สิ่งที่เราค้นพบส่วนใหญ่นั้นมีขนาดเล็ก หรืออาศัยอยู่ในรูที่มืดบริเวณด้านหลังของแนวปะการัง” ผู้จัดการรวบรวมปลาเท ปาปา แอนดรูว์ สตูวาร์ด(Andrew Stewart) ให้ความเห็นกับสถานีวิทยุนิวซีแลนด์เช้าวันอาทิตย์(23 ก.ค)
       
       และกล่าวต่อว่า “และนี่คือสิ่งที่อาศัยอยู่ตรงหน้าพวกเรา และเราเพิ่งจะเห็นมันถูกพัดเกยขึ้นฝั่งในจำนวนมาก แต่กระนั้นพวกเรากลับไม่ตระหนักถึง”
       
       “ในเวลานี้นักวิจัยและชาวประมงกำลังทำงานร่วมกันในการปกป้องวงศ์ปลาสายพันธุ์ใหม่” ที่รู้จักในชื่อวงศ์ปลาโมลา เทรคตา(Mola trecta ) หรือ ฮูดวิงเกอร์ ซันฟิช( hoodwinker sunfish) ซึ่งได้ถูกจัดรวมอยู่ในเพื่อนสายพันธุ์ปลาแสงอาทิตย์อื่นๆ และปลาแสงอาทิตย์สั้น( short sunfish) สตูวาร์ตกล่าว
  http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9600000075299     
 



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 25 ก.ค. 17, 20:46

ก่อนจะกล่าวถึงปลาพระอาทิตย์ตัวใหม่ที่เพิ่งค้นพบ ขอเท้าความถึงปลาพระอาทิตย์ตัวเก่าที่รู้จักกันดีก่อน หน้าตาก็เหมือนกับในภาพประกอบข่าวของผู้จัดการข้างบนนั่นแหละ  (หมายความว่าผู้จัดการและสำนักข่าวต้นเรื่องลงภาพประกอบผิด)

ชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเต็มยศของปลาพระอาทิตย์ตัวนี้คือ Mola mola (Linnaeus, 1758) หมายความว่าปลาตัวนี้เป็นที่รู้จักในวงการวิทยาศาสตร์มาอย่างน้อย ๒๕๙ ปีมาแล้ว  ยิงฟันยิ้ม

ภาพประกอบจาก http://www.nationalgeographic.com/animals/fish/o/ocean-sunfish/


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 26 ก.ค. 17, 06:15

เว็บผู้จัดการ มีรูปประกอบอีก 2 รูป  ต้องเลื่อนลงไปด้านล่างครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 26 ก.ค. 17, 09:40

ภาพนี้ถ่ายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เมื่อ Marianne Nyegaard พบปลาพระอาทิตย์ชนิดใหม่ตัวจริงเป็นครั้งแรก (แม้นจะสิ้นใจแล้วก็ตาม) ที่ชายหาด Birdlings Flat เมือง Christchurch บนเกาะใต้ของนิวซีแลนด์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 26 ก.ค. 17, 09:51

ย้อนกลับมาเรื่องปลาพระอาทิตย์ตัวเก่า Mola mola เมื่อคุณเทาชมพูพบปลาพระอาทิตย์เป็นครั้งแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (แม้นจะเป็นเพียงภาพถ่ายก็ตาม)  ยิงฟันยิ้ม

ปลาตัวนี้ก็ของจริง   รูปนี้ไม่ได้แต่งด้วยโฟโต้ช็อปนะคะ 
เรียกว่า  ocean sunfish หรือ  common mola


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 26 ก.ค. 17, 10:18

ฝรั่งเรียกว่า sunfish แปลตรงตัวคือ ปลาพระอาทิตย์ ถ้าจะพิจารณาจากรูปร่างของตัวอ่อนที่เพิ่งฟักจากไข่  ชื่อ "พระอาทิตย์" น่าจะถูกต้องมากกว่า "แสงอาทิตย์  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 26 ก.ค. 17, 10:29

ก่อนจะกล่าวถึงปลาพระอาทิตย์ชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบ ฟังน้องชิโกะและเพื่อน ๆ เกริ่นเรื่องทั่ว ๆ ไปของปลาพระอาทิตย์สักหน่อย  

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 27 ก.ค. 17, 10:26

เป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ของการค้นพบในรอบ 130 ปีเกิดขึ้น เมื่อล่าสุด นักวิจัยทีมการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเมอร์ด็อก (Murdoch University) ออสเตรเลีย ค้นพบสายพันธุ์ใหม่ตระกูลปลาแสงอาทิตย์ (Ocean sunfish) ที่รู้จักในชื่อปลาโมลา เทรคตา(Mola trecta)

เดิมปลาพระอาทิตย์ในสกุล Mola พบอยู่ ๒ ชนิดคือ Mola mola (Linnaeus, 1758) ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๑ ต่อมาอีก ๑๒๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๒๖ จึงพบชนิดที่ ๒ Mola ramsayi (Giglioli, 1883)

อีก ๑๓๔ ปีต่อมาจึงค้นพบชนิดที่ ๓  Mola tecta (Nyegaard, 2017) ชื่อสปีชีส์ tecta มาจากภาษาละติน tectus แปลว่า ซ่อนเร้น (hidden)  

Mola tecta ถูกซ่อนจากสายตานักอนุกรมวิธาน (Taxomonist) มานานเกือบ ๓ ศตวรรษนับจากการค้นพบปลาพระอาทิตย์ชนิดแรก จนเมื่อ ๑๐ ปีมาแล้ว ก็เริ่มพบเค้ารางของมัน เมื่อนักวิจัยชาวญี่ปุ่นพบ DNA ที่แปลกไปจากตัวอย่างหนังปลาพระอาทิตย์หนึ่งตัวอย่าง และเมื่อ ๔ ปีที่แล้ว Marianne Nyegaard นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากคณะสัตวแพทย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (School of Veterinary and Life Sciences) มหาวิทยาลัยเมอร์ดอช (Murdoch university)  ออสเตรเลีย ได้ตรวจสอบ DNA จากหนังปลาพระอาทิตย์  ๑๕๐ ตัวอย่าง พบตัวอย่างที่รู้จัก ๓ ชนิด  (Masturus lanceolatus, Mola mola, Mola ramsayi ) และตัวอย่างที่ไม่รู้จักอีก ๑ ชนิด มารีแอนน์รู้แล้วว่าเธอพบปลาพระอาทิตย์ชนิดใหม่ที่ยังไม่มีนักอนุกรมวิธานคนใดตั้งชื่อมาก่อน แต่มันหน้าตาเป็นอย่างไรเล่า เธอถามตัวเอง

แล้วฝันของเธอก็เป็นจริงเมื่อเธอได้พบปลาในฝันตัวจริงของเธอที่มาเกยชายหาดนิวซีแลนด์ เมื่อพฤษภาคม ๒๕๕๗



จากนั้นตลอด ๓ ปี เธอได้สะสมตัวอย่างปลาพระอาทิตย์ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นชนิดใหม่จำนวน ๒๗ ตัวอย่างขนาดตั้งแต่ ๕๐ เซนติเมตร ถึง ๒.๕ เมตร เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะของปลาชนิดนี้ เธอพบว่าปลาชนิดใหม่มีลักษณะซึ่งต่างจากปลาชนิดเดิมตรงส่วนหัวและส่วนหาง ตรงส่วนหัวจะไม่มีโหนก ไม่เห็นส่วนจมูก (snout) ยื่นออกมา ตรงส่วนหางจะเห็นแบ่งเป็น ๒ ส่วนอย่างชัดเจน


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 ก.ค. 17, 05:13

Mola เป็นปลาที่มีรูปร่างประหลาด ชวนให้สนใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  และผมเพิ่งเจอรูป Mola ตัวเล็ก  ดังภาพนี้
ดูรูปแล้วก็น่ารักดี  ไม่เคยเห็นเจ้าตัวเล็ก-แต่หน้าตาเหมือนตัวใหญ่ยักษ์
ยิ่งมองไป  ยิ่งฉงนใจที่ปลาน้ำหนัก 2 กก.  ขยายขนาดขึ้นไปถึง 2,000+ กก. (1000เท่า)
...มันน่าแปลกนะครับ...
ลองคิดถึงกะโหลกปลา  ที่มีช่องโพรงต่างๆมากมาย  คนที่ชอบกินแกงหัวปลา..คงนึกภาพออก
ช่องโพรงเหล่านี้เป็นที่อยู่ของสมอง เส้นประสาท ต่อมต่างๆ กล้ามเนื้อมัดย่อยๆที่ควบคุมการขยับปาก ขยับเหงือก
ทีนี้พอมันขยายขึ้น 1000 เท่า  กระดูกมันก็ต้องหนาขึ้น  สมมติว่าพอกหนาขึ้นเฉพาะรอบนอก (แบบวงปีต้นไม้) 
ส่วนช่องโพรงต่างในกะโหลกย่อมต้องชะงักอยู่ที่ขนาดเท่าเดิม  ไม่สามารถขยายไปทางใดได้
.
พอโตขึ้น 1000 เท่า  สมองเอย-เส้นประสาทเอย-ต่อมต่างๆเอย คงเจริญขึ้นไม่ได้มากนัก  เพราะถูกจำกัดอยู่ในโพรงขนาดเท่าเดิม
แต่กลับต้องแบกภาระบริหารร่างกายที่ใหญ่โตขึ้นมาเรื่อยๆ  จนขาดสมดุล
ทำให้ผมนึกถึงไดโนเสาร์เลยครับ  ออกจากไข่ตัวเท่าสุนัข  ตัวเต็มวัยโตเท่าตึก 
ถึงดาวหางไม่ชนโลก  พวกมันก็คงพ่ายแพ้สัตว์สายพันธุ์อื่นอยู่ดี
.
พลอยทำให้คิดถึงว่า  ลูกสัตว์เมื่อแรกคลอด  ต้องมีหัวโตเผื่อเอาไว้ก่อน  เผื่อโพรงในกะโหลกนี่แหละ
บางส่วนก็ต้อง "กั๊ก" เป็นกระดูกอ่อนไว้ก่อน  พอโตอีกซักหน่อย  ค่อยเชื่อมติดเป็นกระโหลกแข็งทั้งใบ
จากนั้นพอเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ  ลำตัวก็จะพอดีโตมาทันหัว  ได้สมดุลกัน
.
ผมคิดเอาเองนะครับ  ไม่ได้ไปค้นคว้าที่ไหนมา  อย่าเพิ่งเชื่อ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 29 ก.ค. 17, 10:10

เรื่องชื่อของ Mola ชนิดใหม่ ยังมีเกร็ดให้กล่าวถึงอีกเล็กน้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Mola tecta แปลว่า หินโม่ผู้หลบซ่อนอยู่ (Mola = millstone tecta = hidden)  ส่วนชื่อสามัญ Hoodwinker sunfish คือ ปลาพระอาทิตย์ผู้มีเล่ห์กล

มีคลิปหนึ่งของชิลีชื่อว่า Peces de Chile - Pez Luna (ปลาของชิลี - ปลาพระจันทร์) ปลาพระอาทิตย์นี้บางประเทศเรียกว่า ปลาพรจันทร์ อย่างในชิลี แถวบ้านเราอย่างในเวียดนามก็เรียกว่า  ปลาพระจันทร์ เช่นกัน

โมลาโมลา หรือปลาพระอาทิตย์ (sunfish) เป็นปลาอาศัยในทะเลลึก และมักจะลอยตัวขึ้นใกล้ผิวน้ำเพื่ออาบแดบอยู่บ่อย ๆ แต่ชาวประมงใน จ.เหงะอาน เรียกมันว่า “ปลาพระจันทร์” (moonfish) ตามลักษณะลำตัวของมันที่เป็นวงโค้ง และผิวสีเทาเงินวาวที่มองดูคล้ายพื้นผิวดวงจันทร์วันเพ็ญ

ในคลิปนี้ระบุว่าคือ Mola mola แต่ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่ามันมีลักษณะเฉพาะของ Mola tecta อย่างชัดเจน



เธอพบว่าปลาชนิดใหม่มีลักษณะซึ่งต่างจากปลาชนิดเดิมตรงส่วนหัวและส่วนหาง ตรงส่วนหัวจะไม่มีโหนก ไม่เห็นส่วนจมูก (snout) ยื่นออกมา ตรงส่วนหางจะเห็นแบ่งเป็น ๒ ส่วน

นี่แหละคือ Hoodwinker sunfish ปลาพระอาทิตย์ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมสามารถตบตานักอนุกรมวิธานมานานนับศตวรรษ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 30 ก.ค. 17, 10:40

Mola เป็นปลาที่มีรูปร่างประหลาด ชวนให้สนใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

โครงกระดูก "โมลา" ก็น่าแปลก
ดั่งจะแหวกนภาเวหาเหิน
มัสยาคล้ายวิหคนกเหลือเกิน
ชมเพลินเพลินร่วมพินิจพิจารณา


Mola mola ในพิพิธภัณฑ์ที่ญี่ปุ่น จัดท่าแปลกคล้ายกำลังโผผินแหวกเวหานภากาศ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.154 วินาที กับ 20 คำสั่ง