เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 79990 สัตว์ประหลาด ๕
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 24 ม.ค. 21, 08:52

ถามคุณเพ็ญชมพู
รู้จักคำที่แปลว่าจระเข้อยู่ 2 คำ คือ crocodile กับ alligator  แต่ไม่รู้ว่าจระเข้พันธุ์ไทยในรูปข้างบนเป็นพันธุ์ไหน   ส่วนจระเข้ที่เลี้ยงในฟาร์มสามพราน และจระเข้ที่หลุดออกมาบ่อยๆตอนน้ำท่วมเป็นพันธุ์ไหน
จระเข้าพันธุ์ไทยในรูปข้างบนนี้ น่ากลัวมาก  ดูตัวใหญ่ล่ำสันไม่เหมือนจระเข้ผอมๆในฟาร์ม    มันดุกว่าไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 24 ม.ค. 21, 15:31

ถามคุณเพ็ญชมพู
รู้จักคำที่แปลว่าจระเข้อยู่ 2 คำ คือ crocodile กับ alligator  แต่ไม่รู้ว่าจระเข้พันธุ์ไทยในรูปข้างบนเป็นพันธุ์ไหน  

ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า crocodile และ alligator ต่างกันอย่างไร

ในแง่วิชาการแล้ว สัตว์ ๒ ประเภทนี้อยู่คนละวงศ์ (family) กัน  crocodile อยู่ในวงศ์ Crocodylidae ส่วน alligator อยู่ในวงศ์ Alligatoridae หากคุณเทาชมพูอยากทราบว่าตัวไหนเป็น crocodile ตัวไหนเป็น alligator ให้สังเกตดังนี้

๑. สีของลำตัว crocodile สีจะออกเหลืองอมเทา ส่วน alligator สีจะออกดำอมน้ำตาล

๒. ลักษณะของปากและขากรรไกร crocodile จะมีลักษณะปากที่ยาวกว่าคล้ายรูปตัว V (ขวา)  ส่วน  alligator จะมีลักษณะกว้างคล้ายรูปตัว U (ซ้าย)



ถ้าให้แน่ชัด คุณเทาชมพูต้องเข้าไปใกล้ ๆ สังเกตที่ผิวหนัง

๓. ทั้ง crocodile และ alligator มีตุ่มรับสัมผัสขนาดเล็ก ทำหน้าที่ตรวจสอบแรงสั่นสะเทือนใต้น้ำเพื่อบอกให้ทราบถึงตำแหน่งของเหยื่อ นักวิทยาศาสตร์เรียกตุ่มรับสัมผัสเหล่านี้ว่า ISOs ซึ่งมาจากคำว่า Integumentary Sense Organs หมายถึงอวัยวะรับสัมผัสที่ปกคลุมอยู่บนผิวหนังทั่วร่างกาย แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น DPRs ซึ่งมาจากคำว่า Dermal Pressure Receptor หมายถึง ปลายประสาทรับสัมผัสและแรงกดดันบริเวณชั้นผิวหนัง crocodile จะมีปลายประสาทรับสัมผัสเหล่านี้กระจายอยู่บนชั้นผิวหนังทั่วลำตัว ส่วน alligator จะพบปลายประสาทรับสัมผัสนี้เฉพาะบริเวณรอบขากรรไกรเท่านั้น

ดังนั้นหากคุณเทาชมพูตรวจพบจุดสีดำ ๆ บนหนัง (ซ้าย) แสดงว่านั่นเป็น corcodile ส่วน alligator จะไม่มี (ขวา)



มีอีกหลายจุดที่จะแยกความแตกต่างระหว่างสัตว์ ๒ ประเภทนี้ได้

คุณเทาชมพูกรุณาเข้าไปอ่านได้ที่

ความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Crocodile และ Alligator   โดย คุณยุวศรี ต่ายคำ

ป.ล. alligator พบได้ในอเมริกาและจีน  ดังนั้นน้องเข้ทั้งหลายที่มากับน้ำท่วมนั้นเป็น crocodile ทั้งสิ้น

จระเข้พันธุ์ไทย หรือ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis) จึงเป็น crocodile พันธุ์หนึ่ง ด้วยเหตุฉะนี้แล  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 24 ม.ค. 21, 15:37

ส่วนจระเข้ที่เลี้ยงในฟาร์มสามพราน และจระเข้ที่หลุดออกมาบ่อยๆตอนน้ำท่วมเป็นพันธุ์ไหน
จระเข้าพันธุ์ไทยในรูปข้างบนนี้ น่ากลัวมาก  ดูตัวใหญ่ล่ำสันไม่เหมือนจระเข้ผอมๆในฟาร์ม    มันดุกว่าไหมคะ


ชื่อเรียกจระเข้ในภาษาไทย มี ๒ คำที่คู่กันคือ ไอ้เข้ กับ ไอ้เคี่ยม  ไอ้เข้คือ จระเข้น้ำจืด Crocodylus siamensis ส่วนไอ้เคี่ยมคือ จระเข้น้ำเค็ม Crocodylus porosus
 
จุดประสงค์ของการเลี้ยงจระเข้ในฟาร์มก็เพื่อ 'หนัง' ส่วนเนื้อเป็นผลพลอยได้ หนังของจระเข้น้ำเค็มมีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำเครื่องหนังมากกว่าจระเข้น้ำจืด เพราะมีหนังที่เหนียวทนทานกว่า  แต่ด้วยความที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการเลี้ยงจึงจะโตและให้ผลผลิตที่ดี จึงนิยมผสมข้ามสายพันธุ์กับจระเข้น้ำจืดเพื่อให้ได้จระเข้ลูกผสมที่จะให้ผลผลิตที่เร็วกว่า

จระเข้ที่เลี้ยงในฟาร์มจึงมีทั้งจระเข้น้ำจืด จระเข้น้ำเค็ม และจระเข้พันธุ์ผสม

จระเข้ที่หลุดออกมาจากฟาร์มจะเป็นจระเข้พันธุ์ไหน/จระเข้น้ำจืดกับจระเข้น้ำเค็มน้ำเค็มพันธุ์ไหนดุกว่ากัน พี่ป๋องจะมาชี้แนะและเฉลยให้ทราบ  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 10:53

ปลายทางที่สวยงามแต่น่าเศร้าสลดของน้องเข้และน้องเคี่ยม
ป.ล. ส่วนตัวแล้วไม่ใช้กระเป๋าหนังแท้ค่ะ  ไม่ว่าชนิดไหน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 11:23

กว่าจะมาเป็นกระเป๋าหนังแท้ใบงาม  ร้องไห้

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 11:57

เพียงประโยคเดียวทำให้ภาพลักษณ์ของดาราผู้น่ารักด้อยลง  ลังเล

มิว นิษฐา โดนถล่ม โพสต์ภาพซากหนังจระเข้ "ตัวไหนไปทำเป๋าดีน้า"
https://www.thairath.co.th/entertain/news/1767751


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 15:26

พบในธรรมชาติ(เป็นฤดูกาล) ตอนพบ..ยังอ้าปากพะงาบๆ
คุณเพ็ญชมพู คิดว่าเกิดจากอะไรครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 15:51

น่าจะเป็นโครงการ “คนละครึ่ง” ของรัฐบาล........ล้อเล่น ยิงฟันยิ้ม

National Geographic Thailand มาช่วยให้คำตอบดังนี้


จากภาพข่าวที่ปรากฏและแชร์ใน สื่อสังคมออนไลน์ เป็นภาพชาวบ้านรอบปากแม่น้ำบางปะกง บริเวณปากอ่าว ออกเรือพร้อมสวิงไปช้อนปลาดุกที่เหลือเฉพาะส่วนหัว โดยชาวบ้านบอกว่า “โลมาแบ่งไว้ให้”

เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ เกิดขึ้นอีกหลายแห่งทั่วโลก แม้ว่าตามปกติแล้ว โลมาจะกินเหยื่อทั้งตัว แต่บางครั้งพวกมันก็เลือกที่จะกินเฉพาะบางส่วน อย่างในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก พบโลมาเลือกกินเฉพาะเนื้อของปลามาฮิ-มาฮิ (mahi-mahi) และทิ้งส่วนก้างไป

ทว่าพฤติกรรมการหาอาหารของโลมาบริเวณปากอ่าวที่ทิ้งส่วนหัวของเหยื่อเอาไว้ เป็นพฤติกรรมที่พบได้ยาก และต้องใช้เวลากว่าสิบปีในการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาเผยแพร่ในรูปแบบงานวิจัยทางวิชาการ

“เราไม่มีข้อมูลเชิงพฤติกรรมที่เพียงพอจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือแม้แต่ทุกวันนี้ ก็มีข้อมูลเพียง ๑๓ จุดสำรวจ ซึ่งถือว่ายังน้อยในเชิงสถิติ” Errol Ronje นักชีววิทยาประมงที่ร่วมมือกับองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือโนอา (NOAA) กล่าว

เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘  Ronje และคณะกำลังทำการสำรวจอยู่นอกชายฝั่งเกาะแห่งหนึ่งในรัฐมิสซิสซิปปี เมื่อพวกเขาสังเกตเห็นบางอย่างผิดปกติบนผิวน้ำจึงรุดไปดู พวกเขาพบหัวปลาดุกทะเลลอยอยู่ใกล้ ๆ กับฝูงโลมา

ทีมนักวิจัยเก็บตัวอย่างของหัวปลาดุกทะเลมาทั้งหมดเจ็ดตัวอย่าง พบว่าครีบอกและลูกตายังเคลื่อนไหวอยู่ ขณะที่เรือกำลังแล่นกลับเข้าฝั่งส่วนหัวเริ่มส่งเสียงคล้ายเสียงท้องร้อง Ronje อธิบาย

หลังจากการเตรียมวิเคราะห์ส่วนหัวที่เก็บมา โดย Ronje ศึกษาโครงสร้างของกะโหลก เพื่อหาสาเหตุที่โลมาทิ้งไว้ “นี่ไม่ใช่การสุ่มกินบางส่วนของตัวปลา” เขากล่าว “แต่โลมาตั้งใจกินเฉพาะส่วนท้ายของตัวปลา” Ronje อธิบายว่า โลมามีเหตุผลที่ดีในการตัดส่วนหัวออก “เนื่องจากปลาดุกมีกะโหลกที่มีโครงสร้างเพื่อการป้องกันอย่างดี พวกมันมีเงี่ยงที่คมคล้ายฟันเลื่อยถึงสามชิ้น ซึ่งพอเหมาะพอดีกับฐานกะโหลก และสามารถล็อกเงี่ยงเหล่านี้ได้”

แต่ไม่ใช่โลมาทุกตัวจะฉลาดเสมอไป เคยมีรายงานพบโลมา ๓๘ ตัว ได้รับบาดเจ็บจากเงี่ยงปลาดุก และพบโลมาหนึ่งตัวเสียชีวิตขณะที่ในท้องของมันมีเงี่ยงปลาดุกติดอยู่ ๑๗ ชิ้น

นอกจากนี้ การสำรวจพบว่า โลมาที่รู้จักวิธีการตัดหัวเหยื่อจะรู้จักกับโลมาตัวอื่น ๆ ในฝูงเป็นอย่างดี จึงน่าจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของสมาชิกในฝูง “เรากำลังพูดถึงวัฒนธรรมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในทะเล และการส่งผ่านวัฒนธรรม ทั้งเทคนิคการเรียนรู้ และการส่งต่อ” สเตฟานี กัซดา นักชีววิทยาจาก มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ บอก “สำหรับฉัน การค้นพบครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า นี่อาจจะเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่ง”
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 16:44

ขอบคุณครับ มีข้อมูลจากฟากต่างประเทศมาเสริมอีกด้วย
------------------------------------
ขอมอบของกำนัลให้..เป็นใบไม้แห้ง 1 ตัว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 17:04



เป็นใบไม้แห้งตัวที่สองที่ได้รับมอบ หลังจากได้รับตัวแรกเมื่อ ๑๑ ปีก่อน



บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 17:46

ว้า...เพ็ญชมพูZoozie มีหมดแล้ว
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 17:50

เครดิตรูป จากยูทู้บ ตามที่ปรากฏในรูป (ผมแค็ปเจอร์หน้าจอ) /// วาดโดย ศิตะ มานิตกุล


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 17:52

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 18:03

ศิตะ มานิตกุล เป็นนักธรณีวิทยา และวาดรูปเอง มีผลงานเป็นหนังสือด้วย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 19:34

เครดิตรูป จากยูทู้บ ตามที่ปรากฏในรูป (ผมแค็ปเจอร์หน้าจอ) /// วาดโดย ศิตะ มานิตกุล

ไดโนเสาร์แดนอีสาน: อีสาน - ดินแดนแห่งไดโนเสาร์

รูปวาดโดย ศิตะ มานิตกุล นาทีที่ ๔๕.๕๐




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 19 คำสั่ง