เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 79985 สัตว์ประหลาด ๕
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 14 ธ.ค. 20, 02:03

เต่ามะเฟือง คลานเป็นวง เพื่อหลอกศัตรูที่จะมากินไข่ // ตามรูปนี้ จนท.ยังขุดไม่เจอรังไข่ // จนท.เล่า(ในเฟซบุ๊ก)ว่า กว่าจะขุดเจอ แทบเป็นลมแดด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 14 ธ.ค. 20, 07:55

เต่ามะเฟือง คลานเป็นวง เพื่อหลอกศัตรูที่จะมากินไข่ // ตามรูปนี้ จนท.ยังขุดไม่เจอรังไข่ // จนท.เล่า(ในเฟซบุ๊ก)ว่า กว่าจะขุดเจอ แทบเป็นลมแดด


ระวังตัวยอดเยี่ยม ได้ติดตามเพจเกี่ยวกับอนุรักษ์ท้องทะเลและชายหาดพบว่าเนื่องจากการปิดอุทธยานแห่งชาติทางทะเลหลายแห่ง ทำให้พบเต้ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่บนชายหาดมากอย่างมีนัยยะสำคัญ

เต่าเขาจะระวังตัวมากค่่ะ ได้เคยไปเที่ยวแสมสาร เจ้าหน้าที่ห้ามขึ้นฝั่งบนเกาะเด็ดขาด เพราะไว้เป็นพื้นที่วางไข่ของเต่าทะเล

เต่าจะไม่ขึ้นมาวางไข่หากพบว่าทรายอัดกันแน่นจากการเหยียบย่ำของคน
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 14 ธ.ค. 20, 08:35

ฤดูกาล 2561-2562 เต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่เพียง 3 รัง
ฤดูกาลที่แล้ว พ.ย.2562-ก.พ.2563 วางไข่ถึง 11 รัง นับว่าเป็นสถิติสูงสุด
ฤดูกาลนี้(ยังไม่หมดฤดู) ฟาดไปแล้ว 10 รัง
ย้อนหลายปีก่อนหน้านู้น ไม่พบการขึ้นวางไข่เลย จนคิดว่าเต่ามะเฟืองสูญพันธุ์จากทะเลไทยแล้วกระมัง

ดูจากไทม์ไลน์แล้ว [พ.ย.2562-ก.พ.2563] ไทยยังไม่ปิดอุทยานเนื่องจากโควิด // ผมคิดว่าการที่เต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่มาก ไม่เกี่ยวกับการปิดอุทยานครับ

เมื่อต้นปี2563นี้ (โควิดยังไม่ระบาด) ผมก็แปลกใจกับจำนวนตัวเลขที่พุ่งไม่หยุด จึงถามเพื่อนที่ทำงานอยู่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ณ จ.ภูเก็ต
"ไหนว่าจะสูญพันธุ์แล้วไง ทำไมตัวเลขพุ่งพรวดขนาดนี้"
เพื่อนตอบว่า "ไม่รู้เหมือนกัน เรามีข้อมูลเกี่ยวกับเต่ามะเฟืองน้อยมาก เราเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลตอนที่เกือบจะสายเกินไป"
"คาดเดาว่าเป็นวัฏจักรชีวิตของเต่าเจนเนอเรชั่นนี้ ที่เคยกำเนิดที่หาดนี้ พวกมันพร้อมใจกันเพราะเป็นเต่าชุดเดียวกัน"

ยังตอบไม่ได้ว่า ปีต่อๆไป จะพบมากเหมือน2ปีนี้หรือไม่ เพราะสันนิษฐานว่าเป็นประชากรเต่าชุดเดียวกัน ยังมีความเปราะบางอยู่

ผ่านไป 1 ปี เตรียมเฮดังๆได้แล้วครับ 10รังเข้าไปแล้ว บางตัววางซ้ำหลายรอบ(รัง) (แต่ละรอบห่างกัน10วัน)
แต่ปี 2564-2565 ก็ยังต้องลุ้นต่อไปว่า สถานการณ์จะคงที่หรือไม่
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 21 ธ.ค. 20, 18:53

พึ่งทราบว่าเต่ามีการเดินหลอกศัตรูที่จะมากินไข่ด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 29 ธ.ค. 20, 17:07

รอยของแม่เต่ามะเฟืองวางไข่ ที่หาดบางขวัญ พังงา บ่งบอกความมหัศจรรย์ของเต่าใหญ่ที่สุดในโลก สังเกตรอยครีบตะกุยทราย ทางวิชาการใช้วัดรอย  "ใบพายซ้ายถึงขวา" กว้าง ๒ เมตร

ภาพจาก เฟซบุ๊กของอาจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์



กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายงานว่าพบเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ บริเวณหาดบางขวัญ ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ตรวจวัดขนาดพายซ้ายไปพายขวา ๒๑๐ เซนติเมตร ขนาดอก ๑๐๐ เซนติเมตร บินโดรนถ่ายภาพทางอากาศ และขุดค้นหาไข่เต่ามะเฟือง พบรวม ๑๓๐ ฟอง เป็นไข่ดี ๙๖ ฟอง และไข่ลม ๓๔ ฟอง จากนั้นจึงย้ายมารวมที่ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟืองหาดบางขวัญ เพื่อรอวันฟักต่อไป

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขียนลงใน เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ว่า แม่เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่เป็นรังที่ ๑๒ ของปีนี้ โดยแม่เต่าขึ้นมาหลายหนแล้ว รังที่ ๙ ก็เป็นฝีมือตัวนี้เช่นกัน จุดวางไข่ห่างจากรังแรกราว ๗๐๐ เมตร เมื่อแม่เต่าคลานขึ้นไปจนสุดหาด พบว่ามีเนินทรายและมีพืชคลุม เธอจึงหันหลังกลับ เพราะฉะนั้น แม่เต่าจึงเลือกพื้นที่วางไข่อยู่ระหว่างสันทรายกับเนินทราย นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราต้องพยายามดูแลชายฝั่งให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด เพราะหากเรารุกล้ำเนินทราย สร้างสิ่งก่อสร้างแบบไม่พิจารณาใด ๆ ย่อมบีบให้ขอบเขตการวางไข่แคบลง โดยเฉพาะเต่ามะเฟืองตัวใหญ่ จึงต้องการพื้นที่กว้างมาก

เรื่องและภาพจาก https://www.facebook.com/311725700037/posts/10164849755805038/

แม่เต่ามะเฟืองตัวนี้มีจุดขึ้นและลงทะเลจุดเดียวกัน ต่างจากตัวของคุณธสาครซึ่งจุดขึ้นและลงทะเลอยู่ห่างกัน  ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 09 ม.ค. 21, 10:58

สุดทึ่ง! 'จีน'พบฟอสซิล‘ไดโนเสาร์กำลังฟักไข่’สุดหายาก

9 มกราคม 2564 สำนักข่าวซินหัวรายงาน ซากฟอสซิล “ไดโนเสาร์กำลังฟักไข่” สุดหายาก ซึ่งถูกขุดพบที่มณฑลเจียงซีทางตะวันออกของจีน ช่วยส่งเสริมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการขยับขยายเผ่าพันธุ์ของไดโนเสาร์กลุ่มเทโรพอด (Theropod) ที่มีลักษณะเด่นเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อและยืนสองขา

ฟอสซิลดังกล่าวมีอายุราว 70 ล้านปี ประกอบด้วยโครงกระดูกไดโนเสาร์วัยเจริญพันธุ์ ตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอ (embryo) และรังฟักที่มีไข่เรียงราย โดยเชื่อว่าเป็นซากไดโนเสาร์ลำตัวยาว 2 เมตร กำลังนอนหมอบฟักไข่ในลักษณะท่าทางเดียวกับนกในยุคใหม่

ปี้ซุ่นตง ผู้เขียนหลักของงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) กล่าวว่าฟอสซิลนี้มิเพียงแสดงท่าทางการฟักไข่ของไดโนเสาร์ แต่ยังรักษาสภาพตัวอ่อนอย่างดี ถือเป็นหลักฐานล่าสุดเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมการฟักไข่ของไดโนเสาร์กลุ่มเทโรพอด

สวีซิง ผู้เขียนร่วมของงานวิจัยจากสถาบันบรรพชีวินสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน กล่าวว่าตัวอ่อนในรังมีพัฒนาการแตกต่างกัน บ่งชี้ถึงการฟักออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบในนกยุคใหม่
อนึ่ง การศึกษาวิจัยครั้งนี้ถูกเผยแพร่ในวารสารไซเอนซ์ บูลเลติน (Science Bulletin)

https://www.naewna.com/index.php


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 09 ม.ค. 21, 11:00

ไดโนเสาร์กลุ่มเทโรพอด (Theropod)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 09 ม.ค. 21, 19:42

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ถูกเผยแพร่ในวารสารไซเอนซ์ บูลเลติน (Science Bulletin)

บทความวิชาการที่เผยแพร่ในวารสาร Science Bulletin ชื่อว่า An oviraptorid preserved atop an embryo-bearing egg clutch sheds light on the reproductive biology of non-avialan theropod dinosaurs

Abstract

Recent studies demonstrate that many avialan features evolved incrementally prior to the origin of the group, but the presence of some of these features, such as bird-like brooding behaviours, remains contentious in non-avialan dinosaurs. Here we report the first non-avialan dinosaur fossil known to preserve an adult skeleton atop an egg clutch that contains embryonic remains. The preserved positional relationship of the adult to the clutch, coupled with the advanced growth stages of the embryos and their high estimated incubation temperatures, provides strong support for the brooding hypothesis. Furthermore, embryos in the clutch are at different developmental stages, suggesting the presence of asynchronous hatching—a derived feature even among crown-group birds—in non-avialan theropods. These findings demonstrate that the evolution of reproductive biology along bird-line archosaurs was a complex rather than a linear and incremental process, and suggest that some aspects of non-avialan theropod reproduction were unique to these dinosaurs.


ฟอสซิลดังกล่าวมีอายุราว 70 ล้านปี ประกอบด้วยโครงกระดูกไดโนเสาร์วัยเจริญพันธุ์ ตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอ (embryo) และรังฟักที่มีไข่เรียงราย โดยเชื่อว่าเป็นซากไดโนเสาร์ลำตัวยาว 2 เมตร กำลังนอนหมอบฟักไข่ในลักษณะท่าทางเดียวกับนกในยุคใหม่

ฟอสซิลที่ว่านี้เป็นของไดโนเสาร์จำพวก Oviraptor ดังภาพและคำอธิบายข้างล่าง



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 09 ม.ค. 21, 20:12

นั่งไทม์แมชชีนของบีบีซีไปยุค Cretaceous (๑๔๔ - ๖๕ ล้านปีก่อน) ชมชีวิตทรหดของ Oviraptor

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 09 ม.ค. 21, 20:50

อ้างจาก: เทาชมพู ที่ วันนี้ เวลา 10:58
ฟอสซิลดังกล่าวมีอายุราว 70 ล้านปี ประกอบด้วยโครงกระดูกไดโนเสาร์วัยเจริญพันธุ์ ตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอ (embryo) และรังฟักที่มีไข่เรียงราย โดยเชื่อว่าเป็นซากไดโนเสาร์ลำตัวยาว 2 เมตร กำลังนอนหมอบฟักไข่ในลักษณะท่าทางเดียวกับนกในยุคใหม่

ถามคุณเพ็ญชมพู

หมายความว่าไดโดเสาร์ตัวนี้มันตายขณะนอนหมอบฟักไข่  และไข่ก็เลยไม่เป็นตัว  อยู่ยังงั้นมาอีกนาน จนกลายเป็นฟอสซิล งั้นหรือคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 10 ม.ค. 21, 08:59

Oviraptor พร้อมลูกน้อยในไข่ น่าจะเสียชีวิตด้วยภัยธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังเช่นชะตากรรมของ Oviraptor อีกตัวหนึ่ง ซึ่งพบฟอสซิลในลักษณะเดียวกับที่ค้นพบล่าสุด และยังถือเป็นหลักฐานเพื่อกอบกู้เกียรติภูมิของไดโนเสาร์วงศ์นี้อีกด้วย

Oviraptoridae เป็นชื่อวงศ์ของ Theropod ซึ่งมีความใกล้ชิดกับนก คำว่า Oviraptor มาจากภาษาละติน แปลว่า ตัวขโมยไข่ โดยมาจากการค้นพบฟอสซิลที่มองโกเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ฟอสซิลอยู่ในสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์นัก พบอยู่ใกล้กับฟอสซิลกองไข่ที่ถูกเข้าใจว่าเป็นไข่ของ Protoceratops ไดโนเสาร์กินพืชที่พบได้ทั่วไปในทะเลทรายโกบี  จึงถูกเหมาว่าเป็นโจรที่ตายขณะเข้ามาขโมยไข่

จนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ มีการค้นพบฟอสซิลที่ทะเลทรายโกบี เป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ตัวเต็มวัยกำลังกกไข่อยู่ และถูกตั้งชื่อเล่นว่า “Big Mamma” ไดโนเสาร์ตัวนี้ถูกตั้งชื่อว่า Citipati osmolskae (ตั้งชื่อตามเทพที่มีรูปร่างเป็นโครงกระดูกในคติความเชื่อพระพุทธศาสนาแบบทิเบต และเป็นเกียรติแก่คุณ Halszka Osmólska นักบรรพชีวินวิทยาชาวโปแลนด์ที่มีบทบาทในการศึกษาไดโนเสาร์มองโกเลีย) เป็น Oviraptor ตัวหนึ่งในวงศ์ Oviraptoridae

การค้นพบนี้ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่า Oviraptor หาใช่ 'จอมขโมยไข่' ดังที่เคยเชื่อแต่ประการใด แต่เป็น 'จอมวางไข่' ผู้พิทักษ์ลูกน้อยจนชีวาวายวาง

ดราม่าของเรื่องนี้อยู่ในการ์ตูนเกาหลีข้างล่าง



"Big Mamma"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 23 ม.ค. 21, 18:50

23 มกราคม 64 นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี เปิดเผยถึงกรณีภาพจากกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าว่า นายมานะ เพิ่มพูล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้นำภาพถ่ายจากกล้องดักถ่ายสัตว์ป่า (Camera Trap)ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มาทำการตรวจสอบพบภาพสัตว์ป่าที่หายยากมากในธรรมชาติและกำลังจะสูญพันธ์ุไปจากธรรมชาติ คือ “จระเข้น้ำจืด”หรือ “จระเข้สายพันธุ์ไทย” (Crocodylus siamensis)ในต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เหนือบ้านโป่งลึกและบ้านบางกลอย ยืนยันสถานะภาพ ยังคงอยู่ได้ ซึ่งจากการตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวไม่พบภาพจระเข้มานาน แต่ในการพบครั้งนี้ยืนยันได้ว่ามีมากกว่าหนึ่งตัวที่เจ้าหน้าที่สามารถบันทึกภาพได้ จากที่เฝ้าติดตามมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันในอนุสัญญาของไซเตสได้ขึ้นบัญชีจระเข้น้ำจืดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix 1)

ทั้งหมดนี้เป็นความพยายามในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าให้เป็นผืนป่าขนาดใหญ่เพื่อให้สัตว์ป่าสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เราต้องดำเนินการอยู่ต่อไป สำหรับการพบเสือโคร่งเพิ่มขึ้นจากเดิม และจระเข้น้ำจืดเพิ่มขึ้น เป็นการส่งสัญญาญที่ดีขึ้นในการอนุรักษ์ในพื้นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานฯ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 24 ม.ค. 21, 03:06

จระเข้น้ำจืดที่แก่งกระจาน เป็นสายพันธุ์เดียวกับที่บึงบอระเพ็ด และเป็นต้นนิทานไกรทอง-ชาละวัน
https://www.facebook.com/Kaengkrachannationalparkofficial/posts/3551085141635521


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 24 ม.ค. 21, 03:14

เลือดแมงดา



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 24 ม.ค. 21, 08:30

เลือดแมงดา

จริง ๆ แล้วมันคือ เลือดของแมงดาทะเล (Limulus polyphemus)

ของเหลวในทั้ง ๕ ขวดนี้ มาจากสัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งมีประโยชน์มหาศาลในวงการแพทย์

มันคือ "เลือดสีน้ำเงิน" จริงแท้แน่นอน


ประโยชน์อันมหาศาลที่ว่านี้ มิใช่เกิดจากสีน้ำเงินของเลือด แต่เกิดจากคุณสมบัติอันมหัศจรรย์ของสิ่งหนึ่งที่อยู่ในเลือดแมงดาทะเล

เมื่อ ๖๐ ปีมาแล้ว ขณะที่ Frederick Bang นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ (The Johns Hopkins University) กำลังศึกษาเกี่ยวกับระบบเลือดของ แมงดาทะเลพันธุ์แอตแลนติก Limulus polyphemus มีแมงดาทะเลตัวหนึ่งตายจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio sp. สิ่งที่ทำให้เขาประหลาดใจคือเลือดทั้งหมดของมันแข็งตัวและจับกันเป็นวุ้น  Bang ศึกษาต่อไปจึงพบว่ามีเฉพาะแบคทีเรียแกรมลบเท่านั้นที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานี้ และถึงแม้เอาแบคทีเรียพวกนี้ไปต้มในน้ำเดือดก็ยังทำให้เกิดปฏิกิริยาเดียวกันนี้ได้

Bang และเพื่อนได้ศึกษาต่อไปจึงพบว่าสิ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นเกิดจากสิ่งหนึ่งที่อยู่ในเลือดของแมงดาทะเลเรียกว่า  amoebocyte (หมายถึง เซลล์ที่มีการเคลื่อนที่คล้ายอมีบา)  หน้าที่ของมันคือเป็นทหารคอยจับและทำลายผู้บุกรุก (คือตัวแบคทีเรียเอง และสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียแกรมลบถูกทำลายด้วยความร้อนคือชิ้นส่วนของตัวมันเองเป็นสารพิษที่เรียกว่า  endotoxin  อันเป็นสาเหตุของการเป็นไข้  หนาวสั่น ช็อก หรือ เสียชีวิต) และแข็งตัวเป็นวุ้น

ทุกวันนี้ในมาตรฐานการผลิดยาฉีดระบุว่าเภสัชภัณฑ์หรืออุปกรณ์การแพทย์ใดๆ ที่สัมผัสกับของเหลวในร่างกาย หรือระบบไหลเวียนของเลือด ต้องไม่มีสารพิษ endotoxin ตัวนี้ สิ่งที่จะใช้ทดสอบเรื่องนี้ได้ก็คือสิ่งที่สกัดมาจาก amoebocyte ในเลือดแมงดาทะเล และการทดสอบนี้เรียกว่า  Limulus Amebocyte Lysate (LAL)


ทุก ๆ ปีแมงดาทะเล (Limulus polyphemus) จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ตัวจากฝั่งทางตะวันออกของอเมริกาจะถูกนำมาเก็บเลือด ครั้งหนึ่ง ๆ จะเก็บเลือดจากมันจำนวนเพียง ๓๐ % ของปริมาณเลือดในร่างกาย แล้วก็ปล่อยกลับคือนสู่ธรรมชาติ โชคร้ายที่มีราว ๑๐-๓๐ เปอร์เซนต์ที่ตาย เลือดแมงดาทะเลสนนราคาประมาณลิตรละ ๑๕๐,๐๐๐ ดอลลาร์ ธุรกิจการการค้าเลือดแมงดาทะเลจึงทำเงินมหาศาล ตกประมาณ ๕๐ ล้านดอลลาร์ต่อปี

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง