เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 80232 สัตว์ประหลาด ๕
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 24 ก.พ. 20, 14:53

ค้างคาวแวมไพร์ไม่มีในเมืองไทย แต่อยู่ไกลถึงทวีปอเมริกาตั้งแต่อเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ จริง ๆ แล้วมีอยู่ ๓ ชนิด ในคลิปข้างล่าง น่าจะเป็น ค้างคาวแวมไพร์ธรรมดา Desmodus rotundus  มันจะกินเลือดจากสัตว์ใหญ่เช่นม้า โค สุกร รวมถึงมนุษย์ด้วย

เมื่อเจอเหยื่อมันจะเข้าไปใกล้ บินลงไปที่พื้น ค่อย ๆ คลาน สลับกับกระโดดย็อกแย็กเหมือนกบเข้าไปหาเหยื่อ เมื่อเข้าถึงเหยื่อแล้วก็ใช้ฟันหน้ากรีดผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขน พร้อมทั้งปล่อยสารกันเลือดแข็งตัวในน้ำลายเพื่อทำให้เลือดแข็งตัวช้า ค้างคาวแวมไพร์กินเลือดโดยการเลียไม่ใช่การดูดอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจจนเรียกชื่อว่า "ค้างคาวดูดเลือด"

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 24 ก.พ. 20, 15:28

ค้างคาวกินเลือดตัวนิดเดียว   ถ้าไม่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นอีกร่างของผีดิบ ก็คงไม่มีอันตรายอะไรมากนะคะ

ค้างคาวแวมไพร์ในอเมริกาใต้ถือเป็นตัวการสำคัญในการนำเชื่อโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) บางครั้งยังอาละวาดไล่กัดคนด้วย

ข่าวเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว : เกิดเหตุฝูงค้างคาวดูดเลือดออกอาละวาดกัดประชาชนในบราซิลหลายสิบคน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๑ คน เนื่องจากติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

สำนักงานสาธารณสุขของรัฐบาเฮียของบราซิล เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้มีรายงานผู้ที่ถูกค้างคาวดูดเลือดกัดในเมืองซัลวาดอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐบาเฮียอย่างน้อย ๔๐ คน และเสียชีวิตแล้ว ๑ คน เป็นชายวัย ๔๐ ปี ชื่อว่า นายเอดิวัลสัน ซูซ่า ซึ่งได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าจากการถูกค้างคาวดูดเลือดกัดขณะออกไปรีดนมวัว สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ทางการรัฐบาเฮียเตือนประชาชนให้ปิดประตูหน้าต่างทั้งหมดก่อนเข้านอนเพื่อป้องกันไม่ให้ค้างคาวดูดเลือดบินเข้ามาขณะนอนหลับ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กำลังเร่งจับค้างคาวดูดเลือดเพื่อนำมากำจัดด้วยการป้ายยาพิษ เร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้ทั้งคน สุนัข และ แมว เพื่อป้องกันการระบาด

เหตุการณ์ค้างคาวดูดเลือดไล่กัดคนในบราซิลครั้งนี้ ถือว่ารุนแรงกว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งอาจเป็นเพราะค้างคาวชนิดดังกล่าวทำรังใกล้กับแหล่งชุมชนของมนุษย์มากขึ้น ขณะที่ประชาชนบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเมืองซัลวาดอร์ได้โพสต์ภาพเท้าและที่นอนซึ่งมีรอยเลือดจากการถูกค้างคาวดูดเลือดบินเข้ามากัด ซึ่งผู้ที่ถูกค้างคาวดูดเลือดกัดจะไม่รู้สึกตัวหรือหรือรู้สึกเจ็บปวดในทันที เนื่องจากในน้ำลายของค้างคาวมีสารระงับอาการปวด รวมทั้งเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้าด้วย

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/757469

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 24 ก.พ. 20, 16:15

ตัวเล็กแต่พิษสงเยอะนะคะ     ค่อยยังชั่วหน่อย ไม่มีในไทย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 26 ก.พ. 20, 11:49

นำภาพนกแก้ว แดร็กคิวล่า มาฝากคุณเพ็ญ

Pesquet’s parrot หรือ Dracula parrot


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 26 ก.พ. 20, 20:39

นกแก้วของคุณศิลาตัวข้างบนมีอีกชื่อหนึ่งว่า vulturine parrot (นกแก้วแร้ง) ดูจากส่วนหัวของมันก็เหมาะสมมากกว่าชื่อนกแก้วแดร็กคูล่า

มีค้างคาวแวมไพร์อยู่ชนิดหนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว พบได้แต่ฟอสซิลในทวีปอเมริกากลางถึงอเมริกาใต้ถิ่นเดียวกับค้างคาวแวมไพร์ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ให้ชื่อว่า Desmodus draculae เป็นค้างคาวแวมไพร์ขนาดใหญ่ที่สุด มีขนาดใหญ่กว่าค้างคาวแวมไพร์ธรรมดา (Desmodus rotundus) ประมาณ ๓๐%

ดูหน้าตาแล้วชวนให้นึกถึงท่านเคาท์แดร็กคูล่าจริง ๆ  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 27 ก.พ. 20, 13:00

เมื่อเข้าถึงเหยื่อแล้วก็ใช้ฟันหน้ากรีดผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขน พร้อมทั้งปล่อยสารกันเลือดแข็งตัวในน้ำลายเพื่อทำให้เลือดแข็งตัวช้า

ชื่อ Dracula ยังเอามาเรียกชื่อสารกันเลือดแข็งตัวในน้ำลายของค้างคาวซึ่งเป็นโปรตีน นักวิทยาศาสตร์ให้ชื่อว่า Draculin ซึ่งมีหน้าที่ยับยั้งการทำงานของปัจจัย (factor) ตัวหนึ่งในกลไกการแข็งตัวของเลือด


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 02 มี.ค. 20, 14:19


วันนี้ มีผีเสื้อสมุทร มาฝาก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 02 มี.ค. 20, 15:56

งามนัก ๆ ผีเสื้อสมุทร หรือ หมึกผ้าห่ม (Blanket octopus - Tremoctopus sp.) ของคุณศิลา  ยิงฟันยิ้ม



จุดเล็ก ๆ ๒ จุดที่เห็นอยู่ตรงส่วนหน้าของมันนั้นไม่ใช่ลูกตาแต่เป็นอวัยวะสำหรับรับกลิ่น ส่วนดวงตาเป็นรูเล็ก ๆ เหมือนกับรูจมูก ว่ากันว่ามันสามารถมองเห็นนักล่าได้ไกลมากราวกับตาของนกเลยทีเดียว

หมึกผ้าห่มมีอีกสิ่งหนึ่งที่แปลกประหลาดคือ ตัวเมียกับตัวผู้มีขนาดต่างกันมาก ตัวที่คุณศิลาพามาเยี่ยมเรือนไทยเป็นตัวเมียยาวได้ถึง ๒ เมตร ในขณะที่ตัวผู้ยาวเพียง ๒ เซนติเมตรเท่านั้นเอง ขนาดต่างกันถึง ๑๐๐ เท่า

ธรรมชาติคิดเช่นไร ทำไมจึงสร้างสรรค์เช่นนี้หนอ
 ฮืม

https://www.lp-yaem.com/blanket-octopus/


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 04 มี.ค. 20, 09:29

ยังมีผีเสื้อสมุทรอีกหลายตัว  ยิงฟันยิ้ม


ผีเสื้อทะเลหรือผีเสื้อสมุทรตัวข้างบนเป็นหอยทากทะเล (sea snail) น่าจะเป็นชนิด Limacina helicina

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 04 มี.ค. 20, 09:34

ผีเสื้อทะเลชนิด Limacina helicina เคยปรากฏกายในฐานะเหยื่อผู้น่าสงสารของทากทะเล (sea slug) Clione limacina ชื่อสามัญคือ นางฟ้าทะเล (sea angel) หรือบางทีก็เรียกว่า ผีเสื้อทะเล (naked sea butterfly) เหมือนกัน

นางฟ้าตัวใส   Clione limacina





นางฟ้าทะเลเป็นนักล่าที่หิวกระหายตลอดเวลา และจะกินเพียงผีเสื้อทะเลซึ่งเป็นสัตว์สายพันธุ์เดียวกันเป็นอาหารเท่านั้น โดยใช้ความว่องไวในการต้อนเหยื่อให้จนมุม แล้วใช้หนวดพิเศษที่ยื่นออกมาจากปาก ดึงออกจากเปลือกก่อนที่จะกลืนกินไปทั้งตัว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 05 มี.ค. 20, 15:13

มีทากทะเลอีกพวกหนึ่งชื่อว่า ทากทะเลติดปีก (winged sea slug) ก็ถือเป็นผีเสื้อสมุทรชนิดหนึ่ง แต่บางทีก็เรียกชื่อชวนให้นึกว่าเป็น ค้างคาวสมุทร ซะอย่างนั้น  ยิงฟันยิ้ม

ขอเชิญชมลีลาการร่ายรำรับอรุณประกอบทำนองเพลงอันไพเราะของ  Pacific batwing sea slug (Gastropteron pacificum) ผีเสื้อทะเลพันธุ์หนึ่งแห่งอเมริกาเหนือ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 06 มี.ค. 20, 19:05

"ค้างคาวสมุทร" อีกตัวหนึ่ง พบได้ตั้งแต่ญี่ปุ่นจรดออสเตรเลีย

ทากทะเลปีกค้างคาว batwing sea slug (Sagaminopteron ornatum)



แต่ดูเหมือนนกโผผินในท้องทะเลมากกว่า  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 07 มี.ค. 20, 10:20

ส่งมังกรสมุทรมาประชัน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 07 มี.ค. 20, 11:06

เจ้ามังกรสมุทรสีน้ำเงินตัวจิ๋วนี้เป็นทากทะเลชนิด Glaucus atlanticus คงเป็นที่ต้องตาต้องใจชาวเรือนไทยยิ่งนัก จึงเคยถูกนำมาเยือนถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา  ยิงฟันยิ้ม

ไม่รู้ว่าตัวอะไร เอามาฝากคุณเพ็ญชมพูและคุณ DD ค่ะ

ตัวนี้น้ำเงินสวยดีจังเลย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 07 มี.ค. 20, 14:25

มังกรสมุทรสีน้ำเงินเป็นสัตว์ที่ธรรมชาติออกแบบมาวิจิตรบรรจง   น่าเสียดายว่ามันอยู่ในที่ยากจะให้ใครเห็น   เพื่อนๆของมันก็เช่นกัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง