เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5503 ขอเรียนถามคำว่า "เธอ" ว่าเป็นคำบุรุษสรรพนามที่ 3 ได้ไหมครับ
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


 เมื่อ 12 มิ.ย. 17, 20:33

ตัวอย่างข้อความ
"ต่อมา อังศุมาลินพูดอย่างตรงไปตรงมากับโกโบริว่า
เธอมีคนที่เธอรออยู่แล้ว คือ วนัส"

ผมเข้าใจว่า คำว่า "เธอ" โดยปกติในภาษาไทย จัดเป็น
คำบุรุษสรรพนามที่ 2 แต่ในข้อความข้างต้น
คำว่า เธอ ใช้แทน อังศุมาลิน ผมจึงสงสัยว่า
คำว่า เธอ ในข้อความข้างต้น จัดเป็นคำบุรุษสรรพนามที่ 2
หรือว่าคำบุรุษสรรพนามที่ 3 ครับ

ตัวผมเองเข้าใจว่า คำว่า เธอ ในที่นี้ เป็นคำบุรุษสรรพนามที่ 3 ครับ
เพราะใช้แทน อังศุมาลิน เทียบได้กับคำว่า หล่อน, เขา ครับ

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ สำหรับคำชี้แนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 มิ.ย. 17, 21:11

คำว่า เธอ เป็นได้ทั้งสรรพนามบุรุษที่ 2  และ 3   ขึ้นกับบริบท

เพื่อนของคุณ Wu ถามคุณว่า "เธอจะไปไหน"  คุณตอบว่า "ผมจะไปซื้อของ"
เธอในที่นี้ เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2    เท่ากับ you 

อังศุมาลินบอกตัวเองว่า เธอรักโกโบริมากกว่าที่เธอรู้ตัวเสียอีก
เธอ ในที่นี้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3   เท่ากับ she

ยังมีอีกค่ะ  ในนิยายย้อนยุค  "เธอ" เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3   หมายถึง he  ได้ด้วยนะคะ
จาก "มาลัยสามชาย"
"ยศไม่อยู่บ้านหรือ?" คุณจรวยถามลอออร
" ไม่อยู่ค่ะ   เธอไปหัวหินหลายวันแล้ว"
แต่ "เธอ"ที่แทน he นี้เป็นภาษาพูด   และจะใช้แทนผู้ชายอายุไล่เลี่ยกัน  ที่ผู้พูดยกย่องเท่านั้น  เช่นอยู่ในฐานะสามีหรือพี่ชาย  ถ้าวัยสูงกว่านั้นเช่นพ่อหรือลุง  ใช้คำว่า "ท่าน"
บันทึกการเข้า
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 12 มิ.ย. 17, 22:21

นอกจากนี้ ในเรื่องมาลัยสามชาย
คำว่า "กัน" ก็เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 1 (ที่ไม่ค่อยคุ้นหู) ครับ

กัน  (ปาก) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อยในทํานองกันเอง
เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1

นอกจากนี้ ในเรื่องมาลัยสามชาย ยังมีคำสรรพนามบุรุษที่ 1 (ที่ไม่ค่อยคุ้นหู)
คือคำว่า "กัน" ด้วยครับ
ผมได้ยินวิศาล (วิศาลคือเพื่อนของยศ) พูดแทนตัวเองโดยใช้คำว่า "กัน"
พูดกับยศในหลายฉาก ๆ ในละครเรื่องมาลัยสามชายครับ




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 มิ.ย. 17, 10:37

ท่านรอยอินอธิบายการใช้คำว่า "เธอ" ไว้ว่า

๑. ในกรณีใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์

๒. ในกรณีใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น

ส่วนคำอธิบายของคุณเทาชมพู พอสรุปได้ว่า

๑. ในกรณีใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้ระหว่างเพื่อน

๒. ในกรณีใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้เมื่อกล่าวถึง "she" (อังศุมาลิน) หรือ "he" เมื่อกล่าวถึงผู้ชายอายุไล่เลี่ยกัน  ที่ผู้พูดยกย่องเท่านั้น  



ถ้าหากจะให้ครอบคลุมคงต้องใช้คำอธิบายของทั้งท่านรอยอินและคุณเทาชมพูมารวมกัน ขอเสนอดังนี้

๑. ในกรณีใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำที่ใช้เรียกผู้มีศักดิ์เสมอกัน เช่นผู้ชายเรียกเพื่อนผู้หญิง ผู้หญิงเรียกเพื่อนทั้งสองเพศ  หรือใช้เรียกผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์

๒. ในกรณีใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง อาจเป็นได้ทั้ง "she" และ "he" โดยอาจมีศักดิ์ต่ำกว่าด้วยความเอ็นดู หรือ มีศักดิ์เสมอกันด้วยความยกย่อง


    
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 มิ.ย. 17, 11:27

สรรพนามบุรุษที่ ๑ และ ๒ สำหรับใช้เรียกแทนผู้มีศักดิ์เสมอกัน ใช้เป็นคู่ ๆ มักไม่ใช้สลับกัน

กัน - แก คู่นี้โบราณหน่อย ไม่ใคร่เห็นใช้กันแล้ว ที่ใช้กันบ่อย ๆ เช่น

ผม, ชั้น, ฉัน, ดิฉัน - คุณ
เรา - เธอ, นาย
กู - มึง
ข้า - เอ็ง
อั๊วะ - ลื้อ

และที่เห็นใช้กันล่าสุด สำหรับคู่ที่สนิทกัน ม้าก มาก คือ

เค้า, ตัวเอง - ตัวเอง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 มิ.ย. 17, 19:19

๒. ในกรณีใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง อาจเป็นได้ทั้ง "she" และ "he" โดยอาจมีศักดิ์ต่ำกว่าด้วยความเอ็นดู หรือ มีศักดิ์เสมอกันด้วยความยกย่อง

ผิดค่ะ
คำว่า "เธอ" ที่ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓  ไม่ใช้กับคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า    ไม่ว่าจะเอ็นดูหรือไม่ก็ตาม
ลอออรกล่าวถึงหนูยิ้ม ผู้เป็นลูกเลี้ยงว่า
" หนูยิ้มโตเป็นสาวแล้ว   แกก็อยากจะจัดงานปาร์ตี้เชิญเพื่อนฝูงมาสนุกสนานกัน เป็นเรื่องธรรมดา"
ลอออรจะไม่ใช้คำว่า
"หนูยิ้มโตเป็นสาวแล้ว  เธอก็อยากจะจัดงานปาร์ตี้เชิญเพื่อนฝูงมาสนุกสนานกัน เป็นเรื่องธรรมดา

ถ้ามีศักดิ์เสมอกัน  เช่นเป็นเพื่อนกัน แม้แต่เป็นผู้หญิงด้วยกัน ก็ไม่ใช้คำว่า "เธอ" เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓  แต่ใช้คำว่า "เขา" ทั้งๆเป็นหญิง
พบได้ในงานประพันธ์ของ "ดอกไม้สด"
เจริญ(หญิง) พูดถึงวไลผู้เป็นเพื่อนสนิทว่า
" อย่าไปเกลี้ยกล่อมวไลให้คืนดีกับหลวงปราโมทย์เสียให้ยาก   เขาเป็นคนใจแข็งมาแต่ยังเล็กแล้ว"   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 มิ.ย. 17, 19:20

ส่วน กัน กับ แก    กัน = ฉัน   เพื่อนสนิทที่เป็นชายนิยมพูดกันในยุคนั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 09:58

คำว่า "เธอ" ที่ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓  ไม่ใช้กับคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า    ไม่ว่าจะเอ็นดูหรือไม่ก็ตาม

ลอออรกล่าวถึงหนูยิ้ม ผู้เป็นลูกเลี้ยงว่า
" หนูยิ้มโตเป็นสาวแล้ว   แกก็อยากจะจัดงานปาร์ตี้เชิญเพื่อนฝูงมาสนุกสนานกัน เป็นเรื่องธรรมดา"
ลอออรจะไม่ใช้คำว่า
"หนูยิ้มโตเป็นสาวแล้ว  เธอก็อยากจะจัดงานปาร์ตี้เชิญเพื่อนฝูงมาสนุกสนานกัน เป็นเรื่องธรรมดา

ท่านรอยอินอธิบายการใช้คำว่า "เธอ" ไว้ว่า

ในกรณีใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น

ในงานเลี้ยงที่โรงเรียนอนุบาลราชบัณฑิตวิทยา คุณครูใหญ่รอยอินบอกกับแพรขาวว่า

"หนูชมพูเธอน่ารักนะคะ คงได้ความสวยมาจากคุณแม่นี่เอง"

สรรพนามบุรุษที่ ๓ บางทีต้องดูที่ระยะห่าง

"แก" (ของคุณแม่หนูยิ้ม) แสดงความใกล้ชิดมากกว่า "เธอ" (ของคุณครูใหญ่ที่โรงเรียนหนูชมพู)  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 10:21

ครูใหญ่ยกย่องเกินไปค่ะ  ใช้คำผิด  ที่ถูกต้องเป็น "แก" ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 19 คำสั่ง