เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 11156 ภาษาไทยที่ถูกต้องเมื่อ พ.ศ.2485 กับที่เขียนกันอยู่ในปัจจุบัน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 02 ก.ค. 17, 08:24

เร็วๆนี้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอคลิปพลทหารรายหนึ่ง กล่าวรายงานแสดงความรู้สึก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพิธีต้อนรับทหารใหม่ ของหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก (นปอ.) เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ที่ผ่านมา   หนุ่มพลทหารรายนี้กล่าวรายงานเป็นภาษาอังกฤษโดยไม่มีสคริปต์ในมือ   พูดอังกฤษชัดเจนมาก
 ชาวเน็ตแห่ชมกว่า 4 แสนครั้ง เปิดวาร์ปเป็นหนุ่มลูกครึ่งไทย-สิงคโปร์ ดีกรีหนุ่มปริญญาโท ขอสมัครเป็นทหารกองประจำการ 6 เดือน   
http://manager.co.th/HotShare/ViewNews.aspx?NewsID=9600000067001


แต่คลิปของหนุ่มรายนี้ไม่เกี่ยวกับภาษาไทยในกระทู้นี้  ส่วนที่เกี่ยวคือความเห็นของผู้อ่านรายหนึ่ง พิมพ์ส่งมาด้วยภาษาไทย    พิสูจน์ให้เห็นวิธีสะกดที่คีบอร์ดมือถือเป็นตัวกำหนดทิศทาง    ไม่เกี่ยวกับความถูกต้อง  ความเป็นมา
 ฯลฯ ของภาษาอีกต่อไป



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 02 ก.ค. 17, 09:53

เด็กไทยสี่จุดศูนย์       ต่างเทิดทูนนิยมกัน
ภาษาฝรั่งนั้น           ใครพูดได้ให้ชื่นชม

ครั้นพอภาษาไทย       ต่างหัวส่ายไม่นิยม
จริงแท้แม้อกตรม       วิบัติหนา "พาสาไท"



แบบฝึกหัดวิชา "พาสาไท" ในอนาคต  ตกใจ


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 02 ก.ค. 17, 12:56

เร็วๆนี้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอคลิปพลทหารรายหนึ่ง กล่าวรายงานแสดงความรู้สึก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพิธีต้อนรับทหารใหม่ ของหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก (นปอ.) เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ที่ผ่านมา   หนุ่มพลทหารรายนี้กล่าวรายงานเป็นภาษาอังกฤษโดยไม่มีสคริปต์ในมือ   พูดอังกฤษชัดเจนมาก
 ชาวเน็ตแห่ชมกว่า 4 แสนครั้ง เปิดวาร์ปเป็นหนุ่มลูกครึ่งไทย-สิงคโปร์ ดีกรีหนุ่มปริญญาโท ขอสมัครเป็นทหารกองประจำการ 6 เดือน   
http://manager.co.th/HotShare/ViewNews.aspx?NewsID=9600000067001


แต่คลิปของหนุ่มรายนี้ไม่เกี่ยวกับภาษาไทยในกระทู้นี้  ส่วนที่เกี่ยวคือความเห็นของผู้อ่านรายหนึ่ง พิมพ์ส่งมาด้วยภาษาไทย    พิสูจน์ให้เห็นวิธีสะกดที่คีบอร์ดมือถือเป็นตัวกำหนดทิศทาง    ไม่เกี่ยวกับความถูกต้อง  ความเป็นมา
 ฯลฯ ของภาษาอีกต่อไป


เรือนไทยมี "เปิดวาร์ป" เจนบีบี จะตามไม่ทันแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 02 ก.ค. 17, 13:40

ฟินมั้ยคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 02 ก.ค. 17, 18:31

ฟิน ??   ตกเวทีการใช้ภาษาไทยยุคใหม่ไปเรียบร้อยแล้วครับ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 02 ก.ค. 17, 18:47

เรียน+ใช้ "ภาษาโบราณ"มานานจนเข้าสายเลือด จะให้ฟอก(เลือด)ตอนนี้คงไม่ทันการแล้วครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 02 ก.ค. 17, 19:24

เห็นคำว่า วาร์ป  ก็เลยนึกถึงการใช้ ร ในภาษาไทย

ทำให้เกิดความสนใจขึ้นมาว่า ในภาษาถิ่นเดิมที่ชาวบ้านเขาสนทนากันนั้น ไม่มีเสียงของ ร  มีแต่เสียงของ ล  ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าคำที่มีเสียง ร นั้นมิใช่คำในภาษาไทยมาแต่เดิม   ทั้งนี้ หากมีคำที่ต้องมีการออกเสียงแบบตัว ร ในภาษาไทยแต่เดิมแล้วละก็ ผู้คนก็น่าจะต้องสามารถออกเสียง ร ได้ชัดเจน     ตัว ร นั้นข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากทวีปอินเดียแน่นอน เรารับมาทั้งจากทางตรงและทางอ้อม (เขมร)   ก็จึงเป็นเรื่องปกติที่ในภาษาไทยของเราจะต้องออกเสียงและเขียนคำที่มีตัว ร เหล่านั้นตามที่มาของคำนั้นๆ   ทั้งนี้ ในทางวิชาการท่านก็พยายามจะทำการแก้ไขการสะกดคำให้มีความสอดคล้องและถูกต้องตามหลักของภาษาเดิมที่เราเอาคำและความหมายนั้นๆมาใช้ในภาษาของเรา

แต่..
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 02 ก.ค. 17, 20:24

แต่..
ดูเหมือนว่าเรามีศัพท์ในภาษาไทยที่มิได้มีรากเง่ามาจากภาษาอื่น แต่ดอดใส่ตัว ร เข้าไป เช่น กระปี๋ กร๊วก กระจิบ กระจอก  และก็มีคำของภาษาอื่นที่เราเอามาใช้แล้วได้ออกเสียงและเขียนเป็นไทยเรียบร้อยแล้ว เช่น กิ๊บ (clip ?)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 03 ก.ค. 17, 18:17

ด้วยวิชาชีพและอาชีพของผม ทำให้ผมต้องเดินทางไปในหลายพื้นที่  จึงได้มีโอกาสสัมผัสโดยตรงกับสังคม วัฒนธรรม สำเนียงเสียงภาษา ความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆในระดับปัจเจกชุมขน  แน่นอนว่ามันก็ย่อมจะต้องมีความต่างกันไปบ้างเป็นธรรมดา ซึ่งต่างก็มีเหตุผลหรือคำอธิบายที่เข้าใจได้หรือพอจะเข้าใจได้   แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ยังคงติดใจอยู่ก็คือเรื่องของสำเนียงในภาษาไทย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 03 ก.ค. 17, 19:44

เรามีสำเนียงเฉพาะของภาษาภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีเอกลักษณ์และมีศัพท์เฉพาะตัวของเขาที่คล้ายๆกัน  พอจะแยกขาดออกไปได้   

สำหรับในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้นั้น เราก็มีสำเนียงที่ต่างกันเช่นกันแต่จะมีการใช้ศัพท์ที่เกือบจะเหมือนๆกันทั้งหมด ความต่างก็มีแต่เพียงการออกเสียงไม่ครบพยางค์หรือตัดคำให้สั้นลง ที่น่าสนใจก็ตรงที่ สำเนียงที่เราเรียกว่าเหน่อนั้น มันปรากฎอยู่ในพื้นที่รอบๆกรุงเทพฯและเริ่มสัมผัสได้ในรัศมีระยะน้อยกว่า 100 กม.จากกรุงเทพฯนี้เอง แล้วจะเริ่มกลายเป็นสำเนียงและภาษาที่เราเรียกว่าภาษาทองแดง จากนั้นจึงเปลี่ยนไปเป็นสำเนียงภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ประจำภาค

ดังนั้น หากเรามองว่าสำเนียงกรุงเทพฯเป็นสำเนียงมาตรฐาน และสำเนียงในพื้นที่อื่นๆเป็นสำเนียงที่เพี้ยนออกไป  การกำหนดการสะกดคำเพื่อให้ออกเสียงตามสำเนียงกรุงเทพฯก็น่าจะถูกต้อง   แต่ถ้ามองในอีกภาพหนึ่งว่า บรรดาสำเนียงในพื้นที่รอบๆกรุงเทพฯที่เราว่าออกเสียงเหน่อนั้น เป็นสำเนียงดั้งเดิมของภาษาไทย มาตรฐานการสะกดคำให้ออกเสียงนั้นๆก็คงจะต้องเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง
   (บ้านเรือนและชุมชนดั้งเดิมในรัศมีระยะน้อยกว่า 100 กม.จากกรุงเทพฯนั้น น่าจะเกือบทั้งหมดได้อพยพหนีภัยมาตั้งแต่สมัยเสียกรุงโน่น และดูเหมือนว่าในมาตรฐานของคนกรุงเทพฯยุคปัจจุบัน ผู้คนเหล่านั้นก็จะพูดสำเนียงเหน่อไปหมด)

สำหรับผมนั้น สำเนียงภาษาไทยดั้งเดิม น่าจะเป็นสำเนียงที่เราบอกว่าเป็นเสียงเหน่อนั้นแหละ  ซึ่งอาจจะเป็นเอกลักษณ์ที่ฝังอยู่ในยีนส์ของเราก็ได้  เด็กๆนักเรียนจึงมักจะมีสำเนียงเสียงเหน่อหลงเหลือให้พอจับได้ในการสนทนาเสมอ แม้ว่าจะได้ถูกกำหนดให้อ่านตามคำสะกดที่ให้ออกเสียงเป็นสำเนียงกรุงเทพฯก็ตาม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 04 ก.ค. 17, 09:25

เรามีสำเนียงเฉพาะของภาษาภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีเอกลักษณ์และมีศัพท์เฉพาะตัวของเขาที่คล้ายๆกัน  พอจะแยกขาดออกไปได้   

สำหรับในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้นั้น เราก็มีสำเนียงที่ต่างกันเช่นกันแต่จะมีการใช้ศัพท์ที่เกือบจะเหมือนๆกันทั้งหมด ความต่างก็มีแต่เพียงการออกเสียงไม่ครบพยางค์หรือตัดคำให้สั้นลง

เฮฮาภาษาถิ่น              ยามยลยินยั่วยิ้มพราย
สำเนียงเสียงมากหลาย   แฝงชีวิตจิตวิญญาณ








บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 05 ก.ค. 17, 20:42

ในเรื่องของสำเนียงนี้ก็มีเรื่องน่าสนใจ

ที่จริงแล้วในระยะประมาณ 100+ กม.จากกรุงเทพฯนั้น เป็นพื้นที่ๆมีผู้คนที่เราเรียกว่าลาวได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่มากมาย มีทั้งที่มาอยู่เนื่องจากถูกกวาดต้อนมาและที่ย้ายตามมา (สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี)  ซึ่งภาษาและคำที่ผู้คนเหล่านี้ใช้เป็นส่วนมากจะมีความ(เกือบจะ)เหมือนกันในด้านของคำศัพท์และสำนวน ที่จะต่างกันออกไปก็คือความต่างของการออกเสียงของแต่ละคำและสำเนียงของภาษาในองค์รวม ซึ่งในหมู่ของพวกเขาเองก็มีสำเนียงที่พวกเขาจัดว่าเป็นสำเนียงมาตรฐานและที่เป็นสำเนียงเหน่อ    ภาษาไทยในอิทธิพลของสำเนียงลาวดังกล่าวนี้ก็ยังมีเอกลักษณ์ที่พอจะแยกออกไปได้จากภาษาไทยที่เราจัดว่ามีสำเนียงเหน่อไปจากสำเนียงกรุงเทพฯ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 05 ก.ค. 17, 21:07

เรื่องน่าสนใจต่อเนื่องก็คือ 

ภาษาไทยสำเนียงที่เหน่อมากๆนั้น เป็นสำเนียงที่เกือบจะเหมือนกันกับที่ผู้คนในภาคต่างๆเขาพูดกัน จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดก้นได้ว่าเป็นคนภาคเดียวกัน   เท่าที่รู้และได้สัมผัสมา สำเนียงของผู้คนดั้งเดิมในพื้นที่ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี นั้นเกือบจะไม่ต่างไปจากสำเนียงของภาษาใต้เลยทีเดียว  สำเนียงหนักๆของภาคเหนือ (แพร่) เมื่อเขาสนทนากันก็ทำให้คนใต้ส่งภาษาใต้มาร่วมสนมนาด้วย  ของอิสานก็มีแต่จำไม่ได้แล้วว่าที่ใหน   
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 01 ส.ค. 17, 14:42

ผมเพิ่งจะทราบว่ารัชกาลที่ 6 ท่านทรงเคยทดลองปรับรูปแบบการเขียนไทยไว้ รายละเอียดอยู่ในนี้ครับ

การปรับรูปแบบการเขียนอักษรไทยโดยรัชกาลที่ 6

มีตัวอย่างที่หัวหนังสือดุสิตสมิตครับ


บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 01 ส.ค. 17, 18:41

ชื่อสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย และตราสัญญลักษณ์ ใช้ภาษาไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยทรงพระราชดำริขึ้น มีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์อยู่ในบรรทัดเดียวกันเหมือนภาษาพ่อขุนรามคำแหง  แต่หลังจากทดลองใช้แล้วไม่ได้รับความนิยมจากมหาชน จึงมิได้ทรงบังคับ (เครดิตภาพ วรชาติ มีชูบท)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง