เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 11086 ภาษาไทยที่ถูกต้องเมื่อ พ.ศ.2485 กับที่เขียนกันอยู่ในปัจจุบัน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 20 มิ.ย. 17, 20:28

จริง ๆ แล้วทุกคำที่คุณตั้งยกมาไม่ว่าจะจากหนังสือ พ.ศ. ๒๔๗๕, ๒๔๘๕ หรือ ๒๕๐๒ ล้วนมีตัวการันต์ทั้งสิ้น เพราะว่า ตัวการันต์หมายถึงตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง

คนไทยส่วนมากมักเข้าใจว่า "การันต์" กับ "ทัณฑฆาต" เป็นอย่างเดียวกัน

นี่จอมพล ป. ทำถูกหรือผิด ที่บังคับข้าราชการ หรือผู้ที่ต้องไปติดต่อขอเอกสารกับทางราชการ
ในกรณีย์เช่นนี้ให้ใส่การันต์หมด ทำให้ญาติส่วนใหญ่ต้องอนุโลมตาม

ในหนังสือเมื่อ 2485 มีคำที่ไม่ใช้ตัวการันต์อยู่เพียงสองสามคำ  กิติมสักดิ  ภูมิสาตร สัมพันธ

ที่คุณตั้งรวมทั้งคุณนวรัตนกล่าวถึง "การันต์" ข้างบน คงหมายถึง "ทัณฑฆาต" (คือเครื่องหมายฆ่าเสียงของตัวอักษร) มากกว่า  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 21 มิ.ย. 17, 07:31

อย่างน้อยการปรับปรุงภาษาไทยแบบใหม่นั้น กระทำล่วงหน้ามาหลายเดือนแล้ว จึงค่อยประการให้ประชาชนใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2485
ลิงค์นี้จะชี้ให้เห็นว่าคณะกรรมการและการออกพจนานุกรม ฉบับปี 2485 แบบปรับปรุงภาษาใหม่เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบทั่วกัน
http://www.pisutshop.com/webboard3_detail.asp?TopicID=379


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 21 มิ.ย. 17, 09:11

น่าสนใจตรงคำว่า "กกุธภันท" ซึ่งไม่มีไม้ทัณฑฆาตบนตัวการันต์ (ท) ปัจจุบันเขียนว่า "กกุธภัณฑ์"
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 21 มิ.ย. 17, 19:06

ตัวการันต์กับไม้ทัณฑฆาต ที่ได้กล่าวถึง  ทำให้รู้เลยว่าความรู้ภาษาไทยของตนมีความกระท่อนกระแท่นอยู่มาก แล้วความรู้ที่ได้เคยร่ำเรียนมาก็ได้เก็บใส่หีบส่งคืนคุณครูไปจนเกือบจะหมดแล้ว   

?? ไม่รู้ว่าที่เรียนภาษาไทยมาด้วยกระบวนการสอนแต่ก่อน กับ ที่เรียนมาในกระบวนการสอนแบบปัจจุบัน เมื่อถึงกาลเวลาหนึ่งแล้วจะเหลือความรู้ตกค้างอยู่ต่างกันเช่นใดทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ   ในปัจจุบันนี้ ระหว่างปู่ย่าตายายกับหลานก็ยังมีเป็นงงซึ่งกันและกันอยู่บ่อยๆแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 21 มิ.ย. 17, 19:45

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องตัวการันต์กับไม้ทัณฑฆาตเช่นกันวา

เมื่อเราถอดการเขียนและการออกเสียงจากภาษาไทยไปเป็นภาษาอังกฤษ   ก็มีคำเป็นจำนวนไม่น้อยในภาษาไทยที่คำนั้นๆมีตัวการันต์ จะมีหรือไม่มีไม้ทัณฑฆาตก็ตาม แต่จะไม่มีการออกเสียง  แต่เมื่อไปถอดเป็นภาษาอังกฤษกลับมีการเติมให้ออกเสียงเต็มยศเลย    ก็เลยมีเรื่องราวไม่น้อยที่เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ เจ้าของชื่อหรือนามสกุลไม่รู้ว่าเป็นตนเองเมื่อได้ยินการเรียกขาน โดยเฉพาะเมื่อมี accent และ syllable stress อยู่ในเสียงที่เรียกขานนั้นๆ  คงไม่ต้องยกตัวอย่างนะครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 22 มิ.ย. 17, 19:35

คำว่า พุทธ  เราออกเสียงในลักษณะที่อักษร ธ เป็นตัวการันต์ คือไม่ออกเสียง  แต่ในภาษาอังกฤษเขียนว่า Buddha  คือมีการออกเสียงของตัว ธ หมายความว่าทั้งโลกเขาออกเสียงผิด หรือคนไทยเราออกเสียงผิด  หากจะถอดคำเป็นภาษาอังกฤษตามการออกเสียงของคนไทยตาม หลักที่กำหนด ก็จะต้องเขียนว่า Phut       ทั้งนี้ เราจะออกเสียงตัว ธ ก็ต่อเมื่อมีคำอื่นมาต่อท้าย และการเขียนเป็นภาษาอังกฤษก็ยังใช้ Buddha ไม่เขียนว่า Phutta

ผมรู้ว่ามีคำอธิบายในเรื่องเช่นนี้ แต่ผมเองไม่มีความรู้    ก็เป็นความสวยงามเรื่องหนึ่งในภาษาไทยของเรา   

ผมเชื่อว่าภาษาที่มีความสลับซับซ้อน (sophistication) เช่นของเรานั้น แสดงถึงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความแข็งแกร่งของระบบสังคมที่เป็นลักษณะเปิดและเสรี  จึงมีสิ่งที่แสดงถึง assimilation และ dissemination ปรากฎอยู่มากมาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 22 มิ.ย. 17, 19:44

ตัวสะกด ph  ปกติถ้าเป็นภาษาอังกฤษ จะออกเสียง ฟ  ไม่ใช่ พ   เช่นชื่อ Philip   ก็จะออกเสียงว่า ฟิลิป  ไม่ใช่ พิลิป   pharmacy ออกเสียงว่าฟาร์มาซี  ไม่ใช่ พามาซี   
คำว่า ภูเก็ต เมื่อสะกด Phuket  ฝรั่งที่ไม่รู้สำเนียงไทยจึงมักจะเรียกว่า ฟูเค็ท  หรือ ฟูเก้ท์ (ถ้าเป็นชาวฝรั่งเศส)

การถอดตัวสะกดในพระไตรปิฎก ผ่านการออกเสียงและตัวสะกดแบบฝรั่ง  เป็นการถอดตัวโรมัน ไม่ใช่อังกฤษ   B = พ
 P นั่นต่างต่างหากไปเท่ากับ ป
และ  k = ค    ค่ะ
แม่น้ำคงคา  ชาวอินเดียออกเสียงว่า กังก้า ค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 22 มิ.ย. 17, 20:57

ขอบพระคุณ อ.เทาชมพู ครับ

ท่านรอยอินได้ออกประกาศเมื่อ 11 มค. 2542 เรื่องหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง ว่า  อักษร ผ พ ภ ให้ใช้ ph เพราะว่าเป็นเสียงธนิต ต่างกับตัว p ซึ่งเป็นเสียงสิถิล    เขาว่ายังงั้นก็ว่าตามเขา ไม่รู้เรื่องหรอกครับ

วัดพระพุทธฉาย ที่เขียนว่า "Wat Praputtachai" อ่านจากสะกดภาษาอังกฤษจะออกเสียงใกล้กับภาษาไทยมากที่สุด แต่หากจะสะกดให้ถูกต้องตามหลักของท่านรอยอิน ก็จะต้องเขียนว่า Wat Phaphuthachai

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงนี้ยังดีกว่าของภาษาอื่น  ของจีนนั้นแทบจะอ่านออกเสียงไม่ได้เอาเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 22 มิ.ย. 17, 21:16

อีกตัวที่ท่านรอยอินกำหนดตามอักษรโรมันให้อ่านจนฝรั่งที่ไม่ได้เป็นพวกโรมันเข้ารกเข้าพงไปก็หลายคน คือกำหนด ท = th
ผลจึงออกมาว่า Thewet  ไม่ได้อ่านว่า เดอะ เว็ท  แต่อ่านว่า  เทเวศร์ ค่ะ

เสียง th ในภาษาอังกฤษ ไม่มีในภาษาไทย    ออกเสียงได้ 2 แบบ อย่างหนึ่งคล้ายๆ เสียง ด  เช่นในคำว่า the  though  than
อีกเสียงออกคล้ายๆเสียง ท   เรามาออกเสียงเป็น ต บ้าง  ท บ้าง  เช่น think   thin  thought
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 23 มิ.ย. 17, 08:12

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงนี้ยังดีกว่าของภาษาอื่น  ของจีนนั้นแทบจะอ่านออกเสียงไม่ได้เอาเลย

เรื่องนี้ต้องถึงคุณ Wu Zetian (หลายคนก็ยังออกเสียงชื่อนี้ไม่ถูก) ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 23 มิ.ย. 17, 09:37

หวู เสถียร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 23 มิ.ย. 17, 10:00

หากคุณนวรัตนและคุณตั้งศึกษาระบบพินอิน (拼音) สักประเดี๋ยว ก็น่าจะพออ่านได้ ยิงฟันยิ้ม

http://www.taiwanandi.com/chapter1-pinyin/
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 23 มิ.ย. 17, 19:17

ผมก็คงจะออกเสียงให้ใกล้เคียงกับเสียงของเจ้าของภาษาได้ยากอยู่ดี เพราะการออกเสียงของเขาในหลายๆคำจำต้องใช้การผสมผสานส่วนของอวัยวะตั้งแต่ริมฝีปากไปจนถึงลำคอ   

คำว่า pinyin นั้น หากผมจะอ่านออกเสียงจากการสะกดคำตามอักษร ผมก็คงจะออกเสียงว่า พินยิน  แล้วก็คงจะดัดเสียงให้เป็นจีนสักหน่อยว่า ปิงยิง  ต่างไปจากการอ่านว่า พินอิน ตามที่คุณเพ็ญชมพูได้กล่าวถึง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 23 มิ.ย. 17, 20:27

ผมมีความแปลกใจอยู่เรื่องหนึ่ง คือ สำเนียงเสียงของภาษาจีนที่ใช้กล่าวในเวทีระหว่างประเทศต่างๆนั้น ดูจะสอดคล้องกับการออกเสียงตามหลักพินอิน ซึ่งต่างไปจากสำเนียงเสียงที่คุ้นหูที่ประชาชนในปักกิ่งเขาใช้พูดคุยกัน 




บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 23 มิ.ย. 17, 20:47

ผมมีความรู้เกี่ยวกับภาษาจีนจุ๋มจิ๋มมากเลยครับ   หากได้มีความเห็นและกล่าวถึงอย่างไรใดๆที่ไม่ถูกต้องก็ต้องขออภัยครับ

ที่พอจะมีความรู้อยู่บ้างเล็กๆน้อยๆก็เป็นเรื่องของความเข้าใจในความยุ่งยากในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อแสดงผลของความตกลงกับจีนในเรื่องต่างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง