เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 11088 ภาษาไทยที่ถูกต้องเมื่อ พ.ศ.2485 กับที่เขียนกันอยู่ในปัจจุบัน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 18:53

มีอีก"เสถ" หนึ่ง คือ "เสถบุตร" ผู้เป็นต้นสกุลนี้คือ เสวกโท หลวงมหาสิทธิโวหาร (สอ เศรษฐบุตร) ด้วยผลจากประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการปรับปรุงตัวอักสรไทย เศรษฐบุตร ของท่านจึงต้องเปลี่ยนเป็น เสถบุตร และไม่ได้เปลี่ยนกลับเป็นสกุลเดิมอีกเลย

ผลงานของท่านยังคงมีค่าอยู่ในยุคนี้  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 19:25

ขออภัยครับ พิมพ์ตกตัว ย ไป เลยทำให้ "ยุธสงครามหมายถึงการจับอาวุธ... " กลายเป็น "ยุธสงครามหมา_ถึงการจับอาวุธ..."        
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 20:26

มีข้อสังเกตหนึ่งครับ
   
แต่ก่อนนั้นมีการใช้คำว่า เศรษฐการ/เสถการ  และ  เศรษฐกิจ/เสถกิจ   ในปัจจุบันนี้มีแต่การใช้คำว่าเศรษฐกิจ ส่วนคำว่าเศรษฐการหายไปเลย    เราเคยมีกระทรวงเศรษฐการ (Economic Affairs) แล้วก็พัฒนาเปลี่ยนไปเป็นกระทรวงพาณิชย์ (Commerce)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 มิ.ย. 17, 18:45

คุณ siamese ได้กรุณานำสำเนาภาพของประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรื่องเกี่ยวกับการเขียนภาษาไทยมาลงไว้ ทั้งที่ให้เปลี่ยนแปลงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2485 กับที่ให้ยกเลิกเมื่อ 2 พฤษจิกายน 2487   

ก็เลยย้อนกลับไปดูการเขียนภาษาไทยในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองว่าก่อนหน้านั้นเป็นเช่นใร และหลังจากการยกเลิกแล้วเป็นเช่นใด  บังเอิญผมมีหนังสือเก่าที่พอจะสอบทานได้บ้าง เป็นของทางราชการ(?)เล่มหนึ่ง พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2475 (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2) พิมพ์โดยเอกชนเล่มหนึ่งเมื่อ พ.ศ.2476 เพื่อแจกในงานศพ และอีกเล่มหนึ่งเป็นหนังสือแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเวนิสวาณิช พิมพ์ครั้งที่ 17 เมื่อ พ.ศ.2502

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 มิ.ย. 17, 19:11

โดยคร่าวๆแล้ว การเขียนคำต่างๆเมื่อก่อน 2485 นั้น เกือบจะไม่ต่างไปจากในปัจจุบันนี้เลย    ที่ไม่เหมือนกันก็มี อาทิ ชื่อของพืชที่มีชื่อขึ้นต้นว่า "กระ..." แต่ก่อนนั้นเขียนว่า "กะ..."    พืชพวก "ว่าน" แต่ก่อนนั้นเขียนว่า "หว้าน"   "บุตร" เขียนว่า "บุตร์"   "อัปยศ" เชียนว่า "อัประยศ"  เป็นต้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 มิ.ย. 17, 19:16

24 พรึสจิกายน 2485 ไบสำคัญการสมรส
ที่มา หนังสืองานศพ พลอากาศเอก หะริน หงสกุล


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 มิ.ย. 17, 19:12

ประสงค์จะให้เขียนภาษาได้ง่ายขึ้น  แต่เขียนแล้วดูจะอ่านออกเสียงได้ไม่เหมือนเดิม  เดือนพฤศจิกายนและเดือนพฤษภาคม ที่คนส่วนมากเคยออกเสียงว่า พึด .. ก็จะกลายเป็นออกเสียงว่า พรึ...    หรือว่าในปัจจุบันนี้เราส่วนมากออกเสียงผิดเพี้ยนไป (มีหรือไม่มีเสียงควบกล้ำของ ร ?)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 มิ.ย. 17, 19:37

ย้อนกลับไปที่หนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ พ.ศ.2475

หน้าแรกของหนังสือที่เราใช้หัวเรื่องกันว่า คำนำ บทนำ .... นั้น ในหนังสือเล่มนี้ใช้คำว่า "บานแพนก"  เมื่ออ่านไปก็พบคำที่เขียนต่างกันบ้าง แต่ที่แปลกใจก็คือ ชื่อของ "พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสวริยพิมาน" ซึ่งเขียนต่างไปจากปัจจุบัน "พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน"

พอจะทราบไหมครับว่า ด้วยเหตุใดจึงมีชื่อแตกต่างกัน หรือว่าเป็นพระที่นั่งคนละองค์กัน หรือว่าเป็นเพราะพัฒนการของภาษา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 18:32

ค่อยๆอ่านไปก็ได้พบการเขียนคำที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาอีก

เมื่อ 2475 เขียน "พระบรมวงษานุวงษ์"  ถึง 2485 ให้เขียน "พระบรมวงสานุวงส์"  ถีง 2487 ให้กลับไปใช้การเขียนแบบเดิม แต่ 2502 จนถึงปัจจุบันเขียน "พระบรมวงศานุวงศ์" ซึ่งได้เปลี่ยนมาแต่เมื่อใดก็มิทราบ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 19:11

คำว่า "เฉพาะ" เขียนเมื่อ 2485 ว่า "ฉเพาะ" ซึ่งก็น่าจะเขียนเช่นนี้มานานแล้ว กระทั่งในหนังสือแบบเรียนเรื่องเวนิสวาณิชเมื่อ 2502 ก็ยังเขียนเช่นนั้น  แต่ในในปัจจุบันนี้เขียนว่า "เฉพาะ" 

คำว่า "ทำนุ.."  แต่เดิมก็เขียนว่า "ทะนุ..."  (ปรากฎอยู่ในใบสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ 2466 เกี่ยวกับการจัดพิมพ์เรื่องเวนิสวาณิชขึ้นเป็นครั้งแรก)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 20:17

เมื่อได้อ่านหนังสือเก่าสองสามเล่มที่ได้กล่าวถึงนี้   อ่านไปอ่านมาก็ทำให้ได้รู้ว่าตัวเองมีความเขลาอยู่ไม่น้อยในเรื่องของภาษาไทย เพราะรู้แต่เพียงว่าเป็นพัฒนาการทางภาษา ไม่ได้เข้าถึงเรื่องของสารัตถะเลย     

เรียนมาในระบบวิธีการสอนภาษาไทยแบบเก่า  ฤๅเมื่อปี 2485 จะก้าวหน้าไปอิงกับระบบ phonetic methods (สอนกันในปัจจุบัน??)   
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 23:51

คำว่า วงศ์ สมัยก่อนนิยมเขียน วงษ์ เขียนตัวสะกดการันต์อย่างบาลีเขา วงส์ ถ้าเป็นสันสกฤตจะเป็น วงศ์

สรุปได้ความว่าเมื่อก่อนนิยมใช้ วงษ์ กันมาอย่างผิดๆ สมัยจอมพล ป ยกเลิก ศ, ษ จึงเขียน วงส์ ส่วนปัจจุบันแก้ไขให้ถูกต้องโดยยึดตามอย่างสันสกฤต เขียนเป็น วงศ์ ครับ

ค่อยๆอ่านไปก็ได้พบการเขียนคำที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาอีก

เมื่อ 2475 เขียน "พระบรมวงษานุวงษ์"  ถึง 2485 ให้เขียน "พระบรมวงสานุวงส์"  ถีง 2487 ให้กลับไปใช้การเขียนแบบเดิม แต่ 2502 จนถึงปัจจุบันเขียน "พระบรมวงศานุวงศ์" ซึ่งได้เปลี่ยนมาแต่เมื่อใดก็มิทราบ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 19 มิ.ย. 17, 08:05

คำว่า วงศ์ สมัยก่อนนิยมเขียน วงษ์

จริง ๆ แล้ว โบราณไม่นิยมใช้ไม้ทัณฑฆาตบนตัวการันต์ (อักษรที่ไม่ออกเสียง) เช่น พระสงฆ, พระยามนตรีสุริยวงษ, หลวงชาติสุรินทร, หลวงนิพัทธกุลพงษ, พระโทรเลขธุรานุรักษ ในตัวอย่างข้างล่าง

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 19 มิ.ย. 17, 09:40

เพิ่งมีพยานหลักฐานคำอธิบาย ยามเด็กเคยสงสัย ถามผู้ใหญ่ว่านามสกุลเราไม่ได้ออกเสียง นะ-วะ-รัต-ตะ-นะ หรือ ท่านยืนยันว่าไม่ใช่ อ่านว่า นะ-วะ-รัต

นี่จอมพล ป. ทำถูกหรือผิด ที่บังคับข้าราชการ หรือผู้ที่ต้องไปติดต่อขอเอกสารกับทางราชการ
ในกรณีย์เช่นนี้ให้ใส่การันต์หมด ทำให้ญาติส่วนใหญ่ต้องอนุโลมตาม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 20 มิ.ย. 17, 19:58

เรื่องการใช้ตัวการันต์นี้   ในหนังสือเมื่อ พ.ศ.2475 มีคำที่ใช้ตัวการันต์อยู่ไม่น้อย เท่าที่เปิดดูแบบเร็วๆก็พบคำ เช่น ปักษ์ วงษ์ บพิตร์ นิมิตร์ เพ็ชร์ จักร์ราศี ภูมิ์ เศวตรฉัตร์ จิตต์ อยู่เปนนิตย์ ศีร์ษะ  และคำอื่นนั้นเหมือนกับที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

ในหนังสือเมื่อ 2485 มีคำที่ไม่ใช้ตัวการันต์อยู่เพียงสองสามคำ  กิติมสักดิ  ภูมิสาตร สัมพันธ

ในหนังสือเรียนเมื่อ 2502 ไม่น่าจะมีคำที่สะกดต่างไปจากปัจจุบัน พบอยู่คำเดียว เที่ยงธรรม์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง