เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 18:53
|
|
มีอีก"เสถ" หนึ่ง คือ "เสถบุตร" ผู้เป็นต้นสกุลนี้คือ เสวกโท หลวงมหาสิทธิโวหาร (สอ เศรษฐบุตร) ด้วยผลจากประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการปรับปรุงตัวอักสรไทย เศรษฐบุตร ของท่านจึงต้องเปลี่ยนเป็น เสถบุตร และไม่ได้เปลี่ยนกลับเป็นสกุลเดิมอีกเลย ผลงานของท่านยังคงมีค่าอยู่ในยุคนี้ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 19:25
|
|
ขออภัยครับ พิมพ์ตกตัว ย ไป เลยทำให้ "ยุธสงครามหมายถึงการจับอาวุธ... " กลายเป็น "ยุธสงครามหมา_ถึงการจับอาวุธ..."
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 20:26
|
|
มีข้อสังเกตหนึ่งครับ แต่ก่อนนั้นมีการใช้คำว่า เศรษฐการ/เสถการ และ เศรษฐกิจ/เสถกิจ ในปัจจุบันนี้มีแต่การใช้คำว่าเศรษฐกิจ ส่วนคำว่าเศรษฐการหายไปเลย เราเคยมีกระทรวงเศรษฐการ (Economic Affairs) แล้วก็พัฒนาเปลี่ยนไปเป็นกระทรวงพาณิชย์ (Commerce)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 15 มิ.ย. 17, 18:45
|
|
คุณ siamese ได้กรุณานำสำเนาภาพของประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรื่องเกี่ยวกับการเขียนภาษาไทยมาลงไว้ ทั้งที่ให้เปลี่ยนแปลงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2485 กับที่ให้ยกเลิกเมื่อ 2 พฤษจิกายน 2487
ก็เลยย้อนกลับไปดูการเขียนภาษาไทยในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองว่าก่อนหน้านั้นเป็นเช่นใร และหลังจากการยกเลิกแล้วเป็นเช่นใด บังเอิญผมมีหนังสือเก่าที่พอจะสอบทานได้บ้าง เป็นของทางราชการ(?)เล่มหนึ่ง พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2475 (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2) พิมพ์โดยเอกชนเล่มหนึ่งเมื่อ พ.ศ.2476 เพื่อแจกในงานศพ และอีกเล่มหนึ่งเป็นหนังสือแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเวนิสวาณิช พิมพ์ครั้งที่ 17 เมื่อ พ.ศ.2502
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 15 มิ.ย. 17, 19:11
|
|
โดยคร่าวๆแล้ว การเขียนคำต่างๆเมื่อก่อน 2485 นั้น เกือบจะไม่ต่างไปจากในปัจจุบันนี้เลย ที่ไม่เหมือนกันก็มี อาทิ ชื่อของพืชที่มีชื่อขึ้นต้นว่า "กระ..." แต่ก่อนนั้นเขียนว่า "กะ..." พืชพวก "ว่าน" แต่ก่อนนั้นเขียนว่า "หว้าน" "บุตร" เขียนว่า "บุตร์" "อัปยศ" เชียนว่า "อัประยศ" เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 15 มิ.ย. 17, 19:16
|
|
24 พรึสจิกายน 2485 ไบสำคัญการสมรส ที่มา หนังสืองานศพ พลอากาศเอก หะริน หงสกุล
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 16 มิ.ย. 17, 19:12
|
|
ประสงค์จะให้เขียนภาษาได้ง่ายขึ้น แต่เขียนแล้วดูจะอ่านออกเสียงได้ไม่เหมือนเดิม เดือนพฤศจิกายนและเดือนพฤษภาคม ที่คนส่วนมากเคยออกเสียงว่า พึด .. ก็จะกลายเป็นออกเสียงว่า พรึ... หรือว่าในปัจจุบันนี้เราส่วนมากออกเสียงผิดเพี้ยนไป (มีหรือไม่มีเสียงควบกล้ำของ ร ?)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 16 มิ.ย. 17, 19:37
|
|
ย้อนกลับไปที่หนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ พ.ศ.2475
หน้าแรกของหนังสือที่เราใช้หัวเรื่องกันว่า คำนำ บทนำ .... นั้น ในหนังสือเล่มนี้ใช้คำว่า "บานแพนก" เมื่ออ่านไปก็พบคำที่เขียนต่างกันบ้าง แต่ที่แปลกใจก็คือ ชื่อของ "พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสวริยพิมาน" ซึ่งเขียนต่างไปจากปัจจุบัน "พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน"
พอจะทราบไหมครับว่า ด้วยเหตุใดจึงมีชื่อแตกต่างกัน หรือว่าเป็นพระที่นั่งคนละองค์กัน หรือว่าเป็นเพราะพัฒนการของภาษา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 18:32
|
|
ค่อยๆอ่านไปก็ได้พบการเขียนคำที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาอีก
เมื่อ 2475 เขียน "พระบรมวงษานุวงษ์" ถึง 2485 ให้เขียน "พระบรมวงสานุวงส์" ถีง 2487 ให้กลับไปใช้การเขียนแบบเดิม แต่ 2502 จนถึงปัจจุบันเขียน "พระบรมวงศานุวงศ์" ซึ่งได้เปลี่ยนมาแต่เมื่อใดก็มิทราบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 19:11
|
|
คำว่า "เฉพาะ" เขียนเมื่อ 2485 ว่า "ฉเพาะ" ซึ่งก็น่าจะเขียนเช่นนี้มานานแล้ว กระทั่งในหนังสือแบบเรียนเรื่องเวนิสวาณิชเมื่อ 2502 ก็ยังเขียนเช่นนั้น แต่ในในปัจจุบันนี้เขียนว่า "เฉพาะ"
คำว่า "ทำนุ.." แต่เดิมก็เขียนว่า "ทะนุ..." (ปรากฎอยู่ในใบสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ 2466 เกี่ยวกับการจัดพิมพ์เรื่องเวนิสวาณิชขึ้นเป็นครั้งแรก)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 20:17
|
|
เมื่อได้อ่านหนังสือเก่าสองสามเล่มที่ได้กล่าวถึงนี้ อ่านไปอ่านมาก็ทำให้ได้รู้ว่าตัวเองมีความเขลาอยู่ไม่น้อยในเรื่องของภาษาไทย เพราะรู้แต่เพียงว่าเป็นพัฒนาการทางภาษา ไม่ได้เข้าถึงเรื่องของสารัตถะเลย
เรียนมาในระบบวิธีการสอนภาษาไทยแบบเก่า ฤๅเมื่อปี 2485 จะก้าวหน้าไปอิงกับระบบ phonetic methods (สอนกันในปัจจุบัน??)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 23:51
|
|
คำว่า วงศ์ สมัยก่อนนิยมเขียน วงษ์ เขียนตัวสะกดการันต์อย่างบาลีเขา วงส์ ถ้าเป็นสันสกฤตจะเป็น วงศ์ สรุปได้ความว่าเมื่อก่อนนิยมใช้ วงษ์ กันมาอย่างผิดๆ สมัยจอมพล ป ยกเลิก ศ, ษ จึงเขียน วงส์ ส่วนปัจจุบันแก้ไขให้ถูกต้องโดยยึดตามอย่างสันสกฤต เขียนเป็น วงศ์ ครับ ค่อยๆอ่านไปก็ได้พบการเขียนคำที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาอีก
เมื่อ 2475 เขียน "พระบรมวงษานุวงษ์" ถึง 2485 ให้เขียน "พระบรมวงสานุวงส์" ถีง 2487 ให้กลับไปใช้การเขียนแบบเดิม แต่ 2502 จนถึงปัจจุบันเขียน "พระบรมวงศานุวงศ์" ซึ่งได้เปลี่ยนมาแต่เมื่อใดก็มิทราบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 19 มิ.ย. 17, 08:05
|
|
คำว่า วงศ์ สมัยก่อนนิยมเขียน วงษ์ จริง ๆ แล้ว โบราณไม่นิยมใช้ไม้ทัณฑฆาตบนตัวการันต์ (อักษรที่ไม่ออกเสียง) เช่น พระสงฆ, พระยามนตรีสุริยวงษ, หลวงชาติสุรินทร, หลวงนิพัทธกุลพงษ, พระโทรเลขธุรานุรักษ ในตัวอย่างข้างล่าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 19 มิ.ย. 17, 09:40
|
|
เพิ่งมีพยานหลักฐานคำอธิบาย ยามเด็กเคยสงสัย ถามผู้ใหญ่ว่านามสกุลเราไม่ได้ออกเสียง นะ-วะ-รัต-ตะ-นะ หรือ ท่านยืนยันว่าไม่ใช่ อ่านว่า นะ-วะ-รัต
นี่จอมพล ป. ทำถูกหรือผิด ที่บังคับข้าราชการ หรือผู้ที่ต้องไปติดต่อขอเอกสารกับทางราชการ ในกรณีย์เช่นนี้ให้ใส่การันต์หมด ทำให้ญาติส่วนใหญ่ต้องอนุโลมตาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 20 มิ.ย. 17, 19:58
|
|
เรื่องการใช้ตัวการันต์นี้ ในหนังสือเมื่อ พ.ศ.2475 มีคำที่ใช้ตัวการันต์อยู่ไม่น้อย เท่าที่เปิดดูแบบเร็วๆก็พบคำ เช่น ปักษ์ วงษ์ บพิตร์ นิมิตร์ เพ็ชร์ จักร์ราศี ภูมิ์ เศวตรฉัตร์ จิตต์ อยู่เปนนิตย์ ศีร์ษะ และคำอื่นนั้นเหมือนกับที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ในหนังสือเมื่อ 2485 มีคำที่ไม่ใช้ตัวการันต์อยู่เพียงสองสามคำ กิติมสักดิ ภูมิสาตร สัมพันธ
ในหนังสือเรียนเมื่อ 2502 ไม่น่าจะมีคำที่สะกดต่างไปจากปัจจุบัน พบอยู่คำเดียว เที่ยงธรรม์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|