เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 11094 ภาษาไทยที่ถูกต้องเมื่อ พ.ศ.2485 กับที่เขียนกันอยู่ในปัจจุบัน
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 26 มิ.ย. 17, 00:26

พินอินเป็นระบบการเขียนแทนเสียง "ภาษาจีนกลาง" ด้วย "อักษรโรมัน" ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตัวอักษรใดแทนเสียงใด ก็ใช้เขียนเพื่อสื่อสารกันได้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดครับ จะเป็นคนจีนในปักกิ่งหรือที่ใดถ้าพูดจีนกลางเหมือนกัน ก็ถอดเสียงเขียนเป็นพินอินได้เหมือนกันครับ ส่วนสำเนียงจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นนั้นเป็นเรื่องแน่นอนครับ แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ห่างไกลกันจนฟังไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าเขาพูดด้วยภาษาจีนท้องถิ่นอื่นๆ ไม่ใช่จีนกลาง อย่างนั้นก็มีแนวโน้มว่าอาจจะสื่อสารกันไม่เข้าใจ และเมื่อไม่ใช่จีนกลาง พินอินซึ่งออกแบบไว้สำหรับจีนกลางก็ไม่มีประโยชน์ แต่จีนท้องถิ่นอื่นๆหลายถิ่นเขาก็มีระบบการถอดเสียงด้วยอักษรโรมันของเขาเหมือนกันครับ ก็จะเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นแตกต่างกันไปครับ

ระบบการใช้อักษรโรมันเขียนแทนเสียงแบบนี้ ตรงไปตรงมาและเรียนรู้ได้ง่ายกว่าภาษาอังกฤษมาก ยกตัวอย่างเช่น
p ตรงกับ พ ของไทย
b คือ ป หรือจะเป็น บ ก็ไม่ถึงกับผิดกติกา เพราะเขาไม่มีเสียง บ เราพูด บ ไป เขาก็ได้ยินเป็น ป ไม่แตกต่างกัน (อย่างที่คนไทยได้ยิน sh เป็น ช หรือ th เป็น ท หรือ ต ครับ)
n คือ น
บางเสียงไม่มีในภาษาไทย อย่าง sh, zh, ch, z ฯลฯ ถ้าเราออกเสียงเพี้ยนไปบ้าง ก็ไม่ถึงกับทำให้เขาไม่เข้าใจ อย่าง pinyin ถ้าเราอ่านว่าพินอินหรือพินยินก็ไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้าออกเสียง p เป็น ป อันนี้ต้องมีปัญหาแน่ๆ บางคนอาจจะเดาออกว่าต้องการสื่อว่าอะไร แต่เชื่อว่าไม่ทุกคนนะครับ

ที่ว่าง่ายกว่าอังกฤษเพราะเป็นระบบชัดเจน ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่คนไทยคุ้นเคยซึ่งหาหลักเกณฑ์อะไรแน่นอนไม่ได้ ยกตัวอย่าง to กับ so
หรือลอง to, ton, tomb, tone หรือ so, son, some, chromosome บางคนถึงกับบอกว่าภาษาอังกฤษต้องจำเป็นคำๆไป ใช้เกณฑ์อะไรไปจับไม่ได้ เวลาสอนเลยต้องสอนให้ท่องจำเป็นคำๆ แถมพาลมาสอนภาษาไทยด้วยระบบนี้ไปด้วยจนเด็กไทยสะกดคำไม่เป็นกันค่อนประเทศอย่างทุกวันนี้ครับ

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 27 มิ.ย. 17, 19:17

......แถมพาลมาสอนภาษาไทยด้วยระบบนี้ไปด้วยจนเด็กไทยสะกดคำไม่เป็นกันค่อนประเทศอย่างทุกวันนี้ครับ

ถูกต้องครับ ตั้งใจจะบ่นเช่นนี้มาในหลายกระทู้(อื่น)แล้ว   และก็อยากจะบ่นต่อไปในเรื่องของระดับ Post Grad อีกด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 27 มิ.ย. 17, 19:28

คุณตั้งกับคุณม้า อ่านกระทู้นี้ดูก่อนนะคะ

https://pantip.com/topic/36474061
ทำไมคำภาษาไทยที่เขียนยากๆหลายคำ ไม่มีการปรับรูปแบบให้เขียนง่ายขึ้น ทำไมลูกๆเราต้องเรียนคำยากๆ มีประโยชน์อะไรครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 27 มิ.ย. 17, 20:50

ด้วยข้อจำกัดในความรู้ทางภาษาศาสตร์ของผม ผมเข้าใจเอาเองว่า การสะกดคำต่างๆในภาษาเขียนนั้นเป็นการแปรรูปของการสื่อสารของมนุษย์จากเสียงที่พูดเปล่งออกมาไปอยู่ในรูปแบบของการเขียน ซึ่งกระทำอย่างมีระบบและมีระเบียบกฎเกณฑ์    เมื่อสังคมมีความสัมพันธ์และมีการสื่อสารกันมากขึ้น คำศัพท์ คำพูด คำเขียนก็ใช้ปะปนกัน ยืมกันไปยืมกันมา นานเข้าก็มีการสำรวจตรวจสอบแล้วก็จัดทำมาตรฐาน มีการอ้างอิงที่มาที่ไป ความหมาย การสะกดคำ ...ฯลฯ   ทุกภาษาในโลกนี้ก็คงเป็นไปในลักษณะเช่นนี้

เหมือนจะทำให้เกิดมี 4 หลักการ คือ สะกดคำใดๆตามเสียงเราพูดที่เปล่งออกมา  สะกดและออกเสียงคำใดๆตามที่ได้รับเอามา  สะกดคำใดๆแบบเขาแต่ออกเสียงแบบเรา  และเอาคำใดๆของภาษาหนึ่งมาบัญญัติเป็นศัพท์ด้วยอีกภาษาหนึ่งแต่ใช้คำอื่นแทนคำนั้นๆ      
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 28 มิ.ย. 17, 13:44

คุณตั้งกับคุณม้า อ่านกระทู้นี้ดูก่อนนะคะ

https://pantip.com/topic/36474061
ทำไมคำภาษาไทยที่เขียนยากๆหลายคำ ไม่มีการปรับรูปแบบให้เขียนง่ายขึ้น ทำไมลูกๆเราต้องเรียนคำยากๆ มีประโยชน์อะไรครับ


ยังอ่านไม่จบครับอาจารย์ ยาวมาก แต่ดูเหมือนว่าคุณ​จขกท.จะแพ้คะแนนอย่างเป็นเอกฉันท์เลยนะครับ ซึ่งก็น่าเห็นใจอยู่เหมือนกัน

คคห. ในกระทู้นั้นก็น่าสนใจเช่นเดียวกัน ตัดที่แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างเดียวโดยไม่อภิปรายหลักการ ตัดที่คุยผิดประเด็น ไปคุยเรื่องไวยากรณ์เรื่องราชาศัพท์แทนเรื่องระบบการเขียน ดูเหมือนจะเหลือ คคห. ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ จขกท. ตั้งประเด็นขึ้นมาไม่มากนะครับ

จะว่าไประบบการเขียนของภาษาไทยก็มีความแปลกอยู่มาก มีตัวอักษรที่ออกเสียงซ้ำอยู่มากมาย จนเป็นที่มาของการปรับปรุงตัวอักสรไทยในยุควัธนธัม

โดยส่วนตัวผม ไม่คัดค้านการเปลี่ยนแปลงนะครับ หากปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแล้วมีประโยชน์จริง คุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องเสียไป เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาทำกันครับ (แต่ดูจาก คคห. ในกระทู้ที่อาจารย์ยกมาเห็นท่าว่าจะไม่รอด ใครกล้าเสนอคงได้จมดินเป็นแน่)

ผมขอยกกระทู้เก่าเกี่ยวกับอักษรไทยที่ผมเคยเสนอในเรือนไทยมาฝากไว้ก่อน จะกลับมาอภิปรายต่อเมื่อมีเวลานะครับ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2868.0
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 28 มิ.ย. 17, 21:30

โดยส่วนตัวผม ไม่คัดค้านการเปลี่ยนแปลงนะครับ หากปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแล้วมีประโยชน์จริง คุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องเสียไป เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาทำกันครับ

มี คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ๑๗๖ คำที่อาจต้องแก้ไขใหม่ ที่อาจารย์กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาภาษาไทย เสนอ มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

คำเหล่านี้ต้องถือว่าเป็นคำไทยที่รับมาจากภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับที่คำไทยหลาย ๆ คำที่รับมาจากภาษาเขมร บาลีสันสกฤต

จุดประสงค์ของการปรับปรุงวิธีเขียนคำเหล่านี้ คงไม่ใช่เพื่อให้เขียนให้ออกเสียงตามวิธีออกเสียงของเจ้าของภาษา หากเพื่อให้ออกเสียงได้ถูกต้องตามวิธีทีคนไทยรับเอาคำเหล่านั้นมาแล้วออกเสียงแบบไทย ๆ

หากเปลี่ยนแปลงได้น่าจะมีประโยชน์มากทีเดียว ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 28 มิ.ย. 17, 21:50

หากยังคงเขียนคำทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบันของท่านรอยอิน  คนไทยในอนาคตอาจจะอ่าน "บ้านทรายทองยุคอวกาศ" ทำนองนี้


บ้านทรายทองยุคอวกาศ

บทสนทนาแสนหวานระหว่างคุณชายกลางกับพจมาน  ด้วยการอ่านให้ตรงกับคำที่เขียนแบบเดิม

" พจมานจ๋า  วันอาทิตย์นี้  เราจะไป ไน-คลับ หรือไปฟัง คอน-เสิด กันดี"

" น่าเสียดายค่ะคุณชายขา   ได้ข่าวว่า ดี-เปรด-ชัน จะเข้า   อยากไป ปิก-นิก ยังอดเลย"

" งั้นก็เล่น แบด-มิน-ตัน หน้าบ้านทรายทองละกันนะจ๊ะ"

" ไม่ไหวค่ะ  แดดร้อน พจกลัวรังสี อัน-ตรา-ไว-โอ-เลด  พื้น แกร-นิด ก็ลื่นจะตาย   พจไม่อยากหกล้มหัวเข่าแตกอีก  แปะ ปลาด-สะ-เตอ จนหมดกล่องแล้ว"

"โธ่เอ๋ย!ทูนหัว   เจ็บแค่ไปทำแผลที่ คลิ-นิก   เธอพูดราวกับต้องให้ ออก-ซิ-เยน  เอก-ซะ-เร แล้วกระดูกก็ไม่แตก ผ้า-กอด ก็ไม่ต้องใช้  กิน แอด-ไพ-ริน สองเม็ดก็หายปวด"

" เอางี้มั้ยคะ  คุณชายกลางไปหา คอด เล่น บาด-เกด-บอน คนเดียวก่อน  หรือจะไปตี กอบ ก็ตามใจเถอะค่ะ "

" น้อยใจแล้วนะ   ทำไงจะให้เธอ โค-ออ-ดิ-เนด กะฉันมากกว่านี้ล่ะจ๊ะ   พจมาน"

" แหม  คุณชายขา  ก็แค่ให้ของเล็กๆอย่างแหวนเพชรสัก กะ-รัด สอง กะ-รัด   พจไม่เอาของใหญ่ๆอย่าง แฟลด หรอกค่ะ  นะคะ นะคะ"

แหะ แหะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 29 มิ.ย. 17, 07:49

เจตนารมณ์ของอาจารย์กาญจนาที่จะให้คำทับศัพท์โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเขียนตามเสียงซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ออก ได้ถ่ายทอดลงพจนานุกรมคำใหม่  เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถานเรียบร้อยแล้ว เชิญทัศนาโดยพลัน
 
http://www.ba.cmu.ac.th/wp-content/uploads/pdf/_grad/2/15.pdf


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 29 มิ.ย. 17, 19:39

ลองเปิดพจนานุกรมคำใหม่เล่ม ๑  อ่านดูแล้วก็ชวนให้ผู้น้อยนึกถึงหลายเรื่อง

แรกสุดก็คือ นึกถึงว่าเล่มนี้ เป็นพจนานุกรม (Dictionary ?) เป็นปทานุกรม (Word Book ?) เป็น Lexicon ? เป็น สารานุกรม (Encyclopedia ?)
     ในความรู้สึกของ พจนานุกรม ว่า เป็นคำที่ยอมรับว่าใช้ได้ในภาษาไทยที่เป็น proper Thai language คือ เขียนให้ถูกต้องแบบนั้น มีความหมายเช่นนั้น และสามารถใช้ได้ในกาลโอกาสต่างๆ
     ในความรู้สึกของ ปทานุกรม ว่า เป็นคำที่ยอมรับและมีการใช้กันอย่างเป็นปกติในการสื่อสารในหมู่คนของสังคมหนึ่ง มีการเขียนแบบนั้น ใช้แบบนั้น ในความหมายเช่นนั้น
     ในความรู้สึกของ Lexicon ว่า เป็นคำศัพท์เฉพาะถิ่นที่ใช้กันอย่างเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ทั้งการพูด การเขียน และในความหมายที่เข้าใจตรงกัน
     ในความรู้สึกของ สารานุกรม ว่า คำนั้นๆมีความหมายเช่นใด ใช้กันในเรื่องอะไร และมีที่มาที่ไปเป็นเช่นใด

ผมคงจะคิดแหกคอกเกินเลยออกไปในลักษณะของผู้ด้อยความรู้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 30 มิ.ย. 17, 11:21

(ต่อ)

พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม ๒

http://www.ba.cmu.ac.th/wp-content/uploads/pdf/_grad/2/16.pdf

พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม ๓

http://www.ba.cmu.ac.th/wp-content/uploads/pdf/_grad/2/17.pdf


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 30 มิ.ย. 17, 14:07

ผมลองไล่เรียงประเด็นในภาษาไทยที่คิดว่าควรพิจารณาได้หลายข้อดังนี้ครับ   

1. การปรับปรุงระบบการเขียนไทยเพื่อให้อ่านเขียนง่ายขึ้นควรทำหรือไม่ ถ้าทำจะทำในระดับเดียวกับยุค 2485 คือยกเลิกตัวอักษรเสียงซ้ำ (แต่สมัย 2485 ทำแบบหัวมังกุท้ายมังกร ทิ้ง ภ ธ เอาไว้ทำอะไรไม่ทราบ) หรือควรรื้อใหญ่ ยกเลิกระบบอักษรสามหมู่และปรับระบบวรรณยุกต์ให้รูปตรงกับเสียงไปด้วยกันเลย

2. การเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ซึ่งในยุคโลกาภิวัตน์เราสื่อสารกันข้ามวัฒนธรรมเป็นเรื่องปกติ หลายๆคนพูดไทยคำอังกฤษคำในชีวิตประจำวัน บางคำในพจนานุกรมคำใหม่ผมว่าใช้กันในวงแคบมาก จนน่าสงสัยว่าถ้าใช้เกณฑ์ว่ามีคนพูดแล้วต้องใส่ในพจนานุกรม ต่อไปอาจจะต้องขนพจนานุกรมอังกฤษลงมาใส่ค่อนเล่มเป็นแน่ และวิธีการเขียนแบบไม่ใส่วรรณยุกต์ที่ราชบัณฑิตท่านกำหนดอยู่ในปัจจุบันนี้เหมาะสมหรือไม่ หรือควรเป็นอย่างไร

3. การเขียนภาษาไทยด้วยอักษรโรมัน ระบบที่ราชบัณฑิตกำหนดขึ้นใช้งานได้ดีหรือไม่ การที่หลายตัวไม่สอดคล้องกับภาษาอังกฤษเป็นปัญหาหรือไม่ ข้อบกพร่องอื่นๆมีหรือไม่ ควรปรับปรุงในจุดใดบ้าง
 
4. ภาษาไทยในคอมพิวเตอร์ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนไม่ค่อยจะหยิบยกขึ้นมาพูดนัก แต่ผมเห็นว่ามีปัญหาทั้งระบบการพิมพ์และการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะเรื่องของสระ โดยเฉพาะสระที่วางไว้หน้าอักษรนำ (เอ แอ ไอ ใอ) และสระที่มีรูปซับซ้อน (อือ เอะ แอะ เอียะ เอีย เอือะ เอือ  อัวะ อัว โอะ เอาะ เอาะ เออ เอา) ซึ่งเรายึดแนวทางของเครื่องพิมพ์ดีดมาใช้กับคอมพิวเตอร์ สร้างปัญหาให้ระบบกับจัดเก็บข้อมูล การเรียงลำดับ และการสืบค้นมาถึงปัจจุบัน เช่นคำว่า เขา แทนที่จะเก็บว่า ข, เ-า กลับเก็บเป็น เ, ข, า อย่างเดียวกับที่พิมพ์เข้าไป ซึ่งน่าสังเกตว่าตรงกับระบบที่ให้เด็กเล็กท่องการสะกดภาษาไทยที่เป็นข่าว การเก็บข้อมูลแบบนี้ทำให้ลำดับการเก็บไม่สอดคล้องกับการจัดเรีอง เพราะถ้าไม่มีระบบเข้ามาจัดการเป็นพิเศษ เขา จะต้องถูกเรียงลำดับอยู่หลัง ขา นอกจากนี้เวลาสืบค้นข้อมูล จะหา เข แต่เจอ เขา มาด้วยตลอด ทั้งๆที่เป็นสระคนละตัวกันเลย

แต่ละประเด็นที่ยกมานี้แต่ละข้อมีความเกี่ยวพันกันไม่มากก็น้อย ควรได้รับการพิจารณาโดยองค์รวมครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 30 มิ.ย. 17, 18:47

ที่คุณ CrazyHOrse ไล่เรียงมานั้นเป็นเรื่องที่สมควรจะต้องมีการ take note ครับ  โดยเฉพาะในข้อ 4     

ผมเดาะใช้ภาษาฝรั่งตามที่คำนี้นิยมใช้กันในที่ประชุมนานาชาติ และกำลังเริ่มเป็นที่นิยมใช้กันในประเทศของเรา ซึ่งคงจะเป็นผลพลอยมาจากการที่เศรษฐกิจและสังคมของเรามีความเป็นนานาชาติมากขึ้น   โดยพื้นๆแล้ว คำนี้มีความหมายทั้งในเชิงของเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นและเรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นแล้ว มีความหมายที่ดิ้นได้มากพอสมควร ครอบตั้งแต่ ได้ยิน รับทราบ ไปจนถึงการ(ควรจะ)ได้ถูกลงบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 30 มิ.ย. 17, 19:35

ข้อ 4 นั้น ทำให้นึกถึงพจนานุกรมภาษาจีน ซึ่งจะต้องรู้ว่าอักษรตัวนั้นๆเกิดขึ้นจากการขีดเขียนขึ้นมาด้วยกี่เส้นปากกาเสียก่อน จึงจะสามารถเปิดพบอักษรตัวนั้นๆได้   

ก็ในทำนองว่า เมื่อการออกเสียงคำภาษาต่างประเทศที่เข้ามาผสมอยู่ในภาษาไทยนั้นแตกต่างกัน เช่น แกส กับ กาซ   อัลตร้า กับ อุลตร้า   วิตามิน กับ ไวตามิน  ...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 01 ก.ค. 17, 10:59

ผมลองไล่เรียงประเด็นในภาษาไทยที่คิดว่าควรพิจารณาได้หลายข้อดังนี้ครับ ......

๕. มีหลายคำในภาษาไทยที่เขียนไม่ตรงกับการออกเสียง หรือออกเสียงไม่ตรงกับคำเขียน (การออกเสียงนี้หมายเฉพาะสำเนียงกรุงเทพเช่นเดียวกับคำอื่น ๆ ในพจนานุกรมคำใหม่ของราชบัณฑิตสถาน) ๓ กรณีคือ

     ๕.๑  คำเสียงสั้นที่ไม่กำกับด้วยไม้ไต่คู้ เช่น เพชร, เพชฌฆาต, เบญจ-,  เวจ,  อเนจอนาถ

     ๕.๒  คำที่ใช้สระเสียงสั้นแต่ออกเสียงยาว

มีตัวอย่างอีกหลายคำ

คำว่า                             ออกเสียงว่า

น้ำ                                น้าม
ไม้                                ม้าย
ไหว้                              ว่าย
ได้                                ด้าย
ใต้                                ต้าย
เก้า                               ก้าว
เช้า                               ช้าว
เปล่า                             ปล่าว

     ๕.๓ คำที่ใช้สระเสียงยาวแต่ออกเสียงสั้น นึกออกอยู่คำหนึ่งคือ ว่าว ออกเสียงว่า เว่า

ควรปรับปรุงให้เขียนตรงกับการออกเสียง (สำเนียงกรุงเทพ) หรือไม่  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 01 ก.ค. 17, 14:05

ครับคุณเพ็ญชมพู ยังมีแถมเรื่องคำที่มีพยางค์หน้าเป็นสระเสียงสั้นออกเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสามัญ ไม่มีทางเขียนให้ตรงเสียงได้ด้วยระบบการเขียนแบบปัจจุบัน เช่นทะเบียน, ระเบียง, ขนม ฯลฯ คำพวกนี้เดิมอาจจะออกเสียงตรงรูปหรืออย่างไรไม่ทราบ แต่ปัจจุบันผมว่าน้อยคนที่ออกเสียงเป็น ทะ-เบียน, ระ-เบียง, ขะ-หนม พยางค์แรกกลายเป็นเสียงสามัญไปหมดแล้ว

ผมคุ้นๆว่าหลายปีก่อนเคยอ่านพบว่ามีอาจารย์บางท่านจัดกลุ่มเสียงแบบนี้ออกไปต่างหาก แต่หาไม่เจอเสียแล้ว หากมีอยู่จริงก็คงไม่ใช่แนวคิดกระแสหลักนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง