naitang
|
วันหนึ่ง ไปเดินตลาดสดตอนเช้าของชุมขนตามปกติ ก็ได้พบหนังสือเก่าที่ชำรุดเพียงเล็กน้อย แต่โดยรวมยังอยู่ในสภาพค่อนข้างดี ด้วยที่ตนเองชอบสะสมอยู่บ้างก็เลยซื้อมา
หน้าปกเขียนว่า "ปาถกถาทางวิทยุ ของ ข้าราชการกะซวงการต่างประเทส ชุดที่ 1 พิมพ์ไช้ไนราชการกะซวงการต่างประเทส 2485"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 12 มิ.ย. 17, 19:24
|
|
ปกหลังเขียนว่า
"พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันท พระนคร นายสนั่น บุนยสิริพันธุ์ ผู้พิมพ์ ผู้โคสนา 17/11/2485"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 12 มิ.ย. 17, 20:04
|
|
ได้อ่านเพียงปกหน้าและปกหลังเท่านั้นก็ได้เกิดความน่าสนใจเป็นอย่างมากแล้ว โดยเฉพาะในเรื่องของการสะกดคำที่ปรากฎอยู่ ซึ่งได้แก่คำว่า ปาถกถา กะซวง ประเทส ไช้ ไน พระจันท และ โคสนา
คำเหล่านี้มีการสะกดคำต่างออกไปในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งก็พอจะเข้าใจได้ แต่ที่นึกไม่ออกเลยก็คือในเรื่องของการใช้ไม้ม้วนกับการใช้ไม้มลาย เพราะว่าอีกสัก 10+ปี ต่อมา ก็เปลี่ยนไปถึงระดับที่ต้องท่องบทอาขยานเรื่องของการใช้ไม้ม้วน "ผู้ใหญ่ หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ ใช้คล้องคอ ...."
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 12 มิ.ย. 17, 20:10
|
|
ยุค "วัธนธัม" แม่นแล้วค่ะ เรื่องไม้ม้วนกับไม้มลาย เดิมออกเสียงกันคนละอย่าง จึงสะกดคนละแบบ ยังทิ้งร่องรอยไว้ในภาษาถิ่นทางเหนือ แต่พอภาคกลางรับเข้ามา ออกเสียงเป็นเสียงเดียวกัน ก็เลยต้องมาท่องกันว่าคำไหนสะกดด้วยไม้ม้วน ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 12 มิ.ย. 17, 20:21
|
|
เมื่อพลิกเข้าไปอ่านเนื้อเรื่อง ก็ยิ่งได้พบกับการสะกดคำที่น่าสนใจอีกมากมาย เลยคิดว่าน่าหยิบยกเอาเรื่องนี้มาเป็นกระทู้เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์และได้รับความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยเพิ่มพูนขึ้นสำหรับทุกๆคน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 13 มิ.ย. 17, 18:56
|
|
ยุค "วัธนธัม" แม่นแล้วค่ะ เรื่องไม้ม้วนกับไม้มลาย เดิมออกเสียงกันคนละอย่าง จึงสะกดคนละแบบ ยังทิ้งร่องรอยไว้ในภาษาถิ่นทางเหนือ แต่พอภาคกลางรับเข้ามา ออกเสียงเป็นเสียงเดียวกัน ก็เลยต้องมาท่องกันว่าคำไหนสะกดด้วยไม้ม้วน ค่ะ
ขอความกรุณา อ.เทาชมพู ช่วยอธิบายขยายความเรื่องของการออกเสียงที่ต่างกัน และร่องรอยที่ยังอยู่ในภาษาถิ่นทางเหนือด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 13 มิ.ย. 17, 19:20
|
|
ในระหว่างที่รอการอธิบายขยายความ ก็จะขอนำคำอื่นที่สสะกดไม่เหมือนกันมาเพิ่มเติม
ในหน้า สารบาน เรื่องที่ 7 การประกาสสงคราม เรื่องที่ 8 การแลกเปลี่ยนคนพายหลังประกาสสงคราม และเรื่องที่ 9 เสถสงคราม
โดยรวมก็มีคำว่า สารบาน ประกาส พายหลัง และ เสถ
สำหรับคำว่า เสถ นี้ ลองเดากันนะครับว่าคำนี้มีความหมายว่าอย่างไร ในปัจจุบันนี้เขียนอย่างไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 13 มิ.ย. 17, 19:38
|
|
คุณตั้งเข้าไปอ่านตามลิ้งค์นี้นะคะ ทำไมสระไอถึงต้องมีทั้ง ไม้ม้วน (ใ) และ ไม้มลาย (ไ) - ภาษาลาวมีคำตอบ! https://pantip.com/topic/30913141
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 13 มิ.ย. 17, 20:58
|
|
ขอบพระคุณครับ เพิ่งรู้เหตุผลนี่เอง
ผมเคยได้ยินการพูดสำเนียงนี้เมื่อแรกเข้าทำงานไปอยู่แถว บ.หาดเสี้ยว (อ.ศรีสัชนาลัย) เมื่อช่วงปลายปี 2512 แล้วก็ใช้เรียกกันในระหว่างคนทำงานด้วยกันว่าพวก ไปกะเร้อ มากะเร้อ ไปหาผู้เย้อ ในสมัยนั้น ผ้าสิ้นตีนจกที่สวยงามของหาดเสี้ยวนี้ก็เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายพอสมควรแล้ว หลังจากนั้นก็ได้ยินภาษานี้อีกหลายพื้นที่ในภาคอิสาน(ด้านมุมทางตะวันออกเฉียงเหนือ) ในภาคเหนือ และภาคกลางแต่ไม่ต่ำไปกว่าเพชรบุรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 07:33
|
|
ประกาศราชกิจจานุเบกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงการเขียนอักษรไทยให้มีความง่าย เพื่อที่ต้องการจะเผยแพร่อักษรไทยสู่เยาวชน ในปี 2485 ที่มา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/A/035/1137.PDF
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 07:35
|
|
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
unicorn9u
มัจฉานุ
 
ตอบ: 65
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 09:32
|
|
ในระหว่างที่รอการอธิบายขยายความ ก็จะขอนำคำอื่นที่สสะกดไม่เหมือนกันมาเพิ่มเติม
ในหน้า สารบาน เรื่องที่ 7 การประกาสสงคราม เรื่องที่ 8 การแลกเปลี่ยนคนพายหลังประกาสสงคราม และเรื่องที่ 9 เสถสงคราม
โดยรวมก็มีคำว่า สารบาน ประกาส พายหลัง และ เสถ
สำหรับคำว่า เสถ นี้ ลองเดากันนะครับว่าคำนี้มีความหมายว่าอย่างไร ในปัจจุบันนี้เขียนอย่างไร
ถ้าใช้มาถึงตอนนี้คงจะงงพิลึกนะครับ แค่เรื่องที่ 8 ผมก็นั่งนึกอยู่นาน ว่า การประกาศสงครามนี่ จะต้องมี "คนพาย" ด้วยหรือ..หรือว่าไปประกาศกันบนเรือ แล้วทำไมประกาศแล้วต้องเปลี่ยนคน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 09:46
|
|
ในหน้า สารบาน เรื่องที่ 7 การประกาสสงคราม เรื่องที่ 8 การแลกเปลี่ยนคนพายหลังประกาสสงคราม และเรื่องที่ 9 เสถสงคราม สารบาน = สารบาญ ประกาส = ประกาศ พายหลัง = ภายหลัง เสถสงคราม = เศรษฐสงคราม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 18:16
|
|
ถูกต้องแล้วครับ เสถสงคราม = เศรษฐสงคราม
"หัวหน้ากองตะวันตก กรมเสถการ กะซวงการต่างประเทส บรรยายทางวิทยุกะจายเสียง 22 กรกดาคม 2485" ได้บรรยายว่า "คำว่า เสถสงคราม คงไม่ไช่คำไหม่ เพราะใช้กันมานานมากแล้ว และตั้งไจไห้มีความหมายตรงกับคำฝรั่งที่ว่า "Economic Warfare" ซึ่งอธิบายหย่างง่ายๆก็คือเสถสงคราม เปนเรื่องคู่กับยุธสงคราม ยุธสงครามหมาถึงการจับอาวุธเข้าประหัดประหารกัน ส่วนเสถสงครามเปนการต่อสู้กันไนทางเสถกิจ ซึ่งเปนเรื่องสำคันยิ่งไนสงครามสมัยปัจจุบันนี้"
ก็มีคำเพิ่มเติม ได้แก่ เสถการ เสถกิจ กรกดาคม หย่าง ยุธสงคราม ประหัด สำคัน และ เปน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|