เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 13741 บ้านสาทร - ใครพอมีข้อมูลที่มีแหล่งข้อมูลชัดเจน เกี่ยวกับ หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม)
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 04:14

แผนที่ พ.ศ.2430 ที่คุณ visitna คาดการณ์ตำแหน่งบ้านสาทร  ผิดจริงๆด้วยครับ
ตำแหน่งบ้านสาทรที่คาดการณ์ไว้  อยู่แค่สถานีสุรศักดิ์เท่านั้นเอง  ยังอีกไกลกว่าจะถึงสถานีช่องนนทรี
เป็นอันว่า พ.ศ.2430 ยังไม่สร้างบ้าน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 04:17

แผนที่ 2430 ของคุณธสาครต้องกระเถิบมาอีกแปลงทางขวามือครับ ตามที่แนบมาให้ชมเปรียบเทียบปี 2430 กับ 2450 ของบ้านหลวงสาทรราชายุกต์

พ.ศ.2430 ยังไม่สร้างบ้าน
พ.ศ.2438 หลวงสาทรฯ เสียชีวิต
แผนที่ พ.ศ.2450 มีเพียงตึกประธาน  ยังไม่ต่อเติมตึกอีก 3 ด้าน
พ.ศ.2453 หลวงจิตรจำนงวาณิช ล้มละลาย  คฤหาสน์หยุดนิ่งมาตั้งแต่บัดนั้น

ส่วนต่อเติมเป็นฝีมือของหลวงจิตรจำนงฯแน่แล้ว
แต่ตึกประธาน..ฝีมือใคร?


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 04:40

จากกูเกิล..เมื่อไปนั่งใจกลางคฤหาสน์(โรงแรม)จะเห็นภาพ 360 องศา
ช่างสุนทรียะยิ่งนัก

ตอนนู้น..หลวงจิตรจำนงฯ น่าจะเอาคฤหาสน์หลังนี้มาจำนองไว้กับต้นตระกูลคุณเพ็ญชมพูเนาะ
ป่านนี้เปิดให้ชาว "เรือนไทย" เข้าไปวิ่งเล่นได้แล้ววว

ผม capture มาให้ดูแค่ 4 ทิศ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 07:41

แผนที่ 2430 ของคุณธสาครต้องกระเถิบมาอีกแปลงทางขวามือครับ ตามที่แนบมาให้ชมเปรียบเทียบปี 2430 กับ 2450 ของบ้านหลวงสาทรราชายุกต์

พ.ศ.2430 ยังไม่สร้างบ้าน
พ.ศ.2438 หลวงสาทรฯ เสียชีวิต
แผนที่ พ.ศ.2450 มีเพียงตึกประธาน  ยังไม่ต่อเติมตึกอีก 3 ด้าน
พ.ศ.2453 หลวงจิตรจำนงวาณิช ล้มละลาย  คฤหาสน์หยุดนิ่งมาตั้งแต่บัดนั้น

ส่วนต่อเติมเป็นฝีมือของหลวงจิตรจำนงฯแน่แล้ว
แต่ตึกประธาน..ฝีมือใคร?

หนังสือสถาปัตยกรรมรัชกาลที่ 5 กล่าวว่า บ้านหลังนี้ได้สร้างขึ้นภายหลังการขุดคลองสาทรเมื่อปี 2431 และสันนิฐานว่าในราว พ.ศ. 2435 หลวงสาทรฯ อาศัยอยู่บ้านหลังนี้จนถึงแก่กรรมในปี 2438 และบุตรเขยได้อาศัยอยู่ต่อและต่อเติมอาคารออกไปด้านหลัง จนถูกยึดในปี 2457
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 07:48

แผนที่สำรวจเมื่อปี 2468 บริเวณบ้านที่กลายเป็นรอแยลโฮเต็ล มีการจัดแปลนสวนสวยงาม บริเวณที่เป็นสีแดงคืออาคารประเภทก่ออิฐถือปูน นับได้ 6 หลัง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 10:09

ไทม์ไลน์ "บ้านสาทร" จาก พ.ศ. ๒๔๓๐ - พ.ศ. ๒๔๖๘

แผนที่ พ.ศ. ๒๔๓๐



แผนที่ 2430 ต้องกระเถิบมาอีกแปลงทางขวามือครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 10:37

แผนที่ พ.ศ. ๒๔๕๐ และพ.ศ. ๒๔๖๘ ช่วยยืนยันว่าตำแหน่งบ้าน ๒ หลังในแผนที่ พ.ศ. ๒๔๓๐ เป็นของ "เจ้าสัวปาน" (บ้านทางซ้าย) และของ "เจ้าสัวยม" (บ้านทางขวา) ส่วนที่ดินทางขวามือน่าจะเป็นของเจ้าสัวยมด้วย ยังไม่มีการสร้างอาคาร เป็นไปได้ว่าจน พ.ศ. ๒๔๓๒ เจ้าสัวยมยกที่ดินทางขวามือนี้ให้ลูกเขยคือหลวงจิตรจำนงวาณิชสร้างบ้านซึ่งคือ เดอะเฮาส์ออนสาทรในปัจจุบันนั่นเอง

ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ บ้านเดิมของเจ้าสัวยม หรือ หลวงสาทรราชายุกต์ ยังคงมีอยู่ (ซึ่งเป็นบ้านหลังเดียวกับที่พระยาอนุมานราชธนเล่าไว้ว่ามีการจัดมีการสร้างปะรำพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงสาทรฯ ไว้หน้าบ้าน) ส่วนใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่ตรงนี้เป็นที่ดินว่างเปล่า แสดงว่าบ้านเดิมของหลวงสาทรฯ ถูกรื้อไปแล้วอย่างน้อยก็ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ หรือก่อนหน้านั้น

เพื่อเป็นการยืนยันให้แน่ใจ จะเป็นการดีอย่างยิ่งหากคุณหนุ่มสยามจะกรุณาลงแผนที่ พ.ศ. ๒๔๕๐ และพ.ศ. ๒๔๖๘ แสดงอาณาเขตตั้งแต่ถนนเจริญกรุงจนถึง "บ้านสาธร"  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 11:01

ตอนนู้น..หลวงจิตรจำนงฯ น่าจะเอาคฤหาสน์หลังนี้มาจำนองไว้กับต้นตระกูลคุณเพ็ญชมพูเนาะ
ป่านนี้เปิดให้ชาว "เรือนไทย" เข้าไปวิ่งเล่นได้แล้ววว

หากคุณธสาครอยากไปวิ่งเล่นในคฤหาสน์หลังนี้ ติดต่อคุณฟ้า ผู้จัดการสื่อสารการตลาด ได้เลยที่

snatcha.fah@gmail.com หรือ 02 344 4000 ติดต่อ ณัชชา สุพิชญางกูรค่ะ

หรือในกระทู้นี้  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 11:39

เรียงสถานที่ บ้านหลวงสาทร บ้านเจ้าสัวปาน ในแผนที่ 2430 ได้ดังนี้ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 11:49

แผนที่ปี 2447  ในหนังสือแนะนำบางกอกของนายเจ แอนโตนิโอ
ไม่บอกตำแหน่งบ้านนี้ แต่ผมวงไว้ในภาพที่สอง
จะมีคลองไหลผ่านด้านตะวันตกของบ้านคลองนี้ไปถึงถนนสุรวงศ์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 12:06

ข้อสันนิษฐานทั้งหมดในความคิดเห็นที่ ๕๑ เป็นอันพับไป   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 12:57

ที่วงกลมสี่นํ้าเงินคือสถานทูตรัสเซียในสมัยนั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 13:44

คลองหลักที่ตัดผ่านถนนสาทร-สีลม-สุรวงศ์ คือคลองช่องนนทรี พื้นที่ตั้งแต่หลังบ้านหลวงสาทรฯไปจดถนนสีลม และอีกด้านที่จดคลองช่องนนทรี เป็นสุสาน
กทม.ได้มีโครงการตัดถนนเลียบคลองช่องนนทรี จากถนนเลียบแม่น้ำมาสิ้นสุดที่ถนนสุรวงศ์ ซึ่งมาสำเร็จเอาปลายทศวรรษ ๒๕๓๐
ถนนนี้เสร็จได้ไม่เท่าไรก็เริ่มโครงการรถไฟฟ้าBTS เบี่ยงแนวจากสีลมมาเข้าสาทร โดยแนวคร่อมคลองช่องนนทรี
บ้านหลวงสาทรจะอยู่ฝั่งซ้ายของคลองช่องนนทรี บริเวณวงน้ำเงินคือบริเวณบ้านหวั่งหลีของนายตันชิวเม้ง หลั่งหลี ปัจจุบันคืออาคารสาทรธานี
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 13:58

แผนที่เก่าฉบับบ้านทวาย คนโบราณเรียกชื่อถนนและคลองได้เต็มชื่อ เป็นความงามของภาษา คือ "คลองหลวงสาทรราชายุกต์" และ "ถนนหลวงสาทรราชายุกต์" ก่อนเป็น "ถนนสาธร" และ "ถนนสาทร"


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 14:11

คลองหลักที่ตัดผ่านถนนสาทร-สีลม-สุรวงศ์ คือคลองช่องนนทรี พื้นที่ตั้งแต่หลังบ้านหลวงสาทรฯไปจดถนนสีลม และอีกด้านที่จดคลองช่องนนทรี เป็นสุสาน
กทม.ได้มีโครงการตัดถนนเลียบคลองช่องนนทรี จากถนนเลียบแม่น้ำมาสิ้นสุดที่ถนนสุรวงศ์ ซึ่งมาสำเร็จเอาปลายทศวรรษ ๒๕๓๐
ถนนนี้เสร็จได้ไม่เท่าไรก็เริ่มโครงการรถไฟฟ้าBTS เบี่ยงแนวจากสีลมมาเข้าสาทร โดยแนวคร่อมคลองช่องนนทรี
บ้านหลวงสาทรจะอยู่ฝั่งซ้ายของคลองช่องนนทรี บริเวณวงน้ำเงินคือบริเวณบ้านหวั่งหลีของนายตันชิวเม้ง หลั่งหลี ปัจจุบันคืออาคารสาทรธานี


คลองช่องนนทรีเป็นคลองธรรมชาติ เป็นคลองย่อยเชื่อมต่อกับคลองต่างๆ บริเวณพี้นที่สำเพ็งเยาวราชในอดีตเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาด้านล่างบริเวณพระราม 3 เป็นคลองที่ส่งน้ำเข้าท้องทุ่งนาบริเวณนี้ได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้นมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษม ขุดคลองบางรัก ขุดคลองพ่อยม ขุดคลองถนนตรง ก็มีการชักน้ำขุดต่อเชื่อมคลองกันเป็นเครือข่าย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง