เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 13868 บ้านสาทร - ใครพอมีข้อมูลที่มีแหล่งข้อมูลชัดเจน เกี่ยวกับ หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม)
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 พ.ค. 17, 19:02

ป้ายติดกระเป๋าเดินทาง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 10:20

ตรงที่เป็นโรงแรมนี้เดิมเป็นที่อยู่ของเจ้าสัวยม คือ หลวงสาทรราชายุตต์ ดั่งกล่าวไว้แล้ว ภายหลังหลวงจิตรจำนงวาณิช (ถมยา โชติกพุกนะ)(๑)  ซึ่งเป็นบุตรเขยของท่าน สร้างเป็นตึกขนาดใหญ่ขึ้น (๒)

(๑)
ตรงนี้ พระยาอนุมานราชธน ท่านจำผิด
หลวงจิตรจำนง ฯ คือ ถมยา รงควนิช (ไม่ใช่นามสกุล โชติกพุกนะ)


(๒) คุณวิกกี้ บอกว่า อาคารบ้านสาทร สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๓๓ โดยหลวงสาทรราชายุกต์ หรือเจ้าสัวยม ในขณะที่พระยาอนุมานราชธนท่านว่า ตึกขนาดใหญ่ซึ่งน่าจะหมายถึง บ้านสาทร สร้างโดยหลวงจิตรจำนงวาณิช

คุณ visitna เชื่อข้อมูลของใคร ?
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 11:51

หลวงสาทรฯ เสียชีวิตปี 2438
พระยาอนุมานราชธน ท่านเกิดปี 2431 ท่านย้ายบ้านไปอยู่ที่ถนนสาทร ปี 2437
ตอนท่านอายุ 6 ขวบ  ท่านได้ไปดูพิธีเผาศพด้วย ในปี 2438
ตามที่ท่านเล่าว่าเผาศพที่หน้าบ้านแสดงว่ามีบ้านหลังนี้อยู่แล้ว
เมื่อมีการตัดถนนขุดคลองซึ่งเป็นที่ดินของท่าน ท่านสร้างบ้านอยู่ในที่ดินนี้
บ้านหลังนี้       คือบ้านหลังใหญ่ที่เราเห็นตามรูปนั้นเอง
บ้านหลังที่ท่านพระยาอนุมานราชธนเห็นคงเป็นหลังนี้ หลังเดียวเท่านั้น
(ตามประวัติ บ้านนี้สร้าง 2432-2433  ไม่มีประวัติว่ามีรื้อแล้วสร้างบ้านใหม่ อีก)

ผมเชื่อว่าบ้านสร้างโดยหลวงสาทรฯ ตั้งแต่ประมาณปี 2433 ท่านอยู่มาจนเสียชีวิต ปี 2438
ไม่ใช่ หลวงจิตรจำนงวาณิช เป็นผู้สร้าง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
natchas
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 12:14

คุณเพ็ญชมพู ขอบคุณมากนะคะ สำหรับข้อมูล ไม่แน่ใจพอแนะนำได้ไม๊คะ ว่าจะหาหนังสือ  ฟื้นความหลัง เล่ม ๑  จากที่ไหนได้บ้าง
และใครคือนายตามาโย

ขอบคุณมากๆนะคะ
บันทึกการเข้า
natchas
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 12:17

คุณ visitna พอบอกได้ไม๊คะ ว่าภาพที่ประกอบมา เป็นหนังสือเล่มไหน ขอบคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 12:19

คุณ visitna พอบอกได้ไม๊คะ ว่าภาพที่ประกอบมา เป็นหนังสือเล่มไหน ขอบคุณมากค่ะ

ได้มาทางอินเตอร์เนท เป็นเวปของหนังสือไลฟ์
ตอนนี้ผมเข้าไม่ได้แล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 14:41

คุณเพ็ญชมพู ขอบคุณมากนะคะ สำหรับข้อมูล ไม่แน่ใจพอแนะนำได้ไม๊คะ ว่าจะหาหนังสือ  ฟื้นความหลัง เล่ม ๑  จากที่ไหนได้บ้าง(๑)
และใครคือนายตามาโย(๒)


(๑) คุณ natchas สามารถหาหนังสือ ฟื้นความหลัง เล่มที่ ๑ ได้ ๒ วิธี  

วิธีที่ ๑ โดยอินทรเนตร เข้าไปในลิงก์นี้

https://issuu.com/volunteerspirit/docs/satienbook014?viewMode=magazine

เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒  ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๓ ข้อมูลเกี่ยวกับหลวงสาทรราชายุกต์ ในความคิดเห็นที่ ๑๗ อยู่หน้าที่ ๑๑๘ และในความเห็นที่ ๑๐ อยู่หน้าที่ ๒๕๓

วิธีที่ ๒  ซื้อหนังสือหรือยืมจากห้องสมุด ข้อมูลที่นำมาแสดงในความคิดเห็นที่ ๑๐ นำมาจากฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔   ตุลาคม ๒๕๔๗ อยู่ในหน้าที่ ๒๑๖ และข้อมูลที่คุณ visitna นำมาแสดงในความคิดเห็นที่ ๑๗ อ่านได้ที่หน้า ๑๐๒


บันทึกการเข้า
natchas
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 15:28

คุณเพ็ญชมพู ขอบคุณมากนะคะ สำหรับข้อมูล ไม่แน่ใจพอแนะนำได้ไม๊คะ ว่าจะหาหนังสือ  ฟื้นความหลัง เล่ม ๑  จากที่ไหนได้บ้าง(๑)
และใครคือนายตามาโย(๒)


(๑) คุณ natchas สามารถหาหนังสือ ฟื้นความหลัง เล่มที่ ๑ ได้ ๒ วิธี  

วิธีที่ ๑ โดยอินทรเนตร เข้าไปในลิงก์นี้

https://issuu.com/volunteerspirit/docs/satienbook014?viewMode=magazine

เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒  ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๓ ข้อมูลเกี่ยวกับหลวงสาทรราชายุกต์ ในความคิดเห็นที่ ๑๗ อยู่หน้าที่ ๑๑๘ และในความเห็นที่ ๑๐ อยู่หน้าที่ ๒๕๓

วิธีที่ ๒  ซื้อหนังสือหรือยืมจากห้องสมุด ข้อมูลที่นำมาแสดงในความคิดเห็นที่ ๑๐ นำมาจากฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔   ตุลาคม ๒๕๔๗ อยู่ในหน้าที่ ๒๑๖ และข้อมูลที่คุณ visitna นำมาแสดงในความคิดเห็นที่ ๑๗ อ่านได้ที่หน้า ๑๐๒

ขอบคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
natchas
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 15:29

แล้วมีใครมีข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมไทยแลนด์ หลังจากเปลี่ยนจากโรงแรม รอยัล บ้างไม๊คะ
เคยอ่านมาจากนิตยสารสกุลไทยว่า ร 6 พระราชทานชื่อโรงแรมนี้ แต่ไม่ได้อยู่ในการดูแลของมาดามสะเตโร
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 15:43


Marketing Director ของโรงแรมดับเบิ้ลยู เดอะเฮาส์ออนสาทร อย่างคุณ natchas
เข้ามาเขียนแนะนำให้ความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลให้คนอื่นรู้มากขึ้นก็จะดีมากนะครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 15:44

 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 15:55

(ต่อ)

(๒) เรื่องของตามาโย ในฟื้นความหลัง เล่ม ๑ พิมพ์ครั้งที่ ๔ มีกล่าวไว้ในหน้า ๒๑๕

หอสมุดนิลเซนเฮส์นั้น นายมาริโอ ตามาโย (Mario Tamayo)*นายช่างออกแบบชาวอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบสร้าง วันหนึ่งนายตามาโยกระหืดกระหอบมาหาข้าพเจ้า ว่าอยากให้ช่วยดีดพิมพ์รายการสร้างหอสมุดที่กล่าวนี้ให้ด้วยเป็นการด่วนมาก ทั้งนี้ก็เพราะข้าพเจ้ากับนายตามาโยคุ้นเคยกันมาก ข้าพเจ้าและเพื่อนคนหนึ่ง (พระสมบัติธัญผล - ม.ล.เลื่อน อิศรางกูร ณ อยุธยา) ซึ่งข้าพเจ้าขอแรงเกณฑ์ให้ช่วยกัน งานตีพิมพ์ดีดแล้วเสร็จตามประสงค์ นายตามาโยปรารภว่าจะขอสมนาคุณ แต่ก็ไม่ทราบว่าต้องการอะไร ข้าพเจ้าและเพื่อนตอบว่า ต้องการรับประทานอาหารอิตาเลียน นายตามาโยก็สนองความปรารถนา โดยไปว่าจ้าง มาดำสะตาโร (Madam Staro) เป็นผู้จัดให้เป็นพิเศษ

* ที่ถูกคือ Mario Tamagno

นาย มาริโอ ตามันโย (Mario Tamagno) ได้รับการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมและศิลปะอย่างดีเยี่ยมจากประเทศอิตาลี ได้เข้ามารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทยในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงกำลังพัฒนาสยามให้ทันสมัยในแนวทางของชาวตะวันตก

ทั้ง สถานีรถไฟหัวลำโพง, ตึกไทยคู่ฟ้า และพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งมีกลิ่นอายขอสถาปัตยกรรมอิตาเลียน เป็นผลงานของสถาปนิกชาวเมืองตูรินนามว่า มาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 16:07


Marketing Director ของโรงแรมดับเบิ้ลยู เดอะเฮาส์ออนสาทร อย่างคุณ natchas
เข้ามาเขียนแนะนำให้ความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลให้คนอื่นรู้มากขึ้นก็จะดีมากนะครับ

เห็นด้วยค่ะ
คุณ natchas น่าจะมีข้อมูลส่วนหนึ่งอยู่ในมือแล้ว   ที่มีแน่ๆคือข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมในปัจจุบัน
ดิฉันก็อยากรู้เหมือนกันว่า อดีตอันยาวนานของตึกหลังนี้เมื่อเดินมาถึงปัจจุบัน  เป็นอย่างไรบ้าง
จะได้เป็นความรู้สำหรับผู้สนใจทั่วไปด้วย
จะสนุกกว่าคุณถามอย่างเดียว และชาวเรือนไทยเป็นผู้ตอบฝ่ายเดียว
บันทึกการเข้า
natchas
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 17:17


Marketing Director ของโรงแรมดับเบิ้ลยู เดอะเฮาส์ออนสาทร อย่างคุณ natchas
เข้ามาเขียนแนะนำให้ความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลให้คนอื่นรู้มากขึ้นก็จะดีมากนะครับ

เห็นด้วยค่ะ
คุณ natchas น่าจะมีข้อมูลส่วนหนึ่งอยู่ในมือแล้ว   ที่มีแน่ๆคือข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมในปัจจุบัน
ดิฉันก็อยากรู้เหมือนกันว่า อดีตอันยาวนานของตึกหลังนี้เมื่อเดินมาถึงปัจจุบัน  เป็นอย่างไรบ้าง
จะได้เป็นความรู้สำหรับผู้สนใจทั่วไปด้วย
จะสนุกกว่าคุณถามอย่างเดียว และชาวเรือนไทยเป็นผู้ตอบฝ่ายเดียว

จริงๆ ฟ้าก็หาข้อมูลค่ะ ไม่ได้รู้อะไรเยอะมาก เพราะทางกรมศิลป์มีข้อมูลน้อยมาก น้อยกว่าที่ วิชาการ คุยๆกันอีกค่ะ เลยต้องมารบกวนขอข้อมูลจากทางนี้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 19:29

เมื่อเปลี่ยนเป็นสถานทูตรัสเซีย น่าจะมีการก่อสร้างอะไรมากมายภายในอาคารนะครับ เช่น การป้องกันดักฟังทางโทรศัพท์ หน่วยเคจีบี ห้องเหล็ก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง