เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 13855 บ้านสาทร - ใครพอมีข้อมูลที่มีแหล่งข้อมูลชัดเจน เกี่ยวกับ หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม)
natchas
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


 เมื่อ 26 พ.ค. 17, 16:50

อยากทราบข้อมูลที่มีแหล่งอ้างอิงชัดเจนเกี่ยวกับหลวงสาทรราชายุตก์ (ยม)  และหลวงจิตรจำนงค์ ใครมีข้อมูลและภาพ รบกวนแชร์ด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 พ.ค. 17, 17:38

จากกระทู้เก่าในเรือนไทย
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3500.0

หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม พิศลยบุตร)เป็นผู้ขุดคลองสาทรและสร้างถนนสาทร
เป็นบุตรของเจ้าสัวยิ้ม(พระยาพิศลสมบัติบริบูรณ์ ---พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ เขียนกันสองแบบ) ผู้ขุดคลองภาษีเจริญ

หลวงสาทรฯเกิดเมื่อปี 2400 ได้ราชทินนามเป็นหลวงสาทรราชายุตก์เมื่อปี 2434
ท่านคงจะขุดคลองสาทรเมื่อปี 2431
ก่อนได้ตำแหน่งจึงเรียกคลองที่ท่านขุดว่า คลองพ่อยม -คลองเจ้สัวยม
เมื่อท่านเสียชีวิตในปี 2438   มีอายุแค่ 38 ปี
บ้านหลังใหญ่ของท่านอยู่ที่ถนนสาทรฝั่งเหนือ

ใน พ.ศ. 2467 บ้านท่านแปลงสภาพเป็นโรงแรม "โฮเต็ล รอแยล"
ต่อมาราว พ.ศ. 2477 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงแรมไทยแลนด์"
ต่อมา พ.ศ. 2491-2542 สถานเอกอัครราชทูตสหภาพแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (ปัจจุบันใช้ชื่อว่าสถานเอกอัครราชทูตรัสเซีย)
ได้เช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโรงแรมไทยแลนด์ จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
เพื่อใช้เป็นสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทย
และในปี พ.ศ. 2543 กรมศิลปากร โดยฝ่ายทะเบียนโบราณสถานฯ
ได้เข้าทำการสำรวจอาคารและพื้นที่ โดยจัดให้เป็นอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมของกรมศิลปากร

ปัจจุบันอาคารดังกล่าวได้กลับมาใช้งานเป็นโรงแรมอีกครั้ง
โดย บริษัท นอร์ท สาธร เรียลตี้ จำกัด
ได้เช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
เพื่อปรับปรุงบ้านสาทรเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรมดับเบิลยู กรุงเทพ
ซึ่งปัจจุบัน บ้านสาทรตั้งอยู่ระหว่างตัวโรงแรมและสาทรสแควร์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 พ.ค. 17, 17:40

บ้านสาทรเดิม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 พ.ค. 17, 17:41

อีกรูปหนึ่ง จากคุณหมอ visitna


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 พ.ค. 17, 17:41

มีอีกค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 พ.ค. 17, 17:42

สุดท้าย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 พ.ค. 17, 17:44

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A3

ที่จริงข้อมูลก็มีพอสมควรนะคะ ค้นจากกูเกิ้ลได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 พ.ค. 17, 18:08

ในห้องสมุดน่าจะมีหนังสือสองเล่มนี้
มีข้อมูลมากพอสมควร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
natchas
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 พ.ค. 17, 20:46

ขอบคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 พ.ค. 17, 18:35

ในฟื้นความหลังของพระยาอนุมานราชธนท่านเล่าไว้ว่า
"เมื่อหลวงสาทรถึงแก่กรรม ได้รับพระราชทานเพลิงศพเผาที่ปรำเผา ซึ่งปลูกขึ้นริมคลองสาทรฝั่งเหนือ ตรงหน้าบ้านของท่าน งานนี้มีมหรสพและจุดดอกไม้ไฟด้วย เวลานั้นข้าพเจ้ายังเล็กอยู่ก็ไปดูงานศพด้วย
.
ส่วนเรื่องการนำบ้านหลวงสาทรมาทำโฮเตลนั้นท่านเล่าไว้ว่า
พระยาอนุมานราชธนท่านคุยกับมิสเตอร์ตามาโย ว่าอยากกินอาหารอิตาลี แล้วนายตามาโยได้แนะนำ "มาดาม สตาโร" เป็นผู้จัดการพิเศษ ซึ่งเป็นสตรีมีอายุครึ่งศตวรรษแล้วแต่ยังดูสวย เดิมทำงานที่สถานเต้นรำ
(ไนท์คลับ) เรียกว่า "หออียิปต์" ภายหลังมาดามสตาโร มาเช่าตึกจากพระคลังข้างที่ทำโรงแรมรอแยล โดยโรงแรมนี้เองพระยาอนุมานราชธนและนายตามาโยได้เข้ามาทานอาหารอิตาเลียนสมใจ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 27 พ.ค. 17, 20:07

ภายหลังมาดามสตาโร มาเช่าตึกจากพระคลังข้างที่ทำโรงแรมรอแยล

ภายหลังมาดำสะตาโรไปตั้งโรงแรมขึ้นที่ถนนสาทรเหนือ โดยเช่าตึกเข้าใจว่าจากพระคลังข้างที่ หรือจะอย่างไรไม่ทราบแน่ ให้ชื่อว่าโรงแรมรอแยล ตรงที่เป็นโรงแรมนี้เดิมเป็นที่อยู่ของเจ้าสัวยม คือ หลวงสาทรราชายุตต์ ดั่งกล่าวไว้แล้ว ภายหลังหลวงจิตรจำนงวาณิช (ถมยา โชติกพุกนะ) ซึ่งเป็นบุตรเขยของท่าน สร้างเป็นตึกขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อหลวงจิตรจำนงวาณิชถึงแก่กรรมไปแล้ว ที่และตึกตกเป็นของหลวง ซึ่งมาดำสะตาโรเช่าเป็นโรงแรมรอแยลขึ้น ณ ที่โรงแรมเอง ที่นายตามาโยเลี้ยงอาหารอิตาเลียนข้าพเจ้าและเพื่อน ต่อมาไม่นาน มาดำสะตาโรเลิกกิจการโรงแรม กลับไปต่างประเทศแล้ว ที่ตรงนั้นจึงมาเป็นสถานเอกอัครราชทูตรุสเซียอยู่ในเวลานี้

จาก ฟื้นความหลัง เล่ม ๑ ฉบับสมบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดย เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) หน้า ๒๑๖


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 27 พ.ค. 17, 20:36

ภายหลังมาดามสตาโร มาเช่าตึกจากพระคลังข้างที่ทำโรงแรมรอแยล

ภายหลังมาดำสะตาโรไปตั้งโรงแรมขึ้นที่ถนนสาทรเหนือ โดยเช่าตึกเข้าใจว่าจากพระคลังข้างที่ หรือจะอย่างไรไม่ทราบแน่ ให้ชื่อว่าโรงแรมรอแยล ตรงที่เป็นโรงแรมนี้เดิมเป็นที่อยู่ของเจ้าสัวยม คือ หลวงสาทรราชายุตต์ ดั่งกล่าวไว้แล้ว ภายหลังหลวงจิตรจำนงวาณิช (ถมยา โชติกพุกนะ) ซึ่งเป็นบุตรเขยของท่าน สร้างเป็นตึกขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อหลวงจิตรจำนงวาณิชถึงแก่กรรมไปแล้ว ที่และตึกตกเป็นของหลวง ซึ่งมาดำสะตาโรเช่าเป็นโรงแรมรอแยลขึ้น ณ ที่โรงแรมเอง ที่นายตามาโยเลี้ยงอาหารอิตาเลียนข้าพเจ้าและเพื่อน ต่อมาไม่นาน มาดำสะตาโรเลิกกิจการโรงแรม กลับไปต่างประเทศแล้ว ที่ตรงนั้นจึงมาเป็นสถานเอกอัครราชทูตรุสเซียอยู่ในเวลานี้

จาก ฟื้นความหลัง เล่ม ๑ ฉบับสมบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดย เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) หน้า ๒๑๖


ตรงนี้ พระยาอนุมานราชธน ท่านจำผิด
หลวงจิตรจำนง ฯ คือ ถมยา รงควนิช (ไม่ใช่นามสกุล โชติกพุกนะ)
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 พ.ค. 17, 01:22

สมัยเป็นโรงแรม "โฮเต็ล รอแยล"



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 พ.ค. 17, 06:32

ภาพโรงแรมบนตลับกระจกโฆษณา  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 พ.ค. 17, 19:00

ภาพโปสเตอร์


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง