เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2045 วันวิสาขบูชา ๒๕๖๐ ครบรอบ ๒๕๐๐ ปี พุทธปรินิพพาน
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


 เมื่อ 10 พ.ค. 17, 20:29


วันนี้เป็นวันวิสาขบูชา ที่พิเศษยิ่งคือเป็นวันครบรอบ ๒๕๐๐ ปีแห่งพุทธปรินิพพาน เนื่องในวันกึ่งพุทธกาลนี้ขอความสุขความเจริญจงมีแก่ทุกท่าน เทอญฯ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 พ.ค. 17, 10:01

งงครับ ช่วยให้ข้อมูลเพิ่มหน่อย
ผมเรียนมาว่าพุทธศักราชเริ่มตั้งแต่พุทธปรินิพพานไม่ใช่เหรอครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 พ.ค. 17, 12:07

            จากระทู้เก่า

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3526.0 (ความเห็นที่ 8 - 14)

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1846.0
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 พ.ค. 17, 13:44


ปฏิทินธรรมชาติยังเที่ยงตรงเหมือนเดิมครับ
เมื่อวานนี้พระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์
พระอาทิตย์อยู่ในราศีพฤษภ

ประเทศไทยฉลอง ๒๕๐๐ ปี พุทธกาลเร็วไป ๖๐ ปี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 12 พ.ค. 17, 10:44

ขอบคุณมากครับคุณ Koratian และคุณ SILA
เป็นความรู้ใหม่เลยจริงๆ
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 พ.ค. 17, 11:45

เป็นความรู้ใหม่ของผมเช่นเดียวกันครับ สำหรับเรื่อง พ.ศ.๒๕๖๐(-๖๐) นี้
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 พ.ค. 17, 02:56

วันวิสาขบูชามักจะตกอยู่ในเดือนพฤษภาคม  ถือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว  ทำไมคุณ Koratian ถึงกล่าวว่า
// ปฏิทินธรรมชาติยังเที่ยงตรงเหมือนเดิม //
// เมื่อวานนี้พระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์ //
// พระอาทิตย์อยู่ในราศีพฤษภ //

การนับพ.ศ.เร็วไป 60 ปีนั้น  ผมได้ตามอ่านจากลิงค์เก่า  แล้วก็เข้าใจตามเนื้อหานั้นแล้ว
แต่ปรากฏการณ์พระอาทิตย์อยู่ในราศีพฤษภ  มันช่วยยืนยันเรื่อง 60 ปีได้อย่างไรครับ?
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 13 พ.ค. 17, 03:02

มีอีกประเด็นหนึ่ง  ที่เกี่ยวกับคำว่า "กึ่งพุทธกาล"  ซึ่งเป็นการตีความโดยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)
เจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านนับพุทธกาลตั้งแต่วันแรกแห่งการตรัสรู้  เพราะถือว่าพุทธะได้บังเกิดขึ้นแล้ว
จึงได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ ที่เขาพระงาม จ.ลพบุรี เมื่อพ.ศ.2455  เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงปีแห่ง "กึ่งพุทธกาล"
(เอา พ.ศ.2500 ลบด้วยระยะเวลา 45 ปีที่พระพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรม)
(คือประมาณว่า  การนับพุทธศักราชหลังปรินิพพาน  เป็นเรื่องที่อาลักษณ์ นักประวัติศาสตร์ กำหนดหมุดหมายกันขึ้นเอง)

ถ้าถือนิยมตามเจ้าคุณอุบาลีฯ + 60ปีที่คลาดเคลื่อนไป
กึ่งพุทธกาลจะ = 2455+60 = 2515
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 พ.ค. 17, 06:37


ตอบเรื่องพุทธกาลก่อนนะครับ
ถ้าจะนับว่าพุทธกาลคืออายุพุทธศาสนาก็ควรนับจากวันอาสาฬหบูชา ทรงแสดงปฐมเทศนาในวันเพ็ญเดือนแปด
เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบ
แต่วันที่ควรจดจำที่สุดคือวันเพ็ญเดือนหก วันประสูตร ตรัสรู้ และปรินิพพาน เดือนหกมีหนเดียวต่อปี

คราวนี้ลองมาดูเดือนแปดบ้าง
ถามว่าในปีที่มีเดือนแปดสองหน
วันอาสาฬหบูชา พระอาทิตย์และพระจันทร์อยู่ในราศีอะไร
พระจันทร์เสวยอาสาฬหฤกษ์หรือไม่

ทั้งนี้ยังไม่เกี่ยวกับว่านับปีผิดไป ๖๐ ปีอย่างใดนะครับ

บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 13 พ.ค. 17, 15:40

คำพยากรณ์วาระสิ้นสุดของศาสนา  กล่าวถึงการทยอยอันตรธานไปทีละรัตนะ 
จนเหลือรัตนะสุดท้าย คือ พระบรมสารีริกธาตุจากสถานที่ต่างๆ กลับมาประชุมกันอีกครั้งที่ใต้ต้นโพธิ์พุทธคยา  แล้วแตกสลายไป
กาลนั้นจึงถือได้ว่าสิ้นสุดพุทธกาล

โดยนัยที่กล่าวข้างบน  ก็ตรงกับวินิจฉัยของเจ้าคุณอุบาลีฯ คือ..
อายุแห่งพุทธกาล  เริ่มนับจากการตรัสรู้  โดยไม่จำเป็นต้องรอธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 พ.ค. 17, 16:05

คำพยากรณ์วาระสิ้นสุดของศาสนา  กล่าวถึงการทยอยอันตรธานไปทีละรัตนะ  
จนเหลือรัตนะสุดท้าย คือ พระบรมสารีริกธาตุจากสถานที่ต่างๆ กลับมาประชุมกันอีกครั้งที่ใต้ต้นโพธิ์พุทธคยา  แล้วแตกสลายไป
กาลนั้นจึงถือได้ว่าสิ้นสุดพุทธกาล

โดยนัยที่กล่าวข้างบน  ก็ตรงกับวินิจฉัยของเจ้าคุณอุบาลีฯ คือ..
อายุแห่งพุทธกาล  เริ่มนับจากการตรัสรู้  โดยไม่จำเป็นต้องรอธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ

ถ้าตีความอย่างนี้ก็เกิดข้อขัดแย้งได้อีกครับ. กายเนื้อของพระพุทธเจ้ากำเนิดในวันประสูติแล้วจากพระครรภ์พระราชมารดา หาใช่กำเนิดในวันตรัสรู้ไม่ พระบรมสารีริกธาตุมิใช่หนึ่งในแก้วสามประการ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง