เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 6893 ผมอยากขอทราบประวัติของหลวงประพุธนฤการ (ชุบ รูปะวิเชตร์)
Rupavijetra
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 23 เม.ย. 17, 16:09

ขอบคุณครับสำหรับคำชี้แนะ .... คือผมจะขออนุญาติใช้คำบ้านๆแล้วกันน่ะครับจะได้เข้าใจตรงกัน ถ้าสมัยก่อน คือ จะต้องมียศศักดิ์เท่ากัน ถึงจะแต่งงานกินอยู่ด้วยกัน ใช้หรือไม่ใช้ ครับ หรือว่าใครจะแต่งกับใครก็ได้ ไม่มียศศักดิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง คือประเด็นตรงนี้ที่ผมข้องใจจะถาม ผมอาจจะยกตัวอย่างที่ดูไม่เห็นภาพที่ชัดพอ ผมต้องขอโทษด้วย ครับผม เท่าๆที่เห็นคุณย่า 2-3 ท่าน เป็นโสดดดด ไม่มีผัว เพราะผมเคยได้ยินมาถ้ายศไม่เท่ากันจะไม่ให้แต่งงาน ครับผมม ... หรือว่าเป็นนิทานหลอกเด็ก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 23 เม.ย. 17, 16:31

เข้าใจละค่ะ
ก่อนอื่นขอบอกว่าค่านิยมในยุคทวดเทียดเป็นอย่างที่คุณเข้าใจ เช่นคู่สมรส ดูความเหมาะสมของชาติกำเนิดและภูมิหลังของครอบครัวเป็นหลัก   แต่มันก็ไม่เคร่งครัดถึง 100 %  ที่เขาไม่ทำตามนี้ก็มี ไม่ใช่ไม่มี
คุณเทียดวอนของคุณนั้น ในเมื่อในงานศพของลูกสาวท่านไม่ได้ระบุนามสกุลเดิมของมารดาเอาไว้ ก็เป็นได้ว่าไม่มี   พ่อแม่ของคุณเทียดวอนอาจจะมีแต่ลูกสาว  พอแต่งงานไปหมดก็ไม่เหลือใครจะสืบสกุล  ก็เลยไม่ได้ขอนามสกุลก็เป็นได้   
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อดูจากภูมิหลังของพระยาพิพากษาฯ ท่านก็ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งใหญ่โตเอาการเหมือนกัน   ดิฉันเดาว่าท่านคงแต่งงานกับคุณทวดวอนตั้งแต่ยังเป็นคุณหลวง  ผู้ชายสมัยนั้นพอบวชเสร็จอายุ 21-22 ก็ถือเป็นหนุ่มเต็มตัว มีครอบครัวได้แล้ว  เข้ารับราชการก็คงอยู่ในระดับขุนหรือหลวงนี่แหละ      คุณเทียดวอนคงจะเป็นสตรีที่มีภูมิหลังเหมาะสมจะเป็นภรรยาขุนนาง  จึงได้สมรสกัน    ถ้าให้เดาก็เดาว่าคงเป็นลูกสาวขุนนาง หรือคหบดี ซึ่งเป็นเรื่องทั่วไปในสมัยนั้น
จากนั้น ฝายชายก็ก้าวหน้าในราชการเรื่อยมา จนได้เป็นถึงพระยา ชั้นอธิบดี   อธิบดีในสมัยโน้นใหญ่กว่าสมัยนี้แยะ  ไม่ได้เป็นกันได้ง่ายๆ     ลูกหลานที่เป็นสตรีก็เลยต้องแต่งงานให้สมน้ำสมเนื้อหน่อย    ถ้าหาผู้ชายที่เหมาะสมคู่ควรกันไม่ได้ ก็ไม่แต่ง อย่างคุณย่าของคุณค่ะ

แต่ถ้าพูดถึงข้อยกเว้น มันก็มีเยอะไม่ใช่ไม่มี      ในสมัยโบราณ ถือกันอย่างที่สุนทรภู่ว่า คือ "เป็นสตรีสุดดีอยู่ที่ผัว" คุณเทียดวอนอาจจะเป็นลูกสาวชาวบ้านที่วาสนาดี เป็นที่ต้องตาต้องใจของคุณหลวง จึงได้สมรสกันก็เป็นได้     เพราะสังคมไทยถือสถานภาพผู้ชายเป็นตัวกำหนด      ลูกสาวชาวบ้านได้สามีมียศศักดิ์สูง ไม่มีปัญหาอะไร   ถือเป็นบุญวาสนาของเธอ       แต่ลูกสาวขุนนางจะมาได้กับนายดำนายแดง เป็นชาวไร่ชาวนาธรรมดา ไม่ได้ ถือว่าเสียศักดิ์ศรีไปถึงพ่อแม่ 
ถ้าถามถึงข้อยกเว้น ก็มีเหมือนกัน  ลูกสาวคุณหลวงคุณพระที่บังเอิญไม่รวย  หรือถึงขั้นยากจน  ก็อาจจะยินดีสมรสไปกับเจ้าของสวน หรือคหบดีพื้นบ้านที่ร่ำรวยเงินทอง  ไม่มีใครว่าอีกเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 23 เม.ย. 17, 16:41

ยังสงสัยอีกข้อหนึ่งว่า พระยาพิพากษาฯ เป็น "พระ" หรือว่า "พระยา" กันแน่
เพราะในหนังสืองานศพของคุณนายเชียร  ระบุชื่อบิดาของท่านว่า "พระพิพากษาฯ"   คุณนายเชียรถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. 2509   อายุ 71 ปี บิดาท่านต้องถึงแก่กรรมไปนานหลายสิบปีก่อนหน้านี้   
การระบุยศและราชทินนาม ต้องเขียนถึงชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน     ก็น่าจะเขียนว่า พระยาพิพากษาฯ และคุณหญิงวอน 

ฝากคุณเพ็ญชมพูช่วยตรวจอีกทีค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 23 เม.ย. 17, 17:15

ถาม ... ทำไมถึงชื่อซอยพิพากษา? (ถนนแปลงนาม)



ชื่อซอยนั้นน่าจะมาจากราชทินนาม พระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย (โป๋  คอมันต์) บิดา พันเอก ถนัด  คอมันต์
หรืออาจจะเป็น พระยาพิพากษานานาประเทศกิจ (หุ่น  รูปะวิเชตร์)


คงต้องให้คุณวีมียืนยันทั้งที่มาของชื่อซอยและบรรดาศักดิ์  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Rupavijetra
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 23 เม.ย. 17, 17:18

ขอบพระคุณมากครับ ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
Rupavijetra
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 23 เม.ย. 17, 17:33

อำมาตย์โท ขุนสุภาพายัพ (( ชุบ )) หรือ หลวงประพุธนฤการ บิดาคือ พระยาพิพากษานานาประเทศกิจ ( หุ่น ) แต่ไม่ทราบว่า มารดา ของท่าน หลวงประพุธ กับ คุณย่าเชียร ใช่มารดาเดียวกันไหมครับผม หรือว่า ต่างมารดา แต่ที่แน่ๆบิดาคนเดียวกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 24 เม.ย. 17, 18:47

วันที่ ๑ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๖

       มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่ข้าราชการในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา คือ

กระทรวงยุติธรรม

       ให้ขุนสุภาพายัพ (ชุบ รูปะวิเชตร์) เปนหลวงประพุธนฤการณ์ มีตำแหน่งราชการในกระทรวงยุติธรรม ถือศักดินา ๖๐๐

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/D/3265.PDF



บันทึกการเข้า
Rupavijetra
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 02:54

ขอบพระคูนมากครับสำหรับข้อมูล คุณเพ็ญชมพู ครับ ในเมื่อ พ.ศ 2459  นามสกุล รูปะวิเชตร์ ได้การรับพระราชทานแล้ว ข้อมูลของ คุณเพ็ญชมพู ในเมื่อปี 2466 ล่าช้ากว่า นามสกุลของผมประมาณเกือบ 6 ปี แล้ว เพราคุณหลวงท่าน มารับราชการที่เชียงราย ท่านเองก็ไม่ได้ย้ายไปรับราชการ ต่อ เพราะสมัยตอนที่ท่านย้ายมา คุณ ชื่น ได้ย้ายไปมณฑล อีสาน ไม่ทราบว่า ข้อมูลจะเป็นจริงหรือเท็จประการใด เพราะผมลองอ่านที่คุณเพ็ญชมพู คือมันไม่สัมพันธ์ กับข้อมูลที่ผมมี ครับ .... กรุณาช่วยชี้แนะแถลงไข ด้วยน่ะครับผม เป็นรูปแค่บางส่วนเท่านั้นครับ ....






















บันทึกการเข้า
Rupavijetra
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 04:08

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 10:34

วันที่ ๑๓ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๕๕๘

     มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งบรรดาศักดิ์แก่ข้าราชการ คือ

     ให้นายชุบ เปนขุนสุภาพายัพ มีตำแหน่งราชการในกระทรวงยุติธรรม ถือศักดินา ๔๐๐

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2276.PDF


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 11:02

ไม่ทราบว่า ข้อมูลจะเป็นจริงหรือเท็จประการใด เพราะผมลองอ่านที่คุณเพ็ญชมพู คือมันไม่สัมพันธ์ กับข้อมูลที่ผมมี ครับ .... กรุณาช่วยชี้แนะแถลงไข ด้วยน่ะครับผม

ข้อมูลในราชกิจจานุเบกษาที่นำมาแสดงทั้งหมดถือเป็น "ข้อมูลปฐมภูมิ" (primary data) ซึ่งน่าจะถูกต้องกว่า "ข้อมูลทุติยภูมิ" (secondary data) ซึ่งอาจจะผิดเพี้ยนไปได้  ยิงฟันยิ้ม

ประวัติรับราชการของหลวงประพุธนฤการณ์ (ชุบ รูปะวิเชตร์) โดยย่อ มีดังนี้

๑๓ ธันวาคม ๒๔๕๘     เป็นขุนสุภาพายัพ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๒๖ ธันวาคม ๒๔๕๘)

๑๗ ธันวาคม ๒๔๕๙    พระราชทานนามสกุลว่า "รูปะวิเชตร์" (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ๑๕ เมษายน ๒๕๖๐)

๑  มกราคม  ๒๔๖๖     เป็นหลวงประพุธนฤการณ์ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑ มกราคม ๒๔๖๖)
บันทึกการเข้า
Rupavijetra
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 11:37

วันที่ ๑๓ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๕๕๘

     มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งบรรดาศักดิ์แก่ข้าราชการ คือ

     ให้นายชุบ เปนขุนสุภาพายัพ มีตำแหน่งราชการในกระทรวงยุติธรรม ถือศักดินา ๔๐๐









บันทึกการเข้า
Rupavijetra
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 11:40

ขอบพระคุณครับสำหรับข้อมูล  ในสมัยนั้น รัชกาล ที่เท่าไรครับผม แล้ว ยศ อำมาตย์โท หายไปไหนครับ ทำไมเหลือแค่ ขุน ทั้งๆ ที่ พระราชทานนามสกุลใช้เต็มว่า รองอำมาตย์โท ขุนสุภาพายัพ ชุบ แต่ถ้าคุณว่า ข้อมูลในราชกิจจานุเบกษาที่นำมาแสดงทั้งหมดถือเป็น "ข้อมูลปฐมภูมิ" (primary data) ซึ่งน่าจะถูกต้องที่สุด  แสดงว่า บัตรทินนามพระราชทาน ของผมก็ไม่จริงใช้ไหมครับ .... เพราะของแท้มันมีอยู่ เก็บไว้อย่างดีและถ้าสังเกตของจริงจะเป็นน้ำหมึกโดยที่คนเป็นคนเขียนไม่ใช่พิมพ์ขึ้นมาเพราะลายเส้นและความสูงต่ำตัวหนังสือไม่เท่ากัน  เดี๋ยวผมจะปรึกษาทางญาติผู้ใหญ่ ..... คือผมสงสัยอีกประเด็น คือ ทำไมของคนอื่นถึงไม่มีหรือว่ามี ผมเองก็ไม่แน่ใจ คุณกรุณาช่วยหานามบัตรรูป นามสกุลพระราชทาน ของนามสกุลอื่นๆ ให้ดูหน่อยได้ไหมครับ จะขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 17:56

รองอำมาตย์โทเป็นยศ เทียบเท่าร้อยโท  ส่วนขุนสุภาพายัพเป็นบรรดาศักดิ์และราชทินนาม
เวลาพระราชทานสัญญาบัตรยศ  กับสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ แยกกันเป็นคนละฉบับ  สัญญาบัตรยศก็ฉบับหนึ่ง  สัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ก็อีกฉบับ
บันทึกการเข้า
Rupavijetra
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 21:29

ขอบคุณครับสำหรับคำตอบ ผมขออนุญาติ ถามต่อเลย ว่า ผมอยากทราบประวัติของ พระราชยา ช่วยให้ความรู้เพิ่มเติมด้วยครับ เพราะ พระยารามราชเดช ย้ายไป มณฑลอุดร นครพนม (อีสาน) ในปี 2458 หลังจากนั้น พระราชยา ก้อมาดำรงตำแหน่งแทน 2458 - 2460
แล้ว ผู้พิพากษาศาลในสมัยนั้นใครดำรงตำแหน่งอยู่ เพราดูข้อมูลมันสับสนกันไปหมด ข้อเท็จมันคืออะไรกันแน่ ช่วยชี้แนะและให้ข้อมูลด้วยครับผม ขอบพระคุณครับ เพราะผมอยากรู้ข้อมูลที่แท้จริง ไม่ใช่ว่าผมไม่รู้จักตัวเอง แต่ผมไม่รู้จริงๆ ว่าคุณหลวง เป็นใครกันแน่ ในเมื่อ คุณ ชื่น ดำรงตำแหน่งก่อหน้าราวๆ 2453 - 2458 เหมือนกัน คุณหลวงผมจะมา ดำรงตำแหน่งแทน คุณ ชื่น ท่านก้อ อำมาตย์ ยศตำแหน่งก้อเท่ากัน ช่วยกรุณาอธิบาย ความสงสัยและความข้องใจ ด้วยครับผมขอบพระคุณอย่างสูง

รายพระนามเจ้าเมืองและรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย



ข้อใช่ข้อมูลอ้างอิง ไม่ได้มีจุดประสงค์แอบอ้างผู้ใด
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง