เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 8800 กากเดนคณะราษฎร์ บังอาจใส่ร้ายพระปกเกล้าฯ
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 19 เม.ย. 17, 13:04


นิทานเรื่องนี้ในตอนต่อไป คงแต่งว่า

๕) พันตรี หลวงพิบูลย์สงคราม และ  ๓๘) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

สองสหายผู้ถูกสั่งประหาร ไม่เคยรับทราบกับร่างฯ ที่ว่า
ในระยะหลัง จึงมีความสำนึกรู้สึกผิดที่ร่วมก่อการฯ

อ้าง :
พระราชบันทึกทรงเล่าสมเด็จฯ พระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
หนังสือเบื้องแรกประชาธิปไตย บันทึกความทรงจำของผู้อยู่ในเหตุการณ์ สมัย พ.ศ.2475-2500
รวบรวมและจัดพิมพ์โดยสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2516

http://www.ryt9.com/s/tpd/2448390

ต่อข้อทูลถามถึงเรื่องที่ทรงเป็นผู้หนึ่งในขบวนเสรีไทย ประจำอังกฤษ สมเด็จฯ ทรงเล่าว่า "ฉันเป็นแต่เพียงไปลงชื่อกับเขา เป็นกำลังใจให้กับคนที่ทำงาน ฉันเองไปช่วยเขาทางด้านกาชาด แต่ฉันทำอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างที่พวกเสรีไทยฝึกโดดร่ม ฝึกอาวุธกัน ฉันไปช่วยเขาทำของ ตอนนั้นไม่ได้อยู่ในลอนดอนหรอก น่ากลัวมากทีเดียว แต่ก็มาลอนดอนอาทิตย์ละครั้งสองครั้ง" และทรงความย้อนไปอีกเล็กน้อยว่า "ตอนญี่ปุ่นบุกเมืองไทยนั้น ในหลวงเสด็จสวรรคตแล้ว ทางรัฐบาลก็มีหนังสือไปอัญเชิญเสด็จกลับ แต่ฉันก็ไม่เคยนึกว่าจะได้กลับเมืองไทยหรอก จนกระทั่งเสร็จสงครามแล้ว ตอนกลับมาไม่มีบ้านอยู่หรอก เพราะวังสุโขทัยเขาใช้เป็นที่ตั้งกระทรวงสาธารณสุข ก็เลยต้องไปอาศัยอยู่วังสระปทุมถึง 2 ปี ถึงได้กลับมาอยู่ที่นี่ (วังสุโขทัย) ก่อนจะเข้าอยู่ต้องซ่อมเสียยกใหญ่ ทางรัฐบาลบอกให้อยู่ไปจนกว่าจะตาย หมายความว่าไม่ยอมคืนให้"

"จอมพล ป. เคยมาเฝ้า เขาพูดว่าอยากจะล้างบาปเพราะทำกับท่านไว้มากเหลือเกิน จากนั้นแล้วก็เลยไปสร้างโรงพยาบาลปกเกล้าไว้ให้ที่จันทบุรี ดูเหมือนจะสร้างไปทั้งหมด 5 ล้านบาท "สมเด็จฯ ทรงเล่าและทรงท้าวความย้อนไปก่อนที่จะเสด็จกลับว่า" หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พระยามานวราชเสวีเคยไปขอเข้าเฝ้า บอกว่า ข้าพระพุทธเจ้าตอนนั้นยังเด็ก คิดอะไรหัวมันรุนแรงเกินไป ไม่นึกว่าจะลำบากยากเย็นถึงเพียงนี้ ถ้ารู้ยังงี้ก็ไม่ทำ ฉันก็ไม่ได้ว่าอะไรเขาเรื่องมันแล้วไปแล้วไม่เคยเก็บเอามาคิด แต่ก็แปลกอยู่อย่างหนึ่ง ตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันท์ฯ เสด็จสวรรคต พระพินิจชนคดียังอุตส่าห์บินไปหาของเฝ้าฯ ขอทราบเรื่อง ฉันก็บอกว่าฉันไม่รู้อะไรมากไปกว่าข่าวจากหนังสือพิมพ์เท่านั้น จะไปรู้เรื่องได้ยังไงอยู่ถึงโน่น"

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 19 เม.ย. 17, 16:47

 เข้าไปตรวจสอบวิกิซอร์ซ พบว่าหน้านี้เปิดไม่ได้แล้ว ถ้าเป็นด้วยฝีมือของท่านใดในห้องนี้ ผมขอคารวะ ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 19 เม.ย. 17, 17:01

ติด tag คำเตือน "แหล่งข้อมูลน่าสงสัย" ไปก่อนครับ
ไม่แน่อาจจะเกิด editing war บน วิกิซอร์ซ กันต่อไป


ยังคงเปิดได้อยู่แต่มีข้อความเตือน

"แหล่งข้อมูลที่น่าสงสัย" หมายถึงแหล่งข้อมูลที่มีชื่อเสียงไม่ดีในการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือซึ่งปราศจากการควบคุมคุณภาพ
(editorial oversight) อย่างสำคัญ

แหล่งข้อมูลเช่นว่ารวมถึงเว็บไซต์หรือสิ่งตีพิมพ์ซึ่งแสดงมุมมองที่คนจำนวนมากเห็นว่าสุดโต่ง (extremist) หรือส่งเสริมการขาย หรือซึ่งอิงข่าวลือหรือความเห็นส่วนบุคคลเป็นหลัก แหล่งข้อมูลที่น่าสงสัยนี้ควรถูกใช้เฉพาะเป็นแหล่ง ข้อมูลสำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับหัวเรื่องนั้นเองเท่านั้น และไม่เหมาะสมที่จะใช้สำหรับอ้างอิงการอ้างเกี่ยวกับบุคคลที่สาม ผู้อ่านต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าบทความวิกิพีเดียมิได้ถูกปลอมขึ้น หมายความว่า ข้อกล่าวหาและเนื้อหาใด ๆ ที่ถูกคัดค้านหรือ มีแนวโน้มจะถูกคัดค้านต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 19 เม.ย. 17, 18:15

งั้นก็คงต้องช่วยกันต่อ หรือลงข้อมูลในเรือนไทยออกไปบ้าง เหนื่อยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 20 เม.ย. 17, 07:51

วันนี้ในวิกี้มีข้อความนี้ต่อท้ายข้อความเดิม ต้องช่วยกันดูอย่าให้หายไปอีกนะครับ

ข้อความที่นายจิตตเสนเขียนขึ้นนี้ เป็นการใส่ร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯด้วยความอันเป็นเท็จ ตามหลักฐานหนังสือที่เขียนโดยประยูร ภมรมนตรี คนเดียวกันกับที่นายจิตตเสน นำมาอ้าง ซึ่งเจ้าตัวได้เขียนไว้ดังนี้ครับ

“พระราชกำหนดนิรโทษกรรม

   ในวันที่คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อขอพระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองฯ ในเช้าวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น ได้ถือโอกาสทูลเกล้าฯ ถวายพระราชกำหนดนิรโทษกรร ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานิรโทษกรรม นับเป็นบทบัญญัติฉบับแรกที่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการตามข้อความดังต่อไปนี้
   “การกระทำของคณะราษฎร ในครั้งนี้หากจะเป็นการละเมิดกฎหมายใดๆ ก็ดี ห้ามมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมาย
   พระราชกำหนดนี้ได้ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕”

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว พระองค์จะทรงละเมิดกฎหมายเสียเอง ด้วยการสั่งประหารชีวิตผู้ก่อการดังว่าได้อย่างไร  และนายประยูรยังเขียนต่อมาถึงเหตุการณ์เดียวกัน โดยมีเนื้อหาไปคนละเรื่องอีกว่า

        “ คุณมโนปกรณ์ฯ ต้องการพบด่วน ให้รีบไปหาที่บ้านชะอำ หัวหิน และจะพาเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย ข้าพเจ้าได้วี่แววเรื่องพระองค์เจ้าบวรเดชฯ สะสมกำลังสวมรอยเข้ามาแต่เพื่อไม่ประมาทก่อนที่จะไปพบเจ้าคุณมโนปกรณ์ฯ และเข้าเฝ้าก็ได้ไปรายงานให้ พ.ต.อ. หลวงอดุลย์เดชจรัส รองอธิบดีกรมตำรวจทราบไว้ด้วย หลวงอดุลย์ฯ ก็บอกว่าดีแล้ว ให้รีบไปแล้วมาบอกกล่าวให้ทราบ เพราะเหตุการณ์กำลังจะลุกลาม

ถูกชวนไปปีนัง

          ต่อมาคุณหญิงสาครได้มาติดต่อกับข้าพเจ้า บอกว่าท่านเจ้าคุณมโนปกรณ์ฯต้องการพบด่วน ให้รีบไปหาที่บ้านชะอำ หัวหิน แลพจะพาเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวด้วย ข้าพเจ้าได้วี่แววเรื่องพระองค์เจ้าบวรเดชฯ สะสมกำลังสวมรอยเข้ามา แต่เพื่อไม่ประมาท ก่อนที่จะไปพบเจ้าคุณมโนปกรณ์ฯ ได้ไปรายงานให้พตอหลวงอดุลเดชจรัส รองอธิบดีกรมตำรวจทราบไว้ด้วย หลวงอดุลย์ก็บอกว่าดีแล้ว ให้รีบไปแล้วมาบอกกล่าวให้ทราบ เพราะเหตุการณ์กำลังจะลุกลาม
         ครั้นเมื่อได้ไปพบท่านเจ้าคุณมโนปกรณ์ฯ ที่บ้านชะอำ ก็เห็นกำลังสาละวนจัดกระเป๋าเดินทางออกมาต้อนรับ อาการกระวนกระวาย บอกว่ามีธุระสำคัญที่จะต้องพูดกัน ก็พอดีได้พบสมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัตนวิศิษฐ์ ทรงทักอย่างเหยียดหยามว่าไอ้กบฏ มาทำไมที่นี่ แล้วหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิวัฒน์ โอรสที่เป็นราชเลขาก็เดินตามเข้ามา พอเห็นหน้าข้าพเจ้าก็สำทับว่าคราวนี้จะแสดงให้เห็นเดชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดินแล้วว่า ประเทศสยามไม่ได้มีอาณาเขตเพียงบางกอก ไอ้พวกกิ้งก่าก่อการ เป็นไอ้พวกกบฏ จะต้องตัดหัวทำปฐมกรรมเอาเลือดมาล้างตีน เจ้าคุณมโนปกรณ์ฯ เดือดดาลตะโกนร้องว่า พูดเป็นบ้าไปได้ กำลังมีเรื่องสำคัญที่จะต้องพูดจากัน แล้วก็เรียกตัวข้าพเจ้าไปพบในห้องสองต่อสอง บอกว่าเกิดเหตุการณ์ใหญ่ พระองค์เจ้าบวรเดชฯ กำลังรวบรวมกองทัพหัวเมืองเข้ายึดพระนคร พระเจ้าอยู่หัวเป็นห่วงจะมีอันตรายและผมอายุมากแล้ว จึงรับสั่งให้ผมออกไปอยู่ที่เมืองปีนังโดยด่วน และทรงเห็นว่าคุณยูร เป็นเลขาธิการใกล้ชิดสนิทสนม รับใช้ด้วยความซื่อสัตย์ตลอดมา จึงทรงพระดำริอยากได้คุณยูรตามไปอยู่เป็นเพื่อนผม ส่วนเรื่องที่คุณยูรเอาชีวิตเข้าประกันหลวงพิบูลฯ ไว้นั้น ก็ทรงโปรดยกให้ และจะทรงพระกรุณารับเลี้ยงดูตลอดไป ถ้าตกลงรับปากก็จะรีบพาไปเฝ้าในตอนบ่ายนี้

ยอมตาย

   ข้าพเจ้านิ่งอึ้งอยู่ครู่หนึ่ง นึกในใจอยู่ว่าเป็นแผนการที่จะคัดกำลัง ตัดสมองของผู้ก่อการฯ จึงกราบเรียนไปว่า ใต้เท้าได้ยินคำพูดของกรมพระสวัสดิ์ฯ และหม่อมเจ้าวิบูลย์ ที่รับสั่งอยู่หยกๆ ไหมครับ แล้วเรียนว่าในเรื่องการยึดอำนาจครั้งนี้ กระผมได้ริเริ่มกับ พ.อ. พระยาศรีสิทธิสงคราม ซึ่งมีเงื่อนไขว่าท่านต้องเป็นผู้นำด้วยตนเอง และนอกจากการขจัดหลวงพิบูลฯ อันเป็นภาระของกระผมแล้ว ให้สัญญารับรองว่าจะไม่ทำลายคณะผู้ก่อการฯ คงให้เป็นรัฐบาลบริหารแผ่นดินต่อไป บัดนี้มากลายเป็นเรื่องของพระองค์เจ้าบวรเดชฯ เข้ามาเพื่อล้างแค้นมุ่งประหัตประหารผู้ก่อการฯ ให้สิ้นซาก แล้วใต้เท้าจะให้กระผมหนีเอาตัวรอดไปอยู่เมืองปีนังกับใต้เท้าเสมือนดังพิเภกที่พิฆาตวงศาคณาญาติสิ้น หัวเด็ดตีนขาดกระผมไปไม่ได้ จะต้องสู้ไว้เกียรติไว้ลาย และรักษาอุดมการณ์ของคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง แล้วก็ลงกราบขอขมาและโปรดนำความกราบบังคมทูลว่า จนด้วยเกล้าฯ ไม่สามารถที่จะสนองพระราชประสงค์ได้ แล้วก็ลาท่านกลับ จะรีบไปขึ้นรถด่วนตอน ๑๓.๐๐ น. ท่านเจ้าคุณมโนปกรณ์ฯ ผิดหวังหน้าตาสลด มาส่งที่รถยนต์ น้ำตาคลอ บอกว่าลาก่อนคุณยูร ไม่ตายพบกันใหม่ พอดี พ.ต.ม.จ.  ศุภสวัสดิ์ (หม่อมเจ้าชิ้น) เดินสวนเข้ามาตะโกนถามดังๆ ว่า ว่าไงนายยูร ไหนว่าจะถวายหัว เมื่อไหร่จะไปตาย ข้าพเจ้าร้องตอบสั้นๆ ไปว่า รอให้ปราบกบฏเสียก่อน (เคยเป็นนักเรียนนายร้อยเพื่อนรุ่นเดียวกันมาตั้งแต่เล็ก เวลาปลุกอยู่ยาม ถ้าไม่ตื่นก็เอาน้ำสาดบ้าง เอาเข็มขัดฟาดบ้าง สนิทสนมกันมาก) เมื่อกลับมาถึงพระนครตอนเย็นก็ตรงไปรายงานหลวงอดุลย์ฯ ในห้องทำงานกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย โดยมากทำงานอยู่จนค่ำ ได้เล่าเหตุการณ์ให้ฟัง และเสนอรายชื่อบุคคลที่ควรจับกุม หลวงอดุลย์ บอกว่าลื้อได้เรื่องราวมาปะติดปะต่อกันเป็นประโยชน์ดีมาก ขอขอบใจ ข้าพเจ้าได้ขอให้บันทึกเป็นหลักฐานแล้วก็ลากลับ”

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 06 พ.ค. 17, 11:35

บทความของคุณจิตตะเสน ปัจจะนี้ ผมได้เห็นตั้งแต่ยังเป็นฉบับโรเนียว เผยแพร่ช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ ตอนที่เริ่มมีกระแสรื้อฟื้นหันกลับมาเชียร์ ๒๔๗๕ (หลัง "วิกฤตศรัทธา" ในหมู่ปัญญาชนฝ่ายซ้าย) ไม่ใช่บทความที่ดีนัก เรื่อง ร.๗ และพระยามโนฯ มีแผนตัดหัวผู้ก่อการ ถึงกับมีเป็นร่างคำสั่งลงนาม ร.๗ และพระยามโน ดังที่คุณจิตตเสนอ้างไว้ในบทความนั้น ไม่น่าจะเป็นความจริง (กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ยังไม่ใครโดนประหาร อย่าว่าแต่ตัดหัว ซึ่งเลิกทำไปแล้ว ยิ่งตัดหัวหมู่เป็นสิบ ๆ คนแบบนั้น ยิ่งเป็นไปไม่ได้)

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

๑๖ เมษายน ๒๕๖๐
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง