azante
อสุรผัด

ตอบ: 31
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 09 เม.ย. 17, 18:00
|
|
สมเด็จ..... น่าจะเป็นสมเด็จพระบรมนะครับ
แกะข้อความว่าอยากแล้ว การตีความหมายให้เข้าใจก็ยากเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 09 เม.ย. 17, 19:38
|
|
น่าจะเป็นสมเด็จทรงกรมมากกว่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
azante
อสุรผัด

ตอบ: 31
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 09 เม.ย. 17, 20:40
|
|
คงจะเป็น "เจ้าชายอุรพงษเปนผู้ได้รับคำบ่น" ตามที่คุณเพ็ญชมพูอ่านออกมา เพราะพระองค์เจ้าชายอุรุพงษ์ตามเสด็จประพาสยุโรปด้วย http://oknation.nationtv.tv/blog/panuwat838084/2010/04/06/entry-1ส่วนที่คิดว่า เป็น สมเด็จพระบรมเจ้าจอม น่าจะหมายถึง สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชเทวี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 10 เม.ย. 17, 07:44
|
|
ยกข้ามหน้ามาเพื่อประกอบการวินิจฉัย  
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 10 เม.ย. 17, 10:40
|
|
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับในรัชกาลที่ ๕ เล่าเกี่ยวกับการเรียกชื่อคนในวังของคนังว่า มีเจ้าจอมหลายท่านที่คนังใช้คำว่า "อ้าย" นำหน้า แต่เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวยเป็นผู้หนึ่งซึ่งรอดจากการถูกเรียกเช่นนี้ไปได้ ในหนังสือ "ศรุตานุสรณ์" บทความ "เรื่องของนายคนังมหาดเล็ก" เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับในรัชกาลที่ ๕ เรียบเรียง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓เรียกเจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมเอื้อนว่า "อ้ายเอิบ" "อ้ายเอื้อน" เรียก เจ้าจอมเอี่ยมว่า "อ้ายหมอนวด"
ผู้ที่คนังไม่เรียกอ้ายเลยก็มีเหมือนกัน เช่น เรียกเจ้าจอมจรวยว่า "นางรวย" เรียกเจ้าจอมมารดาวาดว่า "ปลาไหล” ส่วนเจ้าจอมสมบูรณ์ คนังเรียกว่า "ท่านบุญอาคุณ” สำหรับตัวข้าพเจ้าเองคนังเรียกว่า "ดาบ" ไม่มีอ้ายไม่มีท่าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 10 เม.ย. 17, 17:02
|
|
ขอบคุณทั้งสองท่านอย่างสูงค่ะ พอถอดความออกมาได้แล้ว ใครพอจะตีความได้บ้างคะ ว่าทรงหมายถึงใครหรืออะไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 10 เม.ย. 17, 17:07
|
|
ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพม.ร.ว.จรวย ม.จ.พูนพิสมัยทรงระบุถึงพระราชหัตถเลขาฉบับที่สอง ที่ทรงมีถึงเจ้าจอมท่านนี้ น่าเสียดาย ฉบับที่ถ่ายเอกสารน่าจะตัดส่วนนี้ออกไป เลยไม่รู้ว่าพระราชหัตถเลขามีใจความว่าอย่างไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 12 เม.ย. 17, 07:37
|
|
อ่านได้ว่า "สมเด็จทรงกรม" ครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 12 เม.ย. 17, 07:57
|
|
พ...รม 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
azante
อสุรผัด

ตอบ: 31
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 12 เม.ย. 17, 12:08
|
|
ส่วนที่คิดว่า เป็น สมเด็จพระบรมเจ้าจอม คือลองเดาใจความว่า พระองค์คงคิดถึงเจ้าจอมจรวยเนื่องจากไม่ผู้ดูแลพระองค์ท่าน เพราะเจ้าจอมจรวยเป็นเจ้าจอมอยู่งาน มีหน้าที่ถวายปรนนิบัติรับใช้ทุกวัน ตั้งแต่ตื่นบรรทมจนเสวย ไม่เหมือนบาทบริจาริกาชั้นสูงเช่น เจ้าจอมที่เป็นชั้นเจ้าคุณ(ในขณะนั้นก็มีเพียงเจ้าคุณจอมมารดาแพ ) หรือที่เป็นถึงชั้นสมเด็จพระบรมเช่นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชเทวี ซึ่งไม่ได้ถวายปรนนิบัติใกล้ชิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
azante
อสุรผัด

ตอบ: 31
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 12 เม.ย. 17, 22:19
|
|
ส่วนที่คิดว่า เป็น สมเด็จพระบรมเจ้าจอม คือลองเดาใจความว่า พระองค์คงคิดถึงเจ้าจอมจรวยเนื่องจากไม่มีผู้ดูแลพระองค์ท่าน เพราะเจ้าจอมจรวยเป็นเจ้าจอมอยู่งาน มีหน้าที่ถวายปรนนิบัติรับใช้ทุกวัน ตั้งแต่ตื่นบรรทมจนเสวย ไม่เหมือนบาทบริจาริกาชั้นสูงเช่น เจ้าจอมที่เป็นชั้นเจ้าคุณ(ในขณะนั้นก็มีเพียงเจ้าคุณจอมมารดาแพ ) หรือที่เป็นถึงชั้นสมเด็จพระบรมเช่นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชเทวี ซึ่งไม่ได้ถวายปรนนิบัติใกล้ชิด
พิมพ์ตกไปครับ ไม่มีผู้ดูแลพระองค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 26 เม.ย. 17, 16:00
|
|
ขอบคุณค่ะ คุณ azante
ในการเสด็จประพาสยุโรปทั้งสองครั้ง ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จเป็นผู้ชายทั้งหมด ไม่มีฝ่ายในตามเสด็จไปเลย ก็เดาว่าการรับใช้ในเรื่องส่วนพระองค์ ผู้ชายคงทำได้ไม่ประณีตถี่ถ้วนเท่าผู้หญิง จึงทรงคิดถึงเจ้าจอมจรวยผู้ทำงานถวายอยู่ทุกวัน คงจะคล่องแคล่วรู้งานดีทุกอย่าง
หน้าที่ของเจ้าจอมจรวยไม่ได้มีแค่เฉพาะตอนเช้า ในตอนค่ำ ก็ต้องขึ้นไปตั้งเครื่องเสวยมื้อเย็น แล้วอยู่รับใช้ไปจนเข้าบรรทมเวลาตีห้าถึงตีหก เพราะเจ้านายในยุคนั้นใช้เวลากลางคืนแทนกลางวัน แปลว่าเจ้าจอมจรวยก็ต้องตื่นอยู่ทั้งคืน หน้าที่พิเศษเพิ่มเติมคืออ่านหนังสือถวาย หน้าที่นี้เป็นหน้าที่ประจำของเจ้าจอมมารดาเลื่อน แต่คืนไหนเจ้าจอมมารดาติดขัดด้วยเรื่องอะไรก็ตาม เจ้าจอมจรวยก็ต้องอ่านถวายแทน หน้าที่อีกอย่างคือ เมื่อทรงแปลตำรากับข้าวฝรั่งเป็นภาษาไทย เจ้าจอมจรวยก็มีหน้าที่จดลงไว้ ความจริงเป็นหน้าที่ของราชเลขานุการิณีคือสมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล แต่ถ้ายังไม่เสด็จขึ้นมา เจ้าจอมจรวยก็มีหน้าที่จดลงแทน แสดงว่าการอ่านเขียนภาษาไทยของท่านเก่งทีเดียว และเมื่อทรงประกอบอาหารตามตำรา เจ้าจอมจรวยก็ต้องอยู่เฝ้าในเวลานั้นด้วย จะกลับลงมาที่พักได้ก็ต่อเมื่อเจ้าจอมที่เข้าเวรขึ้นไปทำหน้าที่แล้ว ฟังๆดูก็เป็นงานประจำที่ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวมากทีเดียว และเป็นงานหนักด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 26 เม.ย. 17, 16:15
|
|
ม.จ.พูนพิศมัย ดิสกุลผู้นิพนธ์ประวัติของเจ้าจอมจรวยกล่าวถึงท่านว่า "เป็นคนอ่อนหวานนุ่มนวล เข้ากับคนได้ทุกชั้นทุกเหล่า จึงเป็นที่โปรดปรานของเจ้านายทุกพระองค์ตลอดมา" อ่านแล้วก็พอเข้าใจได้ว่า งานของเจ้าจอมจรวยเป็นงานรับใช้ ในเรื่องส่วนพระองค์ที่จะต้องละเอียดลออพิถีพิถัน คนที่จะทำงานนี้ได้อย่างดีติดต่อกันทุกวัน ยาวนานเป็นปีๆ จะต้องเป็นคนใจเย็น อดทนและประณีต เป็นคนที่ประสานงานกับคนอื่นๆได้เรียบร้อยได้เรื่องได้ราว เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 5 บรรดาพระมเหสีเจ้านายส่วนใหญ่ย้ายออกจากพระบรมมหาราชวังมาประทับที่ภายนอก พระวิมาดาเธอฯก็เป็นเจ้านายองค์หนึ่งที่ย้ายออกมาข้างนอก เจ้าจอมจรวยก็ติดตามออกมาอยู่ด้วย จนพระวิมาดาฯ สิ้นพระชนม์ เมื่อพ.ศ. 2472 ในรัชกาลที่ 7 เมื่อสิ้นพระวิมาดาฯ ข้าหลวงในวังก็แยกย้ายกระจัดกระจายกันไป เจ้าจอมจรวยย้ายไปพำนักกับท่านป้า ม.จ.คอยท่า ปราโมช จนท่านป้าสิ้นชีพิตักษัยในพ.ศ. 2483 เจ้าจอมจรวยก็ย้ายมาพึ่งบุญพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาที่วังตำหนักทิพย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 27 เม.ย. 17, 09:54
|
|
เจ้าของตำหนักทิพย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม จากสกุลไกรฤกษ์ ตัวตำหนักเป็นสถาปัตยกรรมแบบทิวดอร์ของอังกฤษ ยังมีมาจนปัจจุบันนี้ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ตำหนักเป็นมรดกแก่ทายาทของคุณพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการพระราชวัง และท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์ (สุจริตกุล)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 27 เม.ย. 17, 09:57
|
|
พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาสิ้นพระชนม์เมื่อพ.ศ. 2501 เจ้าจอมม.ร.ว. จรวยก็ยังอยู่ในตำหนักต่อมาอีกถึง 10 ปี จนถึงแก่กรรมด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ 84 ปี 5 เดือน ในพ.ศ. 2511
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|