เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 5379 ความอยุติธรรมของศาลพิเศษ ๒๔๘๒
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 24 เม.ย. 17, 09:49

หนังสือ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย นี้ ผมสนใจอยากจะได้มาอ่านครับ เพราะว่า ผมเคยเอาพระไตรปิฎก (ฉบับประชาชน) เล่มพระวินัยมาอ่าน แล้วก็พบว่า สิกขาบทเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยของพระ มีหลักการหลายอย่างคล้ายคลึงกับฐานความผิดในทางอาญา โดยเฉพาะหลักเจตนาครับ กล่าวคือ ในทางอาญาการกระทำที่จะถือเป็นความผิด นอกจากกะมีองค์ประกอบภายนอก คือการกระทำแล้ว ยังต้องมีองค์ประกอบภายใน คือมีเจตนา คือมีสำนึกรับรู้การกระทำของตนด้วย ตัวอย่างง่ายก็เหมื่อนวลีที่พูดกันทั่วไปครับว่า "ละเมอ(ถ้าเป็นการละเมอจริงๆนะครับ)ฆ่าคนตายก็ไม่ผิด"

พระวินัยก็เช่นกันครับ พระภิกษุจะต้องอาบัติก็ต้องมีองค์ประกอบด้านการกระทำ และด้านความรู้สำนึก คือเจตนาเหมือนกัน ผมจึงเชื่อว่า ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย จริงๆ เพียงแต่กฎหมายของประเทศไทย ผ่านยุคการปรับปรุงให้เป็นระบบกฎหมายตะวันตก เพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตมาก่อน ดังนั้น ศาสนา ที่เป็นที่มาของกฎหมายไทยจึงอาจจะไม่ใช่ พระพุทธศาสนา เสียทั้งหมด แต่ผสมศาสนาทางตะวันตกเข้ามาด้วยอยู่มาก

อันนี้ คือความคิดผมนะครับ

เมื่อเห็นชื่อหนังสือ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย จึงสนใจอยากอ่านความเห็นของท่านบ้าง หนะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 24 เม.ย. 17, 11:38

ตามนี้เลยครับ



https://archive.org/details/unset0000unse_u7m2
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 24 เม.ย. 17, 15:39

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 10:46

ได้อ่านหนังสือแล้วครับ จับใจความได้ดังนี้ครับ

1. หนังสือเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ หากมนุษย์ไม่อยู่ร่วมกันและปฏิบัติหน้าที่เกื้อกูลกัน มนุษย์แต่ละคนย่อมไม่สามารถอยู่รอดได้
2. เมื่อมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นสังคม ก็ต้องมีการกำหนดข้อบังคับสำหรับความสงบสุขของสังคมนั้น
3. เกิดหลักศาสนา
4. มีการแยกข้อบังคับเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ออกจากหลักศาสนา ข้อบังคับที่แยกออกมาก็คือ กฎหมาย
5. ศีล 5 ทั้งหมด บัญญัติเป็นฐานความผิดในกฎหมายอาญาทั้งสิ้น
5. บุญและบาป บุญคือสิ่งที่กระทำแล้วเกิดผลดี สมควรกระทำ บาปคือสิ่งที่กระทำแล้วเกิดผลร้าย ไม่สมควรกระทำ
6. หลักความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว เมื่อทำผิดกฎหมายแล้ว จะอ้างว่า ตนไม่รู้กฎหมายไม่ได้
7. แต่กฎหมายมีมากมาย คนทั่วไปคงเรียนรู้ได้ไม่หมด เช่นนั้น จะทำอย่างไรจึงจะไม่ทำผิดกฎหมาย คำตอบคือ พึงถือศีล 5 ให้เคร่งครัดเข้าไว้
8. ตั้งแต่หน้าที่ 45 เหมือนจะเป็นการเล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของผู้เขียน คือ ถึงจะถือศีล 5 บริบูรณ์ก็อาจถูกคนพาลเล่นงานเอาได้ แต่ก็อย่าย่อท้อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 11:01

มีสาระดีนะครับ ขอบคุณที่สรุปมาถ่ายทอด ผมชอบตอนที่ว่า ถึงจะถือศีล 5 บริบูรณ์ก็อาจถูกคนพาลเล่นงานเอาได้ แต่ก็อย่าย่อท้อ

อยากขอเพิ่มนิดนึงว่า แม้นจะไม่ใช่ภัยพาล ก็อาจจะโดนภัยอย่างอื่นได้เช่นกัน แต่ก็อย่าย่อท้อจนเลิกถือศีล
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 26 เม.ย. 17, 16:41

คุณตระกูล วินิจนัยภาค อดีตอัยการสูงสุด ได้เข้าไปในFBของผมขณะที่กำลังเรื่องเดียวกับกระทู้นี้อยู่ โดยท่านได้เข้าไปตอบคำถามที่มีคนถามผมว่าไม่มีรูปท่านผู้พิพากษายันต์ วินิจนัยภาคหรือ แล้วผมตอบว่าน่าเสียดายที่ผมหาไม่ได้ โดยท่านได้ต่อการสนทนาว่าดังนี้

รูปคุณพ่อครับ
คุณแม่เนย ผมเรียกท่านว่า "แม่ใหญ่"
หลังจากท่านสิ้นชีวิต คุณพ่อได้แต่งงานกับคุณแม่ผมเมื่อได้รับนิรโทษกรรม หลังจากเป็น "นักโทษชาย นช." อยู่ 5 ปี 5 เดือน หย่อน 5 วัน (คุณพ่อเล่าให้ฟังตอนผมเล็กๆ) ..มีผมเป็นลูกชายคนโต

ส่วนลูกชายคนโตคุณแม่เนย คือ ดร. วินิจ วินิจนัยภาค อดีตรองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายที่ประทับ และอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา แต่เสียชีวิตจากเครื่องบินเลาด้าตกที่ ด่านช้าง สุพรรณบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2533 ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 26 เม.ย. 17, 17:58

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง