เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 4662 ทำไมชื่อผู้หญิงต้องลงท้ายด้วยสระอาครับ
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
 เมื่อ 05 มี.ค. 17, 22:27


พนิดา นิตยา วริษฐา รัตนา สุรางคนา สิริยุพา จิตนา ดากานดา ชลธิชา เซ็นทรัลบางนา (อันหลังไม่ใช่แล้ว  ลังเล )

ส่วนผู้ชายมีเหมือนกันแต่น้อยกว่าเยอะ วิทยา เอ่อ.... ผมนึกออกชื่อเดียวแฮะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 มี.ค. 17, 06:57

สัญญา วิทยา ศักดา สุธา เดชา อนุชา เชษฐา เศรษฐา วิชา ธนา มุทิตา อิศรา อาษา ปริญญา ประชา ปัญญา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 มี.ค. 17, 09:04

มยุรี   ทรงศรี  วัชรี  ปราณี   อัญมณี  มัทรี   เกตุวดี   อัญชลี   จิตรี   พัชรี  
ไม่มี สระอา สักตัวค่ะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 มี.ค. 17, 10:12

          เสียง อา อาจ จะมีความหมายบ่งถึงเพศหญิง จาก"การแปลงเป็นเพศหญิงทางบาลี"
ด้วยการเติมเสียงลงท้าย "อิอา" ดังคำว่า อุบาสก - ชาย จึงกลายเป็น อุบาสิกา (และต่อมาเป็น สีกา)
          ในขณะที่เสียง อี ก็บ่งถึงเพศหญิงเช่นกัน (สงสัยว่าอาจจะมาจากเสียง อี ของ สตรี) ในอดีตมี
บางคน(เช่นในรายการเพชฌฆาตความเครียด) เสนอว่าให้เรียกโฆษกหญิงว่า โฆษกี
          ต่อมา อ."ภาษาไทยวันละคำ" จึงได้ออกอากาศทางรายการบอกว่าให้ใช้หลักการข้างต้น นั่นคือ
แปลงโดยการลงท้ายด้วยเสียง อิอา ดังนั้น โฆษก ถ้าจะบ่งเพศหญิงก็จะใช้คำว่า โฆษิกา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 มี.ค. 17, 10:35

ชื่อที่จะบ่งบอกว่าเป็นเพศใด มีข้อบ่งชี้ ๒ ประการคือ  

๑. ความหมาย ชื่อผู้หญิงจะมีคำที่หมายถึงความสวยงาม ความนุ่มนวล อ่อนโยน  ส่วนชื่อผู้ชายจะมีคำที่หมายถึง ความแข็งแกร่ง ห้าวหาญ ความฉลาด (เรื่องนี้เป็นความคิดแต่โบราณว่าการศึกษาสำหรับผู้ชายเท่านั้น)

๒. เสียงสระ สระเสียงยาว (สระอา สระอี สระอู) แสดงถึง ความนุ่มนวล อ่อนโยน อันเป็นลักษณะของผู้หญิง  ส่วนสระเสียงสั้น (สระอะ สระอิ สระอุ) แสดงถึงความแข็งแกร่ง อันเป็นลักษณะของผู้ชาย ในภาษาฝรั่งเศสคำหน้าบอกเพศก็มีลักษณะเช่นนี้ คือ la สำหรับเพศหญิง และ le สำหรับเพศชาย

บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 มี.ค. 17, 13:36

ขอบคุณทุกท่านครับ สละอีก็เยอะเหมือนกันแฮะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 มี.ค. 17, 14:25

เรื่องชื่อ สำคัญไฉน ลองคลิกไปอ่านกันนะครับ https://jingjonews.com/2014/09/14/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD/
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 มี.ค. 17, 08:53

นิสิต - นิสิตตา  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 07 มี.ค. 17, 10:42

กระเป๋า - กระปี๋  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 07 มี.ค. 17, 11:10

ไหนๆก็พูดเรื่องเพศหญิง และคุณ Superboy ก็อยู่ด้วย ผมสงสัยมานานแล้วครับ เหตุใด เรือ จึงนับว่าเป็นเพศหญิงหละครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 มี.ค. 17, 17:39

ตอบคุณ Naris 
มาจากขนบธรรมเนียมของฝรั่งค่ะ
The early term for a ship, specifically in Latin, was the word "navis," which was a feminine term which translates as "ship." By extension, when referring to a sea-going vessel, crew and captains came to use feminine pronouns when referencing the ship directly. So, rather than a gender neutral pronoun like "it," the ship became "she." This translated later into English as a simple tradition, though potentially because English was once also known for having a number of gender specific nouns for objects.
In truth, the real reason behind various vehicles being referred to as female may never be fully understood. It could simply be a way that predominantly male seafarers came to express their affection for the object that sustained them while in dangerous situations and helped to provide food for their families when coastal fishing became a major part of their lives. Regardless of the origin, the tradition is engraved in human culture all around the world and isn't likely to fade in the near future.
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 มี.ค. 17, 09:17

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 มี.ค. 17, 19:43

ตะหานน้ำว่างี้ครับ ส่วนตัวคิดว่าตรงกว่า แฮร่ !!  แลบลิ้น


Why is a ship called a SHE?

A ship is called a 'she' because there is always a great deal of bustle around her; there is usually a gang of men about, she has a waist and stays; it takes a lot of paint to keep her good looking; it is not the initial expense that breaks you, it is the upkeep; she can be all decked out; it takes an experienced man to handle her correctly; and without a man at the helm, she is absolutely uncontrollable. She shows her topsides, hides her bottom
and, when coming into port, always heads for the buoys.
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 มี.ค. 17, 04:48

ไหนๆก็พูดเรื่องเพศหญิง และคุณ Superboy ก็อยู่ด้วย ผมสงสัยมานานแล้วครับ เหตุใด เรือ จึงนับว่าเป็นเพศหญิงหละครับ
ถ้าตอบอย่างนี้พอได้ไหมครับ  เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเรือคือ แม่ย่านาง (ไม่ใช่พ่อย่านาง)
เรือกรีก-โรมัน หัวเรือก็เป็นเทพสตรี  จึงใช้ she
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 มี.ค. 17, 04:56

         เสียง อา อาจ จะมีความหมายบ่งถึงเพศหญิง จาก"การแปลงเป็นเพศหญิงทางบาลี"
ด้วยการเติมเสียงลงท้าย "อิอา" ดังคำว่า อุบาสก - ชาย จึงกลายเป็น อุบาสิกา (และต่อมาเป็น สีกา)
          ในขณะที่เสียง อี ก็บ่งถึงเพศหญิงเช่นกัน (สงสัยว่าอาจจะมาจากเสียง อี ของ สตรี) ในอดีตมี
บางคน(เช่นในรายการเพชฌฆาตความเครียด) เสนอว่าให้เรียกโฆษกหญิงว่า โฆษกี
          ต่อมา อ."ภาษาไทยวันละคำ" จึงได้ออกอากาศทางรายการบอกว่าให้ใช้หลักการข้างต้น นั่นคือ
แปลงโดยการลงท้ายด้วยเสียง อิอา ดังนั้น โฆษก ถ้าจะบ่งเพศหญิงก็จะใช้คำว่า โฆษิกา
"โฆษิกา" ดูยุ่งยาก  ผมว่าใช้ "โฆษกหญิง" ดีกว่า  เราไม่จำเป็นต้องเลียนไวยากรณ์บาลีไปเสียทุกคำ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง