เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 27348 ทำงานกับช้าง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 24 เม.ย. 17, 19:49

ทำให้นึกถึงเรื่องของการเอาตัวรอด ซึ่งอาจจะเป็นอีกหนึ่งกระทู้สั้นๆที่น่าจะพอมีประโยชน์อยู่บ้าง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 18:21

อาหารของช้างที่ดูจะไม่ยุ่งยากนักเพราะเราปล่อยให้เขาหากินเอง อีกทั้งยังมีมากมายเพราะอยู่ในพื้นที่ป่าเขาอีกด้วย ซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นนั้น

เนื่องจากคณะสำรวจเดินเข้าไปในพื้นที่ๆเกือบจะไม่มีผู้คนใดเคยเข้าไป ดังนั้น จุดที่จะนำช้างไปปล่อยให้หากินก็จึงมักจะอยู่ในพื้นที่สองข้างทางที่เราเดินผ่านมา ควาญช้างจะคอยดูในระหว่างที่เดินไปว่าบริเวณใดน่าจะเหมาะสม การปล่อยช้างให้หากินจึงเป็นการปล่อยในพื้นที่ๆเดินผ่านมาแล้ว คืออย่างน้อยก็พอจะรู้จักพื้นที่ ไม่นำไปปล่อยในพื้นที่ๆข้างหน้าที่ยังไม่ได้เดินไป   ฝ่ายพวกผมซึ่งเดินสำรวจแกว่งไปแกว่งมา แยกไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ก็จะคอยสังเกตว่ามีพื้นที่ใดบ้างที่อาจจะเหมาะกับการนำช้างมาปล่อยให้หากิน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 18:36

ลักษณะของพื้นที่ๆจะปล่อยช้างนั้น มีข้อพิจารณาที่สำคัญอยู่ 3 เรื่อง คือ เรื่องความสมบูรณ์ในเชิงปริมาณของอาหารที่ช้างสามารถใช้งวงตวัดเก็บเกี่ยวมากินได้   เรื่องของภูมิประเทศที่ควรจะต้องเป็นที่ในหุบห้วยแยกที่ยังคงมีแอ่งน้ำสำหรับดื่มกิน   และเรื่องของความใกล้ไกลจากจุดที่เราตั้งแคมป์แรม ซึ่งหมายถึงควรจะต้องอยู่ไม่ไกลเกินกว่าที่จะได้ยินเสียงช้างร้อง และควรจะมีเส้นทางเดินที่สะดวกและง่ายพอที่จะเดินเข้าไปถึงจุดที่ช้างอยู่ได้โดยเร็ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 19:14

ก็คงพอจะเห็นภาพนะครับว่า งานเดินได้ด้วยดีก็เพราะการถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยกันคนละไม้ละมืออย่างแท้จริง เป็นลักษณะงานที่ไม่อยู่ใน doctrine แบบ bossy
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 25 เม.ย. 17, 19:48

คงต้องขยายความเรื่องที่ต้องพิจารณา 3 เรื่องนั้น

ในเรื่องที่เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของอาหารนั้น มันก็มีทั้งในเชิงของ ปริมาณ และ คุณภาพ  ซึ่งก็เป็นเรื่องปรกติที่เราจะต้องนึกถึงในการดูแลช้างให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ตลอดช่วงเวลาการใช้งาน  แต่ในป่าเราจะจัดการอย่างไรที่จะทำให้มีความสมดุลย์และมีความเหมาะสมในองค์รวม 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 26 เม.ย. 17, 19:01

แม้ว่าป่าในภาพหนึ่งคือมีต้นไม้ใบไม้เยอะ แต่ในพื้นที่หุบห้วยเท่านั้นที่จะมีพืชหลากหลายพันธุ์ที่มีต้นเล็กแต่ใบมาก ต้นไม่สูงและง่ายต่อการรูดใบหรือหักกิ่งมากินของช้าง  พืชที่จัดเป็นพวกยาสมุนไพรส่วนมากก็ขึ้นอยู่ในพื้นที่ลักษณะนี้ อาทิ ต้นค้างคาวดำที่นิยมปลูกกันนั้นก็ขึ้นอยู่ในพื้นที่เช่นนี้ (พวกผมเรียกชื่อเล่นๆกันว่า ว่านจูงนางเข้าห้อง) 

กระนั้นก็ตามควาญช้างก็ยังพบว่าช้างดูจะได้อาหารทั้งในเชิงของปริมาณและคุณภาพน้อยไปหน่อย  ก็ให้มีอยู่วันหนึ่งที่พบว่าเมื่อเอาช้างไปปล่อยในบริเวณที่มีกล้วยป่าขึ้นอยู่มาก ในวันรุ่งขึ้นช้างจะดูสดใส กระปรี้ประเปร่า ตัวอ้วนกลมขึ้นมาทันตาเห็น  ก็เลยเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทุกคนจะต้องช่วยกันสังเกตหาพื้นที่ดังกล่าวด้วย  ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าทุกวันจะต้องเอาช้างไปปล่อยให้มันกินแต่กล้วยป่า   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 26 เม.ย. 17, 19:55

ช้างเป็นสัตว์ที่มีระบบการย่อยอาหารไม่ดีนัก   หากยืนอยู่ข้างๆตัวช้างก็จะได้ยินเสียงของโรงงานย่อยอาหารในตัวช้างทำงาน  และหากได้เดินตามก้นช้างก็จะได้สัมผัสกับการระบายลมและการถ่ายมูลของช้าง    ที่เราเห็นภาพคนเดินนำอยู่หน้าช้างก็ด้วยเหตุนี้ ส่วนที่เดินตามหลังช้างนั้นก็มักจะต้องเว้นระยะห่าง

มูลของช้างนั้นมีความหยาบมากจนเกือบจะบอกถึงอาหารที่มันกินเข้าไปได้เลย  ช้างที่กินต้นกล้ายป่าและดูอ้วนกลมทันตาเห็นนั้น  เมื่อมันเดินไปถ่าย(อึ)ไป เราก็ได้เห็นเหมือนกันว่ามันก็ลดความอ้วนลงได้เร็วเช่นกัน   ก็คงจะนึกภาพออกนะครับว่า ต้นกล้วยนั้นฉ่ำไปด้วยน้ำและมีใย เมื่อมันถ่ายออกมา ใยต้นกล้วยที่พันกันก็จะดึงมูลของมันออกมาเป็นยวงยาวกว่าปรกติ เรียกว่าถ่ายออกโดยไม่ต้องเบ่งแถมออกหมดท้องจริงๆ     ฉะนั้น จะให้ช้างกินแต่ต้นกล้วยป่า มันก็จะผอมได้เหมือนกัน   การจัดการก็คือ เว้นระยะการกินกล้วยป่าของมัน ให้ 3-4 วันครั้งหนึ่ง 
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 27 เม.ย. 17, 18:21

บ่อยครั้งที่หยวกกล้วยก็เป็นอาหารของคน   แกนในของต้นกล้วยส่วนที่ใกล้ยอดนั้น เอามาจิ้มน้ำพริกก็ได้ เอามาแกงก็ได้ ซึ่งในเรื่องของการเอามาแกงนั้น นอกจากจะทำหน้าที่เสมือนผักแล้ว (ต้องใช้มือ หักให้เป็นท่อนสั้นๆ ดึงแยกออกจากกันเพื่อจะได้ขวั้นเอาใยออกไปให้มากที่สุด...กลัวเป็นเหมือนอึช้าง  ยิงฟันยิ้ม)  ก็เพื่อเป็นการเพิ่มเนื้อในน้ำแกงมิให้ดูมีแต่น้ำจ๋องแจ๋ง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 27 เม.ย. 17, 18:37

นอกจากจะใช้หยวกกล้วยในการเพิ่มปริมาณเนื้อในนำแกงแล้ว ก็ยังมีไม้อีกชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ต้นตะคล้ำ (ตะครั้ม ?) เป็นต้นไม้ใหญ่

เราใช้มีดขูดผิวของมันออกมาเป็นขุยๆ เอาไปใส่ในแกงและผัดเผ็ดต่างๆ เพิ่มปริมาณเนื้อได้อักโขเลยทีเดียว  ไก่ตัวหนึ่ง สับแบบลาบทั้งกระดูก เมื่อนำมาผัดหรือแกงและใส่ขุยต้นตะคล้ำเข้าไปก็พอจะทำให้รู้สึกได้คล้ายกับแกงน้ำข้นที่มีเนื้ออยู่เยอะ   ยิ่งหากนำขุยตะคล้ำไปใส่ในลาบต่างๆด้วยแล้ว ก็เกือบจะแยกไม้ออกเลยว่ากำลังเคี้ยวเนื้อหรือเคี้ยวเยื่อไม้ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 27 เม.ย. 17, 18:50

ใบตองกล้วยป่าหรือกล้วยตานี ไม่กรอบแต่มีความเหนียวมากพอที่จะนำมาใช้ในการห่ออาหารได้หลายชนิดได้เป็นอย่างดี    ข้าวต้มมัด หมูยอ ขนมเทียน ขนมเข่ง ...ฯลฯ ล้วนนิยมใช้ใบตองกล้วยป่า/กล้วยตานีกันทั้งนั้น   

ท่านที่มีที่ดินว่างเปล่าน่าจะลองพิจารณาปลูกกล้วยป่า/กล้วยตานีเพื่อขายใบตองบ้างนะครับ เป็นกล้วยที่ปลูกง่ายตายยาก ราคาใบตองต่อมัด (นน.3-5 กก.) มีตั้งแต่ไม่กี่สิบบาทไปจนถึงเป็นหลักร้อยแก่ๆ(ขึ้นอยู่กับฤดูกาล)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 27 เม.ย. 17, 19:37

ขอขยับต่อเรื่องกินอีกหน่อยครับ

ในบริเวณที่เป็นตะพักลำน้ำในห้วย (stream terrace) มักจะมีต้นบุกขึ้นอยู่กระจัดกระจาย   ต้นบุกก็เก็บเอามากินได้ อร่อยมากเสียอีกด้วย   

ผมมีความรู้น้อยมากเกี่ยวกับต้นบุก พอจะรู้เพียงว่าจะตัดต้นลักษณะใดมาทำกินได้เท่านั้น   เท่าที่รู้นั้น บุกมีอยู่หลายชนิด ซึ่งชนิดที่เก็บเอามากินกันเป็นชนิดที่เรียกว่า บุกคางคก   อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ทิงเพลาะ (ซึ่งยังไม่สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นนี้ได้เลย)    ต้นทิงเพลาะ มีลำต้นขนาดเล็ก มีผิวเนียนสีใบตองอ่อน ลำต้นมีขนาดใหญ่กว่านิ้วหัวแม่มือเล็กน้อย และสูงประมาณระดับเอว  ต่างกับบุกคางคกที่มีลำต้นใหญ่ประมาณข้อมือ สีของลำต้นมีสีคล้ายสีของเสื้อผ้าลายพรางสีเขียวของทหาร ผิวของลำต้นขรุขระ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 27 เม.ย. 17, 20:10

ต้นบุกนั้น ส่วนมากจะรู้กันว่า เอามาทำขนมบุก ซึ่งเป็นขนมโบราณที่หาซื้อกินได้ยากแล้ว และแป้งจากหัวบุกนั้นก็เอามาทำเป็นอาหารเพื่อช่วยในการลดความอ้วน แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าต้นบุกนั้นเอามากินกับน้ำพริกก็อร่อยมากๆ ของโปรดของผมเลยทีเดียว แต่กระนั้นก็กล้าๆกลัวๆทุกครั้งที่กินมัน

ต้นบุกเป็นพืชอย่างหนึ่งที่มีชื่อเสียงในเรื่องของเมื่อเอามาทำอาหาร กินแล้วเกิดอาการคันคอ  ไม่ต่างไปจากพืชอีกชนิดหนึ่งที่กินแล้วก็อาจเกิดอาการคันคอได้เช่นกัน ก็คือ ต้นบอน (ไหลบอน)

ก็มีภูมิปัญญาของชาวบ้านแต่โบราณกาลที่ได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมาถึงวิธีนำมาใช้ประกอบอาหาร  ซึ่งอาหารหลายอย่างบนโต๊ะอาหารของเราในปัจจุบันก็มีวิธีการปรุงที่ซ่อนไว้ซึ่งภูมิปัญญาเหล่านั้นที่เราไม่รู้กัน
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 28 เม.ย. 17, 18:49

หากจะเคยสังเกตก็คงพอจะนึกออกว่า ทั่วทุกภาคของประเทศของเราจะมีแกงประเภทที่ใช้น้ำมะขามเปียกในการปรุงรส ซึ่งแกงเหล่านั้นก็มักจะเป็นแกงที่ใช้พืชผักเป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อในแกง  ที่ใช้น้ำมะขามเปียกนั้นก็คือเอาไปช่วยกำจัดอาการคัน (ในปากในคอ) ที่ไม่พึงประสงค์  และแกงเหล่านั้นก็ปรุงรสให้มีความกลมกล่อมและมีความอร่อยได้ค่อนข้างจะยากเสียด้วย 

ผมเคยพยายามหาเหตุผลว่าด้วยเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ก็ได้คำตอบจากเอกสารทางวิชาการว่า (ฉบับหนึ่ง) เป็นเพราะกรดที่มีอยู่ในน้ำมะขามเปียกนั้นมันไปช่วยละลายผลึกเล็กๆของสารประกอบทางเคมีบางชนิด (ที่ทิ่มแทงผิวเนื้อในปากและในคอ) ที่มีอยู่ในพืชผักประเภทที่ทำให้เกิดอาการคัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 28 เม.ย. 17, 19:07

ก็มีอีกวิธีการกำจัดความคันอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้กันในหมู่ผู้คนในเมือง ก็คือใช้วิธีการต้ม (เคี่ยว) หรือนึ่งให้สุกจนเปื่อยนิ่ม   ซึ่งในป่าคงจะทำวิธีนี้ไม่ได้  ด้วยข้อจำกัดนี้ก็จึงใช้วิธีการใส่น้ำมะขามเปียกลงไปแทน
     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 28 เม.ย. 17, 19:11

คงจะไม่ขยายความต่อ เดี๋ยวจะกลายไปเป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.11 วินาที กับ 20 คำสั่ง