เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 27351 ทำงานกับช้าง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 23 มี.ค. 17, 19:09

สัตว์ที่ไปกินโป่งก็คือการไปกินดินที่มีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพื่อให้กระบวนการทาง Metabolism ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ สัตว์ที่รู้สึกเจ็บป่วยจะต้องพยายามไปกินดินโป่งเพื่อรักษาตนเอง ดินโป่งจึงมีสภาพคล้ายยาและอาหารเสริมเพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ    แต่ทำไมหรือด้วยเหตุใดสัตว์จึงต้องเป็น ณ จุดๆนั้น ทั้งๆที่ก็มีดินตะกอนจากห้วยและดินที่ผุพังมาจากหินกระจายอยู่ทั่วไปหมด     คงมิใช่เพราะช้างเป็นผู้คิดว่าจุดใหนถึงจะดี จะเหมาะที่จะสร้างให้เป็นโป่ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 23 มี.ค. 17, 19:49

ย้อนมาพิจารณาในอีกมุมหนึ่ง   เมื่อการกินโป่งก็คือการกินดินและเป็นการกินเพื่อให้ได้แร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับความสมบูรณ์ของร่างกาย  ก็แสดงว่า ณ จุดที่เป็นโป่งนั้นๆจะต้องมีดินที่มีแร่ธาตุที่สมบูรณ์  แต่ก็อีกแหละ ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่า แล้วทำไมจึงต้องกินดินที่โป่งนั้นบ้างโป่งนี้บ้าง ข้ามไปไขว้มา แถมยังเป็นในช่วงเวลานั้นเวลานี้อีก    ก็แสดงว่าดินในแต่ละโป่งมีความต่างกันอยู่ไม่น้อย คือมีและขาดความสมบูรณ์ของแร่ธาตุบางตัว     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 23 มี.ค. 17, 20:53

เมื่อเป็นเช่นนั้นก็คงจะต้องมองลึกลงไปในเรื่องดิน     ดินโดยความเข้าใจทั่วๆไปจะประกอบไปด้วยพวกวัตถุอินทรีย์และอนินทรีย์เม็ดละเอียด   

สำหรับวัตถุอินทรีย์นั้น ก็คือพวกเศษซากละเอียดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เรียกรวมว่าพวก Hydrocarbon ซึ่งมีธาตุไฮโดรเจน (H) คาร์บอน (C) และ ออกซิเจน (O) เป็นส่วนประกอบสำคัญ   วัตถุทางอินทรีย์ทั้งหลายนั้นเมื่อถูกพวกจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ (aerobic microorganisms) หรือแบบไม่ใช้อากาศ (anaerobic microorganisms) กัดกินก็จะทำให้เกิดสารประกอบอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (เช่น Humus ที่ทำให้ดินมีสีดำ)    คำศัพท์ที่พวกผมนิยมเรียกสีดำๆหรือเศษวัตถุอินทรีย์เคมี คือ carbonaceous materials
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 23 มี.ค. 17, 21:17

วัตถุที่เป็นสารอนินทรีย์เกือบทั้งหมดจะประกอบไปด้วยเม็ดแร่ละเอียด โดยเฉพาะแร่ Quartz (SiO2)  แร่ฟันม้า (Feldspar) แร่ไมก้า (Mica) และแร่ดิน (Clay minerals)

เนื้อของดินส่วนที่เป็นสารอนินทรีย์นี้ ได้มาจากกระบวนการผุพัง (weathering) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดอยู่ภายใน และการกัดกร่อนทำลาย (erosion) ซึ่งเป็นกระบวนการขยับให้แยกแตกจากกันแล้วขนย้ายไปยังที่อื่น

ในมุมนี้ โป่ง จึงน่าจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ โป่งชนิดที่ดินได้มาจากการเกิดแต่ในเนื้อ (in-situ disintegration) และโป่งชนิดที่ดินได้มาจากการสะสมของตะกอนที่ถูกพัดพามา (allochthonous deposit)    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 24 มี.ค. 17, 18:26

แร่ดินนั้น อธิบายง่ายๆว่า เป็นแร่ในกลุ่ม phyllosilicates หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า sheet silicates มีโครงสร้างเป็นแผ่นๆวางทับซ้อนกัน  ในระหว่างแผ่นจะมีแขนขาของสารประกอบซิลิเกตกลุ่มหนึ่ง (tetrahedral silicates) จับธาตุหรือสารประกอบชนิดอื่นๆไว้ในตัว  ที่เรียกว่าดินมีแร่ธาตุดี/ไม่ดี หรือ อุดม/ไม่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ... ก็คือตรงนี้แหละ

ขยายความต่ออีกนิด  แร่ดินมีอยู่หลายชนิด แบ่งง่ายๆที่สุดออกเป็น 2 พวก คือ พวกที่พองน้ำ และพวกที่ไม่พองน้ำ   ดินที่แตกระแหงมากหรือน้อยก็มีพื้นฐานมาจากส่วนประกอบของแร่ดินพวกนี้เอง (เรียกว่า Smectite group)   อาทิ  Montmorillonite เป็นแร่ดินที่ขยายตัวเองให้พองได้ถึงประมาณ 14 เท่า    พวกที่ไม่พองน้ำก็อาทิเช่น Kaolinite หรือ ดินขาวที่เราเอามาทำเครื่องเคลือบดินเผาทั้งหลาย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 24 มี.ค. 17, 18:56

แร่ดินอุ้มธาตุหรือสารประกอบไว้ในตัวเองได้ และก็สามารถสลับสับเปลี่ยนกับสารที่อยู่ภายนอกรอบๆตัวเองได้ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนที่ใช้กระบวนการทางเคมี (เช่น บนพื้นฐานของ Goldschmidt rule หรือ เช่น บนพื้นฐานทาง Thermodynamic_P,T,Eh,pH)   เช่นนี้ก็บอกว่า คุณภาพของดินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 24 มี.ค. 17, 19:32

ก็มีที่น่าสนใจในอีกมุมหนึ่งว่า แร่ดินบางชนิดก็มีลักษณะเป็นยา   

คงเคยได้ยินเรื่องชาวบ้านกินดิน ในลักษณะโดยนัยของข่าวว่าอดอยากมาก    ดินที่ชาวบ้านกินนั้นเขาเลือกจุดที่จะขุดออกมา ซึ่งเป็นดินเนื้อละเอียดสีนวล  ดินที่ไปแสวงหาขุดออกมากินนั้นคือแร่ดินที่เป็นยา ซึ่งอย่างน้อยที่สุด ดินนั้นก็จะต้องมีธาตุหรือสารประกอบของธาตุโปแตสเซียม (K) โซเดียม (Na) แคลเซียม (Ca) เป็นพื้นฐาน และอาจจะมีธาตุบางอย่างที่ร่างกายต้องการ ทั้งในเชิงของธาตุที่เป็น essential elements (จะในรูปของ major, minor หรือ trace elements ก็ตาม)

ในวงการของเรื่องทางสาธารณสุขและอนามัยสมัยใหม่ ก็มีแร่ดินเข้ามายุ่งย่ามเหมือนกัน  อาทิ  Talc ชื่อนี้ทุกคนน่าจะต้องรู้จักดี   Bentonite ชื่อนี้นักวิชาการทางสาธารณสุขก็น่าจะต้องรู้จักดี     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 24 มี.ค. 17, 20:34

Sodium(Na)-bentonite เป็นพวกดูดซับ (absorption) ใช้ภายนอก ?  แต่ Calcium(Ca)-bentonite เป็นพวกดูดซึม (adsorption) ใช้ภายใน ?
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 24 มี.ค. 17, 21:15

ในวงการของเรื่องทางสาธารณสุขและอนามัยสมัยใหม่ ก็มีแร่ดินเข้ามายุ่งย่ามเหมือนกัน  อาทิ  Talc ชื่อนี้ทุกคนน่าจะต้องรู้จักดี   Bentonite ชื่อนี้นักวิชาการทางสาธารณสุขก็น่าจะต้องรู้จักดี     
ดิฉันรู้จักแต่ talc ที่เป็นแป้งทาตัว    ไม่ทราบว่าคุณตั้งหมายถึงสิ่งนี้หรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 25 มี.ค. 17, 18:09

ใช่ครับ   เอามาบดให้ละเอียดใช้ทำแป้งที่เรียกว่า talcum powder ใช้ทาหน้า ทาตัว   

แร่ Talc ถูกนำมาใช้ก็เพราะเมื่อทาผิวแล้วทำให้รู้สึกลื่น น้ำไม่เกาะผิว มันเป็นสารประกอบอนินทรีเคมีที่เกือบจะไม่ทำปฎิกริยากับผิวของคน  ในอีกชื่อหนึ่งที่อาจจะคุ้นกันก็คือ soap stone หรือ หินสบู่ ที่มีคนเอามาแกะสลักเป็นปฏิมากรรมลอยตัวต่างๆ   ในบ้านเราก็มีแหล่งแร่กลุ่มนี้อยู่ อยู่ในพื้นที่ของบ้านผาเลือด (หรือบ้านผาจุก ?) ริมแม่น้ำน่าน บนเส้นทางไปเขื่อนสิริกิติ์ ไม่ไกลจากตัวเมืองอุตรดิตถ์มากนัก   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 25 มี.ค. 17, 18:55

ในปัจจุบันนี้ เราอาจจะได้ยินเรื่องความอันตรายจากการใช้ Talc หรือ แป้ง Talcum  ทั้งๆที่ผู้คนรู้จักและใช้กันมานานนมตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวดโน่น  ดูน่าจะน่ากลัวจริงๆ  ตกใจ

ความเป็นอันตรายที่พบจากการศึกษาวิจัยก็คือเรื่องของมะเร็ง   

แร่ Talc ที่เอามาบดละเอียดในระดับ micron เมื่อเอามาทำเป็นแป้ง Talcum  เท่าที่พอจะมีความรู้ ก็มีการผสมแป้งข้าวโพดเข้าไปด้วยในปริมาณที่ไม่น้อยทีเดียว    ด้วยขนาดของ particle   ฝุ่นจากแป้งที่หายใจเข้าไปก็ไม่น่าจะต่างไปจากฝุ่นตามถนนหนทางทั่วๆไป ซึ่งในทางการแพทย์ ฝุ่นที่เป็นพวกสารประกอบอนินทรีย์เคมี มีส่วนที่ทำให้เกิดโรค Silicosis (ปอดตัน ?)         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 25 มี.ค. 17, 19:25

Talc มีการนำมาใช้ในเครื่องสำอางค์ต่างๆอย่างหลากหลาย แทบทุกชนิดก็น่าจะว่าได้ รวมทั้งยังมีผสมอยู่ในกระป๋องสเปรย์ในบางผลิตภัณฑ์อีกด้วย 

พอนะครับ ใกล้จะก้าวข้ามเข้าไปในเขตอาณาของทางเภสัชกรรมและทางการแพทย์ 

ขอปิดท้ายเรื่องนี้ด้วยสูตรทางเคมีของแร่ Talc = Mg3Si4O10(OH)2
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 25 มี.ค. 17, 19:30

ขอทำความกระจ่างหน่อยนึงครับ

soap stone นั้น ในตัวมันเองมีแร่ดินอยู่ร่วมกันได้หลายชนิด แต่ที่พบในปริมาณมากก็มักจะเป็นแร่ Talc
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 25 มี.ค. 17, 20:24

ย้อนกลับไปเรื่อง bentonite หน่อยนึง 

เท่าที่พอจะมีความรู้เล็กๆน้อยๆ   Ca-Bentonite นั้น โดยตัวของมันเองสามารถใช้เพื่อแก้หรือรักษาการอักเสบต่างๆของผิวหนังได้ (แผล แมลงกัด/ต่อย พุพอง..)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 26 มี.ค. 17, 18:56

คงจะได้ภาพกว้างๆแล้วว่า ดินก็เป็นยา แต่มันก็มิใช่ทุกจุด ทุกที่ ทุกแห่ง  มันขึ้นอยู่กับแร่ดินชนิดต่างๆที่เกิดมาจากหินต้นทางที่ต่างกันและจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ต่างกัน

เอาเป็นว่า โป่งแต่ละโป่งมีปริมาณของแร่ธาตุต่างกัน  ซึ่งก็น่าจะเป็นผลให้แต่ละโป่งมีความหลากหลายของสัตว์ที่ลงกินต่างกัน พรานไพรในสมัยก่อนจึงต้องมีการเลือกโป่งที่จะไปนั่งห้างเพื่อล่าสัตว์ชนิดที่ตนต้องการ     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 20 คำสั่ง