เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22]
  พิมพ์  
อ่าน: 27342 ทำงานกับช้าง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 09 มิ.ย. 17, 18:59

ย้อนกลับไปเรื่องของการนั่งบนหลังช้างในตำแหน่งต่างๆ เรื่องของการดูแลช้างในระหว่างการเดินทาง และประมวลภาพเล็กๆน้อยๆอื่นๆที่ได้เล่ามา  แล้วลองวาดภาพของการรบกันในสมัยโบราณที่มีการใช้ช้าง ภาพจะออกมาเป็นเช่นไร ?
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 09 มิ.ย. 17, 19:44

ขอเว้นวรรคเล้กน้อยเพื่ออธิบายความเกี่ยวกับศัพท์ที่ผมใช้มา    ผมมิได้ใช้คำพูดหรือคำเขียนดังที่ได้ปรากฎอยู่ในเอกสารทางวิชาการต่างๆ (เช่น ในตำราคชลักษณ์) เพราะต้องการสื่อเรื่องราวในภาษาที่ชาวบ้านเขาใช้กัน  อาทิ ใช้คำว่าช้างตัวผู้และช้างตัวเมียแทนที่จะเป็นช้างพังและช้างพลาย (พังกับพลายนั้น ใช้เรียกช้างเลี้ยงที่มีการฝึกแล้ว และมีชื่อเรียกขานประจำตัวแล้ว)   ใช้คำว่าสีดอกับช้างที่มีงาช้างสั้น(ขนาย)แทนที่จะหมายถึงช้างตัวผู้ที่(ยัง)ไม่มีงา  นกยูงตัวผู้ที่(ยัง)ไม่มีแพนหางก็เรียกว่าสีดอเช่นกัน เป็นต้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 10 มิ.ย. 17, 19:24

เมื่อนึกย้อนไปถึงภาพของการศึกในประวัติศาสตร์ที่มีการใช้ช้างในสนามรบด้วยนั้น   ผมเห็นว่า โดยพื้นฐานทั่วๆไปแล้วช้างน่าจะถูกใช้ในลักษณะที่เปรียบได้กับการใช้เฮลิคอปเตอร์ของแม่ทัพนายกองในยุคปัจจุบันของทั้งสองฝ่ายที่ใช้ในการบัญชาการรบ    การรบกันถึงในระดับที่ใช้ช้างปะทะกันนั้นน่าจะไม่ค่อยเกิดขึ้น เพราะมันจะต้องเป็นการต่อสู้กันโดยตรงในระดับแม่ทัพนายกองของทั้งสองฝ่าย ซึ่งการต่อสู้กันในลักษณะนี้ ทั้งสองฝ่ายจะต้องนั่งอยู่บนคอช้างซึ่งจะต้องทำการบังคับช้างด้วยตนเอง และก็จะต้องมีฝีมีอในการใช้อาวุธยาวเช่นง้าวและหอก นอกเหนือไปจากความสามารถในการใช้อาวุธสั้นที่ใช้ในการรบประชิดตัว (โล่ มีดดาบ...)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 10 มิ.ย. 17, 20:14

ก็เพียงจะให้ภาพว่า ในการรบปะทะกันแบบนั่งอยู่บนคอช้างนั้น  ช้างกับคนจะต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน คือช้างเชือกนั้นจะต้องให้ใจอย่างเต็มร้อยกับผู้ที่นั่งอยู่บนคอที่คอยสั่งการเขา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็จากการมีกิจวัตรที่ได้สั่งสมกันมาอย่างใกล้ชิดกัน ต่างไปจากม้าที่ผู้ใดจะนั่งบนหลังก็สามารถบังคับได้เกือบทุกคน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 11 มิ.ย. 17, 19:27

ได้สัมผัสและทำงานกับช้างมาในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ทำให้ได้รู้สัมผัสลึกๆในเรื่องของกระแสจิต  ทำให้ผมเชื่อว่ากระแสจิตนั้นมีจริงและสามารถสื่อสารถึงกันได้ในระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มี intelligence ในระดับหนึ่งขึ้นไป  โดยเฉพาะในการสื่อถึงกันในเรื่องของความเมตตา/ความเอื้ออาทร ซึ่งก็จะมีการแสดงออกมาทางโสตและสัมผัสอื่นๆร่วมกันไปด้วย (บรรดาการกระทำที่รู้สัมผัสกันได้ถึงความนุ่มนวลทั้งหลาย)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 11 มิ.ย. 17, 19:42

หลายเรื่องเคยเล่าในกระทู้อื่นมาแล้ว  ก็ยังพอจะมีเรื่องอื่นๆอีกบ้างแต่นึกไม่ออก

เอาเป็นว่า เห็นทีจะต้องขอลงมาจากคอช้างก่อนนะครับ   

ก็หวังว่าเริ่องราวที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้น่าจะพอมีสาระที่มีประโยชน์อยู่บ้าง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.034 วินาที กับ 19 คำสั่ง