เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 27426 ทำงานกับช้าง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 24 ก.พ. 17, 19:37

ผมได้รับการบอกกล่าวจากชาวบ้านและพรานไพรว่า   หากถูกช้างไล่และจำเป็นต้องยิงป้องกันตัว  ช้างที่คะมำหัวทิ่มนั้นไม่ได้บ่งชี้ถึงการตาย ต่างกันกับสภาพก้นจ้ำเบ้าที่บ่งชี้ว่าอาจจะไม่รอด 

เล่ามาเช่นนี้ ก็กรุณาอย่าไปนึกถึงความโหดเหี้ยมนะครับ การล่าช้างของพรานไพรนักล่าช้างนั้นเขาใช้อีกวิธีการหนึ่งที่มิใช่การยิงซึ่งหน้า  อนึ่ง ปืนที่มีขายกันอยูในตลาดปืนของบ้านเรา ปืนที่ชาวบ้านเขามีใช้กัน และปืนที่เรามีใช้ในการป้องกันตัวเหล่านั้น อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีความรุนแรงมากพอที่จะทำให้อันตรายให้กับช้างได้   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 24 ก.พ. 17, 19:47

ในความรู้ที่พอจะมีของผม และที่ได้พบเห็นมาในการทำงานในพื้นที่ป่าเขาของผม โขลงช้างไทยจะเป็นโขลงช้างตัวเมีย มีตัวผู้มีงาอยู่ตัวหนึ่ง มีสีดอ (ช้างตัวผู้วัยหนุ่มฉกรรจ์) เดินเดี่ยวอยู่รอบๆโขงและเดินตามโขลงไปตามที่ต่างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 25 ก.พ. 17, 19:46

เมื่อมีการใช้ช้างหลายเชือกช่วยกันทำงานในภารกิจหนึ่ง ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องมีสถานที่ชุมนุม เก็บอุปกรณ์ และการพำนักอาศัยของบรรดาควาญช้างและผู้ที่เกี่ยวข้องที่เราเรียกสถานที่แบบนี้ว่า ปางช้าง   ซึ่งเนื่องจากสถานที่นี้ถูกใช้เป็นที่พำนักพักพิงค่อนข้างจะนาน ก็จึงต้องมีการบอกกล่าวและเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทางทั้งของคนและของช้าง

สำหรับของคนนั้น เนื่องจากมิใช่เป็นการเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่แบบถาวร ก็เลยไม่นิยมตั้งศาลเจ้าที่กัน แต่ก็ยังจะต้องมีการบอกกล่าวกันด้วยปากเปล่าก่อนที่จะลงมือทำอะไรๆกันในสถานที่นั้นๆทุกครั้งๆไป 

และก็มีการเซ่นด้วยของกินทุกครั้งที่มีการหุงหาอาหารทำกินกัน  พอตั้งสำรับอาหารเสร็จ ก่อนจะลงมือกินกัน ก็จะแบ่งอาหารนิดหน่อยวางบนใบไม้ (เสมือนว่าวางบนจาน)  แล้ว(หากทำได้)ก็เอาไปวางที่โคนต้นไม้ยืนต้น(หากมี)ที่ดูว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่นั้น  ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าจำเป็นจะต้องเดินไปไกลจากที่กำลังตั้งวงกินอาหารกัน  ส่วนมากก็จะเลือกวางบนพื้นที่ๆดูดี ดูเด่น หรือมีลักษณะเป็นจุดข่มของแถวนั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 25 ก.พ. 17, 20:48

สำหรับศาลช้างนั้น จะมีการตั้งกันเป็นเรื่องเป็นราวมากกว่าการตั้งศาลเจ้าที่

ศาลเจ้าที่ มักจะเป็นไม้แป้นกว้างประมาณ 1 คืบ ยาวประมาณ 30 ซม.วางยึดอยู่บนหัวเสาไม้ต้นเดี่ยว  ที่ทำให้สวยงามหน่อยก็จะมีหลังคาจั่วครอบอยู่

ศาลช้าง มีลักษณะคล้ายเก้าอี้มีท้าวแขนสองข้าง มีขายาวสี่ขา ระดับสูงประมาณคอช้าง มีทั้งแบบที่มีหลังคาและแบบไม่มีหลังคา จะตั้งชิดอยู่กับต้นไม้ใหญ่  ผมเคยเห็นทั้งแบบตั้งอยู่ศาลเดียวเดี่ยวๆ และแบบมีสองสามศาลที่มีความสูงลดหลั่นกัน ตั้งอยู่ติดๆกัน

ผมไม่เคยได้มีโอกาสเห็นพิธีกรรมที่ผู้เกี่ยวข้องกระทำกับศาลช้าง  แต่ผมได้มีโอกาสสัมผัสกับเรื่องไม่สนุกที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของปางช้าง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 26 ก.พ. 17, 18:21

ย้อนกลับไปอ่านที่ว่าศาลช้างนั้นมีลักษณะคล้ายเก้าอี้   จะต้องขอแก้ไขหน่อยครับ ข้อความก่อนหน้าหายไปทั้งกะบิเลยว่า "เท่าที่เคยเห็นมา"

ต้องขออภัยจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 26 ก.พ. 17, 19:23

อีกเรื่องหนึ่ง  ความในบรรทัดสุดท้ายนั้น ผมหมายถึงพิธีกรรมการตั้งศาลนะครับ  ส่วนการบอกล่าวศาลนั้น แน่นอนว่ามีการกระทำกันในทุกครั้งที่จะออกไปทำงาน 

วิธีการแสดงความเคารพต่อศาลของควาญช้างคนไทยนั้น ผมไม่ทราบ เพราะว่าในการทำงานสำรวจของผมในพื้นที่ป่าเขานั้น ผมจะไม่สุงสิงและพยายามจะอยู่ห่างจากเจ้าหน้าที่ คนทำไม้ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำไม้ทั้งหลาย  ด้วยมันเป็นธุรกิจและธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทั้งสิ้น มีผู้ได้ มีผู้เสีย แล้วก็มีปืนเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนั้น แม้เราจะไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร เพียงเห็นภาพเราหรือรู้ว่าเราไปปรากฏตัวอยู่กับใคร ก็อาจถูกตีความว่าเป็นพวกตรงกันข้ามได้ไม่ยากนัก   ผมเคยถูกปืนยิงไล่หรือยิงขู่หลายครั้งแม้นว่าจะไม่เคยพบปะกับคนทำไม้ผู้ใดในพื้นที่นั้นๆเลยก็ตาม     จะถอยหนี ? หรือ จะเดินต่อดี ?
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 26 ก.พ. 17, 19:36

แต่สำหรับควาญช้างกะเหรี่ยงนั้น เห็นทำอยู่สองช่วง คือ ก่อนแต่งตัวช้าง และเมื่อได้แต่งชุดทำงานของช้างเสร็จแล้ว  

ส่วนเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับช้างในภาคอิสานนั้น ผมไม่มีความรู้เอาเลยจริงๆ ครับ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 26 ก.พ. 17, 19:41

จะขอเว้นหายไปประมาณสัปดาห์นึงครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 07 มี.ค. 17, 19:42

กลับมาแล้วครับ 

หายไปรำลึกความหลังกับสภาพภูมิอากาศแบบเช้ามืดอากาศเย็นจนรู้สึกว่าหนาว พอแดดออกส่องพ้นขอบเขาก็เริ่มอุ่นสบาย พอสายก็เริ่มร้อน กลางวันร้อนแบบแห้งๆไม่มีเหงื่อ พอบ่ายแก่ๆเมื่อดวงอาทิตย์เริ่มลับขอบเขาอากาศก็เริ่มเย็นสบาย เข้าลักษณะของแดดร่มลมตก เหมาะที่จะตั้งวงสรวลเสเฮฮา สักพักใหญ่ๆอากาศก็จะเย็นลงจนต้องใส่เสื้อสวมหมวกและหลบเข้าที่กำบัง

สถานที่กำบังโดยทั่วๆไปก็จะเป็นบ้าน ของนักท่องเที่ยวก็คงจะเป็นเต๊นท์ ของผู้คนที่ทำงานช่วงสั้นๆชั่วคราวในพื้นที่ก็มักจะเป็นเพิงยกพื้น หากอยู่ทำงานนานหน่อยก็ปรับเป็นกระท่อม   แต่ของผมเมื่อครั้งที่ยังทำงาน จะเป็นเพียงเพิงพักประกอบด้วยผ้าเต็นท์ปูพื้นผืนหนึ่งและขึงเป็นหลังคาอีกผืนหนึ่งเท่านั้น มองเห็นได้รอบตัวเลย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 07 มี.ค. 17, 20:25

เมื่อแรกทำงาน ผมก็นอนเต๊นท์ของใครของมัน  ก็มีเตียงสนาม ถุงนอน ผ้าห่ม หมอน มีตะเกียงแบบใช้ถ่านไฟฉาย มีปี๊บ(สำหรับใส่เสื้อผ้า หนังสืออ้างอิง เอกสารราชการ ฯลฯ)ทำเป็นโต๊ะเขียนหนังสือและบันทึกต่างๆ     เป็นลักษณะเสื่อผืนหมอนใบของพวกผม ไปใหนมาใหนก็จะเห็นอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งทั้งหมดเมื่อยุบรวมแล้วก็จะกลายเป็นเครื่องสนาม 3 อย่างประจำของแต่ละคน คือ ปี๊บ 1 ใบ ถุงทะเลแบบที่ทหารใช้กัน 1 ถุง และชุดเต๊นท์ 1 ถุง   ชุดประจำตนนี้เหมาะสำหรับเมื่อใช้รถในการเดินทางเข้าพื้นที่ แต่เมื่อใช้ช้างแทนรถในพื้นที่ป่าเขาจริงๆ เครื่องใช้ต่างๆก็ต้องลดลงอย่างมากเหลือเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 07 มี.ค. 17, 20:48

นอนเต็นท์ใครเต็นท์มันก็ดีนะ มีความเป็นส่วนตัวมาก แต่มันจะดีเฉพาะช่วงเดือนอากาศหนาวเย็น และช่วงเวลากลางคืนเมื่ออากาศเย็นลง หลับสบายครับ  แต่ในช่วงเวลาตอนกลางวัน ใช้ไม่ได้เลยครับ อับและร้อนตับแตก ต้องไปอาศัยนั่งอยู่ตามโคนต้นไม้ที่ให้ร่มเงา

จนกระทั่งคืนหนึ่งในพื้นที่ป่าฝั่งเขต จ.กำแพงเพชร ของพื้นที่เขามอโกจู  ก็นอนอยู่ในเต๊นท์ หลับแบบสนิทไปหน่อยหลังจากวันเดินทำงานเหนื่อยแฮกมา  พอตื่นมารุ่งเช้า ลุกออกจากเต๊นท์มา ก็เห็นรอยเท้าเสือ ตัวขนาดเขื่องเลยทีเดียว เดินผ่านหัวเต๊นท์ เมื่อเดินตามรอยไปรอบๆที่พักก็เห็นรอยรองเท้าบนผิวดินของกลุ่มคนอีก

นอนเต๊นท์ก็เลยดีตรงที่ไม่ต้องรับรู้ว่ามีอะไรเข้ามาเฉียดบ้าง เหมือนกกระจอกเทศหลบศัตรู (?)  แต่ก็เสียวที่ไม่รู้ว่าจะมีอะไรมาเบียดเบียนทำอันตรายให้บ้าง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 มี.ค. 17, 18:56

ผมเคยเข้าไปตั้งแคมป์ในพื้นที่ๆเคยเป็นปางช้างเดิม (ช่วง พ.ศ. 2513) อยู่ลึกเข้าไปทางด้านขุนห้วยแม่สินอันเป็นแนวเขตต่อระหว่าง จ.แพร่ กับ จ.สุโขทัย และก็ยังสามารถเดินข้ามสันเขาซึ่งเป็นรอยต่อของ จ.สุโขทัย กับ จ.อุตรดิตถ์ ข้ามลงไปเดินตามห้วยแม่พูลไปโผล่ อ.ลับแล ของ จ.อุตรดิตถ์   บริเวณรอยต่อของทั้ง 3 จังหวัดนี้ เป็นเขาสูงที่มีชื่อเรียกกันว่า ดอยแม่คะมึง

ในป่าใหญ่ผืนนี้ มีช้างป่าอาศัยอยู่ไม่น้อย มีช้างที่เอามาใช้งานลากไม้ของผู้รับสัมปทานป่าไม้ แล้วก็มีช้างบ้านที่ปล่อยในเดินหากินอย่างอิสระ (ในบางช่วงระยะเวลา)

เจอมาทั้งหมดเลยครับ   แต่ในป่าผืนนี้ส่วนมากจะออกแนวระทึก   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 08 มี.ค. 17, 18:58

อยากอ่านแนวระทึกค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 08 มี.ค. 17, 19:16

นอนอยู่ได้ 3 คืน ก็ชักจะไม่ไหว พอดีจะต้องย้ายพื้นที่สำรวจด้วย ก็เลยมีประสบการณ์ตรงๆอยู่ 3 คืน

พื้นที่ปางช้างที่พวกผมเข้าไปตั้งเต็นท์นอนนี้ เป็นพื้นที่ๆเขาเพิ่งย้ายออกไป แต่ยังไม่ได้มีการย้ายศาลช้าง เป็นพื้นที่โล่งประมาณ 100 ตารางวา มีห้วยที่มีน้ำไหลรินอยู่ชายขอบพื้นที่โล่ง เหมาะที่จะใช้เป็นพื้นที่ตั้งแคมป์นอนแรมจริงๆ ป่าผืนนี้ในสมัยนั้นเป็นป่าใหญ่ มีต้นไม้ทุกระดับเรือนยอดขึ้นอยู่หนาแน่น และก็มีความชื้นค่อนข้างสูง พื้นที่ๆโล่งที่แสงแดดส่องถึงค่อนข้างจะมีน้อย      
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 08 มี.ค. 17, 19:44

คืนแรก 

พอผืนป่ามืดสนิท เวลาประมาณ 2 ทุ่มได้ ก็ได้ยินเสียงไม้หักค่อยๆใกล้เข้ามาหาแคมป์  รู้อยู่แล้วว่าเป็นช้างแน่ๆจากความคุ้นเคยในระหว่างการเดินทำงานที่ผ่านมา ทุกคนในคณะสำรวจ (6 คน) ก็เริ่มตื่นตัว ต่างก็เงี่ยหูฟังเสียงเพื่อประเมินว่า เสียงนั้นมาจากทิศทางใดและอยู่ใกล้หรือไกลมากน้อยเพียงใด ในความมืดที่ไม่สามารถมองเห็นอะไรที่พอจะใช้เป็นตำแหน่งอ้างอิงได้ มันก็ยากนะครับ ประเมินได้ไม่ง่ายนัก 

ทุกคนต่างก็คว้าไฟฉายประจำของตนมากำไว้ในมือ ซึ่งไฟฉายเหล่านั้นเป็นไฟฉายที่นิยมใช้กันของคนที่เดินป่าเดินดง เรียกกันว่า ไฟฉายสองท่อนแบบปรับหัวได้ (ก็คือ ใช้ถ่าน 2 ก้อน และปรับโฟกัสของแสงได้) ไฟฉายแบบนี้ส่องไฟได้ไกลกว่าไฟฉายตามปรกติทั่วๆไป (คือเป็นแบบ focus มิใช่เป็นแบบ flood)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 19 คำสั่ง