เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 27427 ทำงานกับช้าง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 14 พ.ค. 17, 19:40

ก่อนจะเริ่มวิ่งก็มีทั้งแบบเป่าและไม่เป่าแตร รวมทั้งแบบงวงและหางชี้และไม่ชี้   เมื่อมันเริ่มตื่นนั้นเราไม่ค่อยจะได้เห็นภาพกัน จะเห็นก็ตอนที่มันก้มหน้าก้มตาวิ่งดั่งรถวิ่งลุยป่าละเมาะ พร้อมกับเสียงสั่งการของควาญให้มันหยุด   

ก็เป็นภาพที่มีทั้งความน่ารัก ความน่าขำ ลุ้นว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง จะจบที่ใหน และอย่างไร  ดูจะเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความรู้สึกของอารมณ์ในด้านที่เป็นความสุขมากกว่าที่จะเป็นในด้านของความทุกข์   สำหรับอารมณ์ในด้านของความไม่พอใจและโกรธนั้น ดูจะอยู่กับควาญช้างเท่านั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 15 พ.ค. 17, 18:26

ที่อาจจะแปลกอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ช้าง 2 ตัวไปด้วยกัน เดินตามกัน แต่ตื่นเพียงตัวเดียว อีกตัวหนึ่งก็เพียงหยุดนิดนึงแล้วก็เดินทำงานต่อไป  ผมไม่เคยเห็นตื่นพร้อมกันทั้ง 2 ตัวเลย   มากไปกว่านั้น ก็ยังอาจจะเป็นตัวเดินนำหน้าตื่นก็ได้ หรือตัวเดินตามตื่นก็ได้ ผมเคยได้ประสบทั้งสองแบบ  แล้วก็ไม่รู้ว่ามันตื่นเพราะอะไรอีกด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 15 พ.ค. 17, 19:02

เมื่อช้างตื่น มันก็วิ่งโลด ของที่บรรทุกอยู่บนหลังก็อาจจะตกหล่นไปตามทางหากเรามัดไม่ดี บ้างก็ถูกกิ่งไม้เกี่ยวให้ร่วงหล่นลงไป   ก็คงพอจะเห็นภาพและเข้าใจแล้วนะครับว่า ด้วยเหตุใดจึงใช้ปีบสำหรับใส่ของพวกเครื่องครัว แล้วก็ใช้ถุงทะเลของทหารใส่เสื้อผ้าและเครื่องนอน ดังที่เล่ามาแต่ต้น อย่างน้อย ของที่ตกลงมาก็ไม่กระจัดกระจาย 

ปี๊บก็ต้องสั่งทำเป็นพิเศษ จำได้ว่าต้องใช้สังกะสีเบอร์ 28 (หากจำไม่ผิด) และเก็บตะเข็บต่างๆแบบพับม้วนกับลวด ซึ่งจะทำให้ปี๊บมีความแข็งแรงมาก ตกจากหลังช้างก็ยังคงมีสภาพดีและยังใช้การได้ดี    หากยังพอจะเกิดทันยุคที่โรงภาพยนต์และหนังกลางแปลงยังใช้เครื่องฉายหนังแบบ Carbon arc projector  ก็อาจจะเคยเห็นปี๊บใส่ม้วนฟิล์มที่ทำในลักษณะเดียวกันบ้าง (นอกเหนือไปจากปกติที่ใช้กล่องที่ทำด้วยหนังสัตว์)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 15 พ.ค. 17, 19:29

คนอื่นๆในคณะยืนดูช้างตื่น ทำอะไรไม่ได้ จะช่วยอะไรก็ไม่ได้ ต้องปล่อยให้ควาญช้างจัดการเรื่องอยู่เพียงคนเดียว จนกระทั้งช้างหยุดตื่นยืนอยู่กับที่ั่นั่นแหละ ทุกคนจึงจะเข้าไปใกล้ได้   ระยะทางที่ช้างตื่นวิ่งก่อนที่ควาญช้างจะควบคุมได้ เท่าที่เคยสัมผัสมา สูงสุดไม่เกินประมาณ 50 เมตร   

ก็คงอยากจะทราบว่า แล้วควาญช้างเขาใช้วิธีการเช่นใด   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 16 พ.ค. 17, 19:13

เคยสังเกตใหมครับ ว่า ควาญช้างที่นั่งอยู่บนคอช้างที่ใช้ทำงานนั้น เกือบจะทุกคนกระมังที่จะต้องเหน็บมีดไว้ที่ด้านหลังกับเข็มขัดหรือผ้าขาวม้าที่คาดคาดเอว หรือไม่ก็จะต้องถือตะขอช้างไว้ในมือตลอดเวลา   เราจะไม่เห็นมีดและตะขอช้างในตัวของควาญช้างก็เมื่อใช้ช้างนั้นในการแสดงเป็นชุดต่อเนื่องตามที่ได้รับการฝึกมา

เมื่อดูลึกลงไป ก็จะเห็นว่า ตะขอช้างนั้นมีปลายแหลมงองุ้มเข้าคล้ายกับเล็บเหยี่ยว  ส่วนสำหรับมีดที่ใช้นั้นก็มีอยู่ 2 ทรงที่ใช้กัน คือ ทรงที่เรียกว่า มีดพร้า กับ ทรงที่เรียกว่า มีดเหน็บ     มีดพร้านั้นเป็นทรงหัวตัด ส่วนมีดเหน็บนั้นมีปลายแหลม 

ขยายความให้หน่อยนึงว่า มีดเหน็บของไทยนั้น จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดของมีดสำหรับผู้ที่นิยมใช้และสะสมมีดในต่างประเทศ  แล้วก็มีที่น่าสนใจไปมากกว่านี้อีก ก็คือ ของเก่าของไทยนั้นมีราคาค่อนข้างสูง ในปัจจุบันนี้มีช่างตีมีดมือถึงๆอยู่ไม่กี่คน (เท่าที่ได้ติดตามมา)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 16 พ.ค. 17, 19:34

น่าสนใจว่า ในพื้นที่ภาคเหนือและตะวันตกของไทยนั้น เกือบจะไม่เคยเห็นเลยว่าควาญช้างนิยมใช้ตะขอช้าง และก็ไม่ค่อยจะมีการใช้มีดเหน็บเช่นกัน มีดเหน็บหลังควาญช้างเกือบทั้งหมดจะเป็นมีดพร้าทั้งนั้น  ซึ่งก็พอจะทราบเหตุผลอยู่ว่า มีดเหน็บดีๆ น้ำหนักดีๆ ชุบแข็งดีๆ และเหมาะกับมือนั้น ค่อนข้างจะหายากทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ  (เรื่องมีดของไทยเรานี้ก็น่าสนใจนะครับ มีหลากหลายรูปแบบ และมีเอกลักษณ์ประจำตัวอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว)

และก็แปลกที่ตะขอช้างนั้น มีการใช้ในที่อื่นๆรวมทั้งนอกเขตบ้านเราอย่างแพร่หลาย     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 17 พ.ค. 17, 18:25

ลักษณะท่าทางการวิ่งของช้างนั้นอยู่ในรูปของการเดินเร็ว มิใช่ในลักษณะของการควบเช่นม้าแข่ง หรือของสัตว์อื่นๆทั่วๆไป (สุนัข ลิง เก้ง กวาง ....)  เมื่อช้างตื่น ควาญช้างจึงยังสามารถจะนั่งอยู่บนคอช้างได้ แต่บางครั้งก็ต้องรีบโดดลงหากช้างวิ่งระกิ่งไม้ ทนถูกไม้เกี่ยวไม่ไหว

ควาญที่ใช้มีดพร้า นอกจากจะส่งเสียงสั่งการให้ช้างหยุดแล้ว ก็จะใช้มีดพร้านั้นแหละฟันที่โหนกหัวของช้าง ด้านสันบ้างด้านคมบ้าง  เช่นเดียวกัน ควาญที่ใช้มีดเหน็บก็ทำแบบเดียวกัน แต่ก็อาจจะทำมากกว่าด้วยการใช้ปลายแหลมของมีดกดลงไปที่โหนกหัวของช้าง

ผมเองนั้นไม่แน่ใจนักว่า ช้างหยุดเพราะเชื่อฟังคำสั่ง เพราะเจ็บ เพราะได้สติ หรือเพราะรู้สึกว่าตื่นพอแล้ว   เท่าที่ได้สัมผัสมา ผมคิดว่าช้างหยุดตื่นก็เพราะช้างคิดว่าตื่นมาพอแล้ว ตั้งสติได้แล้ว มากกว่าที่จะหยุดเพราะเขื่อฟังคำสั่งหรือว่าเพราะเจ็บ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 17 พ.ค. 17, 18:50

เมื่อแรกเห็นภาพการใช้มีดของควาญช้าง เราก็รู้สึกว่าโหดจัง รู้สึกสงสารช้าง  แต่เมื่อได้คุยได้สอบถามควาญช้างแล้วก็พอจะรู้สึกมีความสบายใจได้  ช้างไม่ได้มีความรู้สึกเจ็บมากจากการฟันที่โหนกหัว แม้อาจจะมีเลือดออกซิบๆก็ตาม  ต่างกับการใช้ปลายมีดเหน็บปักซึ่งจะทำให้รู้สึกเจ็บมากกว่ามาก (ก็คงไม่ต่างจากการใช้ตะขอช้าง)   แต่กระนั้นก็ตาม ควาญช้างที่ใช้มีดเหน็บก็จะใช้วิธีฟันตามปกติเว้นแต่เมื่อใดที่ไม่สามารถจะคุมการตื่นของช้างได้จริงๆ ซึ่งกว่าจะถึงขั้นนั้น ควาญก็มักจะต้องโดดลงจากคอ ทำอะไรไม่ได้แล้ว

ควาญช้างบอกว่า ที่เราเห็นช้างมีหัวโหนกนูนสวยนั้น ก็มาจากการถูกมีดฟันนี้แหละ 

ถ่ายทอดเรื่องราวมาให้พิจารณากัน จะเชื่อได้หรือไม่ได้ก็พิจารณากันเอาเองนะครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 17 พ.ค. 17, 19:17

เรื่องของการใช้มีดกับการใช้ตะขอช้างนี้  สำหรับตัวผมนั้นมันบ่งชี้ได้ถึงความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างการเลี้ยงช้างเพื่อการใช้งานในลักษณะของความสัมพันธ์แบบเป็นคู่หู กับ ในลักษณะของความสัมพันธ์แบบนายกับลูกน้อง  ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็คือความต่างในด้านของจิตใจที่ถูกถ่ายทอดส่งต่อกันมาผ่านทางความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 17 พ.ค. 17, 19:32

ภาพที่น่ารักอีกภาพหนึ่งก็คือ เมื่อช้างหยุดตื่นแล้ว ทุกคนก็มีหน้าตายิ้มแย้ม ไม่มีอารมณ์หงุดหงิด ไม่มีอารมณ์โกรธ แล้วก็ดูจะมีหัวข้อสนทนากันอยู่เพียงหัวข้อเดียว คือ อะไรหรือสาเหตุใดที่ทำให้ช้างตื่น  ควาญช้างเองเมื่อลงมาจากคอช้างก็ไม่แสดงอาการหงุดหงิดหรืออาการโกรธใดๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 18 พ.ค. 17, 17:45

ที่ว่าช้างตื่นแล้วมักจะไปหยุดอยู่ที่ห้วยนั้น ก็ไปหยุดยืนเอาเท้าแช่น้ำ ดีนะครับที่มันไม่ลุยน้ำต่อไปในห้วย ที่เรากลัวกันก็ในเรื่องของสัมภาระจะหล่นลงน้ำ โดยเฉพาะถุงทะเลที่ใส่เสื้อผ้าและเครื่องนอน หากเปียกน้ำแล้วก็คนในคณะก็คงจะลำบากกันถ้วนหน้า   

ก็มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ช้างวิ่งลงห้วยแต่ซวย เท้าคู่หน้าดันไปจมหล่มโคลน ยืนหน้าขะมำอยู่ริมตลิ่งห้วยนั่นเอง  เรื่องยุ่งยากที่ตามมาก็คือวิธีการของช้างในการชักเท้าออกจากโคลน ซึ่งจะต้องย่อเข่าขาหลังแล้วจึงถอนเท้าหน้า     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 18 พ.ค. 17, 18:11

เมื่อช้างหยุดตื่นแล้ว ทุกอย่างก็เหมือนเป็นเรื่องปกติ ควาญช้างจะลงมาจากคอเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยต่างๆ ซึ่งส่วนมากมักจะต้องมีการขนสัมภาระลงเป็นบางส่วนเพื่อจัดใหม่ให้เรียบร้อย    ควาญช้างจะดึงติ่งใบหู จูงช้างให้ทำอะไรต่อมิอะไรตามที่ต้องการ ช้างก็จะทำตามอย่างเต็มใจ ทุกอย่างเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น

เป็นภาพที่น่ารักดี ต่างก็จิตสำนึกและอภัยให้แก่กัน  ไม่เก็บสะสมให้เป็นอารมณ์ของความเคียดแค้นและไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 18 พ.ค. 17, 19:21

อีกภาพหนึ่งที่คิดว่าคงจะมีน้อยคนที่ได้เห็น คือวิธีการของช้างในการเดินขึ้นและลงที่ลาดชันที่พื้นดินมีความลื่น (ไม่ว่าจะเป็นเพราะดินร่วนหรือเป็นดินโคลน)

ในขาขึ้น ช้างจะใช้เท้าและเล็บจิกจนดินมีลักษณะคล้ายขั้นบันใด   ในขาลง หากลื่นมากๆ ช้างก็จะใช้วิธีงอเข่าหลัง ใช้เพียงเท้าหน้าก้าวดึงขาหลังให้ลื่นไถลตามลงมา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 19 พ.ค. 17, 18:40

ช้างเป็นสัตว์ที่ชอบน้ำ ดูเหมือนว่าจะเป็นหนึ่งในสัตว์ไม่กี่ชนิดที่ชอบลงไปเล่นน้ำในลักษณะของการเล่นแบบสนุกสนาน  การเล่นของช้างในน้ำนั้นเป็นภาพที่น่ารักและเป็นที่ชื่นชอบของทุกคน   การอาบน้ำช้างทุกเช้าก่อนที่จะแต่งตัวเพื่อบรรทุกสัมภาระนั้น ช้างชอบมาก ควาญช้างจะทำการขัดสีฉวีวรรณให้ทั้งตัว เมื่ออาบเสร็จแล้วก็จะเห็นว่าช้างมีอารมณ์ดี แต่ในบางวันช้างก็อาจจะทำอะไรที่เกินเลยไป คือในระหว่างที่รอแต่งตัวหลังจากอาบน้ำเรียบร้อยแล้ว ก็อาจจะดูดฝุ่นพ่นไปตามตัว คล้ายกับการประแป้ง ควาญก็ต้องคอยเอ็ด เพราะว่าฝุ่นดินทรายละเอียดเหล่านั้นจะเป็นเสมือนผงขัดที่แทรกอยู่ระหว่างผิวหนังของช้างกับเครื่องแต่งตัวต่างๆ  เดินโยกไปโยกมาไม่นานผิวหนังก็อาจจะเกิดเป็นแผลได้

ดังนั้น ช้างทุกตัวที่จะต้องแต่งตัวออกไปทำงาน จึงต้องอาบน้ำเช้าทุกวัน   

ก็คงจะเป็นคำอธิบายว่า ด้วยเหตุใดในการไปเที่ยวชมช้างตามปางช้างต่างๆ จึงควรจะต้องเป็นในเวลาเช้า  ก็เพื่อจะได้เห็นความน่ารักต่างๆตั้งแต่เมื่อเริ่มการอาบน้ำช้างนั่นเอง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 19 พ.ค. 17, 19:14

ท่าทางแบบหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของช้างเมื่อลงอาบน้ำหรือลงเล่นน้ำก็คือ จะต้องมีการเอนตัวนอนตะแคงข้าง  ซึ่งที่ดูเหมือนว่าจะมีเอกลักษณ์ ก็คือ ลงนอนแล้วจะตะแคงไปทางขวา   ผมเชื่อว่าคงจะต้องมีการตะแคงไปทางซ้ายด้วยเช่นกัน เพียงแต่จำได้ว่าไม่เคยเห็น จำได้แต่ภาพที่เป็นความคุ้นเคยว่าจะนอนตะแคงไปทางขวาเท่านั้น     

เมื่อช้างตะแคงตัวนอนลงไปนั้น มันจะพยายามนอนตะแคงราบไปทั้งตัว มิใช่ลงไปอยู่ในท่าของการหมอบ (ส่วนหัวยกตั้งอยู่เหนือน้ำ)
ที่เราได้ยินเสียงของควาญช้างสั่งการดังลั่นอยู่ในขณะที่อาบน้ำช้างนั้น ดูจะมีอยู่สามเรื่อง คือ อย่านอนราบลงไปเรื่องหนึ่ง ยกหัวขึ้นมาให้อยู่ในท่าหมอบเพื่อจะได้สามารถขัดผิวของหลังอีกด้านเรื่องหนึ่ง  กับอีกเรื่องหนึ่งคือพอแล้ว ลุกขึ้นมาได้แล้ว       
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.208 วินาที กับ 19 คำสั่ง