เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 27488 ทำงานกับช้าง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 08 พ.ค. 17, 19:03

ภาพที่เล่ามาดูคล้ายกับว่า เมื่อช้างถูกปล่อยแล้วมันก็จะหนีเข้าป่าอย่างเดียวนั้น   มิใช่เลย เป็นเรื่องของความรู้สึกของช้างที่อยากจะกลับบ้านเท่านั้นเอง   เมื่อควาญเขารู้เช่นนี้ พื้นที่ของการเดินตามจับช้างแรกเริ่มก็จึงเป็นพื้นที่ๆอยู่ในทิศทางของการเดินกลับบ้าน

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 09 พ.ค. 17, 18:44

ก่อนจะไปเรื่องของช้างอยากกลับบ้านนี้  จะขอต่อเรื่องการนำช้างไปปล่อยให้หากินอีกเล็กน้อยครับ

มีอยู่บ่อยครั้งที่พอเริ่มมืดสนิท ควาญช้างก็จะออกเดินกลับไปดูช้างที่นำไปปล่อยไว้ให้หากิน  ก็พอเข้าใจในความเป็นห่วงของควาญช้าง แต่เมื่อได้สนทนาสอบถามกันเพื่อก็ได้ความเพิ่มเติมว่า ก็เพื่อไปดูภาพในองค์รวมของการเคลื่อนไหวของช้างในพื้นที่นั้น และทำให้ช้างรู้สึกสบายใจว่ามิได้อยู่เดียวดาย  บางครั้งควาญก็ไม่กลับมาแคมป์ นอนอยู่กับช้างเลย  ควาญช้างเล่าว่า เคยเมาเหล้าแล้วเดินไปดูช้าง นั่งพิงขาช้างผลอยหลับไป ช้างก็ยืนนิ่งอยู่เช่นนั้นให้หลับไปพักใหญ่ๆ   เรียกว่าคอยดูแลกันและกัน  น่ารักใหมครับ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 09 พ.ค. 17, 19:34

ก็มีที่น่ารักไปกว่านั้นอีก  ก็มีอยู่วันหนึ่งที่เดินเข้าไปใกล้หมู่บ้านป่า (3-4 หลังคาเรือน)  ตั้งแคมป์อยู่ห่างไปประมาณ 2 กม. พอเสร็จอาหารมื้อเย็น ผมและพรรคพวก 2-3 คนกับควาญช้างคนหนึ่ง ก็เดินไปที่หมู่บ้าน เอาเหล้าแม่โขงที่พอมีติดไปด้วย 

ก็เป็นธรรมเนียมและวิธีปฎิบัติในการเข้าหาและการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างเรากับคนถิ่น (ยุคนั้นเป็นช่วงเวลาของความขัดแย้งทางความคิดระหว่างชาวบ้านห่างไกลกับฝ่ายรัฐที่ค่อนข่างจะรุนแรงมาก)    สิ่งของที่เป็นสื่อกลางที่ดีที่สุดแบบพื้นบ้าน (มิใช่แบบราชการ) ก็มีเหล้าแม่โขงที่ชาวบ้านเรียกว่าเหล้าสี บุหรี่ยี่ห้อกรุงทองหรือกรองทิพย์ และยาทันใจแก้ปวด (ขออภัยที่ต้องกล่าวออกนามชื่อเหล้า บุหรี่ และยา)   
ชาวบ้านมีแต่เหล้าขาวซึ่งเป็นเหล้าที่ต้มกลั่นกินเอง ก็อยากดื่มเหล้าสี (ซึ่งหมายถึงเหล้าที่มีชื่อโด่งดังของยุคนั้น)  ชาวบ้านสูบบุหรี่ที่เรียกว่ายาเส้นหรือยาฉุน (มวนเอง) ก็อยากจะสูบบุหรี่มวนสำเร็จ ซึ่งก็มีอยู่สองชื่อดังกล่าวที่มีความฉุนพอๆกับยาเส้น  แล้วก็ยาแก้ปวดยี่ห้อดังกล่าว ซึ่งเป็นความเชื่อว่ากินก่อนออกทำงานแล้วจะไม่รู้สึกปวดเมื่อทำงาน (ที่จริงแล้วก็มีอีกเหตุผลหนึ่งที่มิอาจจะเล่าได้ เป็นการใช้เพื่อผลแทนสารบางอย่าง ผู้ที่เป็นแพทย์จะทราบดี)     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 09 พ.ค. 17, 20:07

เสร็จธุระการสร้างความเข้าใจระหว่างกัน ก็กลับแคมป์  แต่ควาญช้างคนหนึ่งยังขอนั่งคุยกับสาวอยู่ จะตามกลับมาทีหลัง แล้วก็ไม่ได้กลับมาแคมป์ทั้งคืน

รุ่งเช้ามีช้างตัวผู้กลับมาที่แคมป์แรมเพียงตัวเดียว  ช้างตัวเมืยอีกตัวหนึ่งของควาญที่ขอนั่งคุยกับสาวนั้นยังไม่ปรากฎจนเวลาสายโด่งมากแล้ว  สอบถามไปก็ได้ความว่า ช้างไม่ยอมให้จับ (ขึ้นคอ) กระฟัดกระเฟียดอยู่เช่นนั้น เหตุผลที่เป็นไปได้มากที่สุดก็เพราะช้างได้กลิ่นผู้หญิงที่ติดตัวมากับควาญช้าง คงจะเป็นเรื่องของการหึงและหวงนั่งเอง   ควาญช้างทั้งสองคนบอกว่า ช้างมักจะต้องสำรวจกลิ่นก่อนที่จะยอมให้ขึ้นคอ กลิ่นแปลกๆที่ติดมาก็จะใช้เวลานิดหน่อย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 09 พ.ค. 17, 20:42

น่าทึ่งนะครับ ช้างมีความรู้สึก คิดได้ และมีความละเอียดอ่อนในอารมณ์ได้ถึงปานนั้น   

ตัวผมเองมีความเชื่อในเรื่องเช่นนี้ว่ามีอยู่ในตัวสัตว์ต่างๆ  ซึ่งเราสื่อสารกับเขาได้บนพื้นฐานของความเมตตาที่มี(อยู่จริง)ในใจของเรา  คงจะได้เล่าประสบของตนเองเมื่อโอกาสอำนวยครับ      ตัวผมเองก็เลยแยกสัตว์ออกเป็นสองพวก....(นอกตำรานะครับ) คือ พวกสัตว์ที่มีสมอง (มีทั้ง instinct & intelligence) กับสัตว์ไร้สมอง _ beast (มีแต่ instinct)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 11 พ.ค. 17, 19:18

เรื่องช้างอยากกลับบ้านนั้น  ในความเป็นจริงแล้วก็มิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับช้าง แต่เกิดขึ้นกับสัตว์อื่นๆอีกมากมายหลายชนิดอีกด้วย  ก็คืออยากกลับไปยังถิ่นที่อยู่อาศัย(ที่อยู่ประจำ)ที่ได้จากมา   ลักษณะอาการโดยรวมก็คือ ในเส้นทางขาเดินออก (outbound) อัตราความเร็วเดินทางจะช้า และยังสังเกตได้ว่าสัตว์จะมีอารมณ์ไม่แจ่มใส มีอาการหันรีหันขวาง มองหน้ามองหลังอยู่ตลอดเวลา   แต่หากเป็นเส้นทางขาเข้า (inbound) กลับบ้าน อัตราความเร็วการเดินจะเร็วอย่างผิดปกติ จะใช้วลีว่า "รีบโกยโดยไม่เหลียวหลังเลย" ก็ได้ ก็คงจะไม่ผิดเพี้ยนไปนัก   

ตัวอย่างหนึ่งที่พอจะยกให้เห็นได้ (แต่เป็นภาพเก่า) ก็คือ เกวียนของชาวบ้านในชนบทห่างไกลที่ใช้บรรทุกคนหรือของเข้าเมือง บนเส้นทางขาเข้าเมือง จะเห็นว่าจะต้องมีคนขับเกวียนนั่งกำกับอยู่ตลอดเวลา แต่บนเส้นทางขากลับบ้าน เกวียนที่เทียมด้วยวัวหรือควายนั้นเกือบจะไม่มีเสียงเอ็ดตะโรของผู้กำกับและเสียงของการลงไม้เรียวเลย แถมบางครั้งยังเห็นแต่คนนอนหลับคุดคู้อยู่อีกด้วย           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 11 พ.ค. 17, 19:31

สำหรับช้างนั้น มีสารพัดของการแสดงออกตั้งแต่เริ่มกระบวนการบรรทุกของไปเลย มีทั้งน่ารักและน่ากลัว(สำหรับเรา)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 12 พ.ค. 17, 18:24

การแสดงออกของการไม่อยากออกไปทำงานหรือออกไปไกลจากถิ่นพำนักที่เห็นอยู่บ่อยๆ ก็คือ อาการอยู่ไม่นิ่งและได้ยินเสียงควาญคอยดุว่าในระหว่างการนำของบรรทุกบนหลัง 

แม้ตามปกติช้างจะอยู่ไม่นิ่งก็ตาม แต่มันก็มีความต่างกัน   อาการยืนอยู่ไม่นิ่งที่เป็นลักษณะปกติของช้างนั้น มักจะเป็นการยืนโยกตัวไปมาเล็กน้อยในแนวหน้าหลัง มักจะไม่มีการยกเท้าหน้าหรือหลัง งวงก็จะแกว่งไปแบบสบายๆตามปกติของเขา    ในขณะที่อาการที่แสดงออกถึงการไม่อยากออกไปทำงานไกลบ้านนั้น การโยกตัวของเขาจะมีทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง และที่เราพอจะสังเกตได้ค่อนข้างจะชัดเจนก็คือการกวัดแกว่งของงวง  ซึ่งนอกจากเสียงหายใจที่ค่อนข้างจะแรงและดังฟืดฟาดแล้ว  ก็มีการเอาปลายงวงตบดิน ทำให้มีเสียงคล้ายการเอากระบอกไม้ไผ่ตบพื้นดิน  หากเป็นตัวผู้ที่มีขนาย ก็จะเอางวงวางพาดบนขนาย  ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ต้องบอกก็คงจะรู้ว่าเป็นการแสดงออกถึงอาการเซ็ง         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 12 พ.ค. 17, 18:40

ปกติผมจะจ้างช้างสองตัวในการทำงาน  หากในบางวัน ช้างตัวใดตัวหนึ่งจะใช้งวงตบดินบ้างก็น่าจะเป็นเรื่องปกติ แต่หากทั้งสองตัวทำอาการเดียวกัน ก็อาจจะเป็นเรื่องที่จะต้องมีการระวังเสียแล้ว ทั้งระวังสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและระวังตัวเราเอง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 12 พ.ค. 17, 19:19

สถานการณ์หนึ่งที่เคยเจอก็คือ ครั้งนั้นตั้งใจว่าจะเดินสำรวจตัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก จากแม่น้ำแควน้อยแถวๆ บ.แก่งระเบิด ไปจรดชายแดนไทย-พม่า  ว่าจ้างช้าง 2 ตัว (แต่ไปด้วยกัน 3 ตัว)  กว่าจะบรรทุกของได้เสร็จ ก็สายมากๆแล้ว  เมื่อออกเดินก็เดินไปในอัตราความเร็วที่น้อยมากอีก ช้างเองก็ดูไม่เป็นมิตรกับเราเอาเสียเลยตั้งแต่ต้นทาง ทั้งสายตาและการกระทำ  ใช้เวลานานมากกว่าจะไปถึง ณ จุดๆหนึ่งในช่วงเวลาเริ่มจะบ่ายแก่ 

ณ จุดๆนั้นบังเอิญผมเกิดมีความรู้สึกโคลงเคลง มีอาการหนาวๆร้อนๆจะเป็นไข้   ด้วยที่ผมเองเคยเป็นไข้มาลาเรียมาก่อนหลายครั้ง และทราบว่าในพื้นที่นั้นมีไข้มาลาเรียระบาดค่อนข้างจะรุนแรง และทราบด้วยว่าเป็นพวกเชื้อมาลาเรียที่เรียกกันว่าพวกเชื้อขึ้นสมอง ออกอาการคล้ายคนบ้า สติไม่ดี (Plasmodium Falciparum)  อยู่ไม่ได้แล้วครับ เป็นไข้ 3 วันก็มีโอกาสถึงตายได้    จึงตัดสินใจยกเลิกการทำงานแล้วเดินย้อนกลับมายังต้นทาง เมื่อถึงแม่น้ำแควน้อยก็ลงอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายก่อนจะเข้าเมือง เอามือลูบไปแถวสะดือก็พบเห็บป่า พอดึงเห็บออก อาการทั้งหลายก็แทบจะหายไปแบบปลิดทิ้งเลย     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 13 พ.ค. 17, 16:53

เรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยในป่านั้น ว่าจะขยายความเป็นกระทู้สั้นๆในโอกาสต่อไป  จะขอกลับไปเข้าเรื่องของช้างต่อไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 13 พ.ค. 17, 17:28

เหตุที่ต้องตัดสินใจเดินกลับอีกประการหนึ่งก็คือ  ต่อไปจากจุดที่หยุดตัดสินใจเดินกลับนี้ จะเริ่มเป็นทางในภูมิประเทศที่เป็นลอนคลื่น (undulating terrain) ก่อนที่จะเข้าพื้นที่ๆเป็นป่าเขาสูงชันจริงๆ ซึ่งหากพ้นจากจุดนี้ไป ก็หมายถึงต้องเดินต่อไปจนถึงจุดที่จะตั้งแคมป์แรมได้ ก็จะต้องเดินกลับในวันรุ่งขึ้น ต้องห่างหมอช้าไปอีกวันหนึ่ง การเสี่ยงตายก็เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นและยังอาจจะเกิดเป็นวิกฤติที่ไม่จำเป็นอีกด้วย 

เนื่องจากเส้นทางในช่วงแรกนั้นอยู่ในพื้นที่ราบของตะพักลำน้ำ (river terrace)  เราก็เดินนำหน้าช้างไปตามปกติ แต่สักพักก็ต้องหยุดรอช้าง เพราะช้างเดินช้ามาก ออกอาการเบี้ยวตลอดทางดังที่ได้เล่ามา  ก็เลยได้เห็นอาการดื้อเงียบ วิธีการเบี้ยว และการแสดงออกซึ่งความไม่พอใจต่างๆของช้าง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 13 พ.ค. 17, 17:57

อาการที่เด่นชัดมากและดูน่ากลัวก็คือ การยืนหันหน้ามาทางเรา เอาปลายงวงตบพื้นดินให้เป็นเสียงดัง ส่ายหัวกับตัวในท่วงท่าคล้ายกับการจะสลัดของที่บรรทุกอยู่บนหลังทิ้งไป  คงจะนึกภาพออกนะครับ     แต่เมื่อเราตัดสินในเดินกลับ เพียงเราเริ่มหันหน้าก้าวเท้าไปในทิศทางกลับเท่านั้นเอง  ควาญช้างไม่ต้องสั่งการใดๆเลย ช้างพร้อมกันหันหัวออกเดินกลับในทันใด  เดินเร็วเสียด้วย แทนที่เราจะเป็นฝ่ายเดินนำ กลับกลายเป็นว่าช้างเป็นฝ่ายเดินนำ และเดินถึงก่อนเรานานพอที่จะยกของลงจากหลังได้เกือบทั้งหมดเมื่อเราไปถึง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 13 พ.ค. 17, 18:36

แต่เมื่อใดที่อยู่ด้วยกันจนมีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันแล้ว ช้างก็จะยอมที่จะไปใหนมาใหนด้วยกันกับเราอย่างไม่อิดออดรีรอ   จากประสบการณ์และความรู้สึกที่พอจะสัมผัสได้ พบว่า กว่าจะมีความรู้สึกเช่นนั้นของทั้งเราและเขาก็ประมาณหนึ่งสัปดาห์ 

ณ จุดนั้น ช้างก็ค่อนข้างจะปล่อยตัวให้เราสามารถเข้าไปอยู่ใกล้ๆตัวเขาได้ในจุดที่เขามองไม่ค่อยจะเห็น (ส่วนหลัง)  ในภาพรวมก็คือเขาไม่แสดงอาการกังวลใดๆออกมา     เขาไม่กังวลแต่เราก็ต้องระวัง ช้างนั้นดูเหมือนว่าจะเตะไม่เป็นและก็ถีบไม่เป็นอีกด้วย  ก็คงจะถูกต้อง แต่ลองนึกดูถึงท่อนไม้ขนาดเท่ากับขาช้างมัน ถ้ามันแกว่งมาถูกตัวเรา เราจะรู้สึกเช่นใด ครับ ก็เป็นเช่นนั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 14 พ.ค. 17, 19:09

มีอีกเรื่องหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา คือ ช้างตื่น อยู่ดีๆก็วิ่งโกยแนบ    ชื่อเรียกขานของอาการนั้นดูจะน่ากลัว แต่ในความเป็นจริงแล้วดูจะเป็นภาพที่น่ารักเสียมากกว่า   

ที่เห็นว่าแปลกก็ตรงที่มันเป็นภาพที่สวนทางกับความรู้สึก คือแทนที่จะวิ่งเตลิดเข้าป่า กลับกลายเป็นวิ่งออกไปสู่พื้นที่ไปร่ง และมักจะลงไปในห้วยอีกด้วย  อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นช้างเลี้ยงและมีควาญอยู่บนคอหรือเปล่าก็ไม่รู้ จึงไม่เตลิดเข้าป่าที่รก 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 19 คำสั่ง