เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 27484 ทำงานกับช้าง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 03 พ.ค. 17, 19:02

เคยอยู่ครั้งหนึ่งที่นัดพบกันที่บริเวณสบห้วยหนึ่งแล้วพลาดกัน  วันนั้นทำงานกลับมาเย็นกว่าปกติ เมื่อเดินมาถึงบริเวณที่นัดพบ (เดินมาตามห้วยที่แยกไปจากห้วยหลัก) ไม่พบอะไรเลย   เอาละครับ มีอยู่ 2 เรื่องให้ต้องคิดในทันที คือ เราเดินลงมาผิดห้วยหรือเปล่า หรือ กองหนุนของเราไปผิดที่นัดพบหรือเปล่า

การแก้ไขสถานการณ์ที่ทำได้ดีที่สุดก่อนที่จะหมดแสงสว่างก็คือ การดูรอยและการสะกดรอย   แรกสุดก็รีบเดินไปในทิศทางที่เลยไปจากบริเวณนัดพบ เพื่อตรวจสอบว่ากองหนุนของเรานั้นอาจจะเลือกจุดที่จะนอนแรมที่เหมาะสมเลยออกไป (มีน้ำดี สถานที่โปร่งไม่อึมครึม ดูปลอดภัยดี...ฯลฯ) พร้อมๆไปกับการสังเกตร่องรอยต่างๆ ซึ่งร่องรอยที่สำคัญก็คือรอยเท้าช้างและรอยเท้าคนที่เดินไปกับช้าง แต่เมื่อเดินไปข้างหน้าไม่พบอะไร ก็ต้องเดินย้อนกลับไปตามเส้นทางที่กองหนุนของเราจะใช้เดิน     สรุปว่าได้พบกัน เขาก็พยายามเร่งเดินมาให้ถึงบริเวณนัดพบ แต่กว่าจะเริ่มออกเดินได้ก็สายมากๆแล้ว เพราะว่าได้ตัวช้างมาช้ามาก  ต้นเหตุก็คือช้างได้เดินหากินเตลิดไปไกล กว่าจะจับและนำกลับมาถึงแคมป์แรมก็สายมากๆแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 04 พ.ค. 17, 18:24

ช้างเดินหากินไปไกล แล้วจะไปตามจับมาได้อย่างไร

มีอยู่วิธีเดียว คือตามด้วยการแกะรอย   ควาญช้างเขาจะจำรอยช้างของเขาเองได้ เพราะมันจะมีสิ่งเล็กๆน้อยๆที่เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของแต่ละช้าง ผนวกกับพฤติกรรมบางอย่าง    ทำงานร่วมเป็นทีมเดียวกันอยู่ไม่กี่วันตัวผมเองก็ยังพอจะรู้ได้บ้างถึงลักษณะเฉพาะบางอย่างจากการสังเกตต่างๆ   

ที่ว่าช้างเดินหากินไปไกลนั้น มิใช่เรื่องของการเตลิดหนีนะครับ หากเป็นการเตลิดหนีก็คงจะไปตามจับไม่ได้    คนที่เลี้ยงช้างนั้น ในช่วงที่ไม่ได้รับจ้างทำงาน หรือไม่มีงานให้ทำ (เช่น ลากไม้ไผ่มาสร้างบ้าน ลากเกวียน ทำนา...ฯลฯ) เขาก็จะนำช้างไปปล่อยให้หากินในป่าอย่างอิสระในพื้นที่หุบห้วยใดหุบห้วยหนึ่ง (sub catchment) ที่มีอาหารของช้างค่อนข้างจะสมบูรณ์  ปล่อยไว้นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนจึงจะตามไปดูครั้งหนึ่ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 04 พ.ค. 17, 18:38

แล้วช้างไม่คิดจะเตลิดหนีไปหรือ

คำตอบก็คงจะเป็นว่า สัตว์หลายชนิดที่เราเอามาเลี้ยงนั้น แม้จะหลุดและเตลิดไปไกลแต่ก็มักจะกลับมาวนเวียนอยู่ในพื้นที่ๆเคยอยู่ ช้างก็เช่นกัน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 04 พ.ค. 17, 19:14

นอกจากการแกะรอยแล้ว ก็ยังมีวิธีการอื่นที่จะใช้เพื่อการตามจับช้างอีก แล้วก็มีหลายวิธีการอีกด้วย

ในกรณีที่จะปล่อยเป็นช่วงเวลานานหน่อย ก็มักจะใช้ กระดึง (ฮอก ในภาษาเหนือ) ซึ่งทั้งหมดจะทำด้วยไม้ คล้ายกับกระดึงวัวหรือกระดึงควาย แต่จะมีขนาดใหญ่กว่ามาก   

เท่าที่สนใจ ได้เคยสังเกตและสะสมอยู่บ้าง กระดึงไม้สำหรับวัวมักจะเป็นทรงกระบอกมีขนาดค่อนข้างจะเล็ก (ประมาณแก้วน้ำ) มีตุ้มเคาะเสียง 2 ตุ้มห้อยอยู่ด้านนอก   กระดึงควายจะมีขนาดใหญ่กว่า มีตุ้มเคาะเสียงอยู่ด้านนอกเช่นกัน และก็มีแบบที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีตุ้มเคาะเสียงอยู่ด้านใน 2 ตุ้ม    สำหรับกระดึงช้างนั้น จะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดใหญ่กว่าของควายและมีตุ้มเคาะเสียง 3 ตุ้มอยู่ด้านใน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 04 พ.ค. 17, 19:25

กระดึงนั้นจะมีเสียงเฉพาะตัวทั้งในเชิงของเสียงสูงต่ำ ความกังวาน และความดัง    ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวเลี้ยงควายหลายตัวหรือเป็นฝูงจะแขวนกระดึงไว้ที่คอของตัวที่เป็นผู้นำฝูงเพียงตัวเดียว ตามเสียงเดียวก็พบได้ทั้งฝูง    แต่สำหรับช้างนั้นไม่ได้เลี้ยงกันเป็นฝูง มีแต่เลี้ยงเดี่ยวตัวเดียว กระดึงจึงเป็นเพียงการให้เสียงว่ามันกำลังหากินอยู่ที่ใหน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 04 พ.ค. 17, 19:59

เสียงกระดึงของวัวหรือควายที่ปล่อยให้หากินอยู่กลางทุ่งนั้น เป็นเสียงที่ให้ความรู้สึกในทางผ่อนคลาย เสมือนหนึ่งเรากำลังอยู่อยู่ในสถานที่ๆเป็นธรรมชาติที่มีความโล่ง กว้างใหญ่ และเงียบสงบ     

ผมนั้นไม่ชอบเสียงของ mobile ที่มาจากเครื่องโลหะ  และก็ได้พบว่า เสียงจากกระบอกไม้ไผ่บางชนิด(ของ mobile บางชุด) ได้ให้เสียงคล้ายกับเสียงของกระดึงไม้ที่ได้ยินมาจากกลางทุ่ง  ผ่อนคลายดีครับ นุ่มนวล และเป็นธรรมชาติ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 05 พ.ค. 17, 18:33

อีกวิธีการหนึ่งคือการผูกโซ่ไว้ที่ข้อเท้าหน้า แล้วปล่อยให้ช้างเดินลากไปเรื่อย ที่ปลายของเส้นโซ่อาจจะผูกติดกับขอนไม้ไว้  พื้นฐานของวิธีการนี้ก็เพื่อทำให้เกิดอุปสรรคหรือข้อจำกัดเพื่อที่จะลดความสามารถในการเดินเป็นระยะทางไกล

โซ่ที่ผูกเท้าช้างนั้นจะมีความยาวมากพอที่จะยกปลายโซ่อีกด้านหนึ่งมาพาดอยู่บนคอช้างโดยไม่รูดล่วงกลับในระหว่างเดินทำงาน   ก็มีข้อสังเกตอยู่ว่า ช้างเลี้ยงทั้งหลาย (ทั้งหมด ?) จะถูกผูกโซ่ที่ข้อเท้าหน้าซ้าย  ตัวผมเองไม่เคยเห็นมีการผูกโซ่ไว้ที่ข้อเท้าหน้าขวา และก็ไม่เคยเห็นการผูกโซ่ที่ข้อเท้าหลัง 

ผมเดาเอาจากภาพที่ได้เห็นและประมวลจากความรู้ที่ได้จากการสนทนา/สอบถามกับควาญช้าง  ก็น่าจะเป็นว่าลักษณะของการกระทำใดๆทั้งหลาย เช่น การขึ้น/ลงจากคอช้าง  ตำแหน่งของคนที่เดินเป็นตีนช้าง คนที่สอนช้าง คนที่คุมช้างทำงาน(ที่ได้เล่ามาแล้ว) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของคนที่ถนัดขวาทั้งสิ้น  ก็น่าแปลกออกไปอีกที่ในประสบการณ์ทำงานของผมไม่เคยเห็นชาวบ้านป่าทั้งหลายถนัดซ้ายเลย 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 05 พ.ค. 17, 19:09

โซ่ที่พาดอยู่บนคอของข้างนั้น บางครั้งก็เราก็อาจจะเห็นมีโซ่อยู่อีกเส้นหนึ่งที่พาดอยู่แบบปล่อยชายลอยทั้ง 2 ปลาย  ลักษณะดังกล่าวนี้ค่อนข้างจะบ่งบอกว่า ช้างตัวนั้นเป็นช้างที่กำลังทำงานอยู่ในพื้นที่ต่างถิ่นที่อยู่อาศัย 

โซ่พาดคอที่ปล่อยชายทั้งสองปลายนั้นจะมีความยาวมากพอที่จะใช้มัดข้อเท้าคู่หน้าหรือคู่หลังของช้าง คล้ายกับการใส่กุญแจข้อมือของตำรวจ ซึ่งในกรณีของช้างจะเรียกว่า การตีปลอก หรือ การใส่ปลอก    ทั้งนี้ การใส่ปลอกก็สามารถที่จะทำได้ทั้งแบบเฉพาะข้อเท้าคู่หน้า เฉพาะข้อเท้าคู่หลัง หรือทั้งข้อเท้าคู่หน้าและข้อเท้าคู่หลัง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 05 พ.ค. 17, 19:19

พื้นฐานของการใส่ปลอกก็คือ การจำกัดระยะทางการเดินไปใหนมาใหนของช้างให้อยู่ในวงแคบมากพอที่จะสามารถตามหาตัวได้ในระยะเวลาที่ไม่มากนัก   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 05 พ.ค. 17, 19:30

ข้อสรุปในภาพรวมก็คือ เอาช้างไปปล่อยให้หากินอย่างอิสระแต่อย่างมีขัอจำกัดบางประการ   ช้างแต่ละตัวก็มีวิธีการที่เหมาะสมที่จะเลือกใช้กับมัน  ทั้งหมดนี้ก็เพียงเพื่อให้สามารถตามจับช้างมาทำงานได้ภายในระยะเวลาอันควร 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 06 พ.ค. 17, 19:04

โซ่ที่ผูกไว้รอบข้อเท้าซ้ายของขาหน้านั้น ควาญช้างที่ทำงานในคณะสำรวจของผมไม่เคยถอดออกเลย เมื่อจะเริ่มทำงานก็เพียงยกเอาปลายโซ่ขึ้นมาพาดคอไว้เท่านั้น   

ผมเข้าใจจากภาพที่ได้เห็นว่า เพื่อจะได้ไม่ต้องไปเสียเวลากับการต้องไปผูกโซ่ที่ข้อเท้าทุกครั้งที่เมื่อใดต้องการจะล่ามหรือปล่อยให้หากิน ผนวกกับช้างเองก็ไม่ได้มีความรู้สึกหนักหรือรำคาญที่จะถูกผูกโซ่ไว้เช่นนั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 06 พ.ค. 17, 19:35

เมื่อช้างถูกนำไปปล่อยให้หากินในสภาพที่จต้องเดินลากโซ่ไปด้วย   ก็คงพอจะนึกภาพออกนะครับว่าขนาดเราเดินลากเส้นเชือกปลายปล่อยไปบนสนามหญ้า มันก็ยังไม่ค่อยจะราบรื่น ช้างที่เดินลากโซ่บนผืนดินในป่ามันก็จะถูกหน่วงเหนี่ยวในลักษณะเช่นนั้น   

กระนั้นก็ตามการหน่วงเหนี่ยวก็อาจจะต้องทำให้มีความเข้มข้นมากขึ้นตามสภาพและสถานการณ์  ก็เลยเป็นที่มาของการใช้วิธีการผูกปลายโซ่ไว้กับขอนไม้  ซึ่งก็จะมีทั้งแบบที่ผูกไว้ที่ปลายของขอนไม้และแบบที่ผูกไว้ที่ตรงกลางของขอนไม้  ซึ่งขอนไม้ที่ใช้นั้นก็ไม่จำเป็นจะมีขนาดใหญ่ดั่งท่อนซุง ขนาดประมาณโคนขาของเราก็พอได้แล้ว แต่จะต้องเป็นไม้ประเภทเนื้อแข็งหน่อย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 06 พ.ค. 17, 19:48

การผูกโซ่กับขอนไม้นี้ โดยหลักการก็คือ เมื่อช้างเดินหากินไป ขอนไม้ถูกผูกไว้ก็จะถูกลากตามไปขวางหรือไปขัดกับต้นไม้ใบหญ้าต่างๆ  ช้างก็จะต้องเสียเวลาหันกลับหลังมาใช้งวงจัดการทำให้ท่อนไม้นั้นให้หลุดพ้นจากที่ๆมันขัดอยู่  ก็เลยทำให้มันต้องเสียเวลาในการแก้ไข ไม่สามารถเดินไปได้ไกลในช่วงของเวลาค่ำคืนหนึ่ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 08 พ.ค. 17, 17:47

การผูกโซ่ไว้กับท่อนไม้นี้ ต้องปลดโซ่จากข้อเท้าหน้าเปลี่ยนมาเป็นใส่ที่ข้อเท้าหลัง   

การผูกโซ่ไว้ที่ปลายท่อนไม้กับกลางท่อนไม้จะให้ผลต่างกันมาก   ในกรณีผูกโซ่ไว้ที่กลางท่อนไม้นั้น ช้างจะเสียเวลาสำหรับการเดินไปไหนมาไหนมากๆ เพราะต้องใช้เวลากับการต้องหันหลังกลับมายกขอนไม้ข้ามสิ่งกีดขวางต่างๆ

ในกรณีที่หาท่อนไม้ไม่ได้ ควาญช้างก็จะใช้วิธีการใส่ปลอกที่ข้อเท้าแทน จะเป็นข้อเท้าหน้าหรือข้อเท้าหลังก็ได้ แต่จะต้องให้ช้างสามารถเดินได้ (แบบไม่เต็มก้าว..กระดึบๆไป)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 08 พ.ค. 17, 18:08

ก็ใช่ว่าวิธีการหน่วงเหนี่ยวช้างไม่ให้เดินหากินไปไกลมากนักในช่วงค่ำคืนหนึ่งดังที่กล่าวมานั้น จะได้ผลดังที่คิดไว้นะครับ   เมื่อช้างตั้งใจที่จะไปจริงๆ การใส่ปลอกที่ข้อเท้าที่ว่าน่าจะดีที่สุดนั้น กลับมิใช่เลย   ปล่อยช้างใว้ช่วงหนี่งคืนนั้นมักจะหมายถึงการต้องใช้เวลาประมาณหรือกว่าครึ่งวันในการเดินตามจับ    วิธีการที่ดีที่สุดก็คือการผูกโซ่ไว้ที่กลางขอนไม้ ซึ่งก็มีขัอจำกัดที่ขอนไม้ขนาดที่ต้องการนั้นไม่ค่อยจะมี  กระนั้นก็ตาม หากเป็นช้างตัวผู้ที่มีขนายแล้ว มันก็จะใช้วิธีการดึงโซ่ให้ตึงแล้วใช้ขนายนั้นทิ่มแทงโว่ที่รัดอยู่กับขอนไม้จนโซ่ขาดหรือหลุกจากการผูก  ภาพนี้เคยเห็นอยู่สองสามครั้ง แต่เป็นที่แคมป์แรม เมื่อจับช้างมาได้แล้ว เอามาอาบน้ำแล้ว ผูกไว้ขณะรอควาญกินข้าว มันก็แสดงให้ดู   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.175 วินาที กับ 19 คำสั่ง