เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 27464 ทำงานกับช้าง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 17 เม.ย. 17, 18:06

วันที่สอง ก็เลยตกลงกันที่จะเอาช้างตัวเมียนำ ผลต่างกันเลย เดินได้ระยะทางตามที่คาดไว้ในช่วงเวลาไม่เกินบ่ายสามโมง ทุกคนพอใจ และวันนี้เป็นวันที่ทุกคนได้เรียนรู้เรื่องของช้างในอีกมุมหนึ่ง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 17 เม.ย. 17, 19:37

การใช้ช้างทำงานของชาวบ้านนั้น ตามปรกติแล้วช้างแต่ละตัวจะแยกกันทำงานของตน เป็นงานเดี่ยวในลักษณะงานใครงานมัน (ไถนา, ลากเกวียน, ฉุดแพบรรทุกรถยนต์ข้ามน้ำ ...) เราจึงไม่ค่อยจะได้เห็นในภาพอื่นๆ (เช่น ในรูปแบบของการขนของเดินตามกัน)

ช้างเป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการรับรู้และสามารถแสดงออกซึ่งกระบวนคิดของเขาทั้งทางใจ(อารมณ์)และทางกาย 

ซึ่งหนึ่งในภาพที่แสดงออกที่ได้เห็นก็เมื่อเราได้เอาช้างตัวเมียเดินนำและให้ช้างตัวผู้เดินตาม    งวงของช้างตัวผู้ก็เป็นดั่งกับมือ แต๊ะอั๋งโน่นนิดนี่หน่อยไปทั่ว โดยเฉพาะความพยายามกับนมสองเต้าเมื่อใดที่มีช่องทาง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 19 เม.ย. 17, 18:45

เมื่อเอาช้างตัวเมียเดินนำ ระยะทางเดินก็ได้มากขึ้น ถึงที่ๆจะพักแรมได้เร็วขึ้น ช้างก็ถูกนำไปปล่อยให้หากินได้เร็วขี้น ทำให้ช้างไดัมีเวลากินนานขึ้น    ข้อจำกัดในเรื่องของเวลาของฝ่ายคนก็ลดน้อยลงจนทำให้ไม่รู้สึกมีความเครียด

ช้างตัวผู้มักจะมีอาการคึกในช่วงเช้าของการเดิน แต่พอเดินไปๆก็จะลดลงและหายไป ซึ่งก็คงจะเป็นเพราะเหนื่อย  แต่หากวันใหนดูจะคึกมากเป็นพิเศษ ควาญช้างเขาก็มีวิธีการทำให้ลดลง คือ เมื่อจับช้างกลับมาถึงที่พักแล้ว ก่อนที่จะอาบน้ำแต่งตัว เขาก็จะยุไล่ให้วิ่งขึ้นลาดเชิงเขาของตลิ่งห้วย หน้าอกหน้าใจของช้างก็จะโผล่ออกมาหมด แถมยังบังคับให้โค้งงอไปทางใหนก็ได้อีกด้วย เดี๋ยวเดียวเท่านั้นเองก็จบเรื่อง กลับเข้าสู่ภาวะปรกติ  เป็นภาพที่ทำให้เราอมยิ้มได้เมือนกัน

สำหรับช้างตัวเมียนั้น เช้าๆก็มีอาการรำคาญอยู่บ้างหากมีการเกินเลยจนมากเกินไป     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 19 เม.ย. 17, 19:00

ถึงตรงนี้ ก็คงจะต้องขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของ เวลา ว่ามันเข้ามามีส่วนในการสร้างข้อจำกัดแและความกดดันกับทุกชีวิตในคณะสำรวจได้เช่นใด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 20 เม.ย. 17, 19:13

ได้รับรู้ข้อมูลจากควาญช้างว่า ช้างที่เป็นอิสระนั้นจะเดินไปกินไปได้ทั้งวัน จะหยุดเพื่อหลับนอนก็ในช่วงเวลาประมาณเที่ยงคืนถึงตี 2 และจะตื่นในช่วงเวลาประมาณตี 3 ถึงตี 5   

ตามลักษณะการทำงานของผม และที่เราได้เห็นการใช้ช้างในการแสดงหรือให้บริการนักท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน ก็แสดงว่าช่วงเวลาที่ช้างนั้นๆจะสามารถกินอาหารได้อย่างจริงจังก็คือช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 20 เม.ย. 17, 19:44

ภาพของกิจวัตรประจำวันของช้างในการทำงานดังเช่นที่กล่าวมา ซึ่งมีความแตกต่างไปจากความมีอิสระตามธรรมชาติของเขาก็คือ การมีช่วงเวลากินที่ถูกบังคับหรือถูกจำกัดให้เป็นเวลาและในช่วงเวลาสั้นลง  ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงขนาดและน้ำหนักของตัวเขาแล้วก็คงพอจะได้เห็นว่าปริมาณอาหารที่เขาต้องการนั้นมันมากน้อยเพียงใด   ซึ่งในช่วงเวลาอันจำกัดที่เราจัดให้เขานั้น เขาจำเป็นจะต้องรีบหา(อาหาร)และจะต้องรีบกินเพื่อให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีพและรักษาความสมบูรณ์ของร่างกายของเขา

ผมไม่มีความรู้ว่าปริมาณอาหารที่ร่างกายของช้างต้องการนั้นคิดเป็นน้ำหนักในแต่ละวันมากน้อยเพียงใด แต่ตามน้ำหนักตัวของเขาก็คงน่าจะอยู่ในระดับ 100++ กก. ขึ้นไป 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 20 เม.ย. 17, 21:14

เวลาบ่าย 3 โมงเย็นที่ถูกกำหนดว่าควรจะเป็นเวลาถึงจุดที่พักนั้น เกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพของช้างอยู่มากเลยทีเดียว ดังนี้

เมื่อเรากำหนดจะเริ่มทำงานในเวลาประมาณ 8 โมงเช้า ก็หมายความว่าช้างจะต้องแต่งตัวเสร็จพร้อมที่จะขนของอย่างช้าที่สุดก็เวลาประมาณ 8 โมงเช้า ซึ่งหมายความว่าช้างจะต้องเริ่มลงน้ำล้างตัวให้สะอาดเมื่อเวลาประมาณ 7.30 น. ต้องขัดถูตัวเอาฝุ่นเอาทรายออกเพื่อมิให้เป็นผงขัดที่แทรกอยู่ระหว่างเครื่องหลังกับผิวหนัง ซึ่งหมายความต่อไปว่าควาญช้างจะต้องตื่นแต่เช้ามืดออกไปจับช้างแล้วพากลับมาให้ถึงที่พักในช่วงประมาณก่อนเวลา 7.30 น.

เมื่อเอาช้างไปปล่อยนั้น ระยะทางอาจจะห่างจากที่พักแรมอยู่ที่ประมาณ 2-4 กม. ซึ่งเป็นการเดินประมาณ 1 ชม. ไป-กลับ ก็ 2 ชม. เสียเวลาตามหาช้างอีกประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชม. ก็คือควาญช้างจะต้องออกเดินจากที่พักแรมในเวลาประมาณไม่เกินตี 5  ไปจับตัวช้างที่เวลาประมาณ 6 โมงเช้า   เท่ากับช้างพอจะได้กินอาหารเช้าเป็นเวลาประมาณ 1 ชม. แล้วจะต้องอดไปจนถึงเวาประมาณบ่าย 3 โมงเย็น   

โดยสรุป เวลากินอาหารของช้างโดยภาพรวมก็จะเริ่มได้เมื่อเวลาประมาณบ่าย 5 โมง เรื่อยไปจนถึงประมาณตี 1 หรือตี 2 แล้วก็นอน เมื่อก็ตื่นมาได้กินอีกเล็กน้อยก่อนที่จะต้องไปทำงาน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 21 เม.ย. 17, 19:24

เวลาของคนไปเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในมุมต่างๆ ดังนี้

พื้นที่ป่าใหญ่ในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงนั้น ความแตกต่างของอากาศ(อุณหภูมิ)ระหว่างกลางวันกับกลางคืน (diurnal temperature) มีได้มากกว่า 15 องศาในช่วงฤดูหนาวที่มีอากาศแห้ง  ดวงอาทิตย์กว่าจะขึ้นพ้นทิวเขาส่องแสงถึงเราได้ก็ใกล้ 8 โมงเช้า อากาศก็จึงจะเริ่มอุ่นขึ้น  ตอนบ่ายช่วงเวลาประมาณบ่ายสามโมงเย็น ดวงอาทิตย์ก็เริ่มใกล้จะลงลับทิวเขา อากาศก็จะค่อยๆเย็นลง สัมผัสได้เลย

เวลาของคนก็ไปเกี่ยวกับเรื่องของแสงสว่างและความหนาวเย็นนี้ ด้วยเรามีเรื่องที่จะต้องทำอยู่หลายเรื่องในทุกครั้งที่ทำการตั้งแค้มป์พักแรม

เรื่องแรกก็คือ การหาไม้ฟืนสำหรับทำครัว และหาขอนไม้แห้งในขนาดที่สามารถจะติดไฟกรุ่นอยู่ได้ทั้งคืนเพื่อการให้ความอบอุ่นและไล่สัตว์  ไม้ฟืนสำหรับการทำครัวนั้นหาได้ไม่ยากแน่นอน แต่ขอนไม้ (ท่อนขนาดประมาณถังแกสใบเล็ก ยาวประมาณ 2 ม.) นั้นบางครั้งก็หายากเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 21 เม.ย. 17, 19:51

เรื่องที่สอง  เมื่อเราไม่ได้กินข้าวกลางวันกัน พอเวลาบ่าย 3 โมงเราก็จึงรู้สึกหิวอยู่ไม่น้อย  ซึ่งจะเริ่มทำครัวได้ก็ต่อเมื่อขนของลงจากหลังช้างหมดแล้ว  ต้องไปหาหินมาทำสามขาเป็นเตาหุงข้าว หาไม้ฟืน ฯลฯ  กว่าจะได้อาหารแบบเรียบง่ายพร้อมที่จะทานได้ก็ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชม.เป็นอย่างน้อย (หลังจากมาถึงจุดที่ตั้งแคมป์แรมแล้ว)

ช่วยกันคนละไม้ละมือ หาฟืน สร้างที่พักด้วยผ้าเต็นท์ทำหลังคาผืนนึง ปูพื้นนอนผืนนึง ปูทำครัวและกินข้างผืนนึง จัดที่นอนของแต่ละคน  ออกเดินสำรวจดูลาดเลารอบๆที่พักเพื่อดูเรื่องความปลอดภัยทั่วๆไปและพื้นที่ทำธุระส่วนตัวยามเช้าหรือยามค่ำคืน ฯลฯ

คงพอจะเห็นภาพได้ว่า หากมาถึงจุดพักแรมเย็นมากกว่านี้ จะโกลาหนกันเพียงใด    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 23 เม.ย. 17, 17:36

 อายจัง สะกดคำว่า โกลาหล ผิดไปอย่างแรงเลยครับ  ไม่ใช่ typo error และก็ไม่ใช่ typing error ครับ

ขออภัย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 23 เม.ย. 17, 18:13

อีกเรื่องหนึ่ง คือ กับข้าว 

แน่นอนอยู่แล้วที่เนื้อสัตว์และผักที่เป็นของสดที่จ่ายมาจากตลาดในเมืองนั้น ย่อมหมดไปในวันสองวันแรก หรือก่อนวันออกเดินทางพร้อมกับช้างด้วยซ้ำไป ของที่อยู่ในปี๊บอาหารก็จึงจะเหลือแต่พวกเครื่องปรุงอาหารที่เก็บได้นานเป็นหลัก (หอม กระเทียม ตะใคร้ ใบมะกรูด ข่า กระชาย กะปิ พริกแห้ง เกลือ น้ำปลา ...ฯลฯ) ส่วนเนื้อและผักสดนั้นต้องช่วยกันหากันวันต่อวันไป

ในช่วงเช้าจะเป็นช่วงเวลาที่ผมมี concentration ในการทำงานทางวิชาการมากที่สุด แต่เมื่อยิ่งเข้าช่วงบ่ายมากขึ้นก็จะมีเรื่องอื่นๆเข้ามาแทรกให้คิดมากขึ้น (อาทิ แคมป์อยู่ที่ใหน ตั้งแคมป์ได้ไหม มีน้ำไหม ...)  และหนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของอาหาร ซึ่งทุกคนจะต้องช่วยกันหากับข้าวสำหรับมื้อเย็นและมื้อเช้าต่อไป (หากทำได้)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 23 เม.ย. 17, 18:56

จริงๆแล้ว ก็มีของสดที่จ่ายจากตลาดไปและหวังจะให้คงเหลืออยู่นานที่สุดก็คือ มะเขือขื่น เพื่อเอาไว้ใส่ในแกงป่า ซึ่งจะทำให้แกงอร่อยขึ้นอย่างมาก  อื่นๆก็พวกพืชสมุนไพรและเครื่องหอม (ที่ต้องพยายามต้องให้มีอยู่ประจำ) อาทิ กระเพราที่มีดอก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะขามเปียก   แล้วก็มีเครื่องเทศบางอย่าง เช่น ดีปลี กานพลู อบเชย พริกหอม เม็ดผักชี ยี่หร่า... ก็เผื่อว่าอาจจะได้ใช้  รูดซิบปาก    สำหรับกานพลูนั้น ใช้อมและกัดย้ำๆเพื่อแก้ปวดฟัน

ของที่ขาดไม่ได้จริงๆ ที่ต้องซื้อ และก็มักจะเหลือจนถึงวันกลับวันสุดท้ายก็คือ กุนเชียง 1 กก. ถั่วเขียว 1 กก. และน้ำตาลทราย 1 กก. ซึ่งเป็นอาหารยามขาดแคลนเมื่อใกล้ขีดสุด และเมื่อถึงขีดสุด   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 23 เม.ย. 17, 19:06

อ้อ ลืมไปอีกอย่างหนึ่งที่ต้องซื้อก็คือ กะปิไทยสีม่วงดำ (ทำจากสัตว์น้ำเค็ม) กับ กะปิมอญสีน้ำตาล (ทำจากสัตว์น้ำจืด)  กะปิไทยเอาไว้ทำน้ำพริกกินกับผัก สำหรับกะปิมอญเอาไว้ใส่ในน้ำพริกแกงป่า (ให้ความอร่อยต่างกันมากเลยทีเดียว)  แล้วก็ต้องไม่ลืมลูกมะกรูดอีกด้วยครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 24 เม.ย. 17, 19:05

อาหารสดในป่าที่เราทั้งหลายมักจะนึกถึงก็คือเนื้อสัตว์ที่ได้มาด้วยการล่าด้วยการยิง    และก็คิดว่ามีผู้คนเป็นจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าในการเดินป่าทำงานของผมนั้นสนุกและเพรียบพร้อมไปด้วยการล่าสัตว์ ซึ่งผมต้องตอบคำถามและต้องอธิบายอยู่บ่อยๆ แม้กระทั่งถูกห้ามไปเดินในบางพื้นที่ก็มี ก็เป็นเรื่องของ cognitive ability

การล่าสัตว์เป็นการเดินไปแสวงหาตัวสัตว์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม (ของสัตว์แต่ละชนิด)  ต่างกับการเดินสำรวจอยู่ในห้วยที่เดินแบบไม่ระวังความดังของเสียง มีเสียงคุยกันและมีเสียงเคาะหิน/ต่อยหินอยู่ตลอดเวลา     อาหารหลักที่เก็บกินกันอยู่ทุกวันจึงเป็นของที่หาได้อยู่ในบริเวณร่องห้วย พืชผักที่สำคัญก็ได้แก่ ผักกูด ผักกาดป่า อื่นๆที่อาจจะพบและเก็บได้ก็มี อาทิ ลูกส้าน ดอกงิ้ว หน่อไม้  หากเข้าใกล้ถิ่นที่เคยมีการหักร้างถางพงก็อาจมี อาทิ มะเขือ กระทกรก ลูกชะเอม   เหล่านี้เป็นต้น     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 24 เม.ย. 17, 19:40

เนื้อสัตว์ขาประจำสำหรับอาหารเย็นก็คือ พวกสัตว์น้ำในห้วย (ปู ปลา กบ เขียด) นก และบางครั้งก็มีเนื้อสัตว์ใหญ่หากบังเอิญจ๊ะเอ๋กัน ก็มี อาทิ ตะกวด กะรอก

สำหรับอาหารของมื้อเช้านั้น จะได้มาในช่วงก่อนนอนและช่วงการออกเดินไปจับช้าง ก็มีอาทิ ปลา เม่น ไก่ป่า

การล่าหรือการจับสัตว์เหล่านี้มาเป็นอาหาร มันเป็นความจำเป็นในเรื่องของการอยู่รอด ซี่งก็จะทำกันด้วยความมีสำนึกถึงความเพียงพอและพอเพียง ไม่กินทิ้งกินขว้าง  และกระทำด้วยความเคารพต่อเจ้าที่เจ้าทาง เทพยดาฟ้าดิน เทพาอารักษ์ และสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่นั้นๆ       
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง