เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 27445 ทำงานกับช้าง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 12 เม.ย. 17, 21:11

ชาวบ้านป่าก็อยากกินข้าวขาวของโรงสีในเมือง  เราก็ชอบกินข้าวไร่ที่สีกันในชุมชนหรือที่ใช้กระครกกระเดื่องตำแล้วฝัดกินกันเอง  ก็เลยมีการแลกกันอยู่บ่อยๆ แบบถังต่อถังบ้าง หรือแบบถังต่อถัง+ส่วนเขาแถมบ้าง

เมื่อซื้อข้าวสารในเมือง ก็จะเลือกข้าวเก่า เพราะหุงขึ้นหม้อดีและไม่ค่อยจะบูดเสีย  ข้าวใหม่นั้นหุงด้วยวิธีการเช็ดน้ำได้ค่อนข้างยาก มักจะออกไปในทางแฉะและก็จะบูดเสียได้ง่ายมากอีกด้วย     

สำหรับข้าวไร่นั้นเป็นข้าวที่เกือบจะไม่มีการเก็บอยู่ในยุ้งฉางก้าวข้ามปีการผลิต   ข้าวใหม่ก็หุงยากเช่นกัน ข้าวไร่นี้เมื่อหุงสุกแล้วก็เกือบจะเหมือนกับข้าวญี่ปุ่น มีลักษณะครึ่งทางระหว่างขาวสวยกับข้าวเหนียว ต่างกันที่ข้าวไร่จะออกไปทางเป็นข้าวร่วนซุย ส่วนข้าวญี่ปุ่นนั้นจะออกไปทางเหนียวจับตัวกัน     
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 12 เม.ย. 17, 21:32

บรรยายเรื่องบ้านนาป่าไร่ซะขนาดนี้ ถ้าท่าน NAVARAT.C ไม่ช่วยเปิดตัวเมื่อครั้งกระโน้น ก็คงคาดไม่ถึงว่าท่าน naitang เป็นอดีตนักเรียนมหาดเล็กหลวงมาก่อน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 13 เม.ย. 17, 18:28

 ยิงฟันยิ้ม

ครับ  ถูกเกลามาให้รู้จักตนเอง รู้จักเรื่องของการสังคม รู้จักเรื่องของการเคารพ รู้จักเรื่องของส่วนรวม รู้จักเรื่องของการเผื่อแผ่ รู้จักเรื่องของการอภัย...   ซึ่งจะทำให้เกิดสัมฤทธิ์ผลได้ ก็จะต้องรู้จริง สัมผัสจริง ตั้งใจจริง ทำจริง รู้จักพอเพียงและเพียงพอ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 13 เม.ย. 17, 18:42

จะเล่าเรื่องข้าวไร่(และการเกษตรอื่นๆ)ต่ออีกหน่อย ก็เกรงว่าจะออกนอกเรื่องช้างมากเกินไป เอาไว้เล่าแทรกเมื่อเหมาะสมนะครับ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 13 เม.ย. 17, 19:29

ขอบคุณครับที่นำความรู้ ประสพการณ์จริงมาเผยแผ่
ได้ติดตามมาตลอด และจะติดตามต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 13 เม.ย. 17, 19:31

ก็ตกลงตารางการเดินทำงานสำรวจกันได้บนพื้นฐานว่า การเดินสำรวจนี้เป็นการเดินแบบต่อเนื่องที่มีการย้ายที่นอนทุกวัน ทุกคนจะต้องช่วยกันในทุกเรื่องของการกินอยู่ร่วมกัน และจะต้องมีความซื่อต่อกัน

เช้าประมาณตี 5 ควาญช้างก็จะไปจับช้าง นำกลับมาที่แค้มป์แล้วทำการอาบน้ำและแต่งตัวช้างให้เสร็จก่อนเวลา 8 โมงเช้า ทีมสำรวจ 4 คน จะเดินทำงานแยกออกไป  ส่วนทีมช้าง 4 คน เมื่อเก็บของและทำการบรรทุกเรียบร้อยแล้วก็จะเดินไปที่นัดหมายหรือที่ๆมีแอ่งน้ำและสามารถแค้มป์แรมได้ จะไม่มีการห่อข้าวกลางวันกัน กินวันละสองมื้อคือเช้ากับเย็น  ทั้งนี้ ช้างจะเดินต่อเนื่องไม่เกินเวลาประมาณบ่าย 3 โมงเย็น แล้วก็จะหยุดและทำการตั้งแค้มป์แรม   เมื่อเดินต่อเนื่องได้ประมาณ 7 วัน  ก็จะหยุดพัก 2 คืนต่อเนื่องกัน เพื่อพักช้าง เพื่ออาบน้ำซักผ้า เพื่อประมวลข้อมูลที่ได้มาจากการเดินสำรวจ เพื่อจัดการกับเสบียงอาหาร และอื่นๆ (ซึ่งส่วนมากจะเป็นในบริบทของเรื่องการสื่อสารทำความเข้าใจกันระหว่างผมและคณะสำรวจ กับ ผู้คนชาวบ้านป่าในพื้นที่ป่านั้นๆ และคนที่เราเรียกว่า ผกค.ในสมัยนั้นอีกด้วย)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 14 เม.ย. 17, 18:24

ดูเป็นลักษณะการทำงานที่ง่ายๆไม่สลับซับซ้อนอะไร  แต่พอทำจริงก็มีเรื่องที่ต้องยืดหยุ่นอย่างมากในแทบจะทุกเรื่องก็ว่าได้

ในการเดินทางไกลตามปรกติแบบไม่เร่งรีบ ทั้งคนและช้างจะเดินด้วยความเร็วพอๆกัน คือ ประมาณ 4 กม./ชม. ซึ่งความเร็วในระดับนี้เป็นอัตราที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเดินทางไกลแบบต่อเนื่องของทั้งคนและช้าง ไม่เหนื่อยมากและไม่ต้องหยุดพักบ่อยๆ ส่วนชาวบ้านนั้น ความเร็วในการเดินทางไกลตามปรกติของพวกเขาจะอยู่ที่ประมาณ 6 กม./ชม.   

ในการเดินทำงานสำรวจของผมนั้น อัตราความเร็วจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 กม./ชม.และอาจจะช้ากว่านั้นหากพบว่ามีข้อมูลน่าสนใจที่จะต้องสืบค้นมากขึ้นจากตัวหิน ความสัมพันธ์และการวางตัวการวางตัวของมันในพื้นที่นั้นๆ รวมทั้งหากได้พบซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ (fossil)   เพราะช้อมูลพื้นฐานที่ต้องการก็คือ แผนที่แสดงการวางตัวของหินต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างกันของมัน มันเกิดมาอย่างไร เมื่อใด และมันมาอยู่ด้วยกันได้อย่างไร  ง่ายๆก็คือประวัติชีวิต การเปลี่ยนแปลง และสิ่งแวดล้อมที่มันผ่านมา         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 14 เม.ย. 17, 19:09

ผมเดินทำงานอยู่ในร่องห้วยเป็นส่วนมาก แต่เป็นห้วยที่มีร่องน้ำต้องตัดขวางกับแนวการวางตัวของชั้นหินและจะต้องมีดานหิน (outcrop) โผล่ให้เห็นด้วย 

ดูก็เดินง่ายดี แต่อาจจะไม่ง่ายนักสำหรับช้าง  ช้างชอบเล่นน้ำและชอบอาบน้ำก็จริง แต่ไม่ชอบเดินลุยน้ำไปตามลำห้วย    เราจึงเห็นด่านช้างเกือบทั้งหมดในป่าเป็นเส้นทางที่ข้ามห้วยไปมา จะมีเลาะในห้วยอยู่บ้างก็ในบริเวณที่เป็นตะพักลำน้ำ (stream terrace)  เหตุผลก็ดูจะไม่มีอะไรมากไปกว่า ช้างกลัวติดหล่ม    แล้วค่อยขยายความนะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 15 เม.ย. 17, 19:16

การเดินลุยน้ำไปตามห้วยนั้นดูเหมือนจะสะดวกดี  แต่ในความเป็นจริงแล้วห้วยมิได้ราบเรียบดั่งที่คิด ในห้วยบางจุดก็เป็นดานหินตะปุ่มตะป่ำเต็มไปด้วยหลุมบ่อ (potholes) บางจุดก็มีก้อนหินใหญ่วางอยู่ระเกะระกะ  บางจุดก็เต็มไปด้วยกรวดหรือทราย บางจุดก็เป็นดินอ่อนนุ่ม บางจุดก็มีน้ำลึก มีตลิ่งที่มีหลืบหิน บางจุดก็เป็นตาด...ฯลฯ

ด้วยสภาพดังกล่าวนี้ คนเราเองยังเดินได้ยาก และเดินไปได้ค่อนข้างจะช้า เพราะจะต้องหลบเลี่ยงไปมา  สำหรับช้างนั้นจะยิ่งเดินลำบากมากกว่าเราอีกหลายเท่า     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 15 เม.ย. 17, 19:38

ช้างป่าเดินตัวเปล่า เขาจะเดินมุ่นเดินมุดพุ่มไม้ หรือจะเดินละกิ่งไม้เช่นใดก็ได้  แต่ช้างที่บรรทุกของอยู่บนหลังทำเช่นนั้นไม่ได้   เมื่อเดินในห้วยลำบาก ก็ต้องเดินเลาะตามตลิ่งห้วยซึ่งจะมีกิ่งไม้ใบไม้หนาแน่น และจะเดินลัดข้ามไปข้ามมาตัดคุ้งห้วยต่างๆ   ภาระหนักก็จึงไปตกอยู่ที่ควาญช้างที่จะต้องฟันกิ่งไม้เพื่อมิให้มาระรานกับตัวเองและสิ่งของที่บรรทุกมาจนเกิดความเสียหาย     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 16 เม.ย. 17, 17:55

เดินเลาะตลิ่งลำห้วย ดูคล้ายกับจะเป็นการเดินในพื้นที่ระดับเดียวที่ง่ายๆ แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ง่ายดังที่คิด  ข้างตลิ่งที่อยู่สูงกว่าระดับท้องห้วยไม่มากนักนั้น มักจะเป็นที่ๆมีก้อนหินขนาดใหญ่ไหลลงมาตามลาดเอียงของตลิ่งและหินที่ถูกน้ำพัดพามา(เมื่อเกิดมีน้ำป่า)มากองทับถมกัน หรือไม่บางจุดก็เป็นตลิ่งที่เป็นผนังหิน

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 16 เม.ย. 17, 18:40

ภาพต่างๆที่ผ่านมานั้น ดูจะฉายภาพที่ออกไปในทางที่มีแต่ข้อจำกัด  ซึ่งหากเราไปพะวง ไปเครียดกับมัน คิดแต่ว่ามันยุ่งยากไปหมด เราก็คงจะต้องเป็นโรคประสาทเป็นแน่  ก็ในเมื่อความเป็นจริงมันเป็นเช่นนั้น เราก็ต้องอยู่กับมันให้ได้อย่างมีความสุขและความสบายทั้งทางกายและใจ

ในสภาพทั้งหลายดังกล่าวนั้น เมื่อทำงานจริงเรากลับได้พบแต่เรื่องที่น่าสนใจ เรื่องที่น่ารัก และเรื่องที่อยู่ในบริบทของความสุขมากมาย  ช้างมีอะไๆที่ของเขาที่น่ารักน่าเอ็นดูอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 16 เม.ย. 17, 19:05

เล่ามาแต่แรกว่า ผมได้จ้างช้าง 2 ตัว ตัวหนึ่งเป็นตัวเมีย อีกตัวหนึ่งเป็นตัวผู้ 

ขออนุญาตใช้คำว่า "ตัว"   สำหรับคำว่า "เชือก" นั้น ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า น่าจะใช้เรียกช้างที่ทำงานอยู่ในระบบ คือ มีสังกัดเป็นเรื่องเป็นราว คล้ายกับการให้เกียรติเรียกว่า "ท่าน"

และก็ขอใช้คำว่า "ตัวเมีย" และ "ตัวผู้" แทนคำว่า "พัง" และ "พลาย"  ด้วยเห็นว่าก็น่าจะเป็นการใช้เรียกช้างที่ทำงานอยู่ในระบบเช่นกัน ในลักษณะของการใช้คำนำหน้าว่า "นางสาว หรือ นาง" และ "นาย"
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 16 เม.ย. 17, 19:29

โดยตรรกะพื้นๆแล้ว ในการจะเดินหรือจะเคลื่อนย้ายกลุ่มไปใหนมาใหนของพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทั้งหมด จะนำด้วยผู้ที่มีอาวุโสสูง ซึ่งอาจจะเป็นทางด้านอายุหรือด้านสังคม   

แต่เมื่อช้างอยู่ในบังคับของคน (มีควาญนั่งอยู่บนคอ) เราก็สามารถจะเลือกและจะใช้ช้างตัวใดตัวหนึ่งให้เป็นตัวนำ และก็จะสลับสับเปลี่ยนตัวนำเช่นใดก็ได้    เมื่อช้างที่ผมจ้างนั้น (ตัวเมียมีขนาดตัวใหญ่กว่าและมีอายุมากกว่าช้างตัวผู้โขอยู่) ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 17 เม.ย. 17, 17:22

ก็เป็นเช่นนั้น แต่งานที่ทำมีประสิทธิภาพต่ำ

เมื่อเริ่มทำงาน ควาญช้างเขาก็ตกลงกันให้เอาช้างตัวผู้เดินนำ มันก็ค่อยๆเดินช้าๆ เดี๋ยวก็หันหัวเอี้ยวตัวซ้ายทีขวาที คอยดูข้างหลัง คล้ายกับพะวงอะไรสักอย่าง  เมื่อถึงบริเวณที่พอจะมีทางเดินที่กว้างพอมันก็ชลอให้ช้าลง พยายามจะให้ช้างตัวเมียเดินมาขนาบอยู่ข้างๆ   

เดินวันแรก ควาญต้องนั่งอยู่บนคอตลอดพร้อมส่งเสียงสั่งการและไสให้มันเดินอยู่ตลอดเวลา  เหนื่อยเลยครับ ทั้งฟันกิ่งไม้และต้องเขย่าเท้าที่ข้างใบหูเพื่อไสให้ช้างเดินตลอดเวลา 

ในวันแรกนี้ ดูสถานการณ์แล้วอาจจะคลาดที่นัดพบกันได้ตามที่คาดไว้  ผมต้องเลยต้องเดินนำหน้าช้างบ้าง เดินตามหลังช้างบ้าง ตามๆกันๆไป  เพราะระยะทางของการเดินที่คาดไว้แต่แรกนั้นน่าจะคลาดเคลื่อนจนทำให้การเดินถึงบริเวณที่นัดพบผิดเวลาเกินไปกว่าที่วางแผนไว้มาก  ความหิวของช้างและคนคงจะทำให้เกิดอารมณ์ที่ไม่ดีได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง