เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 27435 ทำงานกับช้าง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 07 เม.ย. 17, 19:00

ตรงรอยต่อของหนังที่หุ้มเล็บและงานั้น เป็นบริเวณที่ไวต่อความเจ็บปวดของช้างมาก เช่นเดียวกันกับที่หนังที่โคนเล็บมือและเล็บเท้าของเรา   

หากได้มีโอกาสได้เห็นช้างทำงานที่เป็นของจริง ที่มิใช่การแสดง หรือจะดูจากรูปภาพเก่าก็ได้ เราจะเห็นว่ามีอยู่ 3 รูปแบบ คือ แบบที่มีควาญช้างนั่งบังคับช้างอยู่บนคอคนเดียว แบบที่มีควาญสั่งการช้างยืนอยู่บนพื้นดินอยู่คนเดียว และแบบที่มีควาญช้างอยู่บนคอและอีกคนหนึ่งช่วยอยู่บนพื้นดิน 

ในรูปแบบที่มีคนยืนอยู่บนพื้นดินนั้น จะสังเกตเห็นว่าคนๆนั้นจะยืนอยูใกล้กับขาหน้าของช้างมาก และอาจจะเห็นด้วยว่าเขาถือก้านไม้เล็กๆ(คล้ายไม้เรียว)อยู่ในมือ  ไม้เรียวเล็กๆนั้นแหละคือสิ่งที่ช้างกลัวและจะต้องทำตามคำสั่ง ต้องฟังและไม่ดื้อแพ่งต่อคำสั่งต่างๆ   
ซึ่งแม้เราจะไม่เห็นว่ามีการถือไม้เรียว เขาก็จะใช้สันของมีดพร้าหรือมืดเหน็บที่เหน็บอยู่กับผ้าขาวม้าหรือกับเข็มขัดคาดเอว   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 07 เม.ย. 17, 19:58

เท่าที่เคยเห็นมาและเท่าที่ได้เคยพูดคุยเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมจากควาญช้างท้องถิ่น  ทำให้พอจะรู้ว่าการฝึกสอนช้างของชาวบ้านนั้นดูจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการแยกลูกช้างออกจากอกแม่ พร้อมกับบอกเขาว่า ชีวิตต่อจากนี้ไปจะต้องมาอยู่ในสังคมของคน คนจะเป็นผู้อุปการะดูแลเขาต่อไป  และอีกขั้นตอนหนึ่ง คือการสอนงาน

ขั้นตอนการสอนงานนี้เองที่ทำให้ช้างกลัวอย่างฝังหัวกับไม้เรียวที่ตีแปะลงไปที่บริเวณหนังหุ้มเล็บ กล่าวได้ว่า เห็นคนถือไม้คล้ายๆไม้เรียวเข้ามาใกล้ตัวเมื่อใด ก็จะทำตาปะหลับปะเหลือก แสดงอาการระแวง

สำหรับขั้นตอนการแยกแม่กับลูกออกจากกันนั้น แล้วค่อยเล่านะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 07 เม.ย. 17, 20:02

ก็คงพอจะนึกภาพอออกนะครับ ว่าช้างทรงและช้างของแม่ทัพนายกองทั้งหลายนั้น จำเป็นจะต้องมีคนคอยป้องกันตีนช้างเพราะเหตุใด ก็คล้ายกับการป้องกันการเจาะยางรถนั่นเอง    ช้างมีอุปกรณ์ป้องกันตัวเองอยู่ด้านหน้าทั้งหมด ด้านหลังนั้นแทบจะไม่มีอะไรเลย จะหันคอก็มองไม่เห็น ดูจะมีแต่การเตะที่คล้ายกับการแกว่งท่อนไม้ซุงเพียงเท่านั้น แต่ก็อย่าไปคิดว่าไม่แรงนะครับ ลองนึกถึงท่อนไม้ที่แกว่งมาโดนตัวเราก็แล้วกันว่าเราจะรู้สึกเช่นใด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 09 เม.ย. 17, 18:30

ได้ช้างมาแล้ว ก็ต้องพูดคุยกับควาญช้างให้มีความเข้าใจตรงกันในเรื่องลักษณะงานที่เราจะทำ ข้อจำกัดของฝ่ายช้างมีอะไรบ้าง เช่นปริมาณของที่จะบรรทุก ช่วงเวลาของการทำงานแต่ละวันและเป็นเวลาต่อเนื่องกี่วัน อาหารการกินที่จะต้องช่วยกัน .....ฯลฯ

ปัญหาหลักที่ต่างฝ่ายต่างกลัวก็คือ ฝ่ายผม การทิ้งงานปล่อยสัมภาระของพวกผมทิ้งไว้กลางป่า  ฝ่ายควาญช้าง เกี่ยวกับสุขภาพของช้าง 

ซึ่งแม้จะดูเป็นคนละเรื่องกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์กัน     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 09 เม.ย. 17, 19:06

เป็นความรู้ติดตัวต่อมาก็คือ แม้ช้างจะสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากก็จริง แต่หากว่าจะต้องแบกน้ำหนัก(และเดิน)ต่อเนื่องวันละหลายชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน  ช้างก็จะไม่ไหว (โทรม)และมีอารมณ์หงุดหงิด   

ภาพก็คือ  หากงานเดินของผมจะเริ่มเวลาประมาณ 8 โมงเช้าทุกวัน มีการขนของขึ้นหลังช้างเพื่อย้ายที่พักและขนของลงเพื่อตั้งแค้มป์แรมทุกๆวัน ต่อเนื่องกันหลายๆวันนับเป็นสัปดาห์  ก็หมายความว่า ช้างจะต้องอดกินอาหารตั้งแต่เมื่อเริ่มตื่นนอนไปทั้งวันจนกระทั่งขนของลงจากหลังช้างแล้วเสร็จและถูกนำไปปล่อยในป่า ช้างจึงจะเริ่มกินอาหารได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ  แม้ว่าช้างพอจะใช้งวงเก็บเกี่ยวอาหารได้บ้างในขณะกำลังเดิน แต่ก็จะได้ในปริมาณน้อยมาก คงจะเป็นได้เพียงเสมือนขนมขบเคี้ยวพอประทังหิวได้เท่านั้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 10 เม.ย. 17, 19:07

เรื่องอาหารของคนก็ยุ่งยากเหมือนกัน เพราะต้องมีอุปกรณ์ทำครัว (หม้อ กระทะ กาต้มน้ำ ..) มีเครื่องปรุงแบบแห้ง (เกลือ พริก หอม กระเทียม ..) และแบบที่เป็นน้ำ (น้ำปลา ..) ต้องมี preserved food บางอย่าง (กุนเชียง ปลาสลิด ..) และก็ต้องมีข้าวสาร

เครื่องปรุงทั้งหลายนั้น จะหมดไปเช่นใดก็ไม่เป็นปัญหาหากยังคงมีเกลือเหลืออยู่  แต่สำหรับข้าวสารนั้นหากหมดไปก็จะเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเอามาคิดในการวางแผนการเดินสำรวจ    ลองคิดดูนะครับ คนวัยฉกรรจ์ 8 คนทำงานเหนื่อยทั้งวัน จะต้องใช้ข้าวสารหุงข้าวในแต่ละมื้อเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด  ข้าวสาร 1 ถังจะกินได้กี่วัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 10 เม.ย. 17, 19:15

คิดมากไปกว่านั้น ก็คือหากจะกินข้าวเหนียวล่ะ ใหนจะเปลืองมากกว่ากัน  ละไว้ให้ลองคิดอีกข้อนึงครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 10 เม.ย. 17, 19:26

แล้วก็อีกข้อพิจารณา คือระหว่างการใช้ข้าวสารที่ได้จากการปลูกในนาข้าว (นาปีหรือนาปลัง) หรือข้าวสารที่ได้จากปลูกตามลาดเชิงเขาของชาวบ้านป่าที่เรียกว่า ข้าวไร่

ข้าวสารที่ผมซื้อในสมัยนั้น ถังละประมาณ 16-20 บาท     ส่วนข้าวไร่นั้นเกือบจะไม่เป็นที่รู้จักกัน ไม่เคยเห็นมีขายกันในท้องตลาดในพื้นที่เมือง   ซึ่งหากจะใช้ข้าวไร่ก็มีความเสี่ยงที่อาจจะหาซื้อไม่ได้ ข้าวไร่นั้นพอจะหาใด้ก็ในพื้นที่ชุมชนบ้านป่า ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 11 เม.ย. 17, 19:01

กินข้าวเหนียวจะเปลืองมากกว่าข้าวเจ้าเยอะเลย เพราะข้าวเหนียวจะไม่ขึ้นหม้อ(ขยายตัว)เหมือนกับข้าวเจ้า   

การหุงข้าวเจ้าแบบเช็ดน้ำก็จะได้น้ำข้าวที่พวกผมเรียกกันเล่นว่า กาแฟหมา   เช้าขึ้นมาก็ได้อาหารอ่อนๆเบาๆกันคนละแก้วดั่งซดกาแฟตอนเช้า ตกเย็นก็ได้เครื่องดื่มชูกำลัง เอาเกลือทะเลสองสามเม็ดใส่ลงไปก็ได้เครื่องดื่มดังน้ำเกลือแร่ เรียกความชุ่มชื่นกลับมาจากการเสียเหงื่อไปเกือบทั้งวัน    น้ำข้าวจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำนั้น อุดมไปด้วยวิตามิน ข้าวสารสมัยก่อนนั้นมิได้สีช้าว(ขัด)กันจนเม็ดข้าวขาวจั๊วะ ทำให้ยังคงมีวิตามินคงค้างอยู่บ้าง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 11 เม.ย. 17, 19:19

ผมคิดว่า การหุงข้าวแบบเช็ดน้ำในปัจจุบันนี้คงจะไม่มี ไม่ได้เห็นกันอีกแล้ว    เอาเป็นว่า ที่ใดที่มีไฟฟ้าไปถึง ที่นั่นก็จะมีแต่การใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า  หากที่ใดที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง ที่นั่นก็จะยังคงใช้ถ่านหรือไม้ฟืนในการหุงข้าวและทำอาหาร ก็จะยังคงการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำอยู่  ในชีวิตการทำงานในพื้นที่ชนบทของผม ผมไม่เคยเห็นชาวบ้านใช้วิธีการหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำเลย 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 11 เม.ย. 17, 20:46

ขอขยายความนิดนึง

การหุงข้าวแบบเช็ดน้ำนั้น ผมเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ และมี element ในทางสังคมแฝงอยู่ในตัวอยู่ไม่น้อย     ไม่ว่าจะหุงด้วยหม้อดินหรือด้วยหม้อโลหะก็ตาม ก็จะต้องผ่านกระบวนการต้มน้ำที่มีข้าวอยู่ในหม้อให้เดือด เคี่ยวจนเมล็ดข้าวบานได้ที่จึงจะเทน้ำข้าวออก ซึ่งเป็นขั้นการใช้ไฟแรง  เมื่อเทน้ำข้าวออกจนเหลือแต่ข้าวหมาดๆแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการดงข้าว ซึ่งเป็นขั้นการใช้ไฟอ่อน เพื่อทำให้ข้าวแห้งและมีความอ่อนนุ่ม  ซึ่งทำได้ทั้งแบบตักถ่านออกจากเตา หรือในกรณีของชาวบ้านที่ใช้เตาสามขา ก็จะเขี่ยขี้เถ้าออกมาเพื่อทำการดงข้าวกับขี้เถ้าร้อนๆนั้น

ข้าวที่ออกมาหอมอร่อยนั้น จึงเป็นฝีมือของคนที่หุงข้าวโดยแท้ ก็สั่งใดเลยว่าจะให้ข้าวมีเม็ดสวยหรืออ่อนนิ่ม จะให้น้ำข้าวข้นหรือใส จะให้ข้าวออกไปทางแห้งหรือออกไปทางแฉะ หรือจะให้ข้าวมีกลิ่นออกใหม้นิดๆหรือไม่ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 11 เม.ย. 17, 21:01

การหุงข้าวด้วยวิธีเช็ดน้ำนั้น จำเป็นต้องใช้หม้อที่มีหูยกสองข้าง แะฝาหม้อก็ต้องมีหูด้วย  ที่สำคัญคือต้องมีไม้ขัดหม้อ   

ไม้ขัดหม้อนี้พอจะจัดได้ว่าเป็นไม้กายสิทธิ์ เป็นไม้ที่เมื่ออยู่ในมือของแม่หญิงแล้วทรงอำนาจ ใช้ได้ทั้งหมดตั้งแต่ขัดหม้อ ตีหมา ตีแมว ฟาดสามี ตีก้นลูก เขี่ยข้าวในหม้อ เขี่ยฟืนในเตา  เป็นของที่เหน็บเก็บไว้ที่ข้างฝาของห้องครัว เห็นชัดเด่นเป็นสง่า หยิบฉวยได้ง่าย และเป็นของเก่าเก็บตกทอดการใช้ต่อกันมา  ไม่นิยมจะทำขึ้นใช้ใหม่  ผมเคยได้ยินแต่คำบ่นว่าไม้ขัดหม้ออันใหม่นี้สู้อันเก่าไม่ได้เลย  ของคณะสำรวจของผมก็มี เก็บอยู่ในปี๊บเครื่องครัวตลอดเวลา ก็พกไปทุกที่ๆต้องตั้งแคมป์หุงหาอาหาร   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 12 เม.ย. 17, 19:09

เศษถ่านก้อนเล็กๆและผงเถ้าถ่านที่เขี่ยออกมาเพื่อดงข้าวนั้น ใช้หมกหอมและกระเทียม (ที่เรียกว่าเผาหอม เผากระเทียม) ทำให้สุก หอมและได้รสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มากกว่าการเอามาเสียบไม้แล้วปิ้งบนเตาไฟ (เพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าหอมเผา กระเทียมเผา)   อาหารที่ใช้หอมเผากระเทียมเผาในสมัยก่อนจึงมีความลุ่มลึกในกลิ่นและรสชาติ มีอร่อยกว่าในปัจจุบันนี้มาก   

ห่อหมกและแอบทั้งหลายที่หมกให้สุกกับขี้เถ้าร้อนๆข้างเตานี้ ก็มีกลิ่นหอมที่ชวนกินและมีความอร่อยมากเช่นกัน แม้กระทั่งกับกะปิที่นำมาเผาด้วยวิธีการหมกนี้ด้วย   กลิ่นหอมนั้นก็มาจากใบตองกล้วยที่ใช้ห่อ ซึ่งจะให้กลิ่นใหม้อ่อนๆจากใบตองส่วนนอกของห่อ และกลิ่นหอมจากความชุ่มชื้นของใบตองส่วนในของห่อ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 12 เม.ย. 17, 19:35

เรื่องข้าวนาและข้าวไร่นั้น 

ข้าวนาที่เรากินกันตามปรกติจะเป็นกลุ่มข้าวเมล็ดยาว ในขณะที่ข้าวไร่จะเป็นกลุ่มข้าวเมล็ดสั้น     

ข้าวนาจะปลูกในพื้นที่ราบและต้องใช้น้ำช่วยในการควบคุมการเจริญเติบโตของหญ้า  แต่ข้าวไร่จะปลูกอยู่ตามลาดเชิงเขา ใช้ไม้ไผ่กระทุ้งให้เป็นหลุม หยอดเมล็ดข้าว แล้วก็กลบ ต้นข้าวเจริญเติบโตด้วยน้ำจากฟ้าเท่านั้นเอง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 12 เม.ย. 17, 19:46

ข้าวไร่เป็นข้าวอินทรีย์ตัวจริง ปราศจากการใช้สารเคมีทุกชนิดทั้งในช่วงเวลาของการปลูกและการเก็บในยุ้งฉาง  ต่างกับข้าวนาอย่างสิ้นเชิงที่ต้องมีการใช้สารเคมีในบางขั้นตอน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง