naitang
|
เป็นกระทู้สั้นๆในเรื่องของประสบการณ์ตรงในการทำงานที่มีช้างเข้ามาเกี่ยวข้องครับ
ผมคิดว่า มีคนจำนวนน้อยมากที่จะได้เคยทำงานร่วมกับช้างในสภาพที่เป็นชีวิตจริงที่เป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ ที่มิใช่เป็นการแสดงทางวิชาการหรือทางธุรกิจ
ภาพที่เป็นวิถีแบบธรรมชาตินี้ ผมคิดว่าหายไปเกือบหมดในประมาณช่วงต้นของทศวรรษ พ.ศ.2530
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 18 ก.พ. 17, 19:25
|
|
มาจองแถวหน้าค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 18 ก.พ. 17, 19:28
|
|
เรื่องราวเกี่ยวกับช้างนั้น มีบันทึก มีเอกสาร และมีหนังสือในเชิงวิชาการที่เขียนถึงอยู่มากมาย และก็มีอยู่ไม่น้อยที่บรรยายลงไปถึงในรายละเอียด ก็มีการก็อปก้นก็อปไปกันมาเลาต่อๆกันก็เยอะ
แต่ที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องในชีวิตจริงที่ประสบมา ก็อาจจะเป็นข้อมูลเล็กน้อยๆที่อาจจะเป็นประโยชน์เพิ่มเติมเข้าไปในองค์ความรู้ได้อีกหน่อยนีงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 18 ก.พ. 17, 19:39
|
|
ขอบคุณ อ.เทาชมพู ครับ
กระทู้นี้ ผมตั้งใจจะว่ามานานแล้ว ก็ลืมไปบ้าง ยังไม่มีช่องเข้าบ้าง จนกระทั่งได้รับรู้ข่าวว่า ได้มีการพบเสือกระต่ายหรือแมวป่าในป่าในเขต อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ก็เลยได้รับการกระตุ้นให้เริ่มกระทู้นี้เสียที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 18 ก.พ. 17, 20:22
|
|
เรื่องเกี่ยวกับการพบแมวป่านี้ ทำให้ผมนึกถีงครั้งหนึ่งเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ.2515 ได้เห็นแมวตัวหนึ่งที่บริเวณชายป่าแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ช่วงเวลาเช้าประมาณ 7-8 โมงเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผมกำลังออกเดินลึกเข้าไปทำงานสำรวจในพื้นที่ป่า ก็ยังสงสัยว่าเป็นแมวป่าหรือแมวบ้าน เพราะว่า ณ พื้นที่นั้นในช่วง พ.ศ.นั้น ไม่มีหมู่บ้าน ไม่มีผู้คนเลย แถมอยู่ห่างจากพื้นที่ๆมีชุมชนอาศัยอยู่นับสิบๆ กม. จึงอาจจะเป็นเสือกระต่ายหรือแมวป่าก็ได้
ลักษณะของในป่าผืนนี้ผมเคยเล่าไปแล้วในบางกระทู้ (จำไม่ได้แล้วครับ) มีน้ำแม่วงก์ไหลผ่าน เป็นป่าโปร่ง มีต้นไทร พื้นล่างมีต้นกระชายขึ้นปกคลุมไปหมด เขียวสดใส แล้วก็มีนกกาฮังหัวโตหลายตัว เกาะต้นไทรหากินลูกไม้ บินไปมาเสียงดังยังกับพัดใบลานวี เหมือนป่าในยุค Jurassic เอาเลยทีเดียว
ป่าผืนนี้แหละครับที่เคยเล่าถึงเรื่อง ค่าง และที่จะเล่าในกระทู้นี้ก็คือ ช้าง
น่าเสียใจที่ผมได้เห็นป่าผืนนี้ทั้งในสภาพที่ชุ่มชื้น สมบูรณ์ เขียวขจี และในภายหลังในสภาพที่แดดส่อง แห้ง และร้อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 19 ก.พ. 17, 09:50
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ninpaat
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 19 ก.พ. 17, 12:39
|
|
ลักษณะของในป่าผืนนี้ผมเคยเล่าไปแล้วในบางกระทู้ (จำไม่ได้แล้วครับ) มีน้ำแม่วงก์ไหลผ่าน เป็นป่าโปร่ง มีต้นไทร พื้นล่างมีต้นกระชายขึ้นปกคลุมไปหมด เขียวสดใส แล้วก็มีนกกาฮังหัวโตหลายตัว เกาะต้นไทรหากินลูกไม้ บินไปมาเสียงดังยังกับพัดใบลานวี เหมือนป่าในยุค Jurassic เอาเลยทีเดียว
ป่าผืนนี้แหละครับที่เคยเล่าถึงเรื่อง ค่าง และที่จะเล่าในกระทู้นี้ก็คือ ช้าง
ผมเข้าใจว่า น่าจะเป็นข้อความจากกระทู้ ข้างล่างนี้ครับ ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15 ความคิดเห็นที่ 140
ไม่ลืมหรอกครับ ก็ว่าจะไปเล่าเอาตอนทำงานในขาแข้งตอนเหนือและในป่าแม่วงก์ เพราะว่าจะมีค่างอาศัยอยู่ค่อนข้างมากในพื้นที่นั้น (โดยเฉพาะในป่าแม่วงก์) ก็เลยขอขยายความเสียเลยดังนี้ครับ
ก็อาจจะมีความสงสัยว่าด้วยเหตุใดจึงมีค่างเยอะในพื้นที่นั้น ข้อสังเกตเปรียบเทียบของผมก็คือ มีลักษณะของผืนป่าที่แตกต่างกัน ป่าในพื้นที่ช่วงล่างของห้วยขาแข้งหนักไปทางแห้งและแล้ง เป็นป่าที่มีหินปูนรองรับอยู่ ดินจึงเป็นพวกอุดมไปด้วยธาตุแคลเซียม (บวกกับแมกนีเซียม) ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นพวกรากตื้น แม้จะมีต้นไม้เกิดอย่างหนาแน่นแต่ทรงพุ่มของเรือนยอดไม่กว้างมาก จึงเป็นป่าแบบป่าโปร่ง แสงแดดสามารถส่องลงถึงพื้นดินได้ ในขณะที่ห้วยขาแข้งส่วนบนหรือส่วนต้นห้วยเป็นป่าที่รองรับด้วยหินตะกอนหลายชนิด ทำให้ได้ดินที่มีแร่ดิน (clay minerals) หลากหลาย ผืนดินจึงอุดมไปด้วยแร่ธาตุและมีความชุ่มชื้นสูง (จากความสามารถของแร่ดินสองสามชนิดที่มีความสามารถในการจับธาตุที่มีประโยชน์ไว้กับตัว และอุ้มน้ำไว้จนทำให้มันบวมพองตัวได้) จึงเป็นป่าแบบมีไม้ใหญ่ทรงชะลูดที่หนาแน่นที่มีทรงพุ่มของเรือนยอดกว้างและซ้อนกันไปมา แดดส่องลงมาถึงพื้นดินได้ค่อนข้างน้อย ใบไม้เยอะ ยอดไม้เยอะ แถมมีลูกไม้เยอะ จึงทำให้ค่างซึ่งเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างจะเลือกอาหารและนิยมกินใบอ่อน ยอดไม้ และผล มารวมอยู่กันเยอะ มีหลายฝูงมากๆเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 19 ก.พ. 17, 18:45
|
|
เห็นภาพที่ชัดเจนของแมวป่าที่ อ. เทาชมพู เอามาลงแล้ว ก็พอจะนึกออกได้อีกหน่อยนึงว่า แมวที่ผมเห็นนั้นมีรูปทรงคล้ายๆกัน คือ ช่วงขาดูจะยาวและมีลำตัวดูจะสั้น อริยาบทของมันที่ได้ที่เห็นในช่วงนั้น คือ มันกำลังลุกขึ้นยืนจนเกือบจะตรงแล้วจากท่าหมอบ แล้วก็ค่อยหันหลังเดินเข้าพงไม้ไป ไม่ใช่ในลักษณะแบบเยื่องกรายและก็ไม่ใช่กระโดดแผลว ซึ่งไม่น่าจะใช่การเคลื่อนไหวของสัตว์ป่า แต่กระนั้นก็ตาม ในสมัยที่ผมเดินทำงานอยู่ในพื้นที่ป่าเขาในช่วงนั้น สัตว์ป่าต่างๆก็ไม่มักจะไม่รู้จักคน เมื่อจ๊ะเอ๋กันก็ต่างยืนจ้องดูกัน ผมก็เลยไม่รู้จริงๆว่ามันจะเป็นแมวป่าหรือแมวบ้าน
อ้อ อีกประการหนึ่ง ในความรู้ที่พอจะมีอยู่บ้างของผมนั้น สัตว์ป่าตระกูลแมวตัวขนาดย่อมทั้งหลายนั้น (เช่น เสือไฟ เสือปลา..) เป็นสัตว์หากินกลางคืน ในเวลากลางวันก็จึงจะไม่เห็นมันเลย แต่ก็มีอยู่บ่อยๆที่ได้พบเห็นสัตว์หากินกลางคืนในช่วงเวลาเช้าก่อนที่แดดจะส่องสว่างจ้า (เช่น อีเห็น...) และในอีกช่วงเวลาหลังประมาณบ่าย 4 โมงเป็นต้นไป (เช่น เม่น...) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์กำลังเริ่มลับขอบสันเขา แสงรำไร มืดเป็นหย่อมๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 19 ก.พ. 17, 19:45
|
|
เรื่องลักษณะของผืนป่าที่ได้เล่าไว้ดังที่คุณ ninpaat ได้กรุณาค้นมานั้น อ่านแล้วอาจจะรู้สึกสับสนว่า ตกลงแล้วเป็นสภาพของป่าโปร่ง หรือป่าทึบ หากจะอ้างอิงทางวิชาการป่าไม้ ในองค์รวมก็คงน่าจะต้องเรียกว่าเป็นป่าดิบแล้ง (Dry evergreen forest) หรือไม่ก็ป่าดิบเขา (Hill evergreen forest) ก็มีบางบริเวณก็เป็นป่าเบ็ญจพรรณ ป่าแดง (ป่าแพะ) แทรกอยู่เป็นหย่อมๆ จำได้ว่าไม่เคยเห็นพื้นที่ๆหนาแน่นไปด้วยพวกไม้มีหนาม
ในภาษาแบบชาวบ้าน ป่าโปร่งก็คือป่าใหญ่ มีต้นไม้ใหญ่ ร่มเย็น มีต้นไม้พื้นล่างน้อย เดินง่าย ป่าทึบก็คือป่าส่วนที่มีต้นไม้พื้นล่างต้นเล็กๆ (ไม้จริง) ขึ้นอยู่หนาแน่น มองไม่ทะลุไปได้ไกล รก เดินยาก ป่าดิบก็คือป่าส่วนที่มีความชื้นสูง มีไม้เถาและไม้มีหนามขึ้นอยู่หนาแน่น เดินยาก ป่าแดงหรือป่าแพะก็คือป่าส่วนที่มีไม้ต้นขนาดไม่ใหญ่ขึ้นอยู่ปะปนกับไผ่ พื้นดินค่อนข้างเรียบ เดินง่าย แต่ร้อนแดดมาก ป่าเต็งรังก็คือป่าส่วนที่มีต้นไม้เปลือกหนาขึ้นอยู่ มีความโปร่งมาก ดูแห้งและแล้งจัด แดดจัดและร้อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 20 ก.พ. 17, 08:16
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 20 ก.พ. 17, 18:36
|
|
ยินดีต้อนรับครับ
ใช้วลีว่า ยินดีต้อนรับ ก็เลยไพล่ไปนึกถึงเรื่องชวนหัวเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาเพื่อความสนุกสนาน แต่จะต้องขอแปลงชื่อของบุคคลและเรื่องเล็กน้อย
เรื่องก็มีอยู่ว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่งต้องเดินทางไปต่างประเทศ ด้วยได้รับเชิญเป็นแขกให้มาเยือนบ้านของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ซึ่งทั้งสามีและภรรยาของฝ่ายต้อนรับจะไปรับที่สนามบินด้วยตนเอง ฝ่ายผู้ไปเยือนนั้นพูดภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างจะกระท่อนกระแท่น ก็เลยต้องท่องคำพูดที่จะใช้ในการทักทายเมื่อแรกพบ เพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงมิตรไมตรีในโอกาสแรกสุด ซึ่งต่อจากนั้นไปก็จะใช้ผู้อื่นเป็นล่ามในการสนทนาเรื่องต่างๆต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 20 ก.พ. 17, 19:07
|
|
ก็ท่องคำทักทายที่จะใช้เมื่อแรกพบ ซึ่งเป็นคำทำทักทายที่เป็นแบบสุภาพมากๆที่สุภาพชนเขาใช้กัน "How do you do" แล้วก็ไม่ต้องไปสนคำตอบหรอกว่าอะไร เพราะในระบบเขาจะต้องว่า "I am fine. Thank you" แล้วก็จะต้องต่อท้ายด้วยคำพูดถามกลับว่า " and you ?" เราก็เพียงตอบกลับไปว่า "Me too, thank you" สั้นๆง่ายๆเช่นนี้
เมื่อเครื่องบินลงแล้วและได้พบกัน ก็เกิดความประหม่า ลืมคำที่ต้องใช้ทักทายที่อุตส่าห์ท่องมา พอจับมือกันก็โพล่งออกไปเลยว่า "Who are you ?" ฝายผู้ต้อนรับก็มีอารมณ์ขัน ก็ตอบกลับไปว่า "I am Mrs..(ชื่อภรรยา)..husband, and you ?" เข้าแก็ปตามที่ได้รับการบอกเล่ามาเลย ก็เลยตอบไปในทันใดว่า "Me too"
ครับ คิดว่าเรื่องชวนหัวเรื่องนี้คงจะเคยได้ยินกันมาแล้ว
ขออภัยที่เล่าซ้ำครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 20 ก.พ. 17, 19:25
|
|
เรื่องคนกับช้างที่จะเล่าในกระทู้นี้ ก็คงจะมีเรื่องซ้ำกับที่เคยเล่ามาในกระทู้อื่นๆอยู่หลายเรื่อง ก็จะต้องขออภัยด้วยครับ
นึกไปนึกมา เหลือเรื่องราวอยู่นิดเดียวที่จะเล่าสู่กันฟัง ชักจะยั่นเสียแล้วละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 20 ก.พ. 17, 20:43
|
|
จำความได้ว่า ตั้งแต่เป็นเด็กจนโต ไม่เคยเห็นช้างเดินอยู่ในพื้นที่ๆเป็นชุมชนเมืองในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือแม้กระทั่งในระดับหมู่บ้าน กระทั่งในพื้นที่ๆเป็นกลุ่มบ้านไม่กี่หลังก็ไม่เคยเห็นช้าง จะเห็นช้างก็ในพื้นที่ๆมีการทำไม้ และที่ๆเรียกว่าปางช้าง หรือปางไม้
ก็คงจะไม่ผิดนักที่จะกล่าวว่า แต่ก่อนนั้น ช้างไม่เข้าเมือง คือไม่เข้ามาปะปนอยู่ในขุมชน ในเมืองมีแต่วัวกับควาย คือเทียมล้อ (เกวียน) เข้ามาทำธุระในพื้นที่ชุมชน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 20 ก.พ. 17, 20:56
|
|
ผมมาเริ่มคุ้นกับช้างและอยู่ใกล้ๆช้างมากขึ้นก็เมื่อกำลังเริ่มแก่วัดใกล้จะจบมหาวิทยาลัย แล้วก็ได้เริ่มสัมผัสกับช้างในโลกที่เป็นจริงตั้งแต่ช่วงแรกๆในการทำงานในวิชาชีพที่ได้ร่ำเรียนมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|