เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 7100 มีข้อสงสัยหลายอย่าง ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
 เมื่อ 27 ม.ค. 17, 10:56

จากที่ได้อ่านหนังสือ รักในราชสำนักรัชกาลที่ ๕
ขอถามเป็นข้อๆดังนี้ครับ
๑.พระขุนนางจีนเจ้าภาษี เป็นใคร เป็นพระหรือว่าขุนนาง
๒.เสด็จพระราชดำเนินออกพลับพลามวย  อยากทราบว่าพลับพลามวย เป็นอย่างไร
๓.รำโคมสิงโตมังกรตามธรรมเนียม เมื่อก่อนรำโคมสิงโตมังกร เป็นธรรมเนียมในงานพระราชทานเพลิงพระศพด้วยเหรอครับ
๔.พระราชทานสลากสมเด็ยกรมพระ อยากทราบว่าสลากในที่นี้คืออะไรประกอบไปด้วยสิ่งของใดบ้าง
๕.การแจกมะนาวนั้น ผู้ใดถวายผ้าขาวแล้ว ต้องมารับต่อเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ อยากทราบการแจกมะนางเป็นการแจกแบบไหน ให้ท่านละผล หรือมากกว่านั้น
๖.แล้วคนยุโรปที่เป็นพ่อค้าห้างเฝ้าพระราชทานครอบและผลมะนาว การพระราชทานครอบ คืออะไรครับ
๗.เจ้าพนักงานภูษามาลา ชำระพระศพเสร็จแล้ว  อยากทราบว่าการชำระพระศพต้องทำอย่างไรครับ
ถามเยอะไปหน่อยครับ





บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 11:50

ขอส่งไม้ต่อให้ท่านผู้รู้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 15:51

๑.พระขุนนางจีนเจ้าภาษี เป็นใคร เป็นพระหรือว่าขุนนาง

หนังสือรักในราชสำนักรัชกาลที่ ๕  ของคุณพลาดิศัย สิทธิธัญกิจ น่าจะมีการพิมพ์ผิดพลาดหลายแห่ง ข้อความใน ๒ หน้าแรกที่คุณวีรชัยยกมาอยู่ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ประจำวันที่ ๔๕๐๐ ตรงกับ อาทิตย์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๒๓ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒  ในจดหมายเหตุนี้มีว่า

"เวลาบ่าย ๕ โมง เสด็จออกประทับพระเมรุด้านตะวันออก พระญวน พระจีน และขุนนางจีนเจ้าภาษีตั้งเครื่องพระญวนพระจีนสวดกงเต๊ก"

คำว่า "พระ" ในหนังสือของคุณพลาดิศัย ที่ถูกต้องคือ "และ"

ระบบเจ้าภาษีเริ่มในรัชกาลที่ ๓ ส่วนมากก็จะเป็นคนจีนที่ประมูลได้ เมื่อได้เป็นเจ้าภาษีแล้วก็จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนาง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงทำธุรกิจค้าขายกับจีนมาตั้งแต่ยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  เมื่อขึ้นครองราชย์ จึงหาวิธีเพิ่มพูนทรัพย์สินในท้องพระคลังด้วยการหาคนมาช่วยเก็บภาษี  เรียกว่าระบบเจ้าภาษี   มีการเปิดประมูลให้ผู้ที่ยื่นประมูลได้สูงสุดเป็นเจ้าภาษีในสินค้าผลผลิตประเภทต่างๆ เช่นพืชสวน  พืชไร่  รังนก สุรา ฯลฯ เงินเหลือจากที่ต้องส่งให้ราชการเท่าไหร่ก็เข้ากระเป๋าเจ้าตัว  เถ้าแก่และขุนนางใหญ่น้อยจึงผันตัวเองมาเป็นเจ้าภาษี  รวยขึ้นก็มาก และที่เจ๊งไปเพราะเก็บไม่ได้ตามเป้าหมายก็มีไม่น้อย    ส่วนราชการไม่เจ็บตัวเพราะยังไงก็มีข้อกำหนดว่าเจ้าภาษีต้องจ่ายเข้าท้องพระคลังตามราคาประมูลอยู่แล้ว  ทำให้ท้องพระคลังเริ่มอู้ฟู่ขึ้นมากในรัชกาลที่สาม ด้วยระบบเจ้าภาษี ซึ่งก็คือสัมปทานแบบหนึ่งนั่นเอง


ยังมีที่ผิดอีกหลายแห่ง สามารถตรวจสอบได้ที่ลิงก์นี้  ยิงฟันยิ้ม

http://www.golftime.co.th/3658



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 17:40

๗.เจ้าพนักงานภูษามาลา ชำระพระศพเสร็จแล้ว  อยากทราบว่าการชำระพระศพต้องทำอย่างไรครับ

เอาที่ทราบก่อนแล้วกันนะครับ
การชำระพระศพคือการนำพระศพออกมาจากพระโกศ แล้วถวายรูดเอาเนื้อหนังมังสาที่สลายตัวแล้ว กล่าวกันว่าเหมือนก้อนมะชามเปียกออกจากกระดูก แล้วห่อใส่ผ้าห่อพระศพเดิมออกไปถวายพระเพลิงพร้อมพระบุพโพที่เมรุลอยผ้าขาวเล็กๆในวัดมหาธาตุ ส่วนพระอัฐิที่เหลือใช้ผ้าขาวผืนใหม่ ห่อเห็นว่าเหลือขนาดเล็กนิดเดียว ใส่กลับลงในพระโกศลองในองค์เดิม พร้อมที่จะเชิญขึ้นพระจิตกาธานแล้วหุ้มพระโกศไม้จันทน์ต่อไป
การที่ทำเช่นนี้เพื่อลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ระหว่างการถวายพระเพลิงครับ แต่ก็ยังต้องใช้ไม้หอมและเครื่องหอมต่างๆช่วยด้วยอีกแยะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 17:54

๕ อยากทราบการแจกมะนาวเป็นการแจกแบบไหน ให้ท่านละผล หรือมากกว่านั้น
๖ แล้วคนยุโรปที่เป็นพ่อค้าห้างเฝ้า พระราชทานครอบและผลมะนาว การพระราชทานครอบ คืออะไรครับ


ผมไม่ทราบว่าครอบคืออะไร แต่เคยอ่านพบว่าการโปรยทานนั้นมีหลายลักษณะ เป็นเหรียญล้วนๆบ้าง เหรียญนำมาห่อให้สวยงามก่อนบ้าง สองลักษณะที่ว่านี้คงจะพอพบเห็นได้อยู่ และอีกลักษณะหนึ่งคือนำเหรียญไปใส่ไว้ในผลมะนาวผ่า

https://dict.longdo.com/search/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99

นอกจากนี้ยังมีแบบโปรยมะนาวมะกรูดเป็นลูกๆไปเลย ใครเก็บได้ก็มาแลกของกับเจ้าภาพ

http://news.sanook.com/1982330/
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 18:10

๑.พระขุนนางจีนเจ้าภาษี เป็นใคร เป็นพระหรือว่าขุนนาง

เป็นขุนนางสิครับ พระจะไปเก็บภาษีชาวบ้านได้อย่างไร

พวกคนจีนจะมีวิชาบริหารจัดการคนได้ดีกว่าคนไทยพื้นเมือง ถ้าใช้ไม่ดีก็จะเป็นก๊กอั้งยี่ เจ้านายท่านเลยตั้งผู้ที่มีแววหัวหน้าให้มีศักดินา เป็นขุนเป็นหลวง พระ พระยา บรรดาศักดิ์พวกนี้ที่เป็นพระก็มี พระอินทรอากร พระศรีไชยบาน

แต่กรณีย์ข้างบน น่าจะหมายความถึงพวกขุนนางเจ้าภาษีเหล่านี้ รวมตัวมาบวชเป็นพระ(ชั่วคราว)เพื่อถวายพระราชกุศล และมาร่วมในพิธีสงฆ์แบบจีน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 18:12

๒.เสด็จพระราชดำเนินออกพลับพลามวย  อยากทราบว่าพลับพลามวย เป็นอย่างไร

คงเป็นพลับพลาที่ปลูกชั่วคราวให้ประทับทอดพระเนตรการชกมวย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 18:16

๓.รำโคมสิงโตมังกรตามธรรมเนียม เมื่อก่อนรำโคมสิงโตมังกร เป็นธรรมเนียมในงานพระราชทานเพลิงพระศพด้วยเหรอครับ

ถ้าอ่านตรงนี้ ก็ต้องแปลความอย่างนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 18:22

๔.พระราชทานสลากสมเด็จกรมพระ อยากทราบว่าสลากในที่นี้คืออะไรประกอบไปด้วยสิ่งของใดบ้าง

คุณก็คงเคยจับสลากรางวัลอะไรที่โรงเรียน หรืองานปีใหม่ ก็ไอ้นั่นแหละครับ เหมือนกัน
ส่วนของที่พระราชทานให้เจ้านายจับสลากก็ต้องดีหน่อย อ่านจากพระประวัติของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ข้าวของสำหรับงานออกพระเมรุพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา ทรงสั่งให้ซื้อและคุมเข้ามาเองจากอังกฤษทีเดียว ระดับสมเด็จกรมพระก็คงได้อะไรหรูๆกว่าหีบบุหรีเงินที่ผมเคยเห็นภาพ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 18:25

อ้าว ตอบไปตอบมาหมดคำถามเสียแล้ว มีตอบไม่ได้อย่างเดียวคือครอบ ไม่อยากจะเดาจริงๆครับ เดี๋ยวคุณหมอเพ็ญเข้ามาดัดหลังผมล้มทั้งยืน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 20:20

แต่กรณีย์ข้างบน น่าจะหมายความถึงพวกขุนนางเจ้าภาษีเหล่านี้ รวมตัวมาบวชเป็นพระ(ชั่วคราว)เพื่อถวายพระราชกุศล และมาร่วมในพิธีสงฆ์แบบจีน

๑.พระขุนนางจีนเจ้าภาษี เป็นใคร เป็นพระหรือว่าขุนนาง

คำว่า "พระ" ในหนังสือของคุณพลาดิศัย ที่ถูกต้องคือ "และ"

คุณนวรัตนสามารถตรวจสอบได้ที่บรรทัดสุดท้าย ในหน้า ๙๕ ของหนังสือ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค ๑๑ พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๘

http://www.car.chula.ac.th/rarebook/book/cl52_0006/mobile/index.html#p=105


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 21:04

ครับ ท่านผู้อ่านก็ทำความเข้าใจที่ถูกต้องตามที่คุณหมอนำมาแสดงนะครับ
ผมขอโทษที่ลืมดูคคห.ของคุณหมอข้างบนตอนตอบข้อนี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 ม.ค. 17, 06:19

๒.เสด็จพระราชดำเนินออกพลับพลามวย  อยากทราบว่าพลับพลามวย เป็นอย่างไร

คงเป็นพลับพลาที่ปลูกชั่วคราวให้ประทับทอดพระเนตรการชกมวย

คงมีลักษณะคล้ายกับพลับพลาที่ประทับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทอดพระเนตรการชกมวยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พ.ศ. ๒๔๕๒

ภาพจาก kanchanapisek.or.th


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 ม.ค. 17, 06:45

๓.รำโคมสิงโตมังกรตามธรรมเนียม เมื่อก่อนรำโคมสิงโตมังกร เป็นธรรมเนียมในงานพระราชทานเพลิงพระศพด้วยเหรอครับ

ถ้าอ่านตรงนี้ ก็ต้องแปลความอย่างนี้

รำโคมเป็นการฟ้อนรำอย่างหนึ่งทำนองเดียวกับระบำ สำหรับเล่นที่หน้าพลับพลา เวลาเสด็จออกทอดพระเนตรงานมหรสพตอนค่ำคู่กับเต้นสิงโต ซึ่งสำหรับเล่นถวายทอดพระเนตรเวลาเสด็จออกพลับพลาตอนบ่าย การเล่นทั้ง ๒ อย่างนี้เดิมพวกญวนที่เข้ามาสวามิภักดิ์พึ่งพระบารมีคิดฝึกหัดกันขึ้นเล่นถวายทอดพระเนตร สนองพระเดชพระคุณในงานมหรสพของหลวงก่อน แล้วจึงได้เลยเป็นเครื่องมหรสพสำหรับไทยเล่นงานหลวงต่อมา

มีคำเล่ากันสืบมาว่า เมื่อองเชียงสือเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ นั้น ได้คิดฝึกหัดให้พวกญวนเล่นเต้นสิงโตอย่าง ๑ ญวนหก (พะบู๊) อย่าง ๑ สำหรับเล่นกลางวัน และญวนรำกระถางอย่าง ๑ สิงโตไฟคาบแก้วอย่าง ๑ สำหรับเล่นกลางคืน แล้วนำมาเล่นถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทอดพระเนตร เป็นการสนองพระเดชพระคุณ โปรดฯ ให้เล่นที่หน้าพลับพลาและโปรดฯ ให้ทำมังกรไฟคาบแก้วขึ้นเป็นคู่กัน จึงเลยเล่นเป็นประเพณีมีสืบมาจนรัชกาลหลัง ๆ

เข้าใจว่าญวนพวกที่อพยพมาคราวหลังในรัชกาลที่ ๓ เป็นผู้นำตำรารำโคมเข้ามา ด้วยมีคำของญวนที่สูงอายุเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งถามถึงการเล่นของพวกญวน (ทำนองจะดำรัสถามถึงเค้ามูลเรื่องเต้นสิงโต) พวกญวนกราบทูลว่า ประเพณีในเมืองญวนนั้น ถ้าพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกเวลากลางวัน พวกทหารเล่นเต้นสิงโตถวายทอดพระเนตร ถ้าเสด็จออกกลางคืนมีพวกระบำแต่งเป็นเทพยดามารำโคมถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้หัดพวกญวนรำโคมขึ้นพวก ๑ แต่จะเป็นด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ หาได้เล่นถวายตัวเมื่อในรัชกาลที่ ๓ ไม่ ตามคำเล่าว่าได้เล่นถวายตัวเป็นครั้งแรกเมื่องานพระเมรุพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้พวกกรมญวนหก ซึ่งเป็นพนักงานเล่นเต้นสิงโตมาแต่ก่อนนั้น หักเล่นรำโคมในเวลาค่ำด้วยสืบมา สืบได้ความในเรื่องตำนานรำโคมตอนที่เล่นอย่างญวนดังกล่าวมานี้ แต่สิงโตคาบแก้วที่เล่นหน้าพลับพลาเวลากลางคืน จะมีขึ้นครั้งใดสืบไม่ได้ความ ปรากฏแต่ว่ามังกรคาบแก้วนั้นมีมาแต่รัชกาลที่ ๑ แล้ว

จาก  ประชุมพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 ม.ค. 17, 07:31

๕ อยากทราบการแจกมะนาวเป็นการแจกแบบไหน ให้ท่านละผล หรือมากกว่านั้น

เคยอ่านพบว่าการโปรยทานนั้นมีหลายลักษณะ เป็นเหรียญล้วนๆบ้าง เหรียญนำมาห่อให้สวยงามก่อนบ้าง สองลักษณะที่ว่านี้คงจะพอพบเห็นได้อยู่ และอีกลักษณะหนึ่งคือนำเหรียญไปใส่ไว้ในผลมะนาวผ่า

นอกจากนี้ยังมีแบบโปรยมะนาวมะกรูดเป็นลูกๆไปเลย ใครเก็บได้ก็มาแลกของกับเจ้าภาพ

ในหนังสือ ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง (Temples and Elephants ของ Carl Bock) เรียบเรียงโดย เสฐียร พันธรังษี และ อัมพร ทีขะระ มีบรรยายถึงการจับสลากและโปรยทานในงานออกพระเมรุ พระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ดังนี้

ตลอดระยะ ๗ วัน ในบริเวณรอบพระเมรุจะมีการละเล่นต่างๆ ให้ประชาชนดู เช่น การจับสลาก การร้องรำทำเพลงและดอกไม้ไฟ พระมหากษัตริย์จะถวายสิ่งของแก่พระสงฆ์ และแจกทานให้ประชาชนในงานพระเมรุของสมเด็จพระราชินีที่สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสิ่งของซึ่งบางอย่างที่มีราคาให้แก่ประชาชน มีการทิ้งทาน โดยใช้ลูกมะนาวที่มีเหรียญเงิน เหรียญทองหรือสลากอยู่ข้างใน และอาจจะนำสลากมาขึ้นสิ่งของ เช่น ช้าง ม้า วัว ควายก็มี พวกที่ได้รับพระราชทานช้างหรือม้า จะต้องมาขี่ถวายบังคมต่อพระพักตร์ ๓ ครั้ง และมีผู้เล่าให้ฟังว่า พวกที่ได้รับพระราชทานสัตว์เหล่านี้เป็นคนยากจนที่ขี่ม้าไม่เป็น จึงต้องขี่อย่างเก้ ๆ กัง ๆ เข้ามา ทำให้ดูขบขันไม่ใช่น้อย ขณะที่เขาพยายามจะทรงตัวอยู่บนหลังม้า เรื่องการแจกทานนั้นไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา แต่เป็นขนบธรรมเนียมประจำชาติไทย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง