เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 15689 ประวัติสุนทรภู่ ฉบับพระยาปริยัติธรรมธาดา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 18 ก.พ. 17, 19:41

   บั้นปลายชีวิตของสุนทรภู่ เป็นเรื่องที่เกือบไม่มีใครรู้  เพราะในประวัติที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯทรงเรียบเรียงไว้ ไม่มีส่วนนี้  บรรดาผู้ศึกษาประวัติสุนทรภู่ตางยึดฉบับนี้เป็นหลัก   ไม่ค่อยมีใครไปตามหาฉบับที่พระยาปริยัติฯ รวบรวมไว้     จึงดูเหมือนกับว่าเมื่อสุนทรภู่เข้าสู่วัยชราก็ถึงแก่กรรมไปเงียบๆ  ระหว่างรับราชการอยู่กับสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  แล้วทุกอย่างเกี่ยวกับท่านก็ยุติลงเพียงนั้น
   แต่ในฉบับพระยาปริยัติฯ   ระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อสุนทรภู่ชราก็กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ  รวบรวมทุนทรัพย์ไปซื้อที่สวนอยู่บางระมาด ติดกับที่สวนบ้านของเจ้าคุณธรรมถาวรวัดระฆัง   ที่ดินแปลงที่ซื้อมีผู้บอกเล่าว่าเป็นของนายจุ้ย ปู่ของนายกลั่นผู้เป็นลูกบุญธรรมของท่าน
   เมื่อซื้อที่ได้ สุนทรภู่ก็ไม่ได้ทำสวน   แต่มีรายได้จากการแต่งหนังสือและเพลงยาวไปตามเรื่อง  มีคนมาว่าจ้างเสมอ ท่านก็คงจะอยู่อย่างคหบดีชาวสวน  มีรายได้ไม่ขาดแคลนจากการแต่งเพลงยาว      มีบ่าวคนหนึ่งชื่ออ้ายโข่ เป็นคนดูแสสวน 
    อ้ายโข่เป็นคนเกะมะเหรกเกเร  ก่อเรื่องอยู่เนืองๆ  เมื่อรู้ถึงนาย สุนทรภู่ก็เรียกมาอบรม เฆี่ยนตีไม่ปรานี     แต่อ้ายโข่ก็ไม่เข็ดหลาบ 
   สุนทรภู่อยู่มาจนอายุ ๘๐ เศษ ก็ถึงแก่กรรมที่สวนบางระมาดนั่นเอง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 18 ก.พ. 17, 20:06

อายุเมื่อเสียชีวิตของสุนทรภู่ ยังไม่คงตรงกันในหลายแหล่ง ผมนำมาให้ดูอีกแหล่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์เมื่อ 2475 ลงท้ายในบันปลายชีวิตว่า ท่านสุนทรภู่สิ้นเมื่อ พ.ศ. 2398 อายุได้ 70 ปี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 18 ก.พ. 17, 20:07

    ตามคำบอกเล่า บ้านสุนทรภู่อยู่ริมวัดเรไร  เยื้องกันกับวัดป่าเชิงเลนซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้าม  มีภาพถ่ายทางอากาศข้างล่างนี้แสดงถึงที่อยู่ของท่าน    อยู่ในบริเวณวงกลง แต่มองเห็นไม่ชัดนัก    ถ้าคุณหนุ่มสยามมาเห็นอาจจะมีแผนที่ปัจจุบันตรวจสอบได้นะคะ
    หลักฐานที่พระยาปริยัติฯบันทึกไว้บอกเพียงแค่นี้    ไม่ได้เล่าต่อว่าเมื่อท่านถึงแก่กรรมแล้ว สวนนั้นตกเป็นของบุตรคนไหน   เข้าใจว่าคงจะขายเปลี่ยนมือกันไปในยุคลูกหรือหลาน  
    ม.ล.ทองดี(ไม่ได้บอกนามสกุล)แจ้งกับพระยาปริยัติฯว่า สุนทรภุ่มีบุตรชื่อนายพัด   นายพัดมีบุตรีชื่อแม่อวบ  แม่อวบมีบุตรชายชื่อนายเตียบ เคยทำงานอยู่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจที่เสาชิงช้า ในสมัยรัชกาลที่ ๖
    น่าสังเกตว่าบุตรของสุนทรภู่ไม่ได้รับราชการเป็นขุนนางเลยสักคน    นายพัดซึ่งเป็นบุตรตามรับใช้ใกล้ชิดพ่อมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓  ก็ไม่ได้เข้ารับราชการกับสมเด็จพระปิ่นเกล้า   ตอนหนุ่มๆ  ไปทำอะไรอยู่ก็ไม่ทราบ  เมื่ออายุมากขึ้น ประมาณ ๔๐ ปี  ไปทำงานรับใช้ข้าราชการหนุ่มวัย ๒๔ ท่านหนึ่ง  ต่อมาท่านผู้นั้นได้เป็นพระยาสโมสรณ์สรรพากร   ท่านเจ้าคุณจึงได้รู้เรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในชีวิตสุนทรภู่จากคำบอกเล่าของนายพัด
    ส่วนน้องชายของนายพัด ชื่อนายตาบ   ทราบแต่ว่าเป็นกวีมีชื่อคนหนึ่ง  แต่ยังไม่เจอผลงานของท่าน
    ชีวิตของลูกหลานสุนทรภู่ไม่มีใครรวบรวมไว้  ทราบแต่ว่า ใช้นามสกุล ภู่เรือหงส์  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 19 ก.พ. 17, 11:03

ภาพถ่ายทางอากาศ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 19 ก.พ. 17, 11:08

ในฉบับของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่่ยวกับการถึงแก่กรรมของสุนทรภู่   คงบอกเพียงสั้นๆอย่างข้างบนที่คุณ siamese นำมาลง     คนทั่วไปก็ยึดถือฉบับนี้ซึ่งตีพิมพ์แพร่หลายมานาน  ถือกันว่าเป็นฉบับหลักฐาน
ในฉบับของพระยาปริยัติฯ มีรายละเอียดไว้หลายข้อ เช่นสถานที่อยู่ ชื่อบ่าว  อาชีพเมื่อลาออกจากราชการแล้ว   ระบุชื่อบุคคลที่ให้ข้อมูลไว้ด้วยว่าเป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน
ดิฉันจึงให้น้ำหนักกับฉบับของพระยาปริยัติฯมากกว่าค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 19 ก.พ. 17, 11:13

  ดิฉันค้นแบบงูๆปลาๆ ได้ทำเลที่ตั้งของวัดเรไรและวัดป่าเชิงเลน ตามที่อาจารย์กู๊กบอกมา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 19 ก.พ. 17, 11:25

ซูมเข้าไปใกล้ๆวัดเรไร   เจอคลอง ๒ คลองคือคลองชักพระ จากเหนือลงใต้  และคลองเชิงเลน ขวางอยู่ทางทิศตะวันออกไปตะวันตก
เดาว่าสวนของสุนทรภู่คงอยู่ที่ใดที่หนึ่งริมคลอง  น่าจะเป็นคลองชักพระเพราะบอกว่าอยู่ริมวัดเรไร
สวนสมัยนั้นนับกันเป็นขนัด มีเนื้อที่กว้างขวาง
ก็เลยเดาว่าอยู่แถวๆวงกลม   ซูมเข้าไปอีกทีว่าปัจจุบันเป็นอะไร  ครูกู๊กตอบมาว่า เป็นถนนชื่อถนนแก้วเงินทอง

ใครอยู่แถวนั้นบ้างคะ  พอจะรู้จักไหม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 19 ก.พ. 17, 13:01

   ตามคำบอกเล่า บ้านสุนทรภู่อยู่ริมวัดเรไร  เยื้องกันกับวัดป่าเชิงเลนซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้าม   

ให้ภาพแผนที่สำรวจในสมัยรัชกาลที่ 5 พศ. 2440 ด้านบนคือวัดเรไร ด้านล่างคือ วัดใหม่เชิงเลน และอาณาเขตแปลงที่ดิน อันเป็นที่พำนักสุดท้ายของสุนทรภู่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 19 ก.พ. 17, 14:21

เอารูปในอดีตกับปัจจุบันมาเทียบกันค่ะ
รูปซ้าย  พื้นที่ในกรอบสี่เหลี่ยมที่สอง  น่าจะเป็นพื้นที่สวนของสุนทรภู่   รูปขวาคือบริเวณเดียวกันในปัจจุบัน   ไ่ม่รู้ว่าเป็นอาคารพาณิชย์ไปหมดแล้วหรือเปล่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 20 ก.พ. 17, 14:33

อายุเมื่อเสียชีวิตของสุนทรภู่ ยังไม่คงตรงกันในหลายแหล่ง

สุนทรภู่เกิดเมื่อไรไม่มีปัญหา อาจนับได้ว่าเป็นกวีโบราณเพียงคนเดียวที่มีผู้จดวันเดือนปีเกิดไว้ แม้เวลาตกฟากก็จดไว้ด้วย กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้รู้ในวิชาโหราศาสตร์ ทรงผูกดวงชะตาสุนทรภู่ และผู้นำวันเดือนปีเกิดและดวงชะตาของสุนทรภู่มาเผยแพร่ คือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

แต่เป็นเรื่องแปลกที่รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุวันเดือนปีและสถานที่ที่สุนทรภู่เสียชีวิต ไม่ปรากฏหลักฐานอ้างอิงแน่นอน หนังสือที่มีการเขียนถึงชีวประวัติของสุนทรภู่หลายเล่มมีการกล่าวถึงทั้ง ปีพุทธศักราชและสถานที่ที่ท่านเสียชีวิตแตกต่างกันไป

๑. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ "ประวัติสุนทรภู่"  ได้กล่าวถึงการตายของสุนทรภู่ดังนี้



๒. อำมาตย์เอก เสวกเอก พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ  ตาละลักษมณ์  เปรียญ) ได้เขียนไว้หนังสือ "๒๐๐ ปี สุนทรภู่"

หน้า ๖๐

ในที่สุดไปซื้อที่สวน หรือที่บ้าน (ของนายจุ้ย ปู่ของนายกลั่น) อยู่ที่ตำบลบางระมาด  ริมวัดเรไร  ใกล้เคียงกับโยมของพระธรรมถาวร (วัดระฆัง) เยื้องกันกับวัดเชิงเลน  แล้วก็อยู่ในที่ (บางระมาด) นั้นจนตลอดชีวิต  เมื่อถึงแก่กรรมอายุได้ ๘๐ ปีเศษ

๓. อาจารย์เปลื้อง ณ นครได้กล่าวถึงการตายของสุนทรภู่ไว้ในบทความเรื่อง "ใครแต่งนิราศวัดเจ้าฟ้า สุนทรภู่ หรือ เณรหนูพัด" ในหนังสือศิลปวัฒนธรรม  ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๔  ว่า

"ท่านจันทร์ (หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ) บอกว่า น.ม.ส. (กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์) พูดให้ท่านฟังว่า สุนทรภู่ตายที่พระราชวังเดิมที่ห้องใกล้ ๆ กับ พระยามณเฑียร (บัว) ซึ่งเป็นพ่อเลี้ยงของสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ แต่บางรายก็บอกว่าไปตายที่คลองบางหลวงโดยบอกว่าสุนทรภู่ไปทำสวนอยู่ที่นั่น"
                            
๔. เทพ สุนทรศารทูล ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง "ชีวประวัติพระสุนทรโวหาร (ภู่ ภู่เรือหงส์)" กล่าวถึงการตายของสุนทรภู่   ดังนี้

"พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘  สุนทรภู่ก็หมดที่พึ่ง ต้องออกไปอยู่บ้านแถวฝั่งธนบุรี (ตามที่บางท่านว่า) แต่บางทีก็อยู่ในวังหน้าต่อไป โดยอาศัยใบบุญอยู่กับกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสของพระปิ่นเกล้าฯ จนกระทั่งถึงแก่กรรมตามเจ้านายไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ อายุ ๘๑ ปี

ที่ว่าสุนทรภู่ถึงแก่อนิจกรรมใน พ.ศ. ๒๔๑๐ อายุ ๘๑ ปีนั้นไม่มีหลักฐานอย่างอื่นยืนยันนอกจากอาศัยหลักวิชาโหราศาสตร์ที่ว่า ดวงชะตาสุนทรภู่ที่มีดาวพฤหัสบดีอยู่ราศีเมษ เป็นราชาโชคเป็นปทุมเกณฑ์ พระราชาอุปถัมภ์แล้ว ดาวอังคารเป็นอายุกุมลัคนากับดาวศุกร์ คู่มิตรในราศีกรกฎเช่นนี้ จะต้องพยากรณ์ว่าอายุยืนเกิน ๘๐ ปี จึงว่าสุนทรภู่อายุ ๘๑ ปี ถึงแก่อนิจกรรมก่อนพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพียง ๑ ปี "

การตายของสุนทรภู่จากหนังสือต่าง ๆ มีสิ่งที่ต้องค้นหาความจริง ดังนี้

๑. สุนทรภู่ตายที่ไหน ความคิดเห็นแยกเป็น ๒ ฝ่าย คือ เสียชีวิตในเขตพระราชฐานกับเสียชีวิตที่บ้านสวน          
            
๒. สุนทรภู่ตายเพราะเหตุใดสุนทรภู่จะป่วยตายหรือแก่เฒ่าตายไปตามวัยไม่มีหลักฐานอ้างอิง หรือมีการกล่าวถึงเลย

๓. สุนทรภู่ตายเมื่อไร  ไม่ปรากฏวันและเดือน มีแต่ปีพุทธศักราชเท่านั้น  ซึ่งแยกปีพุทธศักราชที่สุนทรภู่เสียชีวิต  เป็น ๒ ฝ่าย คือ ปี พ.ศ. ๒๓๙๘ กับ ปี พ.ศ. ๒๔๑๐ หรือสุนทรภู่เสียชีวิตเมื่ออายุ ๗๐ ปี และ ๘๐ ปีขึ้นไป        

แปลกแต่จริง ที่ปีที่สุนทรภู่เสียชีวิตไม่ตรงกัน สุนทรภู่เสียชีวิตเมื่ออายุ ๗๐ ปี หรือ ๘๐ ปีกันแน่  

สุนทรภู่ตาย ๒ ครั้ง ฤๅไฉน  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 21 ก.พ. 17, 10:36

มารายงานตัวสาย แต่อ่านรวดเดียวจบค่ะ (หรุ่มคงหมดจานแล้ว ฮือๆๆๆ)

 คิดจะชวนนวลน้องไปครองคู่              ก็เกรงชู(น่าจะเป็นชู้) พวกนั้นมันจะหึง
ทั้งพวกเพื่อนเขาจะลือกันอื้ออึง           ใช่ว่าบึงบัวงอกแต่ดอกเดียว

ฝีปากท่านเหลือรับจริงๆ ค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ก.พ. 17, 16:08 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 21 ก.พ. 17, 11:18

ก็เกรงชู(น่าจะเป็นชู้) พวกนั้นมันจะ หึ

น่าจะเป็น "พวกนั้นมันจะ หึง"   หึ หึ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 22 ก.พ. 17, 12:57

กราบขออภัยค่ะ  ร้องไห้ แก้ยังไงเนี่ยยย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 22 ก.พ. 17, 16:08

แก้ไขให้แล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 22 ก.พ. 17, 16:10

เป็นเพียงล้อกันดอกหยอกกันเล่น
อย่าเล็งเห็นจริงจังนั่งปวดหัว
สี่เท้ายังพลาดได้ไม่ต้องกลัว
มองให้ทั่วทำงานใดไม่พลาดเอย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง