เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 15752 ประวัติสุนทรภู่ ฉบับพระยาปริยัติธรรมธาดา
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 19 ม.ค. 17, 15:35

ชีวิตราชการท่านก็เจริญไปด้วยดี  จากบรรดาศักดิ์ขุนประเสริฐอักษรนิติ เลื่อนขึ้นเป็น หลวงประเสริฐอักษรนิติ ตำแหน่งปลัดกรม กรมศึกษาธิการ

พระยาปริยัติธรรมธาดา ถ่ายเมื่อเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปลัดกรมศึกษาธิการ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 19 ม.ค. 17, 19:17

    สาเหตุที่พระยาปริยัติธรรมธาดาสนใจประวัติสุนทรภู่  คงไม่ใช่เพราะสุนทรภู่เป็นกวีมีชื่อเสียงมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 จนถึงรัชกาลที่ 5 เป็นที่รู้จักแพร่หลายกันทั่วแผ่นดิน เพียงอย่างเดียว    แต่คงเกี่ยวกับงานในหน้าที่ ที่ท่านเป็นอาลักษณ์และราชบัณฑิตด้วย
    ท่านเกิดในรัชกาลที่ 4  ทำงานในรัชกาลที่ 5   ไม่กี่สิบปีหลังยุคสุนทรภู่มีชีวิตอยู่    คนที่ทันรู้จักสุนทรภู่ ก็ยังมีตัวตนอยู่  ไม่ถึงกับตายกันไปหมด    ลูกหลานของผู้ที่รู้จักสุนทรภู่ไดัรับการบอกเล่าจากญาติผู้ใหญ่ ก็ยังพอจำเนื้อความกันได้     คนเหล่านี้ถ่ายทอดเรื่องราวให้พระยาปริยัติฯฟัง     จนท่านสามารถรวบรวมมาเป็นข้อมูล ปะติดปะต่อประวัติของกวีเอกเข้าด้วยกัน

  บุคคลเหล่านี้ที่ควรเอ่ยถึงก็เช่่น   พระยาสโมสรสรรพการ(ทัต) เคยเป็นนายของนายพัด บุตรสุนทรภู่   พระพิมลธรรม(ใย) และพระธรรมถาวร  เจ้าคุณทั้งสองรูปนี้เคยบวชในสำนักเดียวกับสุนทรภู่   หลวงพรหมา(จัน)เป็นเพื่อนเก่าของสุนทรภู่   พระอมรสินธพ(นก) เป็นขุนนางตำแหน่งอาลักษณ์วังหน้า สมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งสุนทรภู่รับราชการอยู่ที่นี่   ท่านเหล่านี้และท่านอื่นๆล้วนเป็นแหล่งข้อมูลที่ประมาณค่ามิได้  ทำให้เราได้เห็นสุนทรภู่ชัดขึ้นนอกเหนือจากที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงรวบรวมไว้
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 ม.ค. 17, 09:31

      ประวัติวงศ์ตระกูลของสุนทรภู่  ในตอนต้นก็เหมือนกับที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯทรงเล่าไว้  คือเล่ากันมาว่าบิดาเป็นคนชาวบ้านกร่ำ  อำเภอแกลง  จังหวัดระยอง ซึ่งขึ้นกับมณฑลจันทบุรี   เข้ามาอยู่ได้ภรรยาอยู่ในกรุงเทพ   ภายหลังบวช แล้วออกไปอยู่บ้านกร่ำ ได้เป็นอธิบดีสงฆ์ มีสมณศักดิ์เป็นที่พระครูธรรมรังสี
      ส่วนมารดาเป็นชาวกรุงเทพ ได้เป็นแม่นมของพระธิดากรมพระราชวังหลัง ในประวัติพระยาปริยัติเรียกว่า เจ้าครอกกำพร้า  แสดงว่าเจ้าจอมมารดาคงถึงแก่กรรมเมื่อคลอดพระธิดา     แม่นมก็ทำหน้าที่ดูแลแทนแม่
      สุนทรภู่คงจะเกิดแถววังหลัง (คือแถวโรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน) เมื่อแม่เข้ารับราชการที่วังหลัง  บ้านเรือนก็คงอยู่แถวนั้น ลูกชายก็อยู่แถววังหลังมาโดยตลอด    พอโตขึ้นหน่อยก็ไปเล่าเรียนเขียนอ่านอยู่ในสำนักวัดชีปะขาว (บางกอกน้อย)

      ส่วนชื่อบิดาที่บางฉบับบอกว่าชื่อขุนศรีสังหาร นั้น ไม่มีในฉบับพระยาปริยัติฯ   ตำแหน่งขุนศรีสังหารเป็นตำแหน่งข้าราชการวังหน้า   ในผลงานของสุนทรภู่ เช่นในนิราศสุพรรณ เอ่ยถึงแต่ถิ่นฐานของวังหลัง ว่าท่านเองเคยอยู่    ไม่เคยเอ่ยถึงวังหน้าเลย

      หลังจากเล่าเรียนเขียนอ่านแล้ว  พอโตเป็นหนุ่มสุนทรภู่ก็คงจะถวายตัวเป็นมหาดเล็กของกรมพระราชวังหลัง    ได้เดินทางตามติดเจ้านายวังหลังไปในที่ต่างๆ เช่นในนิราศพระบาท
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 ม.ค. 17, 15:56

ส่วนชื่อบิดาที่บางฉบับบอกว่าชื่อขุนศรีสังหาร นั้น ไม่มีในฉบับพระยาปริยัติฯ   ส่วนชื่อบิดาที่บางฉบับบอกว่าชื่อขุนศรีสังหาร นั้น ไม่มีในฉบับพระยาปริยัติฯ   ตำแหน่งขุนศรีสังหารเป็นตำแหน่งข้าราชการวังหน้า   ในผลงานของสุนทรภู่ เช่นในนิราศสุพรรณ เอ่ยถึงแต่ถิ่นฐานของวังหลัง ว่าท่านเองเคยอยู่    ไม่เคยเอ่ยถึงวังหน้าเลย

๑. ที่ว่าสุนทรภู่เป็นบุตรของขุนศรีสังหาร มีอยู่ในหนังสือ "สยามประเภท" ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ

ได้พบตัวนายพัดบุตรชายสุนทรภู่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ ขณะนั้นนายพัดอายุ ๘๖ ปี ความจำยังดีไม่หลงลืม แต่ไม่เป็นนักปราชญ์เหมือนบิดา นายพัดได้เล่าว่า ขุนสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นบุตรขุนศรีสังหาญ (พลับ) บ้านมีอยู่หลังป้อมวังหลัง เป็นสะเตชั่นรถไฟสายเพชรบุรี

๒. ราชทินนามของวังหลวงและวังหน้ามีซ้ำกันจำนวนมาก ราชทินนาม "ศรีสังหาร" ก็เช่นเดียวกัน

ขุน   ศรีสังหาร  ปลัดกรมไพร่หลวงขึ้นกรมพระคลังสินค้า
ขุน   ศรีสังหาร  ปลัดกรมอาสาวิเศษซ้าย  ฝ่ายพระราชวังบวร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 21 ม.ค. 17, 16:26

ขุน   ศรีสังหาร  ปลัดกรมไพร่หลวงขึ้นกรมพระคลังสินค้า
ขุน   ศรีสังหาร  ปลัดกรมอาสาวิเศษซ้าย  ฝ่ายพระราชวังบวร

แปลกใจว่าราชทินนาม ศรีสังหาร  อยู่กรมพระคลังสินค้า     ถึงมีหน้าที่ควบคุมไพร่หลวงก็เถอะ

บวกลบอายุนายพัด แสดงว่าเกิดปี 2361 ในรัชกาลที่ 2  ก่อนสิ้นรัชกาล 6 ปี   
นิราศอะไรก็ตามที่บรรยายถึงเณรพัด  น่าจะเขียนในรัชกาลที่ 3 ทั้งหมด
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 21 ม.ค. 17, 17:03

พอโตขึ้นหน่อยก็ไปเล่าเรียนเขียนอ่านอยู่ในสำนักวัดชีปะขาว (บางกอกน้อย)

อนุสาวรีย์สุนทรภู่ เป็นรูปปั้นในวัยเด็กที่วัดชีปะขาว หรือ วัดศรีสุดาราม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 ม.ค. 17, 17:12

ที่ฐานอนุสาวรีย์ปรากฏโคลงใน นิราศสุพรรณ บรรยายถึงชีวิตในวัยเด็กและวัยรุ่นที่วัดชีปะขาว



บันทึกการเข้า
Molly
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 23 ม.ค. 17, 12:28

กราบสวัสวัสดีท่านอาจารย์เทาชมพูค่ะ หนูมาลีมาสาย แต่ขออนุญาตนั่งแถวหน้าด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 24 ม.ค. 17, 08:58



๑. ที่ว่าสุนทรภู่เป็นบุตรของขุนศรีสังหาร มีอยู่ในหนังสือ "สยามประเภท" ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ

ได้พบตัวนายพัดบุตรชายสุนทรภู่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ ขณะนั้นนายพัดอายุ ๘๖ ปี ความจำยังดีไม่หลงลืม แต่ไม่เป็นนักปราชญ์เหมือนบิดา นายพัดได้เล่าว่า ขุนสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นบุตรขุนศรีสังหาญ (พลับ) บ้านมีอยู่หลังป้อมวังหลัง เป็นสะเตชั่นรถไฟสายเพชรบุรี



ขุนศรีสังหาญ (พลับ) บ้านมีอยู่หลังป้อมวังหลัง ซึ่งแผนที่กรุงเทพฯเก่าเคยสำรวจพบว่า บริเวณพื้นที่พระราชวังหลังนั้นมีกำแพงและหัวป้อมยื่นออกไปด้านทิศเหนือ พื้นที่ทั้งหมดในปัจจุบันนี้เป็นพื้นที่ของโรงพยาบาลศิริราชไปหมดแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 ม.ค. 17, 19:47

        พอเป็นหนุ่ม สุนทรภู่ก็ได้ถวายตัวเข้ารับราชการในกรมพระราชวังหลัง    ได้แต่งหนังสือถวายพระองค์เจ้าปฐมวงษ์ในกรมพระราชวังหลัง  คือเรื่องสวัสดิรักษา  ๑ เรื่อง ๑ เล่มจบ และสิงหไตรภพ ๑ เรื่อง ๕ เล่มจบ
       พระองค์เจ้าปฐมวงษ์องค์นี้เองเมื่อครั้งทรงพระผนวชเณร( เจ้าคุณท่านไม่ได้ใช้คำว่า "ทรงบรรพชาเป็นสามเณร) ประทับอยู่ ณ วัดระฆัง  เสด็จขึ้นไปพระพุทธบาทที่สระบุรี   สุนทรภู่ตามเสด็จไปด้วย แต่งนิราศพระบาท ในการตามเสด็จครั้งนี้
       ในนิราศนี้เอง สุนทรภู่ระบุหน้าที่การงานตัวเองไว้ชัดเจนว่า เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงษ์

       ด้วยเรียมรองมุลิกาเป็นข้าบาท                 จำนิราศร้างนุชสุดสงสาร
       ตามเสด็จเสร็จโดยแดนกันดาร                 นมัสการรอยบาทพระศาสดา

       พระยาปริยัติฯ ท่านบันทึกไว้ว่า  ตำแหน่งบ้านเรือนของสุนทรภู่ ที่เข้าใจแน่นั้น  คืออยู่ที่วังหลังแห่งหนึ่ง และที่ท่าช้างอีกแห่งหนึ่ง     เป็นบ้านอยู่ริมกำแพงวังหลัง   ท่านเข้าใจว่าเป็นบ้านอยู่มาแต่เดิม   ส่วนที่บ้านที่ท่าช้างเข้าใจว่าเป็นบ้านพระราชทานในรัชกาลที่ ๒  เพราะระบุไว้ใน นิราศสุพรรณ  ว่า
      ท่าช้างหว่างค่ายล้อม                        แหล่งสถาน
ครั้งพระโกศโปรดประทาน                         ที่ให้
เคยอยู่คู่สำราญ                                ร่วมเหย้า เจ้าเอย
เห็นแต่ที่มิได้                                   พบน้องครองสงวนฯ
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 ม.ค. 17, 19:52

   พระยาปริยัติฯ ท่านสันนิษฐานว่า  ท่าช้างที่ว่าเห็นจะเป็นท่าช้างวังหลวง    หว่างค่าย  เห็นจะเป็นที่หว่างป้อม    เพราะคนรุ่นเก่ามักเรียกรวมว่า "ป้อมค่าย"   ท่านเข้าใจว่าบ้านคงอยู่ข้างป้อมท่าช้างวังหลวง
    มาถึงตรงนี้ขอนั่งพัก  รอคุณหนุ่มสยามกางโฉนดที่ดินเมื่อหนึ่งถึงสองร้อยปีก่อน มาให้ทัศนาเป็นบุญตา
    จะได้รู้กันว่าแถวท่าช้างตรงไหนในปัจจุบัน ที่เราสามารถนั่งยานเวลาไปเห็นบ้านของสุนทรภู่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 ม.ค. 17, 09:56

  พระยาปริยัติฯ ท่านสันนิษฐานว่า  ท่าช้างที่ว่าเห็นจะเป็นท่าช้างวังหลวง    หว่างค่าย  เห็นจะเป็นที่หว่างป้อม    เพราะคนรุ่นเก่ามักเรียกรวมว่า "ป้อมค่าย"   ท่านเข้าใจว่าบ้านคงอยู่ข้างป้อมท่าช้างวังหลวง
    มาถึงตรงนี้ขอนั่งพัก  รอคุณหนุ่มสยามกางโฉนดที่ดินเมื่อหนึ่งถึงสองร้อยปีก่อน มาให้ทัศนาเป็นบุญตา
    จะได้รู้กันว่าแถวท่าช้างตรงไหนในปัจจุบัน ที่เราสามารถนั่งยานเวลาไปเห็นบ้านของสุนทรภู่ได้ค่ะ

แผนที่สมัยต้นกรุงคงไม่ละเอียดเท่าไรนักครับ จึงได้ขอจัดแผนที่กรุงเทพ พ.ศ. ๒๔๓๐ ให้ดูไปพลางก่อนว่า มีผู้คนอาศัยอยู่แถวประตูท่าพระ ท่าช้าง และท่าขุนนาง บริเวณเหล่านี้มีบ้านพักราชการอาศัยอยู่พอสมควร สะดวกแก่การเดินทางเข้าวังได้อย่างรวดเร็วหากมีการเรียกใช้กระทันหัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 ม.ค. 17, 10:42

ระหว่างป้อม อยู่ตรงไหนในรูปคะ   คุณหนุ่มสยาม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 25 ม.ค. 17, 13:24

ระหว่างป้อม อยู่ตรงไหนในรูปคะ   คุณหนุ่มสยาม

ใต้ประตูท่าพระลงมาด้านล่างจะมีป้อมมุมพระบรมมหาราชวังป้อมหนึ่ง (แถวประตูถ้วยในปัจจุบัน) แล้วลงมาจะเป็นป้อมสี่เหลี่ยม ดังนั้นถ้าระหว่างป้อมทั้งสองก็ควรเป็นพื้นที่ดังกล่าว (นาวิกสภาในปัจจุบันนี้) เป็นท่าเรือขุนนางด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 25 ม.ค. 17, 15:47

ไหนๆก็ไหนๆ ขอท่าเรือจ้างบริเวณท่าพระที่คุณพุ่ม ธิดาพระยาราชมนตรี (ภู่) มีเรือนแพลอยอยู่หน้าบ้านของบิดาด้วยได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง