เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 15683 ประวัติสุนทรภู่ ฉบับพระยาปริยัติธรรมธาดา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 18 ม.ค. 17, 09:39

ประวัติสุนทรภู่อย่างที่เรารู้จักกันทั่วไป  มาจากพระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงค้นคว้าเรียบเรียงขึ้น เพื่อจัดพิมพ์พร้อมกับหนังสือ เสภาพระราชพงศาวดาร ที่สุนทรภู่เป็นผู้แต่ง    จัดพิมพ์ในงานฉลองพระชันษาครบ 60 ปี

ประวัติที่ว่านี้ต่อมามีการแก้ไขปรับปรุงอีกเล็กน้อย   แต่ข้อใหญ่ใจความก็เหมือนครั้งแรก   เป็นที่แพร่หลายและยอมรับต่อๆมาจนทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม มีประวัติสุนทรภู่อีกฉบับหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันน้อยกว่าฉบับนี้   คือฉบับที่พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ไปค้นคว้าสัมภาษณ์มาจากคำบอกเล่าของผู้ที่รู้เรื่องชีวิตของสุนทรภู่   จะรู้โดยตรงหรือว่ารู้จากญาติผู้ใหญ่คนรู้จักบอกเล่ากันมาก็ตาม
เก็บความจากหนังสือ ที่ภาควิชาภาษาไทย  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์ขึ้นค่ะ

ป.ล. ขอสะกัดดาวรุ่ง คุณหมอเพ็ญชมพู  ซึ่งจะเข้ามาบอกว่ากระทู้ใจความเดียวกันนี้เคยตั้งมาแล้วในเรือนไทย
ขอเรียนว่ากระทู้นี้จะเรียบเรียงเนื้อความเสียใหม่จากกระทู้เดิมซึ่งคัดลอกบทสัมภาษณ์เป็นท่อนๆ ไม่ได้ต่อเนื่องกันเป็นเนื้อความเดียวกันค่ะ
กระทู้นี้จึงตั้งขึ้นเพื่อเรียบเรียงให้อ่านกันอีกครั้งหนึ่งค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 10:56

ปูเสื่อรอ  ยิงฟันยิ้ม 

บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 12:56

เข้ามานั่งรอแล้วครับ
เหลียวหน้าแลหลัง ยังมีที่ว่างเยอะเลย
บรรยากาศแถวๆเรือนไทยกำลังสบาย
ขอสวัสดีปีใหม่ทุกท่านด้วยครับ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 13:20

มาครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 13:31

มาครับ มาครับ มาครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 13:57

กระทู้นี้บรรยากาศไทยแท้   จึงขอเสิฟหรุ่มเป็นของว่างยามบ่าย  ให้นักเรียนโค่งนอนเอกเขนกบนเสื่อ ฟังไปรับประทานไปค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 14:15

ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับเจ้าคุณปริยัติธรรมธาดากันก่อนนะคะ

    ในบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตไทย ผู้ก่อคุณูปการทางวรรณคดีและประวัติศาสตร์ให้แก่คนรุ่นหลังอย่างที่จะลืมเสียมิได้    เจ้าคุณปริยัติฯนับเป็นหนึ่งในแถวหน้าค่ะ   ท่านเกิดในรัชกาลที่ 4  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ปีจอ พ.ศ. 2405   บิดามารดาชื่อนายพ่วงและนางปิ่น  เป็นชาวตำบลบ้านเพรียง อำเภอโพไร่หวาน จังหวัดเพชรบุรี

     ในวัยเด็ก  เด็กชายแพเล่าเรียนหนังสือที่วัดห้วยเสือ และวัดมหาสมณาราม จังหวัดเพชรบุรี  ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรและเล่าเรียนพระปริยัติธรรมคือภาษาบาลี จนอายุ 19 ปี จึงได้เข้ามาเล่าเรียนต่อในกรุงเทพ   อยู่ในสำนักสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
     เณรแพเข้าแปลพระปริยัติธรรมสนามหลวง   สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค พอดีอายุครบอุปสมบท จึงได้อุปสมบท ณ วัดราชประดิษฐ์นั้น โดยสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์
     ต่อมาได้ลาสิกขาออกไปรับราชการ   ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้ารับราชการอยู่ในกรมศึกษาธิการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2430    ชีวิตราชการท่านก็เจริญไปด้วยดี  จากบรรดาศักดิ์ขุนประเสริฐอักษรนิติ เลื่อนขึ้นเป็น หลวงประเสริฐอักษรนิติ ตำแหน่งปลัดกรม กรมศึกษาธิการ แล้วเลื่อนขึ้นเป็น พระปริยัติธรรมธาดา ตำแหน่งเจ้ากรมราชบัณฑิตขวา ในรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาปริยัติธรรมธาดา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 14:17

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 16:41

      พระยาปริยัติธรรมธาดาเคยอยู่ในผ้าเหลือง เป็นเปรียญ 4 ประโยค ไม่ได้อยู่นานจนสอบได้มากกว่านั้นก็จริง  แต่โชคดีท่านไ้ด้เรียนในสำนักของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) ซึ่งทรงได้รับสมญานามว่า "พระสังฆราช 18 ประโยค" เพราะทรงสอบประโยค 9 ได้สองครั้ง  เจ้าคุณท่านจึงมีความเชี่ยวชาญทางภาษาและอักษรศาสตร์ เป็นเยี่ยมคนหนึ่ง   พูดได้หลายภาษาโดยเฉพาะภาษาบาลีและสันสกฤต ทั้งเป็นผู้สนใจในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอีกด้วย

     พระยาปริยัติธรรมธาดา สร้างผลงานทางอักษรศาสตร์และโบราณคดีไว้เป็นจำนวนมาก  เช่นจัดทำปทานุกรมไทย ฉบับกระทรวงธรรมการ ซึ่งถือว่าเป็นฉบับทางราชการ สำเร็จเป็นคนแรก เป็นผู้เรียบเรียงพจนานุกรมบาลี-ไทย ที่เรียกว่า พระบาฬีลิปิกรม ซึ่งเป็นพจนานุกรมบาลี-ไทย ที่เรียบเรียงโดยคนไทย สำเร็จเป็นคนแรก

    เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งที่ทำให้ชื่อท่านเป็นที่รู้จักในแวดวงนักประวัติศาสตร์ คือ ในปี พ.ศ. 2450 เมื่อครั้งท่านยังเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ ได้พบต้นฉบับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่บ้านราษฎรแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี จำนวนหนึ่งเล่มสมุดไทย ความเริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งกรุงจนถึงสิ้นรัชสมัยพระนเรศวร จึงขอมาให้แก่หอพระสมุดวชิรญาณ กรรมการหอพระสมุดเห็นเป็นหนังสือพระราชพงศาวดารแปลกจากฉบับอื่น ๆ ที่มีแล้ว จึงให้เรียกชื่อว่า "พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์" ให้เป็นเกียรติยศแก่ผู้พบ และนำมามอบให้หอพระสมุด ซึ่งพงศาวดารฉบับดังกล่าวนี้ปัจจุบันเชื่อว่ามีความถูกต้องแม่นยำในด้านศักราชของเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นอันมาก
    สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเล่าถึงที่มาตอนนี้ว่า
    ""พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาลลักษณ์) เมื่อยังเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติช่วยเที่ยวหาหนังสือไทยฉบับเขียนของเก่าอันกระจัดกระจายอยู่ในพื้นเมือง ให้หอพระสมุดสำหรับพระนคร    วันหนึ่งไปเห็นยายแก่ที่บ้านแห่งหนึ่งกำลังรวบรวมเอาสมุดไทยลงใส่กระชุ  ถามว่าจะเอาไปไหน  แกบอกว่าจะเอาไปเผาไฟทำสมุดบันทึกสำหรับลงรัก  พระยาปริยัติธรรมธาดาขออ่านดูหนังสือสมุดเหล่านั้น เห็นเป็นหนังสือพงศาวดารอยู่เล่มหนึ่ง จึงขอยายแก่และส่งให้หม่อมฉันที่หอพระสมุดฯ หม่อมฉันจึงให้เรียกว่า "พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ" เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ได้มา"

    ในรัชกาลที่ 6  ท่านได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ตาละลักษมณ์ - Talalakshmana" เป็นนามสกุลลำดับที่ 1234

พระยาปริยัติธรรมธาดา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2469  ด้วยโรคเบาหวานและท่อปัสสาวะพิการ ที่บ้านเลขที่ 148 เชิงสะพานรามบุตรี ถนนจักรพงษ์  อำเภอชนะสงคราม  สิริอายุได้ 65 ปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 19 ม.ค. 17, 08:55

     ประวัติสุนทรภู่ฉบับนี้เป็นหนึ่งในผลงานทางด้านประวัติวรรณคดีของพระยาปริยัติฯ   ก่อนหน้านี้มี  "ประวัติศรีปราชญ์"  ซึ่งค่อนไปทางนิทานเสียมากกว่าเป็นชีวประวัติ    ผิดกับประวัติสุนทรภู่ ซึ่งเป็นบันทึกจากการสัมภาษณ์สอบถามบุคคลต่างๆร่วมสมัยของท่านที่ยังทันรู้เห็นหรือได้ฟังมาเกี่ยวกับสุนทรภู่  ท่านได้จดไว้เป็นบันทึกสั้นๆ ในแต่ตอนช่วงตอนที่ได้รับคำบอกเล่ามา     เขียนด้วยลายมือและมีตัวพิมพ์ดีดรวมอยู่ด้วย
     เป็นบันทึกที่เขียนขึ้นก่อนสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเรียบเรียงประวัติสุนทรภู่ ถึง 9 ปี
     บันทึกนี้เก็บรักษาไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณ    ตกทอดมาถึงสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ   ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2530  ในวาระครบ 200 ปีสุนทรภู่
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 19 ม.ค. 17, 09:50


เข้ามารอฟังค่ะ  หรุ่มน่ารับประทานมาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 19 ม.ค. 17, 09:53

ท่านมีบุตรคนสุดท้องเลย ชื่อ ณ เณร ตาละลักษณ์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 19 ม.ค. 17, 09:58

ท่านมีบุตรคนสุดท้องเลย ชื่อ ณ เณร ตาละลักษณ์

เพิ่งโยงเข้าหากันได้เดี๋ยวนี้เอง  น่าสงสารจริงๆ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 ม.ค. 17, 10:29

มาลงชื่อติดตามค่ะ

เห็นรูปหรุ่ม หายากมากที่จะมีใครทำขาย แต่เคยซื้อที่ดิโอลด์สยามมารับประทาน อร่อยมากๆเลยค่ะ มี 6 ชิ้นราคา 60 บาท
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 19 ม.ค. 17, 13:20

ในรัชกาลที่ 6  ท่านได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ตาละลักษมณ์ - Talalakshmana" เป็นนามสกุลลำดับที่ 1234

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/222.PDF



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง